คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 812

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2494/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ย: สิทธิของตัวการเมื่อตัวแทนผิดสัญญาและการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่า ภายหลังจากที่จำเลยรับมอบปุ๋ยจากโจทก์แล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา ไม่ชำระค่าปุ๋ยตามกำหนดเวลาในสัญญา ไม่ทำรายงานจำนวนปุ๋ยที่จำหน่ายไปแล้วและปุ๋ยคงเหลือ และไม่ส่งบัญชีรายชื่อผู้ซื้อปุ๋ยให้โจทก์ทราบภายในวันที่ 5 ของทุกเดือนตามแบบที่โจทก์กำหนดอันเป็นสาระสำคัญของสัญญาข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นเรื่องของสัญญาข้อ 13 และข้อ 15 ที่ตกลงว่าหากจำเลยผิดสัญญาในส่วนนี้ย่อมมีผลตามสัญญาข้อ 17 ที่ระบุว่า ถ้าตัวแทนซึ่งหมายถึงจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือตัดสิทธิการเป็นตัวแทนและมีสิทธิริบหลักประกันตามสัญญาข้อ 18.1 หรือเรียกร้องให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินทันทีตามสัญญาข้อ 18.2 พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินให้แก่ตัวการเสร็จสิ้นเท่านั้น ซึ่งตามสัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยดังกล่าวไม่มีข้อใดระบุว่า เมื่อจำเลยผิดสัญญาจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายอีกตันละ 500 บาทดังกรณีตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 10 แต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อจำเลยผิดสัญญาโดยมิได้คืนปุ๋ยแก่โจทก์ และโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าปุ๋ยทั้งหมด โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการคืนปุ๋ยแก่โจทก์ไม่ถูกต้อง กรณีไม่อาจที่จะแปลว่าเมื่อจำเลยไม่คืนปุ๋ยย่อมฟังเป็นปริยายว่าปุ๋ยขาดจำนวนไปจากการดูแลรักษาของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งข้าราชการภายใน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: อำนาจรองอธิการบดีและขอบเขตการสั่งการ
การแต่งตั้งจำเลยที่ 2 ของจำเลยที่ 4 เป็นการแต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 18 และ 21 แห่ง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพ.ศ.2517 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับประโยชน์ในการบังคับบัญชาของรองอธิการบดีที่ให้ถือว่าเป็นอธิการบดี การสั่งแต่งตั้งดังกล่าวจึงเป็นกรณีระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติราชการในกองธุรการวิทยาเขตสงขลา มิใช่สั่งการให้เข้าดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองธุรการวิทยาเขตโดยให้รับอัตราเงินเดือนในตำแหน่งดังกล่าว การที่จำเลยที่ 4 มีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นหัวหน้ากองธุรการวิทยาเขตสงขลาอีกตำแหน่งหนึ่ง จึงเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7314/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากประมาทเลินเล่อของทนายความ/นิติกร และหนังสือรับสภาพหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันความเสียหายของจำเลยที่ 1 ขณะปฏิบัติหน้าที่ จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยลำพังมิได้รับอนุญาตหรือได้รับมอบหมายจากโจทก์อันเป็นความประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์เสียหายอย่างร้ายแรง คิดเป็นเงินจำนวน 349,494.55 บาท จำเลยที่ 1 จึงได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ว่าจะชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้โจทก์ จึงถือว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ อีกทั้งข้ออ้างที่อาศัยหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว หาเป็นคำฟ้องที่ขัดกันเองไม่ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 เป็นทนายความว่าความให้โจทก์ จึงถือว่าโจทก์เป็นตัวการและจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดฐานะเป็นตัวแทนกระทำการโดยประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ผู้เป็นตัวการเสียหายซึ่งมิได้มีบทบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะแล้วย่อมมีอายุความฟ้องร้องสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่)หาใช่เป็นกรณีละเมิดที่ต้องใช้อายุความหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420, 448 ไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายในสิบปีแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
