พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมของนายจ้างต่อการปฏิบัติผิดระเบียบของลูกจ้าง ทำให้ลูกจ้างไม่ต้องรับผิด
จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาสำนักงานของธนาคารโจทก์ปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับของโจทก์ด้วยการปล่อยสินเชื่อเกินอำนาจมาเป็นเวลานาน โจทก์ทราบและได้ยอมรับเอาการกระทำของจำเลยเป็นของตนถึงแก่ได้ฟ้องร้องลูกหนี้ส่วนใหญ่ จนมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันบ้าง ศาลพิพากษาให้เต็มตามคำฟ้องบ้าง และโจทก์ได้ขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้บางคนถูกศาลพิพากษาล้มละลายบ้าง โดยหาได้ว่ากล่าวเอาความแก่จำเลยว่าปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับประการใดไม่ คงปล่อยให้จำเลยปฏิบัติหน้าที่ต่อมาจนเกษียณอายุ การปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับดังกล่าวผู้จัดการสาขาสำนักงาน สาขาอื่น ก็กระทำโดยทั่วไป ผู้รับตำแหน่งสืบต่อจากจำเลยก็กระทำการเช่นจำเลยโจทก์มิได้ห้ามทักท้วง กลับถือเอาประโยชน์ตลอดมาจึงถือว่าเป็นระเบียบปฏิบัติปกตินิยมภายในของโจทก์อยู่ด้วยส่วนหนึ่งมีผลเท่ากับโจทก์ยินยอม สมัครใจ และเต็มใจยอมรับผลเสียหายอันอาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ในอนาคต ภายหลังที่จำเลยและผู้จัดการสาขาสำนักงานอื่นไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ โจทก์หาได้ถือเป็นข้อสำคัญและถือเป็นความผิดอีกต่อไปไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดและผิดสัญญาตัวแทน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจของตัวแทน: ตัวแทนไม่ต้องรับผิดเมื่อทำตามอำนาจที่ได้รับมอบหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2เป็นตัวแทนมาติดต่อตกลงเรื่องค่าเสียหาย จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนได้ทำบันทึกชดใช้ค่าซ่อมแซมรถยนต์ของโจทก์ ซึ่งเป็นการทำการภายในขอบอำนาจที่จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้ โดยโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนได้กระทำไปโดยปราศจากอำนาจหรือทำนอกเหนือขอบอำนาจของตัวแทน จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 823 วรรคสอง แม้ศาลจะให้รับฟ้องในส่วนจำเลยที่ 2 ไว้พิจารณา ก็ไม่มีทางที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดได้ ที่ศาลล่างทั้งสองไม่รับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 นั้นชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2957/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวแทน (ผู้จัดการธนาคาร) ต่อตัวการ (ธนาคาร) จากการกระทำนอกเหนืออำนาจและการไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารสาขาของโจทก์ได้อนุมัติให้ลูกหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีผิดต่อระเบียบกฎเกณฑ์และคำสั่งของโจทก์การที่จำเลยรายงานยอดบัญชีไปให้โจทก์ทราบทุกสิ้นเดือนทุกหกเดือนและทุกสิ้นปีโดยแจ้งชื่อลูกหนี้และประเภทหนี้รวมทั้งการที่จำเลยอนุมัติให้ลูกหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีด้วยนั้นการรายงานดังกล่าวเป็นเพียงการรายงานตามที่โจทก์วางระเบียบไว้เป็นเรื่องจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนรายงานกิจการที่ได้กระทำไปต่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวการแม้โจทก์ทราบการกระทำของจำเลยที่ผิดระเบียบแล้วไม่ทักท้วงคัดค้านก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ให้สัตยาบันในการที่จำเลยอนุมัติให้ลูกหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีผิดต่อระเบียบกฎเกณฑ์และคำสั่งของโจทก์ ฟ้องโจทก์ที่กล่าวว่าจำเลยเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์จำเลยกระทำการเกินอำนาจของผู้จัดการสาขามิได้ปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์และคำสั่งของโจทก์โดยเคร่งครัดเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายนั้นเป็นการฟ้องจำเลยในฐานะตัวแทนให้รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวการในการที่จำเลยกระทำการนอกเหนืออำนาจที่โจทก์มอบหมายตามป.พ.พ.มาตรา812มีอายุความ10 ปี.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2957/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้จัดการสาขาธนาคารต่อการอนุมัติสินเชื่อเกินอำนาจ และอายุความฟ้องคดี
จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารสาขาของโจทก์ได้อนุมัติให้ลูกหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีผิดต่อระเบียบกฎเกณฑ์และคำสั่งของโจทก์การที่จำเลยรายงานยอดบัญชีไปให้โจทก์ทราบทุกสิ้นเดือนทุกหกเดือนและทุกสิ้นปีโดยแจ้งชื่อลูกหนี้และประเภทหนี้รวมทั้งการที่จำเลยอนุมัติให้ลูกหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีด้วยนั้นการรายงานดังกล่าวเป็นเพียงการรายงานตามที่โจทก์วางระเบียบไว้เป็นเรื่องจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนรายงานกิจการที่ได้กระทำไปต่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวการแม้โจทก์ทราบการกระทำของจำเลยที่ผิดระเบียบแล้วไม่ทักท้วงคัดค้านก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ให้สัตยาบันในการที่จำเลยอนุมัติให้ลูกหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีผิดต่อระเบียบกฎเกณฑ์และคำสั่งของโจทก์ ฟ้องโจทก์ที่กล่าวว่าจำเลยเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์จำเลยกระทำการเกินอำนาจของผู้จัดการสาขามิได้ปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์และคำสั่งของโจทก์โดยเคร่งครัดเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายนั้นเป็นการฟ้องจำเลยในฐานะตัวแทนให้รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวการในการที่จำเลยกระทำการนอกเหนืออำนาจที่โจทก์มอบหมายตามป.พ.พ.มาตรา812มีอายุความ10ปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันของเจ้าหนี้ทำให้ตัวแทนหลุดพ้นความรับผิด แต่เจ้าหนี้ต้องไม่ละเลยการบังคับชำระหนี้
การที่ตัวการให้สัตยาบันต่อการกระทำนอกเหนือขอบอำนาจของตัวแทนต่อบุคคลภายนอกอันมีผลทำให้นิติกรรมซึ่งไม่ผูกพันตัวการกลับเป็นผูกพันตัวการโดยตรงและทำให้ตัวแทนหลุดพ้นความรับผิดที่มีต่อบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา823นั้นไม่ทำให้ตัวแทนหลุดพ้นจากความรับผิดต่อตัวการในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกิจการที่ตนกระทำนอกเหนือขอบอำนาจนั้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา812 จำเลยที่1เป็นผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์โดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันบ.เป็นลูกค้าได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับสาขาธนาคารโจทก์โดยมีส.เป็นผู้ค้ำประกันก่อนที่จำเลยที่1จะรับหน้าที่เป็นผู้จัดการเมื่อจำเลยที่1เข้ารับหน้าที่ผู้จัดการได้ให้บ.เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงินที่ทำสัญญาไว้มากเป็นการเกินขอบอำนาจของผู้จัดการสาขาต่อมาบ.ถึงแก่กรรมธนาคารโจทก์ทราบแล้วไม่ได้ดำเนินการเรียกร้องหรือฟ้องเรียกหนี้จากกองมรดกของบ.ลูกหนี้หรือจากส.ผู้ค้ำประกันทั้งๆที่มีโอกาสจะทำได้จนโจทก์หมดสิทธิฟ้องเพราะขาดอายุความมรดกเมื่อบ.มีทรัพย์สินและโจทก์มีโอกาสจะได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงหากดำเนินการฟ้องร้องหนี้นั้นดังนี้การที่โจทก์ไม่ฟ้องร้องย่อมเป็นการละเลยไม่บำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหายถือเป็นเหตุที่เจ้าหนี้มีส่วนทำความผิดให้เกิดความเสียหายหรือนัยหนึ่งความเสียหายเกิดจากการละเว้นการกระทำของโจทก์ที่ไม่ยอมบำบัดปัดป้องไม่ให้ความเสียหายเกิดขึ้นจำเลยที่1ซึ่งเป็นตัวแทนผู้กระทำการนอกเหนือขอบอำนาจจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และจำเลยที่2ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ย่อมไม่ต้องรับผิดด้วย.(ที่มา-เนติฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2489/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนซื้อขายหุ้นโดยชอบ แม้ชื่อผู้ถือหุ้นยังไม่เปลี่ยน และความรับผิดชอบต่อการส่งมอบหุ้น
