พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ตัวแทน การปฏิบัติงานนอกเหนืออำนาจ และความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
จำเลยได้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้จัดการธนาคารสาขาวรจักรของโจทก์ ในการจ่ายเงินล่วงหน้าหรือให้ลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชีนั้น จะต้องมีดอกเบี้ยและเรียกหลักประกัน เช่นการรับจำนำหรือรับจำนอง แต่จำเลยให้ ซ.และฬ. เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่ได้เรียกหลักประกันไว้ ครั้น ซ. ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยไม่ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกร้องเอาจาก ซ. ส่วนฬ. ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง โจทก์ไม่สามารถติดตามให้ชำระหนี้ได้ ถ้าจำเลยเรียกหลักประกันไว้จากบุคคลทั้งสองนี้โจทก์จะไม่เสียหาย การที่โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้จากบุคคลทั้งสองนี้เห็นได้ชัดว่าเกิดขึ้นเพราะจำเลยไม่เรียกหลักประกันอันเป็นการกระทำนอกเหนือขอบอำนาจ และเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในอิฐที่ยังมิได้ส่งมอบ: การแยกนับจำนวนที่รับมอบแล้วทำให้กรรมสิทธิ์โอนไปได้
เดิมโจทก์ทำสัญญาซื้ออิฐไว้จากผู้ขาย ชำระราคาแล้ว แต่ยังไม่มีการแยกนับและส่งมอบ ต่อมาโจทก์ได้ให้จำเลยไปรับอิฐบางส่วนจากผู้ขายดังกล่าวเพื่อถวายวัด จำเลยรับอิฐเกินไปจากที่โจทก์สั่ง แล้วนำอิฐส่วนที่เกินนี้ไปขายเสียเอง การที่จำเลยไปรับอิฐแทนโจทก์นั้นถือว่าได้มีการแยกนับจำนวนแน่นอนเป็นครั้งคราวเฉพาะอิฐจำนวนที่จำเลยรับไปนั้นได้โอนเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ไปแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 460 การที่จำเลยนำอิฐที่รับเกินไปขายโดยไม่มีอำนาจย่อมเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจและเมื่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนออกใบตราส่งไม่ตรงตามข้อตกลง ทำให้เจ้าของเรือต้องรับผิดชอบ สัญญาเช่าเรือ
โจทก์ได้ติดต่อที่จะแต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนรับส่งสินค้าทางทะเลขอให้ส่งตัวแทนไปเจรจาข้อปลีกย่อย เมื่อโจทก์และตัวแทนจำเลยที่ 1 ได้เจรจาตกลงกันแล้วจำเลยที่ 1 ได้มีจดหมายยืนยันรายละเอียดที่ได้เจรจากันไปให้โจทก์ทราบ และตัวแทนโจทก์ก็ได้มีจดหมายยืนยันมายังจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกัน และว่าจะส่งหนังสือแต่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการตามมาภายหลัง เมื่อเรือของโจทก์เดินทางมารับสินค้าเป็นลำแรก จำเลยที่ 1 ก็ได้ทำหน้าที่ตามที่ตกลงกันไว้และแสดงต่อทางราชการว่าเป็นตัวแทนของโจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนและจำเลยที่ 1 รับเป็นตัวแทนของโจทก์ในการรับส่งสินค้าทางทะเลแล้ว แม้โจทก์จะยังมิได้มีหนังสือแต่งตั้งจำเลยที่ 1 อย่างเป็นทางการก็ไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะมิใช่กรณีที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือ
สัญญาเช่าเรือขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างโจทก์กับเจ้าของเรือ กำหนดให้เจ้าของเรือรับผิดเช่นเดียวกับโจทก์ผู้เช่า สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าตามที่ปรากฏในใบตราส่งที่กัปตันเรือเป็นผู้ลงชื่อในใบตราส่ง แต่ถ้าโจทก์จะให้กัปตันเรือมอบอำนาจให้โจทก์หรือตัวแทนโจทก์ลงชื่อในใบตราส่งแทนกัปตันเรือก็ได้ ทั้งนี้ต้องออกใบตราส่งให้มีข้อความตรงกับใบรับขั้นต้น กัปตันเรือได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ลงชื่อในใบตราส่ง โดยมีข้อกำหนดว่าจะต้องออกใบตราส่งให้มีข้อความตรงกับใบรับขั้นต้น หาไม่แล้วเจ้าของเรือจะไม่รับผิดชอบจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้ว่าสินค้ามันสำปะหลังที่จำเลยที่ 2 มาจ้างขนส่งนั้นยังไม่แห้งสนิทดังที่หมายเหตุไว้ในใบรับขั้นต้นแต่กลับออกใบตราส่งให้จำเลยที่ 2 ไปโดยไม่หมายเหตุความบกพร่องไว้ให้ตรงกับใบรับขั้นต้น