พบผลลัพธ์ทั้งหมด 152 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5639/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขายรถยนต์ต่ำกว่าราคาตลาดและให้ของแถม มิชอบ คืนเงินภาษี
ป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4) ไม่ได้นิยามคำว่าราคาตลาดไว้ แต่เมื่อพิจารณาถึงความหมายในทางการค้าโดยทั่วไปแล้ว คำว่าราคาตลาดใน ป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4) คงมีความหมายทำนองเดียวกันกับคำว่าราคาตลาดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79/3 และมาตรา 91/1 (3) คือเป็นราคาสินค้าหรือบริการที่มีการซื้อขายกันตามความเป็นจริงทั่วไปในขณะใดขณะหนึ่ง โจทก์เป็นผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ซาบแต่เพียงผู้เดียว จึงไม่มีราคารถยนต์ซาบจากผู้จำหน่ายรายอื่นมาเปรียบเทียบเป็นราคาตลาดได้ ดังนั้น หากไม่มีข้อเท็จจริงอย่างอื่นราคาตลาดรถยนต์ซาบจึงควรเป็นราคาตั้งขายปลีกแก่บุคคลทั่วไป แต่การที่โจทก์ขายรถยนต์ซาบต่ำกว่าราคาตั้งขายปลีกอันเนื่องจากสภาวะวิกฤติของเศรษฐกิจอย่างรุนแรง โดยไม่ปรากฏว่ามีการสมยอมราคากัน จึงมิใช่เป็นราคาต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
หนังสือสัญญาจ้างซ่อมแซมและบำรุงรักษารถยนต์โดยสาร เป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพกับบริษัท ต. และบันทึกข้อความว่าด้วยการยกเลิกค่าซ่อมรถจากอุบัติเหตุค้างดำเนินการระหว่างปี 2520 ถึง 2534 ที่แสดงว่าโจทก์ทำสัญญารับจ้างลูกจ้างดูแลบำรุงรักษารถยนต์โดยสารให้แก่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งในสัญญาข้อ 8 ให้สิทธิแก่บริษัท ต. ที่จะมอบให้บริษัทในเครือเป็นผู้ดำเนินการแทนได้ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า โจทก์ได้เข้าร่วมป็นคู่สัญญากับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ โดยมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญา หนี้อันเกิดจากการรับจ้างซ่อมแซมดูแลรถยนต์โดยสารประจำทางในกรณีรถเกิดอุบัติเหตุ ย่อมเป็นหนี้ระหว่างโจทก์กับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หาใช่หนี้ระหว่างโจทก์กับพนักงานขับรถยนต์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพแต่อย่างใดไม่ การที่โจทก์ทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการยกเลิกค่าซ่อมรถให้แก่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ โดยไม่ได้ฟ้ององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเป็นคดีแพ่งหรือคดีล้มละลาย หรือองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเลิกกิจการซึ่งเป็นการไม่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ.2534) ข้อ 4 การจำหน่ายหนี้สูญของโจทก์จึงไม่เป็นไปตามมาตรา 65 ทวิ (9) แห่ง ป.รัษฎากร การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ชอบแล้ว
แม้เงินมัดจำจะมีลักษณะเป็นเงินประกันความเสียหาย แต่เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 378 ได้บัญญัติไว้ด้วยว่า มัดจำนั้นถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้จัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนเมื่อชำระหนี้แล้ว เงินมัดจำจึงเข้าลักษณะเป็นเงินชำระค่ารถยนต์ล่วงหน้าบางส่วน ต้องนำมาคำนวณเป็นฐานภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79 และ 78 (1) (ข)
การที่โจทก์ฟ้องขอให้คืนมาภาษีที่ชำระตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์ชำระจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ เมื่อ ป.รัษฎากร มาตรา 4 ทศ และ 84/3 บัญญัติเรื่องการคืนเงินภาษีอากรไว้เป็นพิเศษแล้ว จึงไม่อาจนำเรื่องอัตราดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาใช้บังคับ โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจากยอดเงินที่ขอคืนได้ตามอัตรา หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ.2522) ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับเงินคืนเงินภาษีอากร ข้อ 1 (3) แต่ต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ได้รับคืน
