คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กนก พรรณรักษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7539/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเวนคืนที่ชอบด้วยกฎหมายและการไม่มีละเมิดจากการสำรวจเพื่อเวนคืน
โจทก์ไม่ได้ปฏิเสธว่าที่ดินโจทก์ไม่ได้อยู่ในบริเวณที่ดินที่จะเวนคืนและยอมรับในหนังสือร้องเรียนว่าจำเลยที่ 4 กำหนดตำแหน่งที่ดินเวนคืนในที่ดินของโจทก์อย่างไม่เป็นธรรม ดังนี้ เมื่อพิจารณาเอกสารประกอบกันแล้วข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯเมื่อพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้โดยไม่จำต้องสืบพยานอีกต่อไป ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยได้
การออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนแม้จะมีผลทำให้ที่ดินของโจทก์บางส่วนถูกเวนคืน แต่ก็เป็นการกระทำที่มีกฎหมายให้อำนาจกระทำได้ตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราชฯ ซึ่งใช้บังคับขณะตราพระราชกฤษฎีกาฯและมาตรา 5 วรรคสาม และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ การตราพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้จึงเป็นไปโดยอำนาจแห่งกฎหมายไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแต่อย่างใดและยังเป็นพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามขั้นตอนของกฎหมายโดยชอบแล้วจำเลยที่ 4 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ และจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่ได้รับอำนาจให้กระทำหรือควบคุมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จึงมีสิทธิเข้าไปในที่ดินโจทก์เพื่อทำการสำรวจและทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินที่ต้องถูกเวนคืนที่แน่นอน การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกค่าเสียหาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6931-6932/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ และหลักเกณฑ์การส่งเรื่องตามรัฐธรรมนูญ
โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีการอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา การพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวจึงเป็นอำนาจของศาลฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่าให้รวมสำนวนไว้ ย่อมมีผลเป็นการปฏิเสธที่จะส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลฎีกา จึงเป็นการไม่ชอบ
คำร้องของโจทก์ทั้งสองระบุเพียงแต่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาคดีปกครองหรือไม่ มิได้โต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาไม่จำต้องส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6931-6932/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคดีปกครอง และการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอำนาจ
โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีการอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา การพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวจึงเป็นอำนาจของศาลฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่าให้รวมสำนวนไว้ ย่อมมีผลเป็นการปฏิเสธที่จะส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลฎีกาพิจารณา จึงเป็นการไม่ชอบ
คำร้องของโจทก์ทั้งสองระบุเพียงแต่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาคดีปกครองหรือไม่ มิได้โต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาไม่จำต้องส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6796/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีทุนทรัพย์และการอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 สั่งคดีผิดพลาด
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน จำเลยให้การว่า ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของมารดาจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คดีไม่มีทุนทรัพย์และต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 แต่จำเลยไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ภาค 2ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีอำนาจที่จะสั่งว่า จำเลยทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ประกอบมาตรา 246 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับสั่งว่าคดีของจำเลยมีทุนทรัพย์ ให้ศาลชั้นต้นเรียกให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์แล้วให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 243 ประกอบมาตรา 247ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและให้ยกคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี กับให้ยกฎีกาของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6796/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีทุนทรัพย์ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และอำนาจศาลอุทธรณ์ภาคในการพิจารณา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน จำเลยให้การว่า ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของมารดาจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คดีไม่มีทุนทรัพย์และต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 234 แต่จำเลยไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ภาค 2ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีอำนาจที่จะสั่งว่า จำเลยทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับสั่งว่าคดีของจำเลยมีทุนทรัพย์ ให้ศาลชั้นต้นเรียกให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์แล้วให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 243 ประกอบมาตรา 247 ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและให้ยกคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2มีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี กับให้ยกฎีกาของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6796/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีทุนทรัพย์ ศาลอุทธรณ์สั่งคดีมีทุนทรัพย์ไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าเป็นเจ้าของที่ดินที่พิพาทขอให้ขับไล่จำเลย จำเลย ให้การว่า มารดาของจำเลยได้ครอบครองสร้างบ้านและทำประโยชน์ในที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเป็นเวลาถึง 36 ปีที่พิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมารดาจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำเงินมาชำระ ตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 