เมื่อโจทก์ได้ทำบันทึกวิธีปฏิบัติในการประนีประนอมยอมความทางศาลให้นิติกรหรือทนายความของโจทก์ทราบก่อนที่จำเลยที่ 1 ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นนิติกรของโจทก์ว่าแม้ทนายความซึ่งได้แต่งตั้งโดยให้มีอำนาจให้ทำการประนีประนอมยอมความได้ก็ตาม หากจะประนีประนอมยอมความแล้ว ให้ทนายความเสนอความเห็นพร้อมด้วยรายละเอียดในเรื่องที่จะประนีประนอมยอมความต่อผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทน แล้วให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนเสนอขออนุมัติต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์ก่อนทุกครั้ง ซึ่งบันทึกวิธีปฏิบัติดังกล่าวได้เวียนไปให้หน่วยงานต่าง ๆในสังกัดโจทก์ทราบ และได้รวบรวมไว้เป็นเล่มแต่ละปี สามารถตรวจสอบได้ง่ายและนิติกรทุกคนได้ทราบวิธีปฏิบัติดังกล่าวแล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ทราบและต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด ทั้งก่อนวันที่จำเลยที่ 1 ทำการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกับจำเลยในคดีดังกล่าว โจทก์ก็ได้ย้ำปรับความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการตกลงหรือประนีประนอมยอมความทางศาลให้ทนายความของโจทก์ซึ่งรวมทั้งจำเลยที่ 1 ให้ถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด การที่จำเลยที่ 1 ทำการประนีประนอมยอมความกับจำเลยในคดีดังกล่าว โดยมิได้เสนอความเห็นพร้อมด้วยรายละเอียดในเรื่องที่จะตกลงหรือประนีประนอมยอมความต่อ อ. ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเพื่อขออนุมัติต่อโจทก์ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการตกลงหรือประนีประนอมยอมความทางศาลอันเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จำเลยที่ 1 จะอ้างเพียงว่าเมื่อในใบแต่งทนายความให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจประนีประนอมยอมความได้แล้วจำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจทำการตกลงหรือประนีประนอมยอมความตามที่จำเลยที่ 1 เห็นสมควรโดยพลการหาได้ไม่ เพราะในบันทึกวิธีปฏิบัติดังกล่าวระบุไว้ชัดแจ้งว่าแม้มีการมอบอำนาจให้นิติกรหรือทนายความประนีประนอมยอมความก็ให้นิติกรหรือทนายความเสนอขออนุมัติต่อโจทก์ทุกครั้งไป การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง เพราะทำให้โจทก์ไม่สามารถเรียกดอกเบี้ยที่จำเลยในคดีดังกล่าวต้องชำระให้โจทก์ตามคำพิพากษา การที่จำเลยที่ 1 รู้ว่าจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว จำเลยที่ 1 จึงได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ ชำระเงินแก่โจทก์ หนังสือรับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับได้โดยสมบูรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 รับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้นเอกสารบันทึกวิธีปฏิบัติในการประนีประนอมยอมความทางศาลและหนังสือย้ำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการประนีประนอมยอมความทางศาล จึงมิใช่เป็นพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นโดยตรงในคดีซึ่งโจทก์จะต้องส่งสำเนาเอกสารนั้น ๆ แก่จำเลยที่ 3ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 แต่อย่างใด และโจทก์ได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นประกอบถามค้านจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพยานจำเลยที่ 3 ในเวลาที่จำเลยที่ 1 เบิกความแล้ว เอกสารดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน และการที่โจทก์นำสืบเอกสารดังกล่าวก็เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดหน้าที่โดยฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ เป็นเหตุทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายซึ่งถือว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จำเลยที่ 1 จึงได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เช่นนี้เท่ากับเป็นการนำสืบว่าหนังสือรับสภาพหนี้ มีมูลหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์จริง อันเป็นประเด็นโดยตรงในคดีตามฟ้องโจทก์ หาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