เป็นเหตุให้ธนาคารจ่ายเงินค่าสินค้ามันสำปะหลังให้จำเลยที่ 2 ไปตามใบตราส่งที่ไม่มีหมายเหตุความบกพร่อง ต่อมามันสำปะหลังไปถึงผู้รับตราส่งปรากฏว่าชื้นขึ้นราและมีกลิ่น คุณภาพได้เสื่อมลงราคาตกไปประมาณครึ่งหนึ่ง ทำให้ผู้รับตราส่งได้รับความเสียหายจึงได้ฟ้องให้เจ้าของเรือรับผิด เจ้าของเรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้รับตราส่งแล้วจึงได้ไล่เบี้ยเอากับโจทก์ที่ออกใบตราส่งไม่ตรงตามสัญญาเช่าเรือ โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายแก่เจ้างของเรือไปตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จึงต้องถือว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนโจทก์ในการที่ออกใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 2 ไม่ตรงกับใบรับขั้นต้นตามที่ได้รับมอบหมายจากกัปตันเรือ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 มิได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อให้โจทก์เสียหาย จึงพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยปัญหาที่ว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 มิได้ยกปัญหาเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความให้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในชั้นอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกาเรื่องอายุความขึ้นมาจึงต้องถือว่าปัญหาเรื่องอายุความมิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญาเช่าเรือขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างโจทก์กับเจ้าของเรือ กำหนดให้เจ้าของเรือรับผิดเช่นเดียวกับโจทก์ผู้เช่า สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าตามที่ปรากฏในใบตราส่งที่กัปตันเรือเป็นผู้ลงชื่อในใบตราส่ง แต่ถ้าโจทก์จะให้กัปตันเรือมอบอำนาจให้โจทก์หรือตัวแทนโจทก์ลงชื่อในใบตราส่งแทนกัปตันเรือก็ได้ ทั้งนี้ต้องออกใบตราส่งให้มีข้อความตรงกับใบรับขั้นต้น กัปตันเรือได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ลงชื่อในใบตราส่ง โดยมีข้อกำหนดว่าจะต้องออกใบตราส่งให้มีข้อความตรงกับใบรับขั้นต้น หาไม่แล้วเจ้าของเรือจะไม่รับผิดชอบจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้ว่าสินค้ามันสำปะหลังที่จำเลยที่ 2 มาจ้างขนส่งนั้นยังไม่แห้งสนิทดังที่หมายเหตุไว้ในใบรับขั้นต้นแต่กลับออกใบตราส่งให้จำเลยที่ 2 ไปโดยไม่หมายเหตุความบกพร่องไว้ให้ตรงกับใบรับขั้นต้น เป็นเหตุให้ธนาคารจ่ายเงินค่าสินค้ามันสำปะหลังให้จำเลยที่ 2 ไปตามใบตราส่งที่ไม่มีหมายเหตุความบกพร่อง ต่อมามันสำปะหลังไปถึงผู้รับตราส่งปรากฏว่าชื้นขึ้นราและมีกลิ่น คุณภาพได้เสื่อมลงราคาตกไปประมาณครึ่งหนึ่ง ทำให้ผู้รับตราส่งได้รับความเสียหายจึงได้ฟ้องให้เจ้าของเรือรับผิด เจ้าของเรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้รับตราส่งแล้วจึงได้ไล่เบี้ยเอากับโจทก์ที่ออกใบตราส่งไม่ตรงตามสัญญาเช่าเรือ โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายแก่เจ้างของเรือไปตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จึงต้องถือว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนโจทก์ในการที่ออกใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 2 ไม่ตรงกับใบรับขั้นต้นตามที่ได้รับมอบหมายจากกัปตันเรือ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 มิได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อให้โจทก์เสียหาย จึงพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยปัญหาที่ว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 มิได้ยกปัญหาเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความให้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในชั้นอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกาเรื่องอายุความขึ้นมาจึงต้องถือว่าปัญหาเรื่องอายุความมิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนออกใบตราส่งไม่ตรงตามข้อตกลงกับเจ้าของเรือ ทำให้เจ้าของเรือต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่ง ตัวแทนต้องรับผิดร่วมกับผู้ว่าจ้าง
