คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 378

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 152 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม้: เงินมัดจำ, L/C, และความผิดของผู้ซื้อ
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายไม้มีกำหนดการซื้อขายเป็นเวลา1 ปี และมีข้อสัญญาเกี่ยวกับจำนวนไม้อย่างต่ำที่จะต้องซื้อขายกันต่อเดือน เมื่อจำเลยผู้ขายได้รับเงินมัดจำค่าซื้อไม้จากโจทก์ 200,000 บาทเงินจำนวนนี้ย่อมเป็นเงินมัดจำตามสัญญาซื้อขายที่มีกำหนดเวลาซื้อขายกัน 1 ปี ไม่ใช่เงินมัดจำสำหรับการซื้อขายไม้จำนวนใดจำนวนหนึ่งหรือของเดือนใดเดือนหนึ่ง ดังนั้น แม้จะได้ความว่า ไม้จำนวน 5 หีบที่ ตัวแทนโจทก์ได้คัดเลือกให้จำเลยเพื่อส่งไปให้โจทก์ยังต่างประเทศจะมีราคาประมาณ 200,000 บาท โจทก์ก็จะนำเงินมัดจำดังกล่าวมาหักเอาชำระราคาไม้ที่จะส่งออกไม่ได้ เพราะการซื้อขายยังไม่เสร็จสิ้น ยังจะต้องมีการซื้อขายตามสัญญาอีกจนกว่าจะครบ 1 ปี หากนำเงินมัดจำดังกล่าวมาหักชำระราคาไม้รายพิพาทแล้ว ก็จะไม่มีเงินมัดจำเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายต่อไปอีก
เมื่อได้ความว่าตามประเพณีการค้าการส่งสินค้าไปต่างประเทศผู้ซื้อจะต้องเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตมาให้ผู้ขายเท่าราคาสินค้าที่ส่งออกอันเป็นวิธีการเกี่ยวกับการชำระเงินค่าสินค้า และปรากฏว่าเป็นความผิดของโจทก์เองที่เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตมาให้จำเลยไม่พอกับราคาไม้ที่ส่งออก จึงส่งไม้ออกไปให้โจทก์ไม่ได้ เช่นนี้จะว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกเงินมัดจำดังกล่าวคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม้, เงินมัดจำ, L/C, ความผิดของผู้ซื้อ, สิทธิเรียกคืนเงินมัดจำ
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายไม้ มีกำหนดการซื้อขายเป็นเวลา 1 ปี และมีข้อสัญญาเกี่ยวกับจำนวนไม้อย่างต่ำที่จะต้องซื้อขายกันต่อเดือน เมื่อจำเลยผู้ขายได้รับเงินมัดจำค่าซื้อไม่จากโจทก์ 200,000 บาท เงินจำนวนนี้ย่อมเป็นเงินมัดจำตามสัญญาซื้อขายที่มีกำหนดเวลาซื้อขายกัน 1 ปี ไม่ใช่เงินมัดจำสำหรับการซื้อขายไม้จำนวนใดจำนวนหนึ่งหรือของเดือนใดเดือนหนึ่ง ดังนั้น แม้จะได้ความว่า ไม้จำนวน 5 หีบที่ตัวแทนโจทก์ได้คัดเลือกให้จำเลยเพื่อส่งไปให้โจทก์ยังต่างประเทศ จะมีราคาประมาณ 200,000 บาท โจทก์ก็จะนำเงินมัดจำดังกล่าวมาหักเอาชำระราคาไม้ที่จะส่งออกไม่ได้ เพราะการซื้อขายยังไม่เสร็จสิ้น ยังจะต้องมีการซื้อขายตามสัญญาอีกจนกว่าจะครบ 1 ปี หากนำเงินมัดจำดังกล่าว มาหักชำระราคาไม้รายพิพาทแล้ว ก็จะไม่มีเงินมัดจำเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายต่อไปอีก