เมื่อประเด็นสาระสำคัญแห่งคดีโดยตรงซึ่งภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลยทั้งสามแล้ว การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสามมีหน้าที่นำสืบก่อนในประเด็นข้อนี้ และเพื่อมิให้คดีล่าช้าจึงให้จำเลยทั้งสามนำสืบก่อนในทุกประเด็นข้ออื่นด้วยนั้น นับว่าชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7314/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้มีผลผูกพัน คดีนี้จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์เสียหาย จึงต้องรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1เป็นพนักงานของโจทก์โดยมีจำเลยที่2และที่3เป็นผู้ค้ำประกันความเสียหายของจำเลยที่1ขณะปฏิบัติหน้าที่จำเลยที่1ปฏิบัติหน้าที่โดยลำพังมิได้รับอนุญาตหรือได้รับมอบหมายจากโจทก์อันเป็นความประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายอย่างร้ายแรงคิดเป็นเงินจำนวน349,494.55บาทจำเลยที่1จึงได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ว่าจะชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้โจทก์แต่จำเลยที่1ไม่ชำระขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้โจทก์จึงถือว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับอีกทั้งข้ออ้างที่อาศัยหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วหาเป็นคำฟ้องที่ขัดกันเองไม่ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม จำเลยที่1เป็นทนายความว่าความให้โจทก์จึงถือว่าโจทก์เป็นตัวการและจำเลยที่1เป็นตัวแทนเมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่1รับผิดฐานะเป็นตัวแทนกระทำการโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ผู้เป็นตัวการเสียหายซึ่งมิได้มีบทบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะแล้วย่อมมีอายุความฟ้องร้องสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม(มาตรา193/30ที่แก้ไขใหม่)หาใช่เป็นกรณีละเมิดที่ต้องใช้อายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420,448ไม่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายในสิบปีแล้วฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ เมื่อโจทก์ได้ทำบันทึกวิธีปฏิบัติในการประนีประนอมยอมความทางศาลให้นิติกรหรือทนายความของโจทก์ทราบก่อนที่จำเลยที่1ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นนิติกรของโจทก์ว่าแม้ทนายความซึ่งได้แต่งตั้งโดยให้มีอำนาจให้ทำการประนีประนอมยอมความได้ก็ตามหากจะประนีประนอมยอมความแล้วให้ทนายความเสนอความเห็นพร้อมด้วยรายละเอียดในเรื่องที่จะประนีประนอมยอมความต่อผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนแล้วให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนเสนอขออนุมัติต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์ก่อนทุกครั้งซึ่งบันทึกวิธีปฏิบัติดังกล่าวได้เวียนไปให้หน่วยงานต่างๆในสังกัดโจทก์ทราบและได้รวบรวมไว้เป็นเล่มแต่ละปีสามารถตรวจสอบได้ง่ายและนิติกรทุกคนได้ทราบวิธีปฏิบัติดังกล่าวแล้วจึงต้องถือว่าจำเลยที่1ทราบและต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัดทั้งก่อนวันที่จำเลยที่1ทำการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกับจำเลยในคดีดังกล่าวโจทก์ก็ได้ย้ำปรับความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการตกลงหรือประนีประนอมยอมความทางศาลให้ทนายความของโจทก์ซึ่งรวมทั้งจำเลยที่1ให้ถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดการที่จำเลยที่1ทำการประนีประนอมยอมความกับจำเลยในคดีดังกล่าวโดยมิได้เสนอความเห็นพร้อมด้วยรายละเอียดในเรื่องที่จะตกลงหรือประนีประนอมยอมความต่อ อ. ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเพื่อขออนุมัติต่อโจทก์ย่อมถือว่าจำเลยที่1มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการตกลงหรือประนีประนอมยอมความทางศาลอันเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจำเลยที่1จะอ้างเพียงว่าเมื่อในใบแต่งทนายความให้จำเลยที่1มีอำนาจประนีประนอมยอมความได้แล้วจำเลยที่1ย่อมมีอำนาจทำการตกลงหรือประนีประนอมยอมความตามที่จำเลยที่1เห็นสมควรโดยพลการหาได้ไม่เพราะในบันทึกวิธีปฏิบัติดังกล่าวระบุไว้ชัดแจ้งว่าแม้มีการมอบอำนาจให้นิติกรหรือทนายความประนีประนอมยอมความก็ให้นิติกรหรือทนายความเสนอขออนุมัติต่อโจทก์ทุกครั้งไปการกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเพราะทำให้โจทก์ไม่สามารถเรียกดอกเบี้ยที่จำเลยในคดีดังกล่าวต้องชำระให้โจทก์ตามคำพิพากษาการที่จำเลยที่1รู้ว่าจำเลยที่1ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแล้วจำเลยที่1จึงได