คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 378

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 152 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2182/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกำหนดชำระเงินในสัญญาจะซื้อขาย และผลของการผิดนัดชำระเงินตามสัญญา
สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยข้อ 2 กำหนดว่า โจทก์ผู้จะซื้อตกลงจะชำระเงินค่าซื้อที่ดินโดยแบ่งเป็น 3 งวด งวดที่ 3 ชำระในวันที่ 10 กรกฎาคม 2522 และข้อ 5 กำหนดว่า" ผู้จะซื้อให้สัญญาว่า ถ้าผู้จะซื้อผิดนัดการชำระเงินตามที่ระบุไว้ในข้อ 2 ผู้จะซื้อยินดีให้ผู้จะขายถือว่าผู้จะซื้อผิดสัญญา และยินดีให้ผู้จะขายริบเงินที่ชำระไปแล้วทั้งหมด โดยมิต้องบอกกล่าวใด ๆ ทั้งสิ้น ให้ถือว่าสัญญาฉบับนี้สะดุดหยุดลงด้วย" การที่จำเลยยินยอมให้โจทก์แก้วันที่ในเช็คซึ่งชำระเงินงวดที่ 3 จากวันที่ 10 กรกฎาคม 2522 เป็นวันที่10 กันยายน 2522 เป็นการตกลงเลื่อนกำหนดการชำระเงินออกไปโดยกำหนดวันชำระเงินใหม่ไว้แน่นอนเช่นเดิมไม่มีพฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีไม่ถือเคร่งครัดตามกำหนดการชำระเงิน ความตกลงเช่นนี้แปลได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงกันเปลี่ยนกำหนดชำระเงินงวดที่ 3 ในข้อ 2 แห่งสัญญาเสียใหม่เท่านั้นหากระทบกระทั่งถึงสัญญาข้อ 5 ไม่ ดังนั้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของโจทก์ไม่พอจ่าย เป็นเหตุให้จำเลยไม่ได้รับชำระเงินงวดที่ 3 ตามกำหนดใหม่ จึงถือว่าโจทก์ผิดนัดชำระเงินตามที่ระบุไว้ในสัญญาข้อ 2 มีผลทำให้จำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วและสัญญาเป็นอันเลิกกันตามสัญญาข้อ 5 โดยหาต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาอีกไม่ และจำเลยไม่ต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2182/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกำหนดชำระหนี้ และผลกระทบต่อสิทธิในการริบเงินตามสัญญาจะซื้อขาย
สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยข้อ 2 กำหนดว่าโจทก์ผู้จะซื้อตกลงจะชำระเงินค่าซื้อที่ดินโดยแบ่งเป็น 3 งวด งวดที่ 3 ชำระในวันที่ 10 กรกฎาคม 2522 และข้อ 5 กำหนดว่า 'ผู้จะซื้อให้สัญญาว่า ถ้าผู้จะซื้อ ผิดนัดการชำระเงินตามที่ระบุไว้ในข้อ 2. ผู้จะซื้อยินดี ให้ผู้จะขายถือว่าผู้จะซื้อผิดสัญญา และยินดีให้ผู้จะขาย ริบเงินที่ชำระไปแล้วทั้งหมด โดยมิต้องบอกกล่าวใด ๆ ทั้งสิ้น ให้ถือว่าสัญญาฉบับนี้สะดุดหยุดลงด้วย'. การ ที่จำเลยยินยอมให้โจทก์แก้วันที่ในเช็คซึ่งชำระเงินงวดที่ 3 จากวันที่ 10 กรกฎาคม 2522 เป็นวันที่ 10 กันยายน 2522 เป็นการตกลงเลื่อนกำหนดการชำระเงินออกไปโดยกำหนดวันชำระเงินใหม่ไว้แน่นอนเช่นเดิมไม่มีพฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีไม่ถือเคร่งครัดตามกำหนดการชำระเงิน ความตกลงเช่น นี้แปลได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงกันเปลี่ยนกำหนดชำระเงินงวดที่ 3 ในข้อ 2 แห่งสัญญาเสียใหม่เท่านั้นหากระทบกระทั่ง ถึงสัญญาข้อ 5 ไม่ ดังนั้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เพราะเงินในบัญชีของโจทก์ไม่พอจ่าย เป็นเหตุให้จำเลยไม่ได้รับชำระเงินงวดที่ 3 ตามกำหนดใหม่ จึงถือว่าโจทก์ผิดนัดชำระเงินตามที่ระบุไว้ในสัญญาข้อ 2 มีผลทำให้จำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วและสัญญาเป็น อันเลิกกันตามสัญญาข้อ 5 โดยหาต้องบอกกล่าวเลิกสัญญา อีกไม่ และจำเลยไม่ต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ภายใน ระยะเวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387เสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2843/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: เหตุสุดวิสัยจากการไม่ยินยอมของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ทำให้จำเลยไม่ผิดสัญญา
