คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ม. 23

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3699-3739/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวชที่ไม่ชอบตามกฎหมายเถรสมาคมและการละเมิดเสรีภาพในการนับถือศาสนา
เมื่อจำเลยอุทธรณ์แต่เพียงว่า คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าเสรีภาพในการนับถือศาสนาต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2534 มาตรา 27 และไม่เป็นไปตามมาตรา 5ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับดังกล่าวเท่านั้นจึงไม่ใช่กรณีที่ศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จึงไม่ต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นไปเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยและศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวที่จำเลยอุทธรณ์ได้ จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 เพราะการกระทำ ของ จำเลยเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 38 ที่ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพ บริบูรณ์ในการนับถือศาสนาและในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย จำเลยเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาและก่อนจำเลยจะมีพรรษา ครบ 10 พรรษา จำเลยได้ทำหน้าที่ดังเช่นอุปัชฌาย์โดยจำเลย บวชให้แก่ผู้อื่น ทำหน้าที่เป็นพระผู้รับนำเข้าหมู่ เป็นพระผู้ใหญ่ ในการบวช รวมทั้งเป็นผู้มอบเครื่องแต่งกายและอัฐบริขารโดยจำเลยไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปชฌาย์ตาม กฎมหาเถรสมาคมซึ่งขัดต่อ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 23 ที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุที่บัญญัติว่าการแต่งตั้ง ถอดถอนพระอุปัชฌาย์ เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาสผู้ช่วยเจ้าอาวาส พระภิกษุอันเกี่ยวกับตำแหน่งปกครองสงฆ์ตำแหน่งอื่น ๆ และไวยาวัจกร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม และกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 7(พ.ศ. 2506) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 18 และมาตรา 23 แห่ง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 ข้อ 4 บัญญัติว่า พระอุปัชฌาย์หมายความว่า พระภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เป็นประธาน และรับผิดชอบในการให้บรรพชาอุปสมบทตามบทบัญญัติ แห่งกฎมหาเถรสมาคม และข้อ 12 บัญญัติให้พระอุปัชฌาย์ มีหน้าที่บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรได้เฉพาะตนและ เฉพาะภายในเขตตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ดังนี้ เมื่อจำเลยไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ตาม กฎมหาเถรสมาคมฉบับดังกล่าว การบวชของผู้ที่จำเลย บวชให้ จึงเป็นการบวชที่ไม่ชอบ และผู้นั้นย่อมไม่มีสิทธิ แต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นภิกษุสามเณร ในพระพุทธศาสนา ผู้ที่จำเลยบวชให้จึงต้องมีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 ส่วนจำเลยซึ่งเป็นผู้บวชและทำหน้าที่เป็นพระผู้รับนำเข้าหมู่เป็นผู้มอบเครื่องแต่งกายและอัฐบริขารให้แก่จำเลยอื่น จึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้อื่นในการกระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 ประกอบด้วย มาตรา 86 พระธรรมวินัยมีถ้อยคำและความหมายอย่างไรเป็นปัญหาข้อเท็จจริง กฎมหาเถรสมาคมซึ่งออกมาเพื่อประดิษฐานพระธรรมวินัยให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและจำนวนพุทธศาสนิกชนที่เพิ่มขึ้นและมิได้ขัดต่อพระธรรมวินัยเมื่อกฎมหาเถรสมาคมดังกล่าวออกโดยชอบด้วยกฎหมายเพราะอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 มาตรา 23 จึงใช้บังคับได้ บุคคลทุกคนจำเป็นต้องอนุวัตปฏิบัติตาม จะโต้เถียงว่าขัดหรือแย้งกับพระธรรมวินัยและไม่ยอมปฏิบัติตามไม่ได้ แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540มาตรา 