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ชำระเงินแก่โจทก์หนังสือรับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับได้โดยสมบูรณ์ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่1รับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งจำเลยที่1ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ดังนั้นเอกสารบันทึกวิธีปฏิบัติในการประนีประนอมยอมความทางศาลและหนังสือย้ำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการประนีประนอมยอมความทางศาลจึงมิใช่เป็นพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นโดยตรงในคดีซึ่งโจทก์จะต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นๆแก่จำเลยที่3ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา90แต่อย่างใดและโจทก์ได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นประกอบถามค้านจำเลยที่1ซึ่งเป็นพยานจำเลยที่3ในเวลาที่จำเลยที่1เบิกความแล้วเอกสารดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานและการที่โจทก์นำสืบเอกสารดังกล่าวก็เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่1กระทำผิดหน้าที่โดยฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์เป็นเหตุทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายซึ่งถือว่าจำเลยที่1ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจำเลยที่1จึงได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เช่นนี้เท่ากับเป็นการนำสืบว่าหนังสือรับสภาพหนี้มีมูลหนี้ที่จำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์จริงอันเป็นประเด็นโดยตรงในคดีตามฟ้องโจทก์หาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ เมื่อประเด็นสาระสำคัญแห่งคดีโดยตรงซึ่งภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลยทั้งสามแล้วการที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสามมีหน้าที่นำสืบก่อนในประเด็นข้อนี้และเพื่อมิให้คดีล่าช้าจึงให้จำเลยทั้งสามนำสืบก่อนในทุกประเด็นข้ออื่นด้วยนั้นนับว่าชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7314/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้มีผลผูกพันผู้ค้ำประกัน จำเลยต้องรับผิดตามสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันความเสียหายของจำเลยที่ 1ขณะปฏิบัติหน้าที่ จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยลำพังมิได้รับอนุญาตหรือได้รับมอบหมายจากโจทก์อันเป็นความประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์เสียหายอย่างร้ายแรง คิดเป็นเงินจำนวน 349,494.55 บาท จำเลยที่ 1จึงได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ว่าจะชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้โจทก์แต่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้โจทก์ จึงถือว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ อีกทั้งข้ออ้างที่อาศัยหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้ว หาเป็นคำฟ้องที่ขัดกันเองไม่ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 1 เป็นทนายความว่าความให้โจทก์ จึงถือว่าโจทก์เป็นตัวการและจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1รับผิดฐานะเป็นตัวแทนกระทำการโดยประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ผู้เป็นตัวการเสียหายซึ่งมิได้มีบทบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะแล้วย่อมมีอายุความฟ้องร้องสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) หาใช่เป็นกรณีละเมิดที่ต้องใช้อายุความหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420,448 ไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายในสิบปีแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ เมื่อโจทก์ได้ทำบันทึกวิธีปฏิบัติในการประนีประนอมยอมความทางศาลให้นิติกรหรือทนายความของโจทก์ทราบก่อนที่จำเลยที่ 1ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นนิติกรของโจทก์ว่าแม้ทนายความซึ่งได้แต่งตั้งโดยให้มีอำนาจให้ทำการประนีประนอมยอมความได้ก็ตามหากจะประนีประนอมยอมความแล้ว ให้ทนายความเสนอความเห็นพร้อมด้วยรายละเอียดในเรื่องที่จะประนีประนอมยอมความต่อผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทน แล้วให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนเสนอขออนุมัติต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์ก่อนทุกครั้ง