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยซึ่งมีกรรมสิทธิ์รวมกับ ย.หลังจากทำสัญญากันแล้วย. ไม่ยอมรังวัดแบ่งแยก จำเลยก็ฟ้อง ย.และทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันย. ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกทั้งได้ไปยื่นคำร้องขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินในวันเดียวกันนั้น และได้แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการปฏิบัติตามสัญญาเป็นระยะ ๆ การที่จำเลยไม่สามารถรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินให้เสร็จเรียบร้อยภายในกำหนดสามเดือนตามสัญญา เป็นพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 205 จำเลยจึงยังไม่ผิดนัดเมื่อการรังวัดแบ่งแยกเสร็จแล้ว จำเลยได้นัดวันเวลาที่จะทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ให้เสร็จสิ้น แต่โจทก์ไม่ไปตามนัดเพราะเลยกำหนดสามเดือนตามสัญญา จึงจะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้เช่นเดียวกันจำเลยจะริบมัดจำโจทก์ไม่ได้
(เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 750/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2843/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: เหตุสุดวิสัยจากการไม่ยินยอมของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม และผลกระทบต่อการผิดสัญญา
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยซึ่งมีกรรมสิทธิ์รวมกับ ย. หลังจากทำสัญญากันแล้ว ย. ไม่ยอมรังวัดแบ่งแยกจำเลยก็ฟ้อง ย.และทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ย. ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกทั้งได้ไปยื่นคำร้องขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินในวันเดียวกันนั้น และได้แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการปฏิบัติตามสัญญาเป็นระยะ ๆ การที่จำเลยไม่สามารถรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินให้เสร็จเรียบร้อยภายในกำหนดสามเดือนตามสัญญาเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 205 จำเลยจึงยังไม่ผิดนัดเมื่อการรังวัดแบ่งแยกเสร็จแล้ว จำเลยได้นัดวันเวลาที่จะทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ให้เสร็จสิ้น แต่โจทก์ไม่ไปตามนัดเพราะเลยกำหนดสามเดือนตามสัญญา จึงจะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้เช่นเดียวกันจำเลยจะริบมัดจำโจทก์ไม่ได้
(เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 750/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย่งกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญ: ศาลพิพากษาให้สิทธิครอบครองได้ ไม่เกินคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โจทก์ยังไม่มีกรรมสิทธิ์เหนือที่พิพาท เพราะไม่มีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้จำเลยจะฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่ระบุแสดงสภาพที่ดินว่าติดที่ดินผู้ใด แต่ละด้านกว้างยาวเท่าใดและแจ้งการครอบครองเมื่อใด ไม่ได้ เพราะเหตุที่จำเลยยกขึ้นอ้างว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมนี้เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน ศาลก็พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2009/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสัญญาจะซื้อขาย การผิดสัญญา และสิทธิของคู่กรณีเมื่อมีการเลิกสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยโดยกำหนดเงื่อนไขการชำระเงินไว้ว่า โจทก์จะต้องชำระราคาซื้อขายทั้งหมดให้แก่จำเลยในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ก่อนถึงวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ทนายจำเลยมีหนังสือถึงทนายโจทก์ยืนยันเงื่อนไขดังกล่าว มิฉะนั้นจำเลยขอบอกเลิกสัญญา อันเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์ชำระหนี้ไว้แล้ว เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสัญญาในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยยืนยันจะชำระราคาซื้อขายเป็นสองงวด ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงมีสิทธิเลิกสัญญาและริบมัดจำเสียได้