โจทก์ได้ติดต่อที่จะแต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนรับส่งสินค้าทางทะเลขอให้ส่งตัวแทนไปเจรจาข้อปลีกย่อย เมื่อโจทก์และตัวแทนจำเลยที่ 1 ได้เจรจาตกลงกันแล้วจำเลยที่ 1 ได้มีจดหมายยืนยันรายละเอียดที่ได้เจรจากันไปให้โจทก์ทราบ และตัวแทนโจทก์ก็ได้มีจดหมายยืนยันมายังจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกัน และว่าจะส่งหนังสือแต่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการตามมาภายหลังเมื่อเรือของโจทก์เดินทางมารับสินค้าเป็นลำแรก จำเลยที่ 1 ก็ได้ทำหน้าที่ตามที่ตกลงกันไว้ และแสดงต่อทางราชการว่าเป็นตัวแทนของโจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนและจำเลยที่ 1 รับเป็นตัวแทนของโจทก์ในการรับส่งสินค้าทางทะเลแล้ว แม้โจทก์จะยังมิได้มีหนังสือแต่งตั้งจำเลยที่ 1 อย่างเป็นทางการก็ไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะมิใช่กรณีที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือ
สัญญาเช่าเรือขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างโจทก์กับเจ้าของเรือ กำหนดให้เจ้าของเรือรับผิดเช่นเดียวกับโจทก์ผู้เช่าสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าตามที่ปรากฏในใบตราส่งที่กัปตันเรือเป็นผู้ลงชื่อในใบตราส่ง แต่ถ้าโจทก์จะให้กัปตันเรือมอบอำนาจให้โจทก์หรือตัวแทนโจทก์ลงชื่อในใบตราส่งแทนกัปตันเรือก็ได้ ทั้งนี้ต้องออกใบตราส่งให้มีข้อความตรงกับใบรับขั้นต้น กัปตันเรือได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ลงชื่อในใบตราส่งโดยมีข้อกำหนดว่าจะต้องออกใบตราส่งให้มีข้อความตรงกับใบรับขั้นต้น หาไม่แล้วเจ้าของเรือจะไม่รับผิดชอบ จำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าสินค้ามันสำปะหลังที่จำเลยที่ 2 มาจ้างขนส่งนั้นยังไม่แห้งสนิทดังที่หมายเหตุไว้ในใบรับขั้นต้น แต่กลับออกใบตราส่งให้จำเลยที่ 2 ไปโดยไม่หมายเหตุความบกพร่องไว้ให้ตรงกับใบรับขั้นต้น เป็นเหตุให้ธนาคารจ่ายเงินค่าสินค้ามันสำปะหลังให้จำเลยที่ 2 ไปตามใบตราส่งที่ไม่มีหมายเหตุความบกพร่อง ต่อมามันสำปะหลังไปถึงผู้รับตราส่งปรากฏว่าชื้นขึ้นราและมีกลิ่น คุณภาพได้เสื่อมลงราคาตกไปประมาณครึ่งหนึ่ง ทำให้ผู้รับตราส่งได้รับความเสียหาย จึงได้ฟ้องให้เจ้าของเรือรับผิด เจ้าของเรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้รับตราส่งแล้วจึงได้ไล่เบี้ยเอากับโจทก์ที่ออกใบตราส่งไม่ตรงตามสัญญาเช่าเรือ โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของเรือไปตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จึงต้องถือว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนโจทก์ในการที่ออกใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 2 ไม่ตรงกับใบรับขั้นต้นตามที่ได้รับมอบหมายจากกัปตันเรือ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 มิได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อให้โจทก์เสียหาย จึงพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยปัญหาที่ว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 มิได้ยกปัญหาเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความให้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในชั้นอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบเมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกาเรื่องอายุความขึ้นมา จึงต้องถือว่าปัญหาเรื่องอายุความมิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญาเช่าเรือขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างโจทก์กับเจ้าของเรือ กำหนดให้เจ้าของเรือรับผิดเช่นเดียวกับโจทก์ผู้เช่าสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าตามที่ปรากฏในใบตราส่งที่กัปตันเรือเป็นผู้ลงชื่อในใบตราส่ง แต่ถ้าโจทก์จะให้กัปตันเรือมอบอำนาจให้โจทก์หรือตัวแทนโจทก์ลงชื่อในใบตราส่งแทนกัปตันเรือก็ได้ ทั้งนี้ต้องออกใบตราส่งให้มีข้อความตรงกับใบรับขั้นต้น กัปตันเรือได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ลงชื่อในใบตราส่งโดยมีข้อกำหนดว่าจะต้องออกใบตราส่งให้มีข้อความตรงกับใบรับขั้นต้น หาไม่แล้วเจ้าของเรือจะไม่รับผิดชอบ จำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าสินค้ามันสำปะหลังที่จำเลยที่ 2 มาจ้างขนส่งนั้นยังไม่แห้งสนิทดังที่หมายเหตุไว้ในใบรับขั้นต้น แต่กลับออกใบตราส่งให้จำเลยที่ 2 ไปโดยไม่หมายเหตุความบกพร่องไว้ให้ตรงกับใบรับขั้นต้น เป็นเหตุให้ธนาคารจ่ายเงินค่าสินค้ามันสำปะหลังให้จำเลยที่ 2 ไปตามใบตราส่งที่ไม่มีหมายเหตุความบกพร่อง ต่อมามันสำปะหลังไปถึงผู้รับตราส่งปรากฏว่าชื้นขึ้นราและมีกลิ่น คุณภาพได้เสื่อมลงราคาตกไปประมาณครึ่งหนึ่ง ทำให้ผู้รับตราส่งได้รับความเสียหาย จึงได้ฟ้องให้เจ้าของเรือรับผิด เจ้าของเรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้รับตราส่งแล้วจึงได้ไล่เบี้ยเอากับโจทก์ที่ออกใบตราส่งไม่ตรงตามสัญญาเช่าเรือ โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของเรือไปตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จึงต้องถือว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนโจทก์ในการที่ออกใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 2 ไม่ตรงกับใบรับขั้นต้นตามที่ได้รับมอบหมายจากกัปตันเรือ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 มิได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อให้โจทก์เสียหาย จึงพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยปัญหาที่ว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 มิได้ยกปัญหาเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความให้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในชั้นอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบเมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกาเรื่องอายุความขึ้นมา จึงต้องถือว่าปัญหาเรื่องอายุความมิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยปราศจากอำนาจของตัวแทน และผลผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ตั้งทนายดำเนินคดีขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นโจทก์ จำเลยที่ 1 กลับไปกรอกข้อความเป็นว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ฟ้อง และทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 แล้วร่วมกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันด้วยเจตนาฉ้อโกงโจทก์โดยทุจริต เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ ขอให้พิพากษาเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าว ดังนี้กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนกระทำการโดยปราศจากอำนาจหรือทำนอกเหนือขอบอำนาจ ทำให้โจทก์เสียหายและจำเลยทั้งสี่กระทำการละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะว่ากล่าวเอาแก่จำเลยตามกฎหมายดังกล่าว จะมาฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมซึ่งถึงที่สุดแล้วหาได้ไม่ เพราะโจทก์เป็นคู่ความในคดีเดิมนั้น จึงต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าว ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องคดีใหม่นี้ได้เลย โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยปราศจากอำนาจของตัวแทนและการผูกพันตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ตั้งทนายดำเนินคดีขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของโจทก์ จำเลยที่ 1 กลับไปกรอกข้อความเป็นว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ฟ้องและทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 แล้วร่วมกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันด้วยเจตนาฉ้อโกงโจทก์โดยทุจริต เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ขอให้พิพากษาเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าว ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนกระทำการโดยปราศจากอำนาจหรือทำนอกเหนือขอบอำนาจทำให้โจทก์เสียหายและจำเลยทั้งสี่กระทำการละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะว่ากล่าวเอาแก่จำเลยตามกฎหมายดังกล่าว จะมาฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมซึ่งถึงที่สุดแล้วหาได้ไม่เพราะโจทก์เป็นคู่ความในคดีเดิมนั้นจึงต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าว ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องคดีใหม่นี้ได้เลยโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2272/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องตัวแทนรับผิดตามสัญญาตัวแทน ไม่ใช่การเรียกค่าของตามปพพ.มาตรา 165(1)
จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของโจทก์ โดยหาผู้เช่าซื้อมาทำสัญญากับโจทก์โดยตรงและรับรถยนต์ไป ในการนี้จำเลยมีสิทธิได้รับเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 1,000 บาท ต่อรถ 1 คัน และจำเลยหาผู้ใดมาเช่าซื้อ จำเลยต้องทำสัญญาค้ำประกันชดใช้เงินให้แก่โจทก์ในเมื่อผู้เช่าซื้อผิดสัญญาทุกกรณี ส่วนการเก็บเงินค่าเช่าซื้อตามงวด จำเลยเป็นผู้เก็บส่งโจทก์ หากผู้เช่าซื้อผิดสัญญา จำเลยก็ยึดรถที่เช่าซื้อนั้นคืนโจทก์หรือใช้ราคาให้ตามสัญญา ในการนี้โจทก์คิดค่าตอบแทนให้จำเลย 7 เปอร์เซ็นต์ของราคารถ ต่อมาผู้เช่าซื้อรถยนต์บางรายชำระเงินค่าเช่าซื้อไม่ครบ โจทก์ทวงถามอยู่เสมอ จำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยติดค้างโจทก์ 2 ฉบับ ฉบับแรกเป็นสัญญาชดใช้ค่าสินค้าที่ผู้เช่าซื้อรถยนต์ค้างชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์รวมเป็นเงิน 210,500 บาท ฉบับที่ 2 เป็นสัญญารับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการที่จำเลยไปยึดรถยนต์คืนจากผู้เช่าซื้อที่ผิดสัญญาเช่าซื้อมาแล้วปล่อยให้รถตากแดดตากฝนจนได้รับความเสียหายเป็นเงิน 28,500 บาทกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยยอมรับผิดชำระค่าเช่าซื้อแทนผู้เช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่รวมทั้งยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ ในฐานะเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์การฟ้องจำเลยตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นการฟ้องตัวแทนให้รับผิดตามสัญญาตัวแทน หาใช่เป็นเรื่องที่พ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของซึ่งมีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนขายพลอย: ศาลยึดตามคำพิพากษาคดีอาญาเดิมว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วน ผู้รับเช็คต้องรับผิดชอบเช็คเอง
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา เมื่อในคำพิพากษาคดีอาญาซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลย ศาลฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยรับพลอยจากโจทก์ไปขายให้ผู้มีชื่อ ผู้มีชื่อชำระเงินค่าพลอยให้มาเป็นเช็ค จำเลยก็นำเช็คทั้งหมดมอบให้โจทก์ ดังนี้ในคดีแพ่งซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าพลอยจากจำเลย โจทก์จะเถียงข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้รับเช็คค่าพลอยไว้จากจำเลยยังไม่ครบถ้วนหาได้ไม่
จำเลยเป็นตัวแทนนำพลอยของโจทก์ไปขายผู้ซื้อชำระค่าพลอยให้มาเป็นเช็คลงวันสั่งจ่ายล่วงหน้า จำเลยก็นำเช็คทั้งหมดมามอบให้โจทก์ เช็คบางฉบับก่อนจะถึงกำหนดวันสั่งจ่าย ผู้ซื้อยังไม่มีเงินในบัญชีของธนาคาร ขอให้จำเลยไปติดต่อกับโจทก์ขอเปลี่ยนเช็คใหม่โดยขยายเวลาออกไปอีก โจทก์ก็ยอม เมื่อโจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินจากธนาคารไม่ได้ ได้ใช้ให้จำเลยไปดูพลอยที่ขายในร้านผู้ซื้อเพื่อจะเอาคืนมา จำเลยก็ไปดูให้ เมื่อพบว่าไม่มีสิ่งของในร้านผู้ซื้อเหลืออยู่ จำเลยก็กลับมาแจ้งให้โจทก์ทราบ ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนครบถ้วนแล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นเรื่องโจทก์จะต้องว่ากล่าวเอาแก่ผู้สั่งจ่ายเช็ค