ซึ่งบันทึกวิธีปฏิบัติดังกล่าวได้เวียนไปให้หน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดโจทก์ทราบ และได้รวบรวมไว้เป็นเล่มแต่ละปี สามารถตรวจสอบได้ง่ายและนิติกรทุกคนได้ทราบวิธีปฏิบัติดังกล่าวแล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ทราบและต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด ทั้งก่อนวันที่จำเลยที่ 1 ทำการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกับจำเลยในคดีดังกล่าว โจทก์ก็ได้ย้ำปรับความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการตกลงหรือประนีประนอมยอมความทางศาลให้ทนายความของโจทก์ซึ่งรวมทั้งจำเลยที่ 1 ให้ถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด การที่จำเลยที่ 1 ทำการประนีประนอมยอมความกับจำเลยในคดีดังกล่าว โดยมิได้เสนอความเห็นพร้อมด้วยรายละเอียดในเรื่องที่จะตกลงหรือประนีประนอมยอมความต่อ อ. ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเพื่อขออนุมัติต่อโจทก์ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการตกลงหรือประนีประนอมยอมความทางศาลอันเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จำเลยที่ 1 จะอ้างเพียงว่าเมื่อในใบแต่งทนายความให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจประนีประนอมยอมความได้แล้วจำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจทำการตกลงหรือประนีประนอมยอมความตามที่จำเลยที่ 1 เห็นสมควรโดยพลการหาได้ไม่ เพราะในบันทึกวิธีปฏิบัติดังกล่าวระบุไว้ชัดแจ้งว่าแม้มีการมอบอำนาจให้นิติกรหรือทนายความประนีประนอมยอมความก็ให้นิติกรหรือทนายความเสนอขออนุมัติต่อโจทก์ทุกครั้งไป การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเพราะทำให้โจทก์ไม่สามารถเรียกดอกเบี้ยที่จำเลยในคดีดังกล่าวต้องชำระให้โจทก์ตามคำพิพากษา การที่จำเลยที่ 1 รู้ว่าจำเลยที่ 1ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว จำเลยที่ 1 จึงได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ ชำระเงินแก่โจทก์ หนังสือรับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับได้โดยสมบูรณ์ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 รับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้นเอกสารบันทึกวิธีปฏิบัติในการประนีประนอมยอมความทางศาลและหนังสือย้ำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการประนีประนอมยอมความทางศาลจึงมิใช่เป็นพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นโดยตรงในคดีซึ่งโจทก์จะต้องส่งสำเนาเอกสารนั้น ๆ แก่จำเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 แต่อย่างใด และโจทก์ได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นประกอบถามค้านจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นพยานจำเลยที่ 3 ในเวลาที่จำเลยที่ 1 เบิกความแล้วเอกสารดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน และการที่โจทก์นำสืบเอกสารดังกล่าวก็เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1กระทำผิดหน้าที่โดยฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ เป็นเหตุทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายซึ่งถือว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจำเลยที่ 1 จึงได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เช่นนี้เท่ากับเป็นการนำสืบว่าหนังสือรับสภาพหนี้ มีมูลหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์จริง อันเป็นประเด็นโดยตรงในคดีตามฟ้องโจทก์ หาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ เมื่อประเด็นสาระสำคัญแห่งคดีโดยตรงซึ่งภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลยทั้งสามแล้ว การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสามมีหน้าที่นำสืบก่อนในประเด็นข้อนี้ และเพื่อมิให้คดีล่าช้าจึงให้จำเลยทั้งสามนำสืบก่อนในทุกประเด็นข้ออื่นด้วยนั้น นับว่าชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ผู้อำนวยการ, การจ้างช่วง, การรับผิดในความเสียหาย, ตัวแทนช่วง, การคืนเงินผู้สมัครงาน
การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการของเจ้าหนี้นำงานพิมพ์ไปให้สหกรณ์กลาโหม จำกัด รับจ้างช่วง โดยไม่ได้จัดทำสัญญาจ้างตามแบบที่กำหนดจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าเป็นตั๋วแลกเงินเต็มจำนวนค่าจ้าง และจ่ายเงินค่าจ้างแต่ละครั้งเกิน 300,000 บาท เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบว่าด้วยการจ้าง พ.ศ. 2504 และข้อบังคับว่าด้วยการมอบอำนาจและกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการ พ.ศ. 2496ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำโดยปราศจากอำนาจ และต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้เจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812เจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้ส่วนนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 2 มีอำนาจตั้ง ส. เป็นตัวแทนช่วงให้ดำเนินกิจการจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศได้ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ. 2496 มาตรา 22และข้อบังคับว่าด้วยการมอบอำนาจและกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการพ.ศ. 2496 ข้อ 7 เมื่อไม่ปรากฏว่า ส. เป็นผู้ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินกิจการดังกล่าวแทนเจ้าหนี้ หรือเป็นผู้ไม่สมควรไว้วางใจจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ ในการที่เจ้าหนี้ต้องคืนเงินที่ ส. เรียกรับเอาไปให้แก่ผู้สมัครงาน เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจผู้อำนวยการในการจ้างช่วงและการรับผิดชอบต่อการคืนเงินค่าสมัครงาน
การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการของเจ้าหนี้นำงานพิมพ์ไปให้สหกรณ์กลาโหม จำกัด รับจ้างช่วง โดยไม่ได้จัดทำสัญญาจ้างตามแผนที่กำหนดจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าเป็นตั๋วแลกเงินเต็มจำนวนค่าจ้าง และจ่ายเงินค่าจ้างแต่ละครั้งเกิน 300,000 บาท เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบว่าด้วยการจ้าง พ.ศ.2504และข้อบังคับว่าด้วยการมอบอำนาจและะกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการพ.ศ.2496 ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำโดยปราศจากอำนาจ และต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้เจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 812 เจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้ส่วนนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 2 มีอำนาจตั้ง ส.เป็นตัวแทนช่วงให้ดำเนินกิจการจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศได้ตาม พ.ร.ฎ.จัดตั้ง-องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ.2469 มาตรา 22 และข้อบังคับว่าด้วยการมอบอำนาจและกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการ พ.ศ.2496 ข้อ 7 เมื่อไม่ปรากฏว่า ส.เป็นผู้ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการดังกล่าวแทนเจ้าหนี้ หรือเป็นผู้ไม่สมควรไว้วางใจ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ ในการที่เจ้าหนี้ต้องคืนเงินที่ ส.เรียกรับเอาไปให้แก่ผู้สมัครงานเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3255/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทนที่กระทำนอกเหนืออำนาจและการค้ำประกันการทำงาน
จำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการธนาคารสาขาของโจทก์ กระทำการโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจ ปล่อยให้จำเลยที่ 1 กู้โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันกู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงินที่ได้รับอนุญาตอันเป็นการขัดต่อระเบียบวิธีปฏิบัติของโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ทั้งโจทก์มิได้ให้สัตยาบันในการกระทำของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2ต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812 จำเลยที่ 4ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 3 ในการเข้าทำงานกับโจทก์ก็ต้องร่วมรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนประกันภัย, การต่ออายุสัญญา, ตัวการต้องรับผิด, ตัวแทนไม่ต้องรับผิด
โจทก์ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากจำเลยที่ 2 มีที่ดินและบ้านจำนองเป็นประกันระเบียบของจำเลยที่ 2 กำหนดให้โจทก์เอาประกันบ้านดังกล่าวโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประโยชน์ในการประกันภัยผู้จัดการสาขาจำเลยที่ 2 และพนักงานเป็นผู้เตรียมแบบพิมพ์เอกสารทำสัญญาประกันภัยกับชำระเบี้ยประกันภัยที่สำนักงานสาขาจำเลยที่ 2แทนจำเลยที่ 1 เมื่อออกกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว จำเลยที่ 1 ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยและใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันภัยให้สาขาจำเลยที่ 2สาขาจำเลยที่ 2 จะส่งเฉพาะใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ส่วนกรมธรรม์ประกันภัยสาขาจำเลยที่ 2 เป็นผู้เก็บไว้เองเมื่อกรมธรรม์ประกันภัยจะหมดอายุ สาขาจำเลยที่ 2 ก็เป็นผู้แจ้งเตือนให้โจทก์ต่ออายุสัญญาประกันภัย พฤติการณ์ระหว่างจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2 ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้เช็คหรือรู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตนเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการรับประกันภัยบ้านโจทก์ที่จำนองไว้เป็นประกันกับจำเลยที่ 2 แม้ตัวแทนจำเลยที่ 1 จะรับเบี้ยประกันภัยเพื่อต่ออายุสัญญาประกันภัย เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยขาดอายุแล้วก็ตามแต่ตัวแทนของจำเลยที่ 1 ก็ยินยอมให้โจทก์ผัดชำระเบี้ยประกันภัยได้และในกรณีเช่นนี้ตามปกติแล้วเมื่อตัวแทนจำเลยที่ 1 ติดต่อไปยังจำเลยที่ 1 ทางจำเลยที่ 1 ก็ต่ออายุสัญญาให้ ถือว่าคู่สัญญามีเจตนาต่ออายุสัญญาประกันภัยให้มีผลผูกพันต่อไปอีก 1 ปี ตามเงื่อนไขเดิม กฎหมายมิได้กำหนดแบบแห่งสัญญาประกันภัยไว้ สัญญาประกันภัยเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน มีระเบียบของจำเลยที่ 2 กำหนดให้เอาประกันภัยทรัพย์สินที่จำนองไว้กับจำเลยที่ 2 การที่ผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 2 ดำเนินการให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้เอาประกันภัยทรัพย์สินที่จำนองกับจำเลยที่ 1ย่อมมีผลให้จำเลยที่ 2 ได้หลักประกันที่มั่นคงยิ่งขึ้น ถือไม่ได้ว่าผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 2 ทำนอกเหนือวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 2หรือนอกเหนือขอบอำนาจที่จำเลยที่ 2 มอบให้ผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 2 กระทำแทน ในการเอาประกันภัยจำเลยที่ 2 ได้มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับประกันภัยให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่ 2 โจทก์เป็นลูกค้าของจำเลยที่ 2 ได้เอาประกันภัยบ้านของโจทก์ที่จำนองไว้กับจำเลยที่ 2โดยมีผู้จัดการสาขาจำเลยที่ 2 ดำเนินการให้ตั้งแต่ให้โจทก์กรอกแบบคำเสนอขอเอาประกันภัย รับเบี้ยประกันภัยจากโจทก์ไปชำระให้จำเลยที่ 1 รับกรมธรรม์ประกันภัยและใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันภัยจากจำเลยที่ 1 มาให้โจทก์ ลักษณะการกระทำของผู้จัดการสาขาจำเลยที่ 2 แสดงว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนโดยปริยายของโจทก์ในการติดต่อทำนิติกรรมประกันภัยกับจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 2ในฐานะตัวแทนแม้จะประมาทเลินเล่อไม่ส่งเบี้ยประกันภัยในเวลาอันสมควรให้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์ในฐานะตัวการยอมไม่ได้รับความเสียหายเพราะความเสียหายได้หมดไปโดยโจทก์ย่อมบังคับเอาจากจำเลยที่ 1 ได้จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4090/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนจากตัวแทนที่ขายหุ้นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
ในคดีก่อนประเด็นแห่งคดีมีว่า โจทก์ (จำเลยในคดีนี้) มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการเป็นตัวแทนซื้อขายหุ้นให้แก่จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ได้หรือไม่ แต่สำหรับประเด็นในคดีนี้มีว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเงินมัดจำคืนจากจำเลยได้หรือไม่ ดังนั้น แม้จะเป็นคู่ความรายเดียวกัน แต่ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยอาศัยเหตุคนละอย่าง กรณีจึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
โจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่จำเลยไว้เพื่อใช้ซื้อหุ้นให้แก่โจทก์จำเลยได้จัดการซื้อหุ้นให้แก่โจทก์ตามคำสั่งของโจทก์แล้ว แต่ต่อมาปรากฏว่าจำเลยได้นำหุ้นเหล่านั้นออกขายให้แก่บุคคลภายนอกไปโดยโจทก์มิได้สั่ง การที่จำเลยได้ขายหุ้นของโจทก์ให้แก่บุคคลอื่นไปโดยพลการ โดยไม่ได้รับความยินยอมและอนุญาตจากโจทก์นั้น ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำไปโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจที่โจทก์มอบหมายไว้ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ต้องคืนเงินและทรัพย์สินที่ได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนให้แก่โจทก์ทั้งหมด
of 15