แต่จำเลยไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ เพื่อพิจารณาสั่งต่อไปศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะสั่งว่า จำเลยทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ที่ไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246 แต่ศาลอุทธรณ์กลับสั่งว่าคดีของจำเลยมีทุนทรัพย์ ให้ศาลชั้นต้นเรียกให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ แล้วให้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่ ถือว่าเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 243 ประกอบมาตรา 247 ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้เห็นสมควรยกคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และยกฎีกา ของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6792/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมไม่สมบูรณ์ ไม่มีหนี้จริง การออกเช็คจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คโดยกล่าวอ้างและนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัทฟาร์มอ่างทองรีสอร์ท จำกัด เพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่บริษัทฟาร์มอ่างทองรีสอร์ท จำกัด กู้ไปจากโจทก์ร่วม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัทฟาร์มอ่างทองรีสอร์ท จำกัด ยังไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ยืมเงิน ดังนั้นสัญญากู้ยืมเงินย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 วรรคสอง จึงถือไม่ได้ว่าบริษัทฟาร์มอ่างทองรีสอร์ท จำกัด เป็นหนี้โจทก์ร่วมตามสัญญากู้ยืมเงิน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6435/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดเงินค่าทดแทนเวนคืนที่ดินตาม พ.ร.บ.เวนคืนฯ และการพิจารณาผลกระทบจากความล่าช้า
ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มีนาคม 2534 ได้แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 วรรคสี่ คือแก้ไขหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดิน จากเดิมที่ให้กำหนดโดยถือราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ หรือราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์ มาเป็นกำหนดโดยคำนึงถึงมาตรา 21 ทั้งมาตรา คือต้องกำหนดโดยเอาราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น และเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 21 (1) (4) และ (5) มาพิจารณาประกอบกับหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 (2) และ (3) ด้วย และบทบัญญัติมาตรา 9 ที่แก้ไขนี้ ข้อ 5 ของประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อ การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ซึ่งเป็นวันเวลาก่อนที่โจทก์อุทธรณ์ราคาของอสังหาริมทรัพย์และเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ต้องเวนคืนในโครงการนี้ไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 642 จึงต้องกำหนดโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ในมาตรา 21 (1) ถึง (5) ประกอบกัน ซึ่งตามมาตรา 21 (1) ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดนั้นต้องเป็นวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ หาใช่เป็นวันภายหลังใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ ก็ได้ไม่
จำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือถึง น. มารดาโจทก์แจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนแล้วก็ได้ส่งหนังสือดังกล่าวไป แต่ส่งให้ไม่ได้เพราะ น. ได้ถึงแก่กรรมไปนานแล้ว และในขณะนั้นยังไม่มีผู้ใดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก น. จำเลยที่ 1 จึงนำเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 642 ไปฝากไว้ในชื่อของ น. ดังนั้นดอกเบี้ยหรือดอกผลที่เกิดขึ้นจากการฝากเงินนี้จึงตกเป็นสิทธิแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 642 ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 31
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทน การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์และการฟ้องคดีของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้ โดยให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 เป็นผู้กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนก่อน เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนด ก็ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นลำดับต่อมา เพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย แล้วจึงจะถึงขั้นตอนการฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง คือ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว แล้วแต่กรณี เงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเป็นคนละส่วนคนละกรณีกันกับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง สิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนไม่ว่าเป็นกรณีที่ดินที่ถูกเวนคืนหรือกรณีที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง ก็ต้องดำเนินการผ่านขั้นตอนดังกล่าวมาแล้วจึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5824/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายร่างกายผู้ถูกควบคุม ถือเป็นการละเมิดต่อรัฐ
การที่เจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายร่างกายโจทก์ขณะควบคุมโจทก์ไปส่งที่สถานีตำรวจ ต้องถือว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในการปฏิบัติหน้าที่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรมตำรวจซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5824/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อละเมิดของเจ้าหน้าที่ขณะปฏิบัติหน้าที่: การควบคุมตัวผู้ต้องหา
เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจเริ่มจับกุมโจทก์ ถือว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว ครั้นเมื่อจับกุมโจทก์ได้ก็จะต้องควบคุมตัวโจทก์ไปส่งที่สถานีตำรวจ การควบคุมตัวโจทก์ไปส่งไปที่สถานีตำรวจจึงถือว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ปฏิบัติหน้าที่เช่นกัน หากเจ้าพนักงานตำรวจได้ ทำร้ายร่างกายโจทก์ขณะควบคุมโจทก์ไปส่งที่สถานีตำรวจต้องถือว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมตำรวจเป็นจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า "หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิด ที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหาย อาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้"
of 56