เมื่อได้ความว่า ตามประเพณีการค้า การส่งสินค้าไปต่างประเทศ ผู้ซื้อจะต้องเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตมาให้ผู้ขาย เท่าราคาสินค้าที่ส่งออกอันเป็นวิธีการเกี่ยวกับการชำระเงินค่าสินค้า และปรากฏว่าเป็นความผิดของโจทก์เอง ที่เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตมาให้จำเลยไม่พอกับราคาไม้ที่ส่งออก จึงส่งไม้ออกไปให้โจทก์ไม่ได้ เช่นนี้จำว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกเงินมัดจำดังกล่าวคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ความรับผิดชอบการทำถนนสาธารณะและผลของการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนดแปลงหนึ่งร่วมกันกับผู้มีชื่ออีก 5 คน ต่อมาจำเลยกับผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมได้ขอแบ่งแยกโฉนดเป็นของแต่ละคน และได้ตกลงกันตัดถนนทางด้านทิศเหนือของที่ดินที่ขอแบ่งแยกแต่ละแปลงไปออกยังถนนพหลโยธิน โจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินส่วนของจำเลยจากจำเลยและวางมัดจำไว้ โดยระบุในข้อสัญญาว่า ในกรณีที่มีการทำถนนร่วมกัน ทุกฝ่ายได้ตกลงกันว่า ผู้ที่มีที่ดินร่วมกันจะสละที่ดินให้เป็นสาธารณะ และช่วยกันลงทุนทำถนนร่วมกัน ในกรณีทำคอถนนเชื่อมกับถนนพหลโยธินทุกฝ่ายจะต้องลงทุนร่วมกันโดยเฉลี่ยทุนทรัพย์เท่ากัน ดังนี้ข้อสัญญาดังกล่าวเพียงแต่กล่าวว่า ผู้ที่มีที่ดินร่วมกันจะสละที่ดินทำถนนและลงทุนทำถนนกับคอถนน เชื่อมกับถนนพหลโยธินโดยเฉลี่ยทุนทรัพย์เท่าๆ กัน ไม่มีทางที่จะแปลไปได้ว่า จำเลยตกลงรับผิดชอบทำถนนตลอดสายเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นซึ่งมิได้ตกลงทำสัญญา และไปจดทะเบียนให้เป็นถนนสาธารณะด้วย ดังนั้น การที่เจ้าของร่วมคนหนึ่งสละที่ดินทำถนนแล้ว แต่ยังไม่ยอมให้ทำคอถนนในที่ดินส่วนของผู้นั้นไปเชื่อมกับถนนพหลโยธิน จึงถือมิได้ว่าจำเลยผิดสัญญา เมื่อโจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับซื้อที่ดินตามสัญญา โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยชอบที่จะริบมัดจำเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การปฏิเสธการซื้อเนื่องจากข้อจำกัดในการทำถนนสาธารณะ มิถือเป็นความผิดของจำเลย
จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนดแปลงหนึ่งร่วมกันกับผู้มีชื่ออีก 5 คน ต่อมาจำเลยกับผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมได้ขอแบ่งแยกโฉนดเป็นของแต่ละคน และได้ตกลงกันตัดถนนทางด้านทิศเหนือของที่ดินที่ขอแบ่งแยกแต่ละแปลงไปออกยังถนนพหลโยธิน โจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินส่วนของจำเลย จากจำเลยและวางมัดจำไว้ โดยระบุในข้อสัญญาว่า ในกรณีที่มีการทำถนนร่วมกัน ทุกฝ่ายได้ตกลงกันว่า ผู้ที่มีที่ดินร่วมกันจะสละที่ดินให้เป็นสาธารณะ และช่วยกันลงทุนทำถนนร่วมกัน ในกรณีทำคอถนนเชื่อมกับถนนพหลโยธิน ทุกฝ่ายจะต้องลงทุนร่วมกันโดยเฉลี่ยทุนทรัพย์เท่ากัน ดังนี้ข้อสัญญาดังกล่าวเพียงแต่กล่าวว่า ผู้ที่มีที่ดินร่วมกันจะสละที่ดินทำถนนและลงทุนทำถนนกับคอถนนเชื่อมกับถนนพหลโยธิน โดยเฉลี่ยทุนทรัพย์เท่า ๆ กัน ไม่มีทางที่จะแปลไปได้ว่าจำเลยตกลงรับผิดชอบทำถนนตลอดสายเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นซึ่งมิได้ตกลงทำสัญญา และไปจดทะเบียนให้เป็นถนนสาธารณะด้วย ดังนั้น การที่เจ้าของร่วมคนหนึ่งสละที่ดินทำถนนแล้วแต่ยังไม่ยอมให้ทำคอถนนในที่ดินส่วนของผู้นั้นไปเชื่อมกับถนนพหลโยธิน จึงถือมิได้ว่าจำเลยผิดสัญญา เมื่อโจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับซื้อที่ดินตามสัญญา โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยชอบที่จะริบมัดจำเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับสัญญาเช่าและการคืนเงินมัดจำ เมื่อมีการโอนสิทธิสัญญาเช่าและผู้รับโอนไม่สามารถเข้าครอบครองได้
จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เช่าท่าจอดเรือ โดยโจทก์วางเงินมัดจำจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นประกันตามสัญญา ต่อมาโจทก์ขอโอนสิทธิการเช่านี้ให้ บ. จำเลยอนุมัติและ บ.ได้เข้าทำสัญญาและวางเงินมัดจำเท่ากับที่โจทก์วางไว้ แต่ บ.เข้าครอบครองและดำเนินการตามสัญญาไม่ได้เนื่องจาก ส. ได้ทำสัญญารับช่วงดำเนินการจากโจทก์ไว้ก่อนตามสัญญาระหว่างโจทก์กับ ส. เมื่อโอนสิทธิการเช่าไปแล้วเช่นนี้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงระงับไปไม่มีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยเงินมัดจำที่จำเลยยึดไว้ จำเลยจึงไม่อาจอ้างสัญญาเช่านี้เป็นเหตุยึดหน่วงเงินมัดจำของโจทก์ไว้ การที่ ส. ยังครอบครองทรัพย์สินที่เช่าอยู่ไม่ยอมส่งมอบให้ บ.นั้น เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันเองหาเกี่ยวข้องกับโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับสัญญาเช่าและการคืนเงินมัดจำเมื่อมีการโอนสิทธิและผู้รับโอนไม่สามารถเข้าครอบครองได้
จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เช่าท่าจอดเรือ โดยโจทก์วางเงินมัดจำจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นประกันตามสัญญา ต่อมาโจทก์ขอโอนสิทธิการเช่านี้ให้ บ. จำเลยอนุมัติและ บ.ได้เข้าทำสัญญาและวางเงินมัดจำเท่ากับที่โจทก์วางไว้ แต่ บ.เข้าครอบครองและดำเนินการตามสัญญาไม่ได้เนื่องจาก ส.ได้ทำสัญญารับช่วงดำเนินการจากโจทก์ไว้ก่อนตามสัญญาระหว่างโจทก์กับ ส.. เมื่อโอนสิทธิการเช่าไปแล้วเช่นนี้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงระงับไปไม่มีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยเงินมัดจำที่จำเลยยึดไว้ จำเลยจึงไม่อาจอ้างสัญญาเช่านี้เป็นเหตุยึดหน่วงเงินมัดจำของโจทก์ไว้ การที่ ส.ยังครอบครองทรัพย์สินที่เช่าอยู่ไม่ยอมส่งมอบให้ บ.นั้น เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันเอง หาเกี่ยวข้องกับโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการริบเงินมัดจำเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ขุดดินตามกำหนด
ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์จำเลยทำสัญญาขายหน้าดินกันตามเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งมีข้อความว่า จำเลยได้ขายหน้าดินจำนวน 15 ไร่ ให้กับโจทก์ราคาไร่ละ 3,800 บาท ราคานี้จะต้องขุดภายในปี พ.ศ.2512. ถ้าขุดไม่หมด จะขุดต่อไปในปีหน้าจะต้องเพิ่มราคาเป็น 4,000 บาท โจทก์ได้วางมัดจำไว้ก่อนล่วงหน้าเป็นเงิน 20,000 บาท เมื่อทำสัญญากันดังกล่าวแล้ว ต่อมาจำเลยได้รับเงินค่าหน้าดินไปจากโจทก์อีก 20,000 บาท โจทก์ขุดหน้าดินไปได้เพียง 3 ไร่ โดยขุดใน พ.ศ.2513 แล้วไม่ได้ขุดอีก โดยโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนี้ ในการวางเงินมัดจำกันดังกล่าวโจทก์จำเลยมิได้ตกลงเรื่องเงินมัดจำกันไว้เป็นอย่างอื่น กรณีจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378. เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ขุดหน้าดินให้เสร็จภายในกำหนดโดยโจทก์เป็นฝ่ายผิดโจทก์ย่อมได้ชื่อว่าได้ละเลยไม่ชำระหนี้ จำเลยผู้เป็นเจ้าของหน้าดินและรับมัดจำไว้จากโจทก์ ย่อมมีสิทธิที่จะริบมัดจำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2186/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแท้จริงของสัญญา, การแก้ไขแบบแปลน, สัญญาค้ำประกันที่ไม่ใช่เงินมัดจำ, และการโต้แย้งคำสั่งศาล
