พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4206/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากตัวแทน กรณีไม่ได้ฟ้องในฐานะผู้ขนส่งตามกฎหมายรับขนของทางทะเล
บทบัญญัติมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ที่ว่า สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของให้เป็นอันขาดอายุความ นั้นเป็นเรื่องที่ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ผู้ส่งของหรือผู้รับตราส่งฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลเท่านั้น แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้ปรากฏว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ส่งของว่าจ้างจำเลยดำเนินการจัดส่งสินค้าของโจทก์ไปให้ลูกค้าของโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งที่ต่างประเทศ โดยโจทก์ฟ้องอ้างเหตุว่าจำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์ ให้จำเลยรับผิดเพราะจัดส่งเอกสารการขนส่งสินค้าไปให้ลูกค้าของโจทก์ที่ปลายทางตามข้อตกลงล่าช้า ทำให้ลูกค้าของโจทก์ไม่ยอมรับสินค้า เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หาได้ฟ้องอ้างว่าจำเลยเป็นผู้ขนส่งทางทะเล และให้จำเลยรับผิดเพราะเหตุการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าแห่งสินค้าที่รับขนเกิดขึ้นในระหว่างสินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยในฐานะจำเลยเป็นผู้ขนส่งทางทะเลตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ ฉะนั้น จึงจะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความตามมาตรา 46 ดังกล่าวมาใช้บังคับมิได้ เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้ ก็ต้องนำบทบัญญัติเรื่องความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการเพราะไม่ทำการเป็นตัวแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 812 และบทบัญญัติเรื่องอายุความตาม ป.พ.พ. มาใช้บังคับ แต่เมื่อ ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2 ว่าด้วยอายุความมิได้มีบทบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องถือว่ากรณีนี้มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารในฐานะตัวแทนตรวจสอบเอกสาร L/C หน้าที่ต่อตัวการและผู้รับประโยชน์
แม้จำเลยจะต้องตรวจสอบเอกสารการส่งสินค้าออก แต่หน้าที่ของจำเลยดังกล่าวเกิดจากการแต่งตั้งและมอบหมายจากธนาคาร ฟ. และธนาคาร บ. จำเลยจึงปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทนของธนาคาร ฟ. ผู้เปิดเครดิตกับธนาคาร บ. ผู้ยืนยันเครดิต หากจำเลยปฏิบัติหน้าที่บกพร่องก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารซึ่งเป็นตัวการ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องรับผิดชอบต่อตัวการโดยความรับผิดชอบในการตรวจเอกสารตามยูซีพี 500 มุ่งหมายถึงหน้าที่และความรับผิดของธนาคารที่เกี่ยวข้องในการตรวจเอกสารเลตเตอร์ออฟเครดิตก็เพื่อให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในการขอเปิดเครดิตของลูกค้าผู้ขอเปิดเครดิตเพื่อประโยชน์แก่ผู้ขอเปิดเครดิตนั้นในอันที่จะได้รับเอกสารถูกต้องครบถ้วนตามคำขอเปิดเครดิต มิใช่หน้าที่เพื่อประโยชน์แก่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่จัดหาเอกสารที่ถูกต้องครบถ้วนมาแสดงเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ตัวแทนส่งมอบทรัพย์สินคืนให้ตัวการ และผลของการจดจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอม
จำเลยเป็นตัวแทนมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ซึ่งเป็นตัวการจำเลยต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนอง แต่การไถ่ถอนจำนอง จำเลยผู้จำนองจะต้องนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่ผู้รับจำนองจนครบถ้วน ที่ดินพิพาทจึงจะปลอดจำนอง หากจำเลยไม่ปฏิบัติดังกล่าวก็ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นตามลำดับต่อไปได้ จึงเป็นกรณีสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยไถ่ถอนจำนอง หากจำเลยไม่ไถ่ถอนจำนองให้โจทก์ไถ่ถอนจำนองได้เองโดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นนั้นไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไถ่ถอนจำนองและการส่งมอบที่ดิน: ศาลพิพากษาให้จำเลยไถ่ถอนจำนอง หรือให้โจทก์ไถ่ถอนแทนโดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายได้