38 จะบัญญัติว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา มีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนาบัญญัติ แต่ก็ได้บัญญัติแสดงความมุ่งหมายไว้ด้วยว่าการใช้เสรีภาพดังกล่าวจะต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เมื่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 บัญญัติขึ้นโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ป้องกันมิให้บุคคลผู้มีเจตนาไม่สุจริตอาศัยร่มเงาพระพุทธศาสนาหาประโยชน์ใส่ตน อันเป็นต้นเหตุให้เสื่อมศรัทธาแก่ผู้ที่มี ศรัทธาอยู่แล้ว และไม่ก่อเกิดศรัทธาแก่ผู้ที่ไม่มีศรัทธามาก่อนบุคคลทุกคนจึงต้องปฏิบัติตามกฎหมายให้ต้องตามเจตนารมณ์ จำเลยบวชเป็นพระภิกษุในฝ่ายธรรมยุตนิกายเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2513 และในปี 2516 ได้สวดญัตติเข้าเป็นพระภิกษุในฝ่ายมหานิกายซึ่งแสดงว่าจำเลยได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 และกฎมหาเถรสมาคมมาก่อน และในช่วง เวลาดังกล่าวจำเลยก็สามารถปฏิบัติธรรมได้ไม่ปรากฏว่า จำเลยถูกกลั่นแกล้งจากใครอย่างไรและถึงขนาดไม่อาจ ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยได้ เมื่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505มาตรา 18 บัญญัติให้มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและไม่ปรากฏบทบัญญัติมาตราใดให้สิทธิพระภิกษุสงฆ์ไทยประกาศแยกตนให้มีผลประดุจสังฆเภทไม่ยอมอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้การที่จำเลยขอลาออกจากการปกครองของมหาเถรสมาคม และแยกตัวมาตั้งพุทธสถานสันติอโศก แล้วดำเนินการบวชบุคคลอื่นเป็นพระภิกษุโดยวางกฎระเบียบต่าง ๆ และพยายามปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย แม้จะเป็นเวลานานเท่าใด การประกาศของจำเลยก็ไม่ทำให้จำเลยกับพวกพ้นจากการปกครองของมหาเถรสมาคมและไม่ต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจไวยาวัจกรในการจัดการทรัพย์สินมรดกของวัด: การมอบอำนาจและการแต่งตั้งทนายความ
กฎมหาเถรสมาคมฉบับที่18ลงวันที่30มีนาคม2536ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505ระบุว่า"ไวยาวัจกร"หมายถึงคฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้งและจะมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ ไวยาวัจกร ผู้ได้รับแต่งตั้งก่อนวันใช้กฎมหาเถรสมาคมนี้ให้ถือว่าเป็นไวยาวัจกรตามกฎมหาเถรสมาคมต่อไปเมื่อนาย ป.ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าอาวาสวัดผู้คัดค้านให้เป็นไวยาวัจกรเมื่อวันที่1มีนาคม2536โดยอาศัยอำนาจตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่8จึงถือว่าเป็นไวยาวัจกรอยู่ย่อมมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ แม้ตามคำร้องคัดค้านระบุยืนยันว่านาย ป. มีอำนาจเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านโดยมิได้แนบหนังสือมอบหมายของเจ้าอาวาสก็ตามแต่ก่อนสืบพยานผู้คัดค้านก็ได้แถลงขอส่งหนังสือมอบอำนาจลงวันที่ก่อนวันยื่นคำร้องคัดค้านซึ่งมีเจ้าอาวาสวัดผู้คัดค้านลงนามและในชั้นสืบพยานเจ้าอาวาสก็มาเบิกความยืนยันรับรองหนังสือมอบอำนาจจึงฟังได้ว่าเจ้าอาวาสได้มอบหมายเป็นหนังสือให้นาย ป.ไวยาวัจกรมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านก่อนยื่นคำร้องคดีนี้ ที่ดินเป็นมรดกของพระครู ส. ตกได้แก่ผู้คัดค้านจึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านการดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของวัดเป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่งนาย ป. ย่อมมีอำนาจจัดการจึงมีสิทธิแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินคดีนี้ได้คำร้องที่ทนายความซึ่งนาย ป. แต่งตั้งและได้ยื่นต่อศาลจึงสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจไวยาวัจกรในการจัดการทรัพย์สินวัดและอำนาจศาลในการตั้งผู้จัดการมรดกนอกพินัยกรรม
ไวยาวัจกรของวัดมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัด การดำเนินคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกของพระภิกษุที่มรณภาพที่ตกแก่วัดเป็นการจัดการทรัพย์สินของวัดอย่างหนึ่งไวยาวัจกรย่อมมีสิทธิแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินคดีดังกล่าวได้ วัดผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของพระครู ส. และตั้ง ป. ในฐานะไวยาวัจกรของผู้คัดค้าน เป็นผู้จัดการมรดกด้วย ปรากฎว่าศาลได้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมเท่านั้นส่วนทรัพย์นอกพินัยกรรมยังไม่มีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกการที่ผู้ร้องนำคำสั่งศาลไปจัดการทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรมอันตกได้แก่ผู้คัดค้านเป็นการกระทบสิทธิผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดีนี้ได้โดยไม่ต้องไปยื่นคำร้องเป็นคดีใหม่ ศาลจึงมีอำนาจตั้ง ป. เป็นผู้จัดการมรดกทรัพย์นอกพินัยกรรมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจไวยาวัจกรจัดการทรัพย์สินวัด: หนังสือมอบหมายและการแต่งตั้งทนายความ
กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 18 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2536ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ระบุว่า "ไวยาวัจกร"หมายถึงคฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้ง..และจะมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ ไวยาวัจกร ผู้ได้รับแต่งตั้งก่อนวันใช้กฎมหาเถรสมาคมนี้ ให้ถือว่าเป็นไวยาวัจกรตามกฎมหาเถรสมาคมต่อไปเมื่อนาย ป. ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าอาวาสวัดผู้คัดค้านให้เป็นไวยาวัจกรเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2536 โดยอาศัยอำนาจตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 8 จึงถือว่าเป็นไวยาวัจกรอยู่ย่อมมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ
ตามคำร้องคัดค้านระบุยืนยันว่า นาย ป. มีอำนาจเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านโดยมิได้แนบหนังสือมอบหมายของเจ้าอาวาสก็ตามแต่ก่อนสืบพยานผู้คัดค้านก็ได้แถลงขอส่งหนังสือมอบอำนาจลงวันที่ก่อนวันยื่นคำร้องคัดค้านซึ่งมีเจ้าอาวาสวัดผู้คัดค้านลงนาม และในชั้นสืบพยานเจ้าอาวาสก็มาเบิกความยืนยันรับรองหนังสือมอบอำนาจ จึงฟังได้ว่าเจ้าอาวาสได้มอบหมายเป็นหนังสือให้นาย ป.ไวยาวัจกรมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านก่อนยื่นคำร้องคดีนี้
ที่ดินเป็นมรดกของพระครู ส. ตกได้แก่ผู้คัดค้าน จึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้าน การดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของวัดเป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่ง นาย ป. ย่อมมีอำนาจจัดการจึงมีสิทธิแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินคดีนี้ได้ คำร้องที่ทนายความซึ่งนาย ป. แต่งตั้งและได้ยื่นต่อศาลจึงสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าคณะจังหวัดในการถอดถอนเจ้าอาวาสและการมีอำนาจฟ้องร้องของเจ้าอาวาส
การถอดถอนเจ้าอาวาสนั้นตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505มาตรา23บัญญัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคมตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่5(พ.ศ.2505)ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการข้อ33ประกอบข้อ23เจ้าคณะจังหวัดมีอำนาจให้พระสังฆาธิการตำแหน่งเจ้าอาวาสออกจากตำแหน่งหน้าที่ได้ดังนั้นคำสั่งคณะสงฆ์ที่ให้โจทก์ออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดจึงเป็นคำสั่งที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่1ซึ่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดตามกฎมหาเถรสมาคมแล้วและคำสั่งคณะสงฆ์ดังกล่าวจำเลยที่1มิได้สั่งให้โจทก์ออกจากตำแหน่งหน้าที่เพราะประพฤติผิดพระธรรมวินัยแต่ให้ออกจากตำแหน่งหน้าที่เพราะโจทก์หย่อนสมรรถภาพซึ่งเป็นเหตุตามข้อ33แห่งกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่5(พ.ศ.2505)ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการเมื่อตามฟ้องโจทก์มิได้อ้างว่าจำเลยที่1มีคำสั่งโดยไม่มีเหตุดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าคำสั่งของจำเลยที่1ที่สั่งให้โจทก์ออกจากตำแหน่งหน้าที่เป็นคำสั่งที่มิชอบโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและขอให้เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่2เป็นพระสังฆาธิการแล้วให้โจทก์กลับเข้าดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งถอดถอนเจ้าอาวาสของเจ้าคณะจังหวัด: อำนาจทางศาสนจักรที่ไม่สามารถก้าวก่ายได้หากเป็นการใช้อำนาจโดยชอบ
โจทก์เป็นเจ้าอาวาส จำเลยเป็นเจ้าคณะจังหวัด จำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ตามกฎมหาเถรสมาคม คำสั่งของจำเลยดังกล่าวเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม อันเป็นอำนาจของทางฝ่ายศาสนจักรที่จะมีคำสั่งโดยเฉพาะ เมื่อฟ้องโจทก์มิได้อ้างว่าจำเลยปฏิบัติมิชอบอย่างไรหรือมีการกลั่นแกล้งโจทก์ในการออกคำสั่งนั้น ศาลจึงไม่มีอำนาจที่จะไปก้าวก่ายในคำสั่งดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2277/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขกฎมหาเถรสมาคมโดยมติที่ประชุม และผลกระทบต่อการแต่งตั้งเจ้าอาวาส การใช้บังคับย้อนหลัง
โจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 5(พ.ศ. 2506) ข้อ 6 และข้อ 22 และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแหลมโดยชอบตามมาตรา 23 ต่อมาได้มีมติของที่ประชุมมหาเถรสมาคมตีความในข้อ 23 กำหนดคุณสมบัติของพระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ 6 และข้อ 22 โดยข้อความตามข้อ 23 ชัดเจนอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาจะต้องตีความ การตีความดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่มหาเถรสมาคมแก้ไขกฎมหาเถรสมาคมโดยเพิ่มเติมคุณสมบัติของพระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส อันเป็นการตรากฎมหาเถรสมาคมเพิ่มเติม ต้องประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์ก่อนจึงจะใช้บังคับได้ เมื่อปรากฏว่าเพิ่งจะลงประกาศภายหลังจากที่โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสโดยชอบแล้ว จึงไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้เพราะจะเป็นการใช้บังคับย้อนหลัง ดังนั้นการที่จำเลยมีคำสั่งว่าการแต่งตั้งโจทก์เป็นเจ้าอาวาสเป็นโมฆะเพราะขาดคุณสมบัติตามมติตีความของที่ประชุมมหาเถรสมาคมดังกล่าวจึงเป็นการมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2277/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขกฎมหาเถรสมาคมโดยที่ประชุมมหาเถรสมาคม การใช้บังคับย้อนหลัง และผลกระทบต่อการแต่งตั้งเจ้าอาวาส
โจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2506) ข้อ 6 และข้อ 22 และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแหลมโดยชอบตามมาตรา 23 ต่อมาได้มีมติของที่ประชุมมหาเถรสมาคมตีความในข้อ 23 กำหนดคุณสมบัติของพระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ 6 และข้อ 22 โดยข้อความตามข้อ 23 ชัดเจนอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาจะต้องตีความ การตีความดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่มหาเถรสมาคมแก้ไขกฎมหาเถรสมาคมโดยเพิ่มเติมคุณสมบัติของพระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส อันเป็นการตรากฎมหาเถรสมาคมเพิ่มเติม ต้องประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์ก่อนจึงจะใช้บังคับได้ เมื่อปรากฏว่าเพิ่งจะลงประกาศภายหลังจากที่โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสโดยชอบแล้ว จึงไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้เพราะจะเป็นการใช้บังคับย้อนหลัง ดังนั้น การที่จำเลยมีคำสั่งว่าการแต่งตั้งโจทก์เป็นเจ้าอาวาสเป็นโมฆะเพราะขาดคุณสมบัติตามมติตีความของที่ประชุมมหาเถรสมาคมดังกล่าวจึงเป็นการมิชอบ
of 5