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้จำเลยระบุอ้างพยานบุคคลภายหลังเวลาที่โจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนได้สืบพยานเสร็จสิ้นไปแล้ว เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านไว้จึงอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนี้ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
จำเลยทำสัญญาจ้างเหมาให้โจทก์ก่อสร้างโรงเรียนเป็นสัญญาจ้างทำของ แม้ตามแบบแปลนท้ายสัญญาจะแสดงว่าเป็นรูปอาคาร 4 ห้องเรียน จำเลยก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารแบบแปลนนั้นได้ว่า คู่สัญญามีเจตนาอันแท้จริงที่จะทำการจ้างเหมาก่อสร้างอาคารจำนวน 8 ห้องเรียน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
โจทก์ทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างโรงเรียนให้จำเลย โดยมีธนาคาร ก. ทำสัญญาค้ำประกันต่อจำเลยว่า เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือปฏิบัติผิดสัญญาซึ่งจำเลยมีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใดๆ จากโจทก์ได้แล้ว ธนาคาร ก.จะยอมชำระเงินแทนโจทก์ให้แก่จำเลยภายในวงเงินที่ค้ำประกันทันที โดยธนาคาร ก. มิได้วางเงินสดตามสัญญาค้ำประกันไว้ต่อจำเลย สัญญาค้ำประกันนี้จึงเป็นเรื่องที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แทนโจทก์ต่อจำเลยเท่านั้น หาใช่เป็นมัดจำตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินตามสัญญาค้ำประกัน เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาโดยโจทก์ผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดิน: เหตุผลที่ไม่สุจริตของผู้ขายไม่ใช่เหตุเลิกสัญญาตามกฎหมาย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์ โจทก์วางมัดจำ 3,000 บาทค่าที่ดินตกลงชำระกันเป็นงวด ๆ เมื่อได้ชำระค่าที่ดินไปบ้างแล้วโจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนเงินและเช็คที่ได้ชำระค่าที่ดินไปตามสำเนาหนังสือบอกเลิกสัญญาท้ายฟ้อง อ้างเหตุแตกร้าวที่โจทก์ถูกตำรวจจับเรื่องอายัดเช็ค ทั้งหาว่าจำเลยผิดสัญญาไม่สามารถไปโอนโฉนดให้แต่ตามฟ้องโจทก์หาได้กล่าวอ้างตั้งประเด็นว่า จำเลยทำผิดสัญญาแต่ประการใดไม่ กลับอ้างว่าจำเลยไม่สุจริตพยายามกลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนอับอายโดยถูกพนักงานสอบสวนควบคุมตัวจึงไม่ประสงค์ซื้อที่ดินต่อไป ดังนี้แสดงว่า เหตุเลิกสัญญาไม่ใช่เกิดจากจำเลยทำผิดสัญญาข้อใด ๆ แต่เป็นเพราะโจทก์ไม่พอใจจำเลย จึงไม่ต้องการซื้อที่ดินเท่านั้น