จำเลยเป็นนายหน้าและตัวแทนของโจทก์เพื่อทำการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นเป็นกรณีพิเศษ การจดทะเบียนโอนหุ้นเป็นชื่อลูกค้าต้องเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างลูกค้ากับสมาชิกผู้ซื้อโดยไม่มีระเบียบข้อบังคับให้สมาชิกผู้ซื้อต้องโอนชื่อในหุ้นที่ซื้อมาให้เป็นชื่อของลูกค้าก่อน เพราะลูกค้ายังมิได้ชำระเงินและไม่สะดวกในการสั่งขายหุ้นนั้นต่อไปโจทก์ยอมผูกพันตนและรับผลการปฏิบัติของจำเลยตลอดมา ดังนี้ เมื่อจำเลยซื้อหุ้นให้โจทก์ตามคำสั่งของโจทก์แล้วนำใบหุ้นพร้อมตราสารการโอนหุ้นมาเก็บรักษาไว้เพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์ และขณะเดียวกันก็ยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ด้วย แม้จะยังมิได้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นก็ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนโดยชอบ จำเลยโอนหุ้นที่ซื้อแทนโจทก์เป็นชื่อโจทก์เนื่องจากบริษัทประกาศปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น ต่อมาจำเลยโอนหุ้นดังกล่าวให้แก่ลูกค้ารายอื่นไปแต่เมื่อจำเลยยังมีหุ้นของบริษัทนั้นพร้อมที่จะส่งมอบให้โจทก์และต่อมาจำเลยก็ส่งมอบใบตอบรับตราสารการโอนหุ้นมีค่าเท่ากับใบหุ้นให้โจทก์ครบถ้วน ดังนี้ แม้โจทก์จะเข้าใจว่าจำเลยขายหุ้นของโจทก์ไปโดยพลการ เมื่อโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่าได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยประการใดจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนโดยไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117-2124/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นไม่ใช่ส่วนราชการ การจ่ายเงินตามระเบียบไม่เป็นการละเมิด
โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นไม่เป็นส่วนราชการของกรมการปกครองโจทก์มิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน จำเลยเป็นข้าราชการสังกัดกรมโจทก์ได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้เป็นกรรมการดำเนินงานของโรงพิมพ์ อันเป็นการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนมีอำนาจจัดการโรงพิมพ์แทนเจ้าของกิจการซึ่งเป็นตัวการ การที่จำเลยร่วมกันอนุมัติจ่ายเงินผลกำไรสุทธิและเงินกำไรสะสมของโรงพิมพ์ให้แก่ตนเองและผู้อื่นเป็นไปตามระเบียบของโรงพิมพ์ซึ่งโจทก์ยินยอมให้ถือปฏิบัติย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนตามที่ได้รับมอบหมายโดยชอบถึงหากจะฟังว่าโรงพิมพ์ เครื่องพิมพ์ และทรัพย์สินของ โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเป็นของโจทก์ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จะฟ้องให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่โจทก์หาได้ไม่ และเนื่องจากคำพิพากษาเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงให้มีผลถึงจำเลยซึ่งมิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 ประกอบด้วย มาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058-2076/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น – ไม่เป็นส่วนราชการ, ผลกำไรเป็นของโรงพิมพ์, คณะกรรมการดำเนินงานปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา7 การแบ่งส่วนราชการของกรมจะต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา.ไม่ปรากฏว่าได้เคยมีการตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมการปกครองโจทก์ให้โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเป็นส่วนราชการของกรมโจทก์มาก่อน. คงมีแต่คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนมอบอาคารโรงพิมพ์ เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์การพิมพ์ทั้งสิ้นแก่โจทก์. และสั่งให้จัดแบ่งส่วนราชการให้โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเป็นส่วนราชการสังกัดกรมโจทก์เท่านั้น. การดำเนินกิจการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น เงินที่ใช้ในการหมุนเวียนได้มาจากการกู้และการลงหุ้นของหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และสุขาภิบาล โดยมิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน. โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นไม่เคยเสนอประมาณการรายรับและรายจ่ายต่อสำนักงบประมาณ. ทั้งไม่เคยมีการตั้งงบประมาณแผ่นดินไว้ดำเนินกิจการของโรงพิมพ์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502.โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นจึงไม่เป็นส่วนราชการของกรมโจทก์.ดังนั้นเงินรายได้และผลกำไรของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นย่อมมิใช่รายได้อันจะต้องนำส่งคลังเป็นรายได้ของแผ่นดินในนามของกรมโจทก์. ผลกำไรดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นกำไรสุทธิประจำแต่ละปีหรือกำไรที่สะสมไว้ล้วนเป็นผลอันได้มาจากการประกอบกิจการของโรงพิมพ์ซึ่งอาจเป็นเงินสดหรือทรัพย์สินอื่น.