หนังสือสัญญาจ้างซ่อมแซมและบำรุงรักษารถยนต์โดยสาร เป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพกับบริษัท ต. และบันทึกข้อความว่าด้วยการยกเลิกค่าซ่อมรถจากอุบัติเหตุค้างดำเนินการระหว่างปี 2520 ถึง 2534 ที่แสดงว่าโจทก์ทำสัญญารับจ้างลูกจ้างดูแลบำรุงรักษารถยนต์โดยสารให้แก่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งในสัญญาข้อ 8 ให้สิทธิแก่บริษัท ต. ที่จะมอบให้บริษัทในเครือเป็นผู้ดำเนินการแทนได้ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า โจทก์ได้เข้าร่วมป็นคู่สัญญากับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ โดยมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญา หนี้อันเกิดจากการรับจ้างซ่อมแซมดูแลรถยนต์โดยสารประจำทางในกรณีรถเกิดอุบัติเหตุ ย่อมเป็นหนี้ระหว่างโจทก์กับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หาใช่หนี้ระหว่างโจทก์กับพนักงานขับรถยนต์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพแต่อย่างใดไม่ การที่โจทก์ทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการยกเลิกค่าซ่อมรถให้แก่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ โดยไม่ได้ฟ้ององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเป็นคดีแพ่งหรือคดีล้มละลาย หรือองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเลิกกิจการซึ่งเป็นการไม่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ.2534) ข้อ 4 การจำหน่ายหนี้สูญของโจทก์จึงไม่เป็นไปตามมาตรา 65 ทวิ (9) แห่ง ป.รัษฎากร การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ชอบแล้ว
แม้เงินมัดจำจะมีลักษณะเป็นเงินประกันความเสียหาย แต่เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 378 ได้บัญญัติไว้ด้วยว่า มัดจำนั้นถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้จัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนเมื่อชำระหนี้แล้ว เงินมัดจำจึงเข้าลักษณะเป็นเงินชำระค่ารถยนต์ล่วงหน้าบางส่วน ต้องนำมาคำนวณเป็นฐานภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79 และ 78 (1) (ข)
การที่โจทก์ฟ้องขอให้คืนมาภาษีที่ชำระตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์ชำระจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ เมื่อ ป.รัษฎากร มาตรา 4 ทศ และ 84/3 บัญญัติเรื่องการคืนเงินภาษีอากรไว้เป็นพิเศษแล้ว จึงไม่อาจนำเรื่องอัตราดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาใช้บังคับ โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจากยอดเงินที่ขอคืนได้ตามอัตรา หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ.2522) ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับเงินคืนเงินภาษีอากร ข้อ 1 (3) แต่ต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ได้รับคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินที่มีเงื่อนไข และการล้มละลาย การคืนเงินมัดจำเมื่อเกิดพ้นวิสัย
โจทก์ไม่ได้ออกทุนรอนหรือยุยงส่งเสริมให้ จ. เป็นความกับ ม. กับพวก ข้อกำหนดตามสัญญาจะซึ้อขาย ข้อ 4 ที่ว่าจะโอนที่ดินเมื่อผู้ขายชนะคดีความไม่มีภาระผูกพันต่อคดีนั้น มีลักษณะเป็นเงื่อนไขในสัญญาประการหนึ่งและเป็นข้อความที่คัดลอกมาจากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยกับ จ. ไม่ถือว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกันไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยใช้บังคับกันได้ไม่เป็นโมฆะ เงินมัดจำที่โจทก์วางไว้แก่จำเลยจึงไม่ใช่เงินที่ชำระโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411
จำเลยได้ฟ้อง จ. ต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการ แล้วต่อมาคู่ความได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยตกลงให้ทายาทของ จ. นำที่ดินแปลงที่ จ. ทำสัญญาจะซื้อขายกับจำเลยไปขายให้แก่ผู้อื่นได้โดยทายาทของ จ. ยินยอมชำระเงินให้จำเลย 1,000,000 บาท จึงเป็นผลให้จำเลยไม่มีที่ดินโอนให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายอีกต่อไป ถือว่าการโอนที่ดินตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยต้องรับผิดชอบ จำเลยจึงต้องคืนมัดจำที่รับไปแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378 (3) จึงฟังได้ว่าหนี้เงินมัดจำที่รับไว้จากโจทก์จำนวน 2,450,000 บาท เป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้