การเลิกสัญญานอกจากจะได้ระบุไว้ชัดในสัญญาว่า ให้เลิกกัน ได้อย่างไรแล้วก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387, 388, 389 และมาตรา 466 ฯลฯ แม้ตามสัญญาจะระบุว่า ถ้าผู้ซื้อ(โจทก์)ผิดสัญญาโดยไม่ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว ผู้ซื้อยอมให้ผู้ขาย(จำเลย)ริบเงินมัดจำก็เป็นแต่ข้อสัญญาที่ให้ถือปฏิบัติไปตามมาตรา 378นั่นเอง จะแปลเลยไปถึงกับว่าเมื่อโจทก์แสดงเจตนาไม่ซื้อที่ดินแล้วเท่ากับผิดสัญญาแล้วหาได้ไม่ เพราะการทำผิดสัญญาก็ยังไม่เกิดขึ้นสัญญาข้อนี้ไม่ได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะบอกเลิกสัญญากับจำเลยได้อย่างใด การที่โจทก์บอกปัดเลิกสัญญาเสียตามชอบใจไม่มีผลให้สัญญาจะซื้อขายระงับสิ้นความผูกพันต่อกัน โจทก์จะเรียกร้องเอาค่าที่ดินที่ชำระไปแล้วคืนโดยอาศัยสิทธิเรียกเงินคืนจากการเลิกสัญญาตามมาตรา 391 ไม่ได้
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาจะต้องพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาทั้งสองฝ่ายพร้อม ๆ กันตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 369 จำเลยจะบังคับให้โจทก์ชำระค่าที่ดินไปก่อนทำการโอนตลอดจนส่งมอบที่ดินคืนตามฟ้องแย้งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดิน: เหตุผลการเลิกสัญญาต้องเป็นความผิดสัญญาของอีกฝ่าย ไม่ใช่ความไม่พอใจส่วนตัว
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์ โจทก์วางมัดจำ 3,000 บาทค่าที่ดินตกลงชำระกันเป็นงวด ๆ เมื่อได้ชำระค่าที่ดินไปบ้างแล้ว โจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนเงินและเช็คที่ได้ชำระค่าที่ดินไปตามสำเนาหนังสือบอกเลิกสัญญาท้ายฟ้อง อ้างเหตุแตกร้าวที่โจทก์ถูกตำรวจจับเรื่องอายัดเช็ค ทั้งหาว่าจำเลยผิดสัญญาไม่สามารถไปโอนโฉนดให้แต่ตามฟ้องโจทก์หาได้กล่าวอ้างตั้งประเด็นว่า จำเลยทำผิดสัญญาแต่ประการใดไม่ กลับอ้างว่าจำเลยไม่สุจริตพยายามกลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนอับอายโดยถูกพนักงานสอบสวนควบคุมตัว จึงไม่ประสงค์ซื้อที่ดินต่อไป ดังนี้แสดงว่า เหตุเลิกสัญญาไม่ใช่เกิดจากจำเลยทำผิดสัญญาข้อใด ๆ แต่เป็นเพราะโจทก์ไม่พอใจจำเลย จึงไม่ต้องการซื้อที่ดินเท่านั้น
การเลิกสัญญานอกจากจะได้ระบุไว้ชัดในสัญญาว่า ให้เลิกกันได้อย่างไรแล้วก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387, 388, 389 และมาตรา 466 ฯลฯ แม้ตามสัญญาจะระบุว่า ถ้าผู้ซื้อ(โจทก์)ผิดสัญญาโดยไม่ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว ผู้ซื้อยอมให้ผู้ขาย(จำเลย)ริบเงินมัดจำก็เป็นแต่ข้อสัญญาที่ให้ถือปฏิบัติไปตามมาตรา 378 นั่นเอง จะแปลเลยไปถึงกับว่าเมื่อโจทก์แสดงเจตนาไม่ซื้อที่ดินแล้วเท่ากับผิดสัญญาแล้วหาได้ไม่ เพราะการทำผิดสัญญาก็ยังไม่เกิดขึ้นสัญญาข้อนี้ไม่ได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะบอกเลิกสัญญากับจำเลยได้อย่างใด การที่โจทก์บอกปัดเลิกสัญญาเสียตามชอบใจไม่มีผลให้สัญญาจะซื้อขายระงับสิ้นความผูกพันต่อกัน โจทก์จะเรียกร้องเอาค่าที่ดินที่ชำระไปแล้วคืนโดยอาศัยสิทธิเรียกเงินคืนจากการเลิกสัญญาตามมาตรา 391 ไม่ได้
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาจะต้องพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาทั้งสองฝ่ายพร้อม ๆ กันตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 369 จำเลยจะบังคับให้โจทก์ชำระค่าที่ดินไปก่อนทำการโอนตลอดจนส่งมอบที่ดินคืนตามฟ้องแย้งไม่ได้
of 16