จำเลยเป็นตัวแทนนำพลอยของโจทก์ไปขายผู้ซื้อชำระค่าพลอยให้มาเป็นเช็คลงวันสั่งจ่ายล่วงหน้า จำเลยก็นำเช็คทั้งหมดมามอบให้โจทก์ เช็คบางฉบับก่อนจะถึงกำหนดวันสั่งจ่าย ผู้ซื้อยังไม่มีเงินในบัญชีของธนาคาร ขอให้จำเลยไปติดต่อกับโจทก์ขอเปลี่ยนเช็คใหม่โดยขยายเวลาออกไปอีก โจทก์ก็ยอม เมื่อโจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินจากธนาคารไม่ได้ ได้ใช้ให้จำเลยไปดูพลอยที่ขายในร้านผู้ซื้อเพื่อจะเอาคืนมา จำเลยก็ไปดูให้ เมื่อพบว่าไม่มีสิ่งของในร้านผู้ซื้อเหลืออยู่ จำเลยก็กลับมาแจ้งให้โจทก์ทราบ ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนครบถ้วนแล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นเรื่องโจทก์จะต้องว่ากล่าวเอาแก่ผู้สั่งจ่ายเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้จัดการโรงพิมพ์ต่อเงินขาดบัญชีจากลูกจ้างที่ยักยอกเงิน
ตามฟ้องของโจทก์ตั้งประเด็นให้จำเลยรับผิดใช้เงินในฐานะเป็นลูกจ้างและตัวแทนของโจทก์ ซึ่งมีผลเท่ากับกล่าวว่าจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โดยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้ตกลงจ้าง ทำให้เงินของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างขาดหายไปหรือจำเลยผิดสัญญาตัวแทน โดยทำให้โจทก์ซึ่งเป็นตัวการเสียหาย แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องไม่ชัดเจนว่าจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานหรือผิดสัญญาตัวแทน แต่เมื่อโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาให้เป็นที่เข้าใจตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไรแล้ว ก็ตกเป็นหน้าที่ของศาลที่จะนำตัวบทกฎหมายมาปรับแก่คดีได้ โจทก์หาได้ตั้งประเด็นฟ้องจำเลยว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่เรื่องฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิด
ระเบียบการปฏิบัติงานของโจทก์กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการโรงพิมพ์ข้อ 3 มีว่า "ผู้จัดการเป็นผู้อำนวยการและรับผิดชอบในกิจการทั่วไป" นอกจากนี้ก็ได้วางระเบียบแบ่งงานไว้เป็นหมวดต่าง ๆ มีหมวดกลาง หมวดคลัง และหมวดโรงงาน ซึ่งทุกหมวดจะต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาและควบคุมดูแลของผู้จัดการทั้งสิ้น โดยได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้อ 45 ว่า "ให้ผู้จัดการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งกำหนดวิธีปฏิบัติงานในโรงพิมพ์การศาสนาเป็นการภายในได้โดยไม่ขัดแย้งต่อระเบียบนี้" ในเรื่องระเบียบเกี่ยวแก่การเงินได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้อ 18 ว่า "เงินรายได้ของโรงพิมพ์เมื่อได้รับเกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป ให้นำส่งกองศาสนสมบัติ กรมการศาสนา" และได้บัญญัติวิธีรักษาเงินไว้ในข้อ 21 ว่า "เงินของโรงพิมพ์การศาสนาให้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยโดยมีผู้จัดการหรือผู้ทำการแทนผู้จัดการ หัวหน้าหมวดคลัง และหัวหน้าหมวดโรงงานเป็นคณะกรรมการรักษากุญแจตู้นิรภัยร่วมกัน เมื่องบบัญชีเงินสดประจำวันให้มีการตรวจนับตัวเงิน เมื่อตรวจนับถูกต้องตามบัญชีเงินสดแล้ว ให้นำเก็บไว้ในตู้นิรภัย แล้วตีตราประตูห้องเก็บตู้นิรภัยไว้ด้วย ฯลฯ" ดังนี้ จะเห็นได้ว่าโจทก์ได้กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการไว้ให้มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์โดยใกล้ชิดด้วย เช่น ต้องมีการตรวจบัญชีเงินสด และนับตัวเงินสดทุกวัน เป็นต้น ดังนั้น การที่ พ. สมุหบัญชีรับเงินเป็นตัวเงินสดไว้ถึง 124,552 บาทแล้วไม่นำส่งโจทก์ได้นั้น ย่อมแสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่โจทก์จ้าง กล่าวคือไม่ควบคุมตรวจบัญชีเงินสด เป็นการกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามจำนวนเงินของโจทก์ที่ขาดหายไปได้