จำเลยเป็นตัวแทนมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ซึ่งเป็นตัวการ จำเลยต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนอง แต่การไถ่ถอนจำนอง จำเลยผู้จำนองจะต้องนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่ผู้รับจำนองจนครบถ้วน ที่ดินพิพาทจึงจะปลอดจำนอง หากจำเลยไม่ปฏิบัติดังกล่าวก็ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นตามลำดับต่อไปได้ จึงเป็นกรณีสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยไถ่ถอนจำนอง หากจำเลยไม่ไถ่ถอนจำนองให้โจทก์ไถ่ถอนจำนองได้เองโดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นนั้นไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5576/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ละเมิด: การฟ้องร้องซ้ำในประเด็นเดียวกัน และการกระทำที่มิได้เจตนาทำให้เกิดความเสียหาย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน เนื่องมาจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 กรรมการได้มีมติถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยที่ 1 ประการใดอันเกิดขึ้นหรือเกี่ยวกับการกระทำโดยมิชอบในการถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นสมาชิกภาพนั้น โจทก์ย่อมต้องใช้สิทธิเรียกร้องมาในคราวเดียวกันทั้งหมด การที่โจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายต่าง ๆ อันเกิดแก่การที่โจทก์ต้องขาดจากสมาชิกภาพของจำเลยที่ 1 รวมไปกับการฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน แต่กลับมาเรียกร้องในคดีนี้โดยอาศัยเหตุแห่งการถอดถอนโจทก์ออกจากสมาชิกภาพคราวเดียวกันซึ่งเป็นประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยและมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ปัญหานี้แม้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้และไม่ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เมื่อเห็นสมควรเพราะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
สหกรณ์แท็กซี่สยาม จำกัด จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 ได้ประชุมคณะกรรมการดำเนินการและมีมติถอดถอนสมาชิกภาพของโจทก์ อ้างว่าโจทก์กระทำการไม่ซื่อตรงหรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนมติดังกล่าว และหลังจากศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนมติกรรมการของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ได้จดแจ้งโจทก์กลับเข้าเป็นสมาชิกตามเดิม และโจทก์บรรยายในคำฟ้องว่า การที่จำเลยที่ 1 ถอดถอนสมาชิกภาพของโจทก์ เนื่องจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ประสงค์ให้โจทก์พ้นจากการเป็นกรรมการดำเนินการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการแกล้งหรือจงใจใช้สิทธิที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่โจทก์ก็นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 จงใจกลั่นแกล้งโจทก์อย่างไร และการที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 มาประชุมและลงมติให้ถอดถอนโจทก์ออกจากสมาชิกภาพของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการกระทำหน้าที่ในการประชุมตามปกติ ไม่ได้มีเจตนาหรือจงใจกลั่นแกล้งโจทก์ แม้ภายหลังศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาให้เพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าวเนื่องจากเห็นว่า พฤติการณ์ของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์แสดงตนเป็นปฏิปักษ์หรือไม่ซื่อตรงต่อจำเลยที่ 1 หรือทำให้จำเลยที่ 1 เสียหาย ก็เป็นเรื่องของดุลยพินิจและความเห็นที่แตกต่างกัน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคสอง, 77 และ 812
สหกรณ์แท็กซี่สยาม จำกัด จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 ได้ประชุมคณะกรรมการดำเนินการและมีมติถอดถอนสมาชิกภาพของโจทก์ อ้างว่าโจทก์กระทำการไม่ซื่อตรงหรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนมติดังกล่าว และหลังจากศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนมติกรรมการของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ได้จดแจ้งโจทก์กลับเข้าเป็นสมาชิกตามเดิม และโจทก์บรรยายในคำฟ้องว่า การที่จำเลยที่ 1 ถอดถอนสมาชิกภาพของโจทก์ เนื่องจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ประสงค์ให้โจทก์พ้นจากการเป็นกรรมการดำเนินการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการแกล้งหรือจงใจใช้สิทธิที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่โจทก์ก็นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 จงใจกลั่นแกล้งโจทก์อย่างไร และการที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 มาประชุมและลงมติให้ถอดถอนโจทก์ออกจากสมาชิกภาพของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการกระทำหน้าที่ในการประชุมตามปกติ ไม่ได้มีเจตนาหรือจงใจกลั่นแกล้งโจทก์ แม้ภายหลังศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาให้เพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าวเนื่องจากเห็นว่า พฤติการณ์ของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์แสดงตนเป็นปฏิปักษ์หรือไม่ซื่อตรงต่อจำเลยที่ 1 หรือทำให้จำเลยที่ 1 เสียหาย ก็เป็นเรื่องของดุลยพินิจและความเห็นที่แตกต่างกัน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคสอง, 77 และ 812