จำเลยได้ฟ้อง จ. ต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการ แล้วต่อมาคู่ความได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยตกลงให้ทายาทของ จ. นำที่ดินแปลงที่ จ. ทำสัญญาจะซื้อขายกับจำเลยไปขายให้แก่ผู้อื่นได้โดยทายาทของ จ. ยินยอมชำระเงินให้จำเลย 1,000,000 บาท จึงเป็นผลให้จำเลยไม่มีที่ดินโอนให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายอีกต่อไป ถือว่าการโอนที่ดินตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยต้องรับผิดชอบ จำเลยจึงต้องคืนมัดจำที่รับไปแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378 (3) จึงฟังได้ว่าหนี้เงินมัดจำที่รับไว้จากโจทก์จำนวน 2,450,000 บาท เป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4246/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันไม่ใช่เงินมัดจำ สิทธิเรียกร้องจากค้ำประกันขึ้นอยู่กับความรับผิดของลูกหนี้
จำนวนเงินตามหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ บริษัท ล. ผู้รับจ้างนำไปมอบให้โจทก์ยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา มิใช่เงินที่บริษัท ล. มอบให้โจทก์ทันทีขณะทำสัญญา แต่เป็นเพียงหลักประกันเบื้องต้นเพื่อที่จะให้โจทก์เชื่อได้ว่า บริษัท ล. จะปฏิบัติตามสัญญา และหากบริษัท ล. ผิดสัญญาโจทก์จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ผู้ออกหนังสือค้ำประกันนั้นแทน จำนวนเงินตามสัญญาไม่ใช่เงินมัดจำที่บริษัท ล. ให้ไว้แก่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 377 และ 378 จึงมิใช่หลักประกันที่โจทก์จะริบได้ทันทีเมื่อบริษัท ล. ผิดสัญญา แต่จะถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา และเป็นเพียงข้อตกลงที่ให้ความสะดวกในวิธีการบังคับชำระหนี้หากมี และจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันบริษัท ล. ต้องรับผิดชำระเงินให้แก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเพียงเท่ากับความรับผิดที่บริษัท ล. ต้องรับผิดต่อโจทก์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2907/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและขอบเขตค่าเสียหาย: โจทก์ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรง
ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำวินิจฉัยของศาลล่างแล้วว่าโจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ที่ 2 จึงย่อมไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่อ้างว่าเกิดแก่ที่ดินที่โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของได้
โจทก์ที่ 1 ทำโครงการก่อสร้างอาคารในที่ดินโจทก์ที่ 1 ในนามบริษัทของโจทก์ที่ 1 ดังนั้น หากจะเกิดความเสียหายก็เป็นความเสียหายที่เกิดแก่โจทก์ที่ 1 หรือบริษัทของโจทก์ที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์ที่ 2 แต่อย่างใด โจทก์ที่ 2 จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการขาดรายได้จากจำเลยได้
โจทก์ที่ 1 ทำโครงการก่อสร้างอาคารในที่ดินโจทก์ที่ 1 ในนามบริษัทของโจทก์ที่ 1 ดังนั้น หากจะเกิดความเสียหายก็เป็นความเสียหายที่เกิดแก่โจทก์ที่ 1 หรือบริษัทของโจทก์ที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์ที่ 2 แต่อย่างใด โจทก์ที่ 2 จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการขาดรายได้จากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาซื้อขายและการคืนเงินเมื่อผู้ซื้อผิดนัดชำระหนี้ ศาลพิจารณาความเสียหายและคิดดอกเบี้ย
จำเลยสร้างตึกแถวที่จะขายให้โจทก์เสร็จพร้อมที่จะโอนตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2539 โจทก์ย่อมมีหน้าที่รับโอนและชำระราคาส่วนที่เหลืออีก 2,000,000 บาท แก่จำเลย แต่โจทก์ไม่ชำระแม้ในช่วงเวลานั้นต่างมิได้ถือเอาเงื่อนไขในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญ เนื่องจากจำเลยกำลังบอกขายตึกแถวพร้อมที่ดินให้แก่ผู้อื่น เพื่อประโยชน์ของโจทก์ แต่ไม่เป็นการแน่นอนว่าจะสำเร็จได้ โจทก์ย่อมมีเวลาเพียงพอในการเตรียมเงินชำระให้แก่จำเลยการที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินที่ค้างชำระแก่จำเลยภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ อันเป็นเวลาหลังจากที่จำเลยปลูกสร้างตึกแถวแล้วเสร็จเกือบ 1 ปี จึงเป็นการบอกกล่าวให้เวลาอันสมควรแล้ว เมื่อหนังสือดังกล่าวมีข้อความแสดงเจตนาเลิกสัญญา และโจทก์ไม่ชำระเงินภายในเวลากำหนดสัญญาจะซื้อจะขายย่อมเป็นอันเลิกกันเมื่อล่วงพ้น 15 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือทวงถามนั้น แต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมจำเลยมีหน้าที่คืนเงิน 1,200,000 บาท ที่รับไว้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