เมื่อจำเลยใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้วโดยชอบ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินรายพิพาทพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์ และย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
จำเลยจะเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาก่อนวันที่โจทก์ผิดสัญญาไม่ได้และเมื่อจำเลยใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิเรียกให้โจทก์ชำระค่าที่ดินเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาอีก ดอกเบี้ยจึงไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1461/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยผิดสัญญาจ้างงานก่อน โจทก์มีสิทธิลาออกและรับเงินค้ำประกันคืนได้
โจทก์ได้วางเงินค้ำประกันในการเข้าทำงานกับจำเลยไว้ด้วยโดยในสัญญาจ้างตกลงกันว่าจำเลยจะคืนเงินค้ำประกันเมื่อโจทก์ทำงานครบ 6 เดือน และลาออกโดยบอกกล่าวล่วงหน้า 7 วัน แต่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้ตรงตามเวลาที่ตกลงกัน โจทก์จึงลาออกก่อนครบ 6 เดือน และโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า 7 วัน กรณีนี้จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินเดือนแก่โจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงทั้งที่โจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ให้แก่จำเลยตามสัญญาแล้ว ย่อมถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญา โดยริบเงินค้ำประกันของโจทก์ไว้หาได้ไม่ ต้องคืนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 705/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่สมบูรณ์หากยังไม่ตกลงเงื่อนไขตามเจตนาของคู่สัญญา การขายให้ผู้อื่นเป็นเหตุให้เรียกเงินมัดจำคืนได้
แม้การทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกฎหมายกำหนดให้ทำได้หลายวิธีด้วยกัน แต่เมื่อคู่สัญญากำหนดจะทำกันโดยวิธีทำเป็นหนังสือ ก็ต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญา ตามเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งเป็นสัญญาฉบับแรกระบุไว้ว่า สัญญาดังกล่าวยังไม่ถือเป็นข้อยุติในการซื้อขายจนกว่าจะได้ทำสัญญามีเงื่อนไขตรงกับความประสงค์ของทั้งสองฝ่ายดังนั้น เอกสารหมาย จ.1 จึงนับว่ายังมิได้มีสัญญาผูกพันเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินรายพิพาทต่อกัน การที่จำเลยนำที่ดินพิพาทส่วนใหญ่ไปขายให้แก่ผู้อื่นหลังจากนั้น แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะทำสัญญาจะซื้อขาย กับโจทก์ต่อไปตามที่เคยตกลงไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอย่างใดที่จะยึดเงินมัดจำของโจทก์.ที่มอบให้จำเลยไว้ โจทก์มีสิทธิเรียกเงินจำนวนนี้คืนจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1856/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: กำหนดเวลาออก น.ส.3 เป็นสาระสำคัญสัญญา ผู้ขายผิดสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิเลิกสัญญาและเรียกเงินมัดจำคืน