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7626/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ แม้มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษา
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าทนายความของโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนกระทำการนอกเหนือขอบอำนาจของการเป็น ตัวแทน แต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้รับความเสียหาย เป็นประการใดก็ชอบที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ทนายความของโจทก์ตามกฎหมาย เมื่อคดีดังกล่าวโจทก์เป็นคู่ความและโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้วเช่นนี้ คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมผูกพันโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องก็อาจจะอุทธรณ์คัดค้าน คำพิพากษาดังกล่าวได้ หากเข้ากรณีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 138แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์และคดี ถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จะมาฟ้องร้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษา ตามสัญญาประนีประนอมยอมความหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งจ่ายเช็คจากบัญชีหลังผู้ตายถึงแก่ความตาย ไม่ถือเป็นการยักยอกมรดก เพราะไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตาย
ผู้ตายทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่ธนาคารโดยมอบหมายให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวได้ด้วย ในขณะถึงแก่ความตายผู้ตายยังเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่ธนาคารเจ้าหนี้แห่งนั้นอยู่จำนวนในยอดเงินกู้ที่ยังไม่เต็มวงเงิน หลังจากผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันไปเข้าบัญชีของจำเลย โดยโจทก์และทายาทอื่นซึ่งมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายไม่ทราบ แม้จะเป็นเหตุให้กองมรดกของผู้ตายต้องรับผิดชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแก่ธนาคาร ผู้เป็นเจ้าหนี้ และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายก็ตาม แต่เงินตามจำนวนที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คเบิกไปจาก บัญชีกระแสรายวันที่ผู้ตายมีอยู่แก่ธนาคารเจ้าหนี้ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตายที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตายเงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ใช่มรดกของผู้ตาย แต่เป็นเงินของธนาคารเจ้าหนี้ที่ตกลงให้ผู้ตายทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้เท่านั้น เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นเพียงบุคคลสิทธิก็ระงับหรือสิ้นสุดลง และนับแต่วันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระงับหรือนับแต่ วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันในนามของผู้ตายอีก การที่ธนาคารเจ้าหนี้ไม่ทราบถึงการตายของผู้ตายจนทำให้กองมรดก ของ ม. ต้องรับผิดชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแก่ธนาคารก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยไม่มีอำนาจซึ่งจำเลยจะต้องรับผิด ในทางแพ่งต่อกองมรดกของผู้ตายเป็นการส่วนตัว การกระทำของ จำเลยในกรณีนี้จึงไม่มีความผิดทางอาญาฐานยักยอกมรดกของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิสั่งจ่ายเช็คหลังเสียชีวิต - สัญญาบุคคลสิทธิระงับ - ความรับผิดทางแพ่งจากการกระทำโดยไม่มีอำนาจ
ผู้ตายทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่ธนาคาร โดยมอบหมายให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวได้ด้วย ในขณะถึงแก่ความตายผู้ตายยังเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่ธนาคารเจ้าหนี้แห่งนั้นอยู่จำนวน ในยอดเงินกู้ที่ยังไม่เต็มวงเงิน หลังจากผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันไปเข้าบัญชีของจำเลย โดยโจทก์และทายาทอื่นซึ่งมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายไม่ทราบ แม้จะเป็นเหตุให้กองมรดกของผู้ตายต้องรับผิดชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแก่ธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายก็ตาม