โจทก์ชำระเงินดาวน์ 300,000 บาท อันเป็นส่วนหนึ่งของเงินจำนวน1,200,000 บาท ให้แก่จำเลยในวันทำสัญญา โดยมิใช่เป็นการให้ไว้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา จึงต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่โจทก์ชำระล่วงหน้า มิใช่มัดจำที่จำเลยจะริบได้ เมื่อจำเลยมีหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินส่วนที่เหลือภายใน 15 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือแล้วโจทก์เพิกเฉย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง จำเลยมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดได้ตามมาตรา 215 การที่จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ต้องคืนเงินล่วงหน้า 1,200,000 บาท ให้แก่โจทก์จนครบจำนวน เนื่องจากจำเลยได้รับความเสียหาย เพราะเหตุที่โจทก์ผิดนัดและต้องรับภาระดอกเบี้ยที่กู้ยืมเงินจากธนาคารมาลงทุนปลูกสร้างอาคารพอแปลได้ว่าจำเลยเรียกเอาเงิน 1,200,000 บาท นั้นเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้
การที่โจทก์ไม่ชำระเงิน 2,000,000 บาทให้แก่จำเลยเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารสำหรับจำนวนเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี แต่ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบโจทก์จึงมิได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นถึงความเสียหายเช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว จำเลยจะเรียกร้องให้โจทก์รับผิดไม่ได้ อย่างไรก็ดีการที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่จำเลยย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหายดังนั้น แม้จำเลยจะนำสืบถึงค่าเสียหายไม่ได้ ศาลก็มีอำนาจคิดคำนวณให้ได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีโดยเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบกับความสุจริตในการดำเนินคดี
โจทก์ชำระเงินดาวน์ 300,000 บาท อันเป็นส่วนหนึ่งของเงินจำนวน1,200,000 บาท ให้แก่จำเลยในวันทำสัญญา โดยมิใช่เป็นการให้ไว้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา จึงต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่โจทก์ชำระล่วงหน้า มิใช่มัดจำที่จำเลยจะริบได้ เมื่อจำเลยมีหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินส่วนที่เหลือภายใน 15 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือแล้วโจทก์เพิกเฉย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง จำเลยมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดได้ตามมาตรา 215 การที่จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ต้องคืนเงินล่วงหน้า 1,200,000 บาท ให้แก่โจทก์จนครบจำนวน เนื่องจากจำเลยได้รับความเสียหาย เพราะเหตุที่โจทก์ผิดนัดและต้องรับภาระดอกเบี้ยที่กู้ยืมเงินจากธนาคารมาลงทุนปลูกสร้างอาคารพอแปลได้ว่าจำเลยเรียกเอาเงิน 1,200,000 บาท นั้นเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้
การที่โจทก์ไม่ชำระเงิน 2,000,000 บาทให้แก่จำเลยเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารสำหรับจำนวนเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี แต่ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบโจทก์จึงมิได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นถึงความเสียหายเช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว จำเลยจะเรียกร้องให้โจทก์รับผิดไม่ได้ อย่างไรก็ดีการที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่จำเลยย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหายดังนั้น แม้จำเลยจะนำสืบถึงค่าเสียหายไม่ได้ ศาลก็มีอำนาจคิดคำนวณให้ได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีโดยเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบกับความสุจริตในการดำเนินคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาซื้อขายและคืนเงินดาวน์ กรณีผู้ซื้อผิดนัดชำระหนี้และผลกระทบต่อค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายตึกแถวกัน ต่อมาจำเลยปลูกสร้างตึกแถวเสร็จพร้อมที่จะโอนให้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมชำระราคาส่วนที่เหลือแก่จำเลย ทั้งโจทก์ยังขอร้องให้จำเลยช่วยบอกขายตึกแถวดังกล่าวให้ด้วยแสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะชำระราคาส่วนที่เหลือแก่จำเลยมาตั้งแต่แรก