โจทก์ได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามหนังสือแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) จากจำเลย โดยโจทก์ประสงค์จะซื้อที่ดินพิพาทเพื่อเอาไปขายให้แก่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไม่ใช่ต้องการซื้อไว้ใช้เอง ซึ่งจำเลยก็รู้ความประสงค์ของโจทก์แล้ว การเอาไปขายต่อแก่มหาวิทยาลัย อันเป็นส่วนราชการเช่นนี้ ที่ดินต้องมีหลักฐาน น.ส. 3 และ ทางมหาวิทยาลัยจะต้องตั้งงบประมาณภายในกำหนดและการซื้อขายก็ต้องดำเนินการให้ทันงบประมาณ โจทก์จำเลยจึงตกลงกันว่า จำเลยจะต้องออก น.ส. 3 ของที่ดินพิพาทให้โจทก์ภายใน 90 วันนับแต่วันทำสัญญา หากไม่สามารถออกได้ภายในกำหนด โจทก์ก็ไม่ซื้อ เหตุแห่งการ ออกน.ส. 3 จึงเป็นข้อสารสำคัญและเจตนาของคู่สัญญาประสงค์ที่จะถือเอากำหนดเวลาในการออก น.ส. 3 เป็นสารสำคัญแห่งสัญญา ฉะนั้น เมื่อจำเลยยอมตกลงแต่ไม่อาจจัดการให้สำเร็จได้ตามสัญญา เวลาเป็นสารสำคัญแก่ผลประโยชน์ที่โจทก์จะพึงได้รับด้วยการส่งมอบ น.ส. 3 ณ เวลาที่มีกำหนดซึ่งหากล่าช้าย่อมเป็นการไร้ประโยชน์แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม ดังนั้น จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำค่าที่ดินที่รับไว้ให้โจทก์
แม้การออก น.ส. 3 จะล่าช้าไม่ทันตามกำหนด เวลาและเป็นเหตุให้โจทก์เลิกสัญญา แต่ความประสงค์ของโจทก์ต้องการซื้อที่ดินไปเสนอขายให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อหากำไร จึงได้กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 4 ว่า หากผู้จะขายผิดสัญญาฉบับนี้ตามที่กำหนดกัน ไว้ผู้จะขายยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อเป็นเงินสองเท่าของค่าที่ดินที่ซื้อขายกันนี้ทั้งหมด ทั้งสองแปลง เมื่อได้ความในภายหลังว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไม่ประสงค์จะซื้อที่ดินสองแปลงนี้แล้ว แม้จำเลยขอออก น.ส. 3 ทันตามกำหนดสัญญา โจทก์ก็ไม่อาจขายที่ดินสองแปลงนี้เพื่อหากำไรได้ โจทก์จึงไม่เสียหาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1856/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินมีเงื่อนไขเวลาออก น.ส.3 เป็นสาระสำคัญ ผู้ขายผิดสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินมัดจำคืน
โจทก์ได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามหนังสือแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) จากจำเลย โดยโจทก์ประสงค์จะซื้อที่ดินพิพาทเพื่อเอาไปขายให้แก่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไม่ใช่ต้องการซื้อไว้ใช้เองซึ่งจำเลยก็รู้ความประสงค์ของโจทก์แล้ว การเอาไปขายต่อแก่มหาวิทยาลัย อันเป็นส่วนราชการเช่นนี้ที่ดินต้องมีหลักฐาน น.ส.3. และทางมหาวิทยาลัยจะต้องตั้งงบประมาณภายในกำหนดและการซื้อขายก็ต้องดำเนินการให้ทันงบประมาณโจทก์จำเลยจึงตกลงกันว่าจำเลยจะต้องออก น.ส.3 ของที่ดินพิพาทให้โจทก์ภายใน 90 วันนับแต่วันทำสัญญา หากไม่สามารถออกได้ภายในกำหนด โจทก์ก็ไม่ซื้อ เหตุแห่งการออก น.ส.3. จึงเป็นข้อสารสำคัญและเจตนาของคู่สัญญาประสงค์ที่จะถือเอากำหนดเวลาในการออกน.ส.3 เป็นสารสำคัญแห่งสัญญา ฉะนั้น เมื่อจำเลยยอมตกลงแต่ไม่อาจจัดการให้สำเร็จได้ตามสัญญา เวลาเป็นสารสำคัญแก่ผลสำเร็จและประโยชน์ที่โจทก์จะพึงได้รับด้วยการส่งมอบ น.ส.3 ณ เวลาที่มีกำหนดซึ่งหากล่าช้าย่อมเป็นการไร้ประโยชน์แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม ดังนั้นจำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำค่าที่ดินที่รับไว้ให้โจทก์
แม้การออก น.ส.3 จะล่าช้าไม่ทันตามกำหนดเวลาและเป็นเหตุให้โจทก์เลิกสัญญา แต่ความประสงค์ของโจทก์ต้องการซื้อที่ดินไปเสนอขายให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เพื่อหากำไรจึงได้กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 4 ว่า "หากผู้จะขายผิดสัญญาฉบับนี้ตามที่กำหนดกันไว้ผู้จะขายยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อเป็นเงินสองเท่าของค่าที่ดินที่ซื้อขายกันนี้ทั้งหมดทั้งสองแปลง" เมื่อได้ความในภายหลังว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไม่ประสงค์จะซื้อที่ดินสองแปลงนี้แล้วแม้จำเลยขอออก น.ส.3 ทันตามกำหนดสัญญา โจทก์ก็ไม่อาจขายที่ดินสองแปลงนี้เพื่อหากำไรได้ โจทก์จึงไม่เสียหาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
of 16