แต่เงินตามจำนวนที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คเบิกไปจากบัญชีกระแสรายวันที่ผู้ตายมีอยู่แก่ธนาคารเจ้าหนี้ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตายที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย เงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ใช่มรดกของผู้ตายย แต่เป็นเงินของธนาคารเจ้าหนี้ที่ตกลงให้ผู้ตายทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้เท่านั้น เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นเพียงบุคคลสิทธิก็ระงับหรือสิ้นสุดลง และนับแต่วันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระงับหรือนับแต่วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันในนามของผู้ตายอีก การที่ธนาคารเจ้าหนี้ไม่ทราบถึงการตายของผู้ตายจนทำให้กองมรดกของ ม.ต้องรับผิดชำระหนี้จำนวนดังกล่าวให้แก่ธนาคารก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยไม่มีอำนาจซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดในทางแพ่งต่อกองมรดกของผู้ตายเป็นการส่วนตัว การกระทำของจำเลยในกรณีนี้จึงไม่มีความผิดทางอาญาฐานยักยอกมรดกของผู้ตาย ตาม ป.อ. มาตรา 352
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2494/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ย: การผิดสัญญาชำระค่าปุ๋ยและผลกระทบต่อการเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องว่าภายหลังจากที่จำเลยรับมอบปุ๋ยจากโจทก์แล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาไม่ชำระค่าปุ๋ยตามกำหนดเวลาในสัญญาไม่ทำรายงานจำนวนปุ๋ยที่จำหน่ายไปแล้วและปุ๋ยคงเหลือและไม่ส่งบัญชีรายชื่อผู้ซื้อปุ๋ยให้โจทก์ทราบภายในวันที่5ของทุกเดือนตามแบบที่โจทก์กำหนดอันเป็นสาระสำคัญของสัญญาข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นเรื่องของสัญญาข้อ13และข้อ15ที่ตกลงว่าหากจำเลยผิดสัญญาในส่วนนี้อยู่มีผลตามสัญญาข้อ17ที่ระบุว่าถ้าตัวแทนซึ่งหมายถึงจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือตัดสิทธิการเป็นตัวแทนและมีสิทธิริบหลักประกันตามสัญญาข้อ18.1หรือเรียกร้องให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินทันทีตามสัญญาข้อ18.2พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ15ต่อปีนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินให้แก่ตัวการเสร็จสิ้นเท่านั้นซึ่งตามสัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยดังกล่าวไม่มีข้อใดระบุว่าเมื่อจำเลยผิดสัญญาจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายอีกตันละ500บาทดังกรณีตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ10แต่อย่างใดดังนี้เมื่อจำเลยผิดสัญญาโดยมิได้คืนปุ๋ยแก่โจทก์และโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าปุ๋ยทั้งหมดโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการคืนปุ๋ยแก่โจทก์ไม่ถูกต้องกรณีไม่อาจที่จะแปลว่าเมื่อจำเลยไม่คืนปุ๋ยย่อมฟังเป็นปริยายว่าปุ๋ยขาดจำนวนไปจากการดูแลรักษาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2494/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ย: สิทธิของตัวการเมื่อตัวแทนผิดสัญญาและการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่า ภายหลังจากที่จำเลยรับมอบปุ๋ยจากโจทก์แล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา ไม่ชำระค่าปุ๋ยตามกำหนดเวลาในสัญญา ไม่ทำรายงานจำนวนปุ๋ยที่จำหน่ายไปแล้วและปุ๋ยคงเหลือ และไม่ส่งบัญชีรายชื่อผู้ซื้อปุ๋ยให้โจทก์ทราบภายในวันที่ 5 ของทุกเดือนตามแบบที่โจทก์กำหนดอันเป็นสาระสำคัญของสัญญาข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นเรื่องของสัญญาข้อ 13 และข้อ 15 ที่ตกลงว่าหากจำเลยผิดสัญญาในส่วนนี้ย่อมมีผลตามสัญญาข้อ 17 ที่ระบุว่า ถ้าตัวแทนซึ่งหมายถึงจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือตัดสิทธิการเป็นตัวแทนและมีสิทธิริบหลักประกันตามสัญญาข้อ 18.1 หรือเรียกร้องให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินทันทีตามสัญญาข้อ 18.2 พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินให้แก่ตัวการเสร็จสิ้นเท่านั้น ซึ่งตามสัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยดังกล่าวไม่มีข้อใดระบุว่า เมื่อจำเลยผิดสัญญาจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายอีกตันละ 500 บาทดังกรณีตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 10 แต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อจำเลยผิดสัญญาโดยมิได้คืนปุ๋ยแก่โจทก์ และโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าปุ๋ยทั้งหมด โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการคืนปุ๋ยแก่โจทก์ไม่ถูกต้อง กรณีไม่อาจที่จะแปลว่าเมื่อจำเลยไม่คืนปุ๋ยย่อมฟังเป็นปริยายว่าปุ๋ยขาดจำนวนไปจากการดูแลรักษาของจำเลย