มิใช่ดอกผลธรรมดาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากแม่ทรัพย์เพราะเหตุที่ได้ใช้แม่ทรัพย์นั้น. ทั้งมิใช่ดอกผลนิตินัยเพราะหาใช่ทรัพย์ที่ได้เป็นครั้งคราวจากผู้อื่นเพื่อตอบแทนการที่ได้ใช้แม่ทรัพย์นั้นไม่. ผลกำไรดังกล่าวจึงมิใช่ดอกผลตกได้แก่กรมโจทก์ แต่ย่อมจะตกแก่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของกิจการนั้น. ในการดำเนินกิจการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินกิจการโรงพิมพ์ขึ้น 2 คณะ คือ. คณะกรรมการบริหารมีอำนาจควบคุมดูแลรับผิดชอบทั่วไปในกิจการของโรงพิมพ์. กำหนดนโยบายออกกฎข้อบังคับ ระเบียบการ และคำสั่งในการดำเนินงาน.กับคณะกรรมการดำเนินงาน มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบาย กฎข้อบังคับ ระเบียบการ และคำสั่งที่คณะกรรมการบริหารได้กำหนดและวางไว้. มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการบริหาร และอธิบดีกรมโจทก์เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงาน. คณะกรรมการทั้งสองคณะส่วนใหญ่เป็นกรรมการที่แต่งตั้งตามตำแหน่งหน้าที่ราชการ. จำเลยทั้งสิบเก้าสำนวนเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดกรมโจทก์ โดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดิน และช่วยปฏิบัติงานในโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น. โรงพิมพ์ดังกล่าวดำเนินการค้าหากำไรเงินรายได้และผลกำไรของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นที่ได้มาจากการดำเนินกิจการไม่เคยมีการนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน.คณะกรรมการดำเนินงานโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นได้มีมติให้จัดสรรเงินผลกำไรสุทธิของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นส่วนหนึ่งเป็นเงินรางวัลแก่ข้าราชการที่ช่วยปฏิบัติงาน. ซึ่งจำเลยทั้งสิบเก้าสำนวนได้รับเงินดังกล่าวไปตามระเบียบของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นและการจ่ายเงินแก่จำเลยก็ได้จ่ายตามระเบียบที่วางไว้เช่นกัน.ดังนี้การที่คณะกรรมการดำเนินงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อันเป็นการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนมีอำนาจจัดการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นแทนเจ้าของกิจการซึ่งเป็นตัวการ. ได้ลงมติให้จัดสรรเงินผลกำไรสุทธิของโรงพิมพ์ดังกล่าวซึ่งเป็นการกระทำตามระเบียบที่กรมโจทก์ยินยอมให้ถือปฏิบัติ. ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนที่ได้รับมอบหมายโดยชอบ. การกระทำของคณะกรรมการดำเนินงานโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์. การที่จำเลยทั้งสิบเก้าสำนวนได้รับเงินไปจากโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเพื่อเป็นรางวัลตอบแทนการปฏิบัติงานย่อมมิใช่รับไปโดยไม่มีสิทธิและไม่ชอบด้วยกฎหมาย. โจทก์จึงจะฟ้องให้จำเลยคืนเงินแก่โจทก์หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058-2076/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นไม่ใช่ส่วนราชการ การจ่ายเงินรางวัลข้าราชการชอบด้วยกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 7 การแบ่งส่วนราชการของกรมจะต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาไม่ปรากฏว่าได้เคยมีการตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมการปกครองโจทก์ให้โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเป็นส่วนราชการของกรมโจทก์มาก่อน คงมีแต่คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนมอบอาคารโรงพิมพ์ เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์การพิมพ์ทั้งสิ้นแก่โจทก์ และสั่งให้จัดแบ่งส่วนราชการให้โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเป็นส่วนราชการสังกัดกรมโจทก์เท่านั้น การดำเนินกิจการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น เงินที่ใช้ในการหมุนเวียนได้มาจากการกู้และการลงหุ้นของหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และสุขาภิบาล โดยมิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นไม่เคยเสนอประมาณการรายรับและรายจ่ายต่อสำนักงบประมาณ ทั้งไม่เคยมีการตั้งงบประมาณแผ่นดินไว้ดำเนินกิจการของโรงพิมพ์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นจึงไม่เป็นส่วนราชการของกรมโจทก์ดังนั้นเงินรายได้และผลกำไรของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นย่อมมิใช่รายได้อันจะต้องนำส่งคลังเป็นรายได้ของแผ่นดินในนามของกรมโจทก์ ผลกำไรดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นกำไรสุทธิประจำแต่ละปีหรือกำไรที่สะสมไว้ล้วนเป็นผลอันได้มาจากการประกอบกิจการของโรงพิมพ์ซึ่งอาจเป็นเงินสดหรือทรัพย์สินอื่นมิใช่ดอกผลธรรมดาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากแม่ทรัพย์เพราะเหตุที่ได้ใช้แม่ทรัพย์นั้น ทั้งมิใช่ดอกผลนิตินัยเพราะหาใช่ทรัพย์ที่ได้เป็นครั้งคราวจากผู้อื่นเพื่อตอบแทนการที่ได้ใช้แม่ทรัพย์นั้นไม่ ผลกำไรดังกล่าวจึงมิใช่ดอกผลตกได้แก่กรมโจทก์ แต่ย่อมจะตกแก่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของกิจการนั้น
ในการดำเนินกิจการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินกิจการโรงพิมพ์ขึ้น 2 คณะ คือ คณะกรรมการบริหารมีอำนาจควบคุมดูแลรับผิดชอบทั่วไปในกิจการของโรงพิมพ์ กำหนดนโยบายออกกฎข้อบังคับ ระเบียบการ และคำสั่งในการดำเนินงานกับคณะกรรมการดำเนินงาน มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบาย กฎข้อบังคับ ระเบียบการ และคำสั่งที่คณะกรรมการบริหารได้กำหนดและวางไว้ มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการบริหาร และอธิบดีกรมโจทก์เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงาน คณะกรรมการทั้งสองคณะส่วนใหญ่เป็นกรรมการที่แต่งตั้งตามตำแหน่งหน้าที่ราชการ จำเลยทั้งสิบเก้าสำนวนเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดกรมโจทก์ โดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดิน และช่วยปฏิบัติงานในโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น โรงพิมพ์ดังกล่าวดำเนินการค้าหากำไรเงินรายได้และผลกำไรของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นที่ได้มาจากการดำเนินกิจการไม่เคยมีการนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินคณะกรรมการดำเนินงานโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นได้มีมติให้จัดสรรเงินผลกำไรสุทธิของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นส่วนหนึ่งเป็นเงินรางวัลแก่ข้าราชการที่ช่วยปฏิบัติงาน ซึ่งจำเลยทั้งสิบเก้าสำนวนได้รับเงินดังกล่าวไปตามระเบียบของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นและการจ่ายเงินแก่จำเลยก็ได้จ่ายตามระเบียบที่วางไว้เช่นกันดังนี้การที่คณะกรรมการดำเนินงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อันเป็นการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนมีอำนาจจัดการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นแทนเจ้าของกิจการซึ่งเป็นตัวการ ได้ลงมติให้จัดสรรเงินผลกำไรสุทธิของโรงพิมพ์ดังกล่าวซึ่งเป็นการกระทำตามระเบียบที่กรมโจทก์ยินยอมให้ถือปฏิบัติ ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนที่ได้รับมอบหมายโดยชอบ การกระทำของคณะกรรมการดำเนินงานโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลยทั้งสิบเก้าสำนวนได้รับเงินไปจากโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเพื่อเป็นรางวัลตอบแทนการปฏิบัติงานย่อมมิใช่รับไปโดยไม่มีสิทธิและไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงจะฟ้องให้จำเลยคืนเงินแก่โจทก์หาได้ไม่
ในการดำเนินกิจการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินกิจการโรงพิมพ์ขึ้น 2 คณะ คือ คณะกรรมการบริหารมีอำนาจควบคุมดูแลรับผิดชอบทั่วไปในกิจการของโรงพิมพ์ กำหนดนโยบายออกกฎข้อบังคับ ระเบียบการ และคำสั่งในการดำเนินงานกับคณะกรรมการดำเนินงาน มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบาย กฎข้อบังคับ ระเบียบการ และคำสั่งที่คณะกรรมการบริหารได้กำหนดและวางไว้ มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการบริหาร และอธิบดีกรมโจทก์เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงาน คณะกรรมการทั้งสองคณะส่วนใหญ่เป็นกรรมการที่แต่งตั้งตามตำแหน่งหน้าที่ราชการ จำเลยทั้งสิบเก้าสำนวนเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดกรมโจทก์ โดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดิน และช่วยปฏิบัติงานในโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น โรงพิมพ์ดังกล่าวดำเนินการค้าหากำไรเงินรายได้และผลกำไรของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นที่ได้มาจากการดำเนินกิจการไม่เคยมีการนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินคณะกรรมการดำเนินงานโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นได้มีมติให้จัดสรรเงินผลกำไรสุทธิของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นส่วนหนึ่งเป็นเงินรางวัลแก่ข้าราชการที่ช่วยปฏิบัติงาน ซึ่งจำเลยทั้งสิบเก้าสำนวนได้รับเงินดังกล่าวไปตามระเบียบของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นและการจ่ายเงินแก่จำเลยก็ได้จ่ายตามระเบียบที่วางไว้เช่นกันดังนี้การที่คณะกรรมการดำเนินงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อันเป็นการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนมีอำนาจจัดการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นแทนเจ้าของกิจการซึ่งเป็นตัวการ ได้ลงมติให้จัดสรรเงินผลกำไรสุทธิของโรงพิมพ์ดังกล่าวซึ่งเป็นการกระทำตามระเบียบที่กรมโจทก์ยินยอมให้ถือปฏิบัติ ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนที่ได้รับมอบหมายโดยชอบ การกระทำของคณะกรรมการดำเนินงานโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลยทั้งสิบเก้าสำนวนได้รับเงินไปจากโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเพื่อเป็นรางวัลตอบแทนการปฏิบัติงานย่อมมิใช่รับไปโดยไม่มีสิทธิและไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงจะฟ้องให้จำเลยคืนเงินแก่โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้น: สิทธิเรียกร้องเมื่อไม่ส่งมอบใบหุ้นตามกำหนด และผลของการประพฤติผิดสัญญาของตัวแทน
ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 35 ผู้ที่เข้าเกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์โดยผ่านบริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์จำต้องยินยอมผูกพันตนเองตามระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทุกประการ ดังนั้น จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผู้สั่งซื้อหุ้นมิได้เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์จึงไม่ต้องใช้ข้อบังคับดังกล่าวหาได้ไม่
ระเบียบปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีว่า การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะต้องส่งมอบใบหุ้นและชำระราคากันภายใน 4 วันของวันทำการเว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่นจำเลยเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ จึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าว ไม่ว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นสมาชิกหรือไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยโอนใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์ภายใน 4 วันของวันทำการได้
โจทก์ทวงถามให้จำเลยส่งมอบใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์โดยไม่มีการผ่อนผันหรือตกลงยินยอมเป็นอย่างอื่น เมื่อผู้ขายหุ้นไม่ส่งมอบใบหุ้นให้แก่จำเลยภายใน 4 วัน จำเลยก็มิได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์เป็นหนังสือเพื่อให้ ตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการตามข้อบังคับ ข้อ 31 จึงเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แม้โจทก์จำเลยจะผูกพันกันในฐานะตัวการตัวแทนก็ดีหากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวซึ่งใช้บังคับระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว ถือได้ว่าตัวแทนประพฤติผิดสัญญาโจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมบอกเลิกสัญญาได้
การซื้อขายหุ้นที่จะถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดนั้นจะต้องเป็นการซื้อขายหุ้นที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้กำหนดกันไว้แล้วว่าเป็นหุ้นจำนวนเท่าใด และมีหมายเลขหุ้นที่เท่าใด นอกจากนี้ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้กู้เงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และวิธีการรับมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ ข้อ 5และข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 33 วรรคสามยังบังคับว่าการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นจะต้องมีใบหุ้นหรือใบตอบรับการโอนหุ้นที่นายทะเบียนเป็นผู้ออกให้อยู่ที่บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสมาชิกผู้ขายพร้อมที่จะส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อได้ทุกเมื่อ ปรากฏว่าขณะที่จำเลยตกลงซื้อหุ้นรายพิพาทจากผู้ขาย ยังไม่มีใบหุ้นตามจำนวนที่ตกลงซื้อขายกันอยู่ที่ผู้ขาย หรือมิได้มีบุคคลใดมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์นั้น เมื่อการซื้อขายยังไม่มีใบหุ้นจึงเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 33 วรรค 1 และ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแล้วสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาซื้อขายหุ้นเพราะจำเลยประพฤติผิดระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หนี้อันเกิดจากโจทก์สั่งซื้อหุ้นพิพาทจึงไม่มีจำเลยจึงต้องคืนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์จำนำไว้เป็นประกันการสั่งซื้อหุ้นให้แก่โจทก์
ระเบียบปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีว่า การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะต้องส่งมอบใบหุ้นและชำระราคากันภายใน 4 วันของวันทำการเว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่นจำเลยเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ จึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าว ไม่ว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นสมาชิกหรือไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยโอนใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์ภายใน 4 วันของวันทำการได้
โจทก์ทวงถามให้จำเลยส่งมอบใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์โดยไม่มีการผ่อนผันหรือตกลงยินยอมเป็นอย่างอื่น เมื่อผู้ขายหุ้นไม่ส่งมอบใบหุ้นให้แก่จำเลยภายใน 4 วัน จำเลยก็มิได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์เป็นหนังสือเพื่อให้ ตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการตามข้อบังคับ ข้อ 31 จึงเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แม้โจทก์จำเลยจะผูกพันกันในฐานะตัวการตัวแทนก็ดีหากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวซึ่งใช้บังคับระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว ถือได้ว่าตัวแทนประพฤติผิดสัญญาโจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมบอกเลิกสัญญาได้
การซื้อขายหุ้นที่จะถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดนั้นจะต้องเป็นการซื้อขายหุ้นที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้กำหนดกันไว้แล้วว่าเป็นหุ้นจำนวนเท่าใด และมีหมายเลขหุ้นที่เท่าใด นอกจากนี้ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้กู้เงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และวิธีการรับมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ ข้อ 5และข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 33 วรรคสามยังบังคับว่าการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นจะต้องมีใบหุ้นหรือใบตอบรับการโอนหุ้นที่นายทะเบียนเป็นผู้ออกให้อยู่ที่บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสมาชิกผู้ขายพร้อมที่จะส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อได้ทุกเมื่อ ปรากฏว่าขณะที่จำเลยตกลงซื้อหุ้นรายพิพาทจากผู้ขาย ยังไม่มีใบหุ้นตามจำนวนที่ตกลงซื้อขายกันอยู่ที่ผู้ขาย หรือมิได้มีบุคคลใดมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์นั้น เมื่อการซื้อขายยังไม่มีใบหุ้นจึงเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 33 วรรค 1 และ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแล้วสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาซื้อขายหุ้นเพราะจำเลยประพฤติผิดระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หนี้อันเกิดจากโจทก์สั่งซื้อหุ้นพิพาทจึงไม่มีจำเลยจึงต้องคืนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์จำนำไว้เป็นประกันการสั่งซื้อหุ้นให้แก่โจทก์