กรณีที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่ลูกหนี้ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 ซึ่งเป็นบทบัญญัติของลักษณะหนี้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ไม่
ระเบียบการปฏิบัติงานของโจทก์กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการโรงพิมพ์ข้อ 3 มีว่า "ผู้จัดการเป็นผู้อำนวยการและรับผิดชอบในกิจการทั่วไป" นอกจากนี้ก็ได้วางระเบียบแบ่งงานไว้เป็นหมวดต่าง ๆ มีหมวดกลาง หมวดคลัง และหมวดโรงงาน ซึ่งทุกหมวดจะต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาและควบคุมดูแลของผู้จัดการทั้งสิ้น โดยได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้อ 45 ว่า "ให้ผู้จัดการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งกำหนดวิธีปฏิบัติงานในโรงพิมพ์การศาสนาเป็นการภายในได้โดยไม่ขัดแย้งต่อระเบียบนี้" ในเรื่องระเบียบเกี่ยวแก่การเงินได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้อ 18 ว่า "เงินรายได้ของโรงพิมพ์เมื่อได้รับเกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป ให้นำส่งกองศาสนสมบัติ กรมการศาสนา" และได้บัญญัติวิธีรักษาเงินไว้ในข้อ 21 ว่า "เงินของโรงพิมพ์การศาสนาให้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยโดยมีผู้จัดการหรือผู้ทำการแทนผู้จัดการ หัวหน้าหมวดคลัง และหัวหน้าหมวดโรงงานเป็นคณะกรรมการรักษากุญแจตู้นิรภัยร่วมกัน เมื่องบบัญชีเงินสดประจำวันให้มีการตรวจนับตัวเงิน เมื่อตรวจนับถูกต้องตามบัญชีเงินสดแล้ว ให้นำเก็บไว้ในตู้นิรภัย แล้วตีตราประตูห้องเก็บตู้นิรภัยไว้ด้วย ฯลฯ" ดังนี้ จะเห็นได้ว่าโจทก์ได้กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการไว้ให้มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์โดยใกล้ชิดด้วย เช่น ต้องมีการตรวจบัญชีเงินสด และนับตัวเงินสดทุกวัน เป็นต้น ดังนั้น การที่ พ. สมุหบัญชีรับเงินเป็นตัวเงินสดไว้ถึง 124,552 บาทแล้วไม่นำส่งโจทก์ได้นั้น ย่อมแสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่โจทก์จ้าง กล่าวคือไม่ควบคุมตรวจบัญชีเงินสด เป็นการกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามจำนวนเงินของโจทก์ที่ขาดหายไปได้
กรณีที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่ลูกหนี้ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 ซึ่งเป็นบทบัญญัติของลักษณะหนี้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้จัดการโรงพิมพ์ฐานละเลยหน้าที่ควบคุมการเงิน ทำให้เงินขาดหายไป ถือเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน
ตามฟ้องของโจทก์ตั้งประเด็นให้จำเลยรับผิดใช้เงินในฐานะเป็นลูกจ้างและตัวแทนของโจทก์ ซึ่งมีผลเท่ากับกล่าวว่าจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โดยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้ตกลงจ้างทำให้เงินของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างขาดหายไปหรือจำเลยผิดสัญญาตัวแทน โดยทำให้โจทก์ซึ่งเป็นตัวการเสียหาย แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องไม่ชัดเจนว่า จำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานหรือผิดสัญญาตัวแทน แต่เมื่อโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาให้เป็นที่เข้าใจตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไรแล้ว ก็ตกเป็นหน้าที่ของศาลที่จะนำตัวบทกฎหมายมาปรับแก่คดีได้ โจทก์หาได้ตั้งประเด็นฟ้องจำเลยว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์ฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่เรื่องฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิด
ระเบียบการปฏิบัติงานของโจทก์กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการโรงพิมพ์ข้อ 3 มีว่า 'ผู้จัดการเป็นผู้อำนวยการและรับผิดชอบในกิจการทั่วไป'นอกจากนี้ก็ได้วางระเบียบแบ่งงานไว้เป็นหมวดต่าง ๆ มีหมวดกลางหมวดคลัง และหมวดโรงงาน ซึ่งทุกหมวดจะต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาและควบคุมดูแลของผู้จัดการทั้งสิ้น โดยได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้อ 45 ว่า 'ให้ผู้จัดการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งกำหนดวิธีปฏิบัติงานในโรงพิมพ์การศาสนาเป็นการภายในได้โดยไม่ขัดแย้งต่อระเบียบนี้' ในเรื่องระเบียบเกี่ยวแก่การเงินก็ได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้อ 18 ว่า 'เงินรายได้ของโรงพิมพ์เมื่อได้รับไว้เกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป ให้นำส่งกองศาสนสมบัติกรมการศาสนา' และได้บัญญัติวิธีรักษาเงินไว้ในข้อ 21 ว่า 'เงินของโรงพิมพ์การศาสนาให้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยโดยมีผู้จัดการหรือผู้ทำการแทนผู้จัดการ หัวหน้าหมวดคลัง และหัวหน้าหมวดโรงงานเป็นคณะกรรมการรักษากุญแจตู้นิรภัยร่วมกัน เมื่องบบัญชีเงินสดประจำวันให้มีการตรวจนับตัวเงินเมื่อตรวจนับถูกต้องตามบัญชีเงินสดแล้ว ให้นำเก็บไว้ในตู้นิรภัย แล้วตีตราประตูห้องเก็บตู้นิรภัยไว้ด้วย ฯลฯ'ดังนี้ จะเห็นได้ว่าโจทก์ได้กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการไว้ให้มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์โดยใกล้ชิดด้วย เช่นต้องมีการตรวจบัญชีเงินสดและนับตัวเงินสดทุกวัน เป็นต้น ดังนั้นการที่ พ. สมุหบัญชีรับเงินเป็นตัวเงินสดไว้ถึง124,552 บาทแล้วไม่นำส่งโจทก์ได้นั้น ย่อมแสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่โจทก์จ้าง กล่าวคือไม่ควบคุมตรวจบัญชีเงินสดเป็นการกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามจำนวนเงินของโจทก์ที่ขาดหายไปได้
กรณีที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่ลูกหนี้ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 ซึ่งเป็นบทบัญญัติของลักษณะหนี้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ไม่
ระเบียบการปฏิบัติงานของโจทก์กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการโรงพิมพ์ข้อ 3 มีว่า 'ผู้จัดการเป็นผู้อำนวยการและรับผิดชอบในกิจการทั่วไป'นอกจากนี้ก็ได้วางระเบียบแบ่งงานไว้เป็นหมวดต่าง ๆ มีหมวดกลางหมวดคลัง และหมวดโรงงาน ซึ่งทุกหมวดจะต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาและควบคุมดูแลของผู้จัดการทั้งสิ้น โดยได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้อ 45 ว่า 'ให้ผู้จัดการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งกำหนดวิธีปฏิบัติงานในโรงพิมพ์การศาสนาเป็นการภายในได้โดยไม่ขัดแย้งต่อระเบียบนี้' ในเรื่องระเบียบเกี่ยวแก่การเงินก็ได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้อ 18 ว่า 'เงินรายได้ของโรงพิมพ์เมื่อได้รับไว้เกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป ให้นำส่งกองศาสนสมบัติกรมการศาสนา' และได้บัญญัติวิธีรักษาเงินไว้ในข้อ 21 ว่า 'เงินของโรงพิมพ์การศาสนาให้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยโดยมีผู้จัดการหรือผู้ทำการแทนผู้จัดการ หัวหน้าหมวดคลัง และหัวหน้าหมวดโรงงานเป็นคณะกรรมการรักษากุญแจตู้นิรภัยร่วมกัน เมื่องบบัญชีเงินสดประจำวันให้มีการตรวจนับตัวเงินเมื่อตรวจนับถูกต้องตามบัญชีเงินสดแล้ว ให้นำเก็บไว้ในตู้นิรภัย แล้วตีตราประตูห้องเก็บตู้นิรภัยไว้ด้วย ฯลฯ'ดังนี้ จะเห็นได้ว่าโจทก์ได้กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการไว้ให้มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์โดยใกล้ชิดด้วย เช่นต้องมีการตรวจบัญชีเงินสดและนับตัวเงินสดทุกวัน เป็นต้น ดังนั้นการที่ พ. สมุหบัญชีรับเงินเป็นตัวเงินสดไว้ถึง124,552 บาทแล้วไม่นำส่งโจทก์ได้นั้น ย่อมแสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่โจทก์จ้าง กล่าวคือไม่ควบคุมตรวจบัญชีเงินสดเป็นการกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามจำนวนเงินของโจทก์ที่ขาดหายไปได้
กรณีที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่ลูกหนี้ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 ซึ่งเป็นบทบัญญัติของลักษณะหนี้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ไม่