แม้จะได้ความว่าในช่วงเวลาดังกล่าวทั้งโจทก์และจำเลยต่างมิได้ถือเอาเงื่อนไขในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญเพราะจำเลยกำลังบอกขายตึกแถวให้แก่ผู้อื่นเพื่อประโยชน์ของโจทก์ก็ตาม แต่ก็ไม่แน่นอนว่าจำเลยจะสามารถขายตึกแถวให้เป็นผลสำเร็จได้ โจทก์จึงย่อมมีเวลาเพียงพอในการเตรียมเงินให้พร้อมเพื่อชำระให้แก่จำเลย การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินที่ค้างอยู่จำนวน 2,000,000 บาท ภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือ อันเป็นเวลาหลังจากที่จำเลยปลูกสร้างตึกแถวแล้วเสร็จและพร้อมที่จะโอนให้โจทก์เกือบ 1 ปี ซึ่งเป็นการบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ภายในเวลาอันควรแล้ว
เมื่อหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินระบุว่าหากพ้นกำหนด 15 วันแล้ว โจทก์ไม่ชำระให้ถือเอาหนังสือฉบับนั้นเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญา การที่โจทก์ไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือภายในเวลาดังกล่าว สัญญาจะซื้อจะขายตึกแถวจึงเป็นอันเลิกกัน อันเป็นผลจากการที่จำเลยแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันในภายหลังไม่ เมื่อสัญญาเลิกกันแล้วโจทก์และจำเลยต้องให้แต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม โดยจำเลยมีหน้าที่คืนเงินที่ได้รับไว้แล้วพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
เงินดาวน์ 300,000 บาท ที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยในวันทำสัญญา ไม่ปรากฏว่าเป็นการให้ไว้เพื่อเป็นประกันการที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญา จึงต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยล่วงหน้า มิใช่เงินมัดจำที่จำเลยจะริบได้ ทั้งไม่มีข้อสัญญาให้จำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์ชำระแล้วด้วย
เมื่อโจทก์เพิกเฉยไม่ชำระหนี้ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ในหนังสือบอกกล่าวโจทก์จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสองจำเลยมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215
ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบถึงอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 17.5 ต่อปี ที่จำเลยต้องเสียให้แก่ธนาคารจากการที่โจทก์ผิดนัด จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นถึงความเสียหายเช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว จำเลยจะเรียกร้องให้โจทก์รับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวไม่ได้แต่ศาลมีอำนาจคิดคำนวณให้ได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีโดยเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยของหนี้เงินในระหว่างที่ลูกหนี้ผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบกับความสุจริตในการดำเนินคดี
เมื่อหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินระบุว่าหากพ้นกำหนด 15 วันแล้ว โจทก์ไม่ชำระให้ถือเอาหนังสือฉบับนั้นเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญา การที่โจทก์ไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือภายในเวลาดังกล่าว สัญญาจะซื้อจะขายตึกแถวจึงเป็นอันเลิกกัน อันเป็นผลจากการที่จำเลยแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันในภายหลังไม่ เมื่อสัญญาเลิกกันแล้วโจทก์และจำเลยต้องให้แต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม โดยจำเลยมีหน้าที่คืนเงินที่ได้รับไว้แล้วพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
เงินดาวน์ 300,000 บาท ที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยในวันทำสัญญา ไม่ปรากฏว่าเป็นการให้ไว้เพื่อเป็นประกันการที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญา จึงต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยล่วงหน้า มิใช่เงินมัดจำที่จำเลยจะริบได้ ทั้งไม่มีข้อสัญญาให้จำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์ชำระแล้วด้วย
เมื่อโจทก์เพิกเฉยไม่ชำระหนี้ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ในหนังสือบอกกล่าวโจทก์จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสองจำเลยมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215
ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบถึงอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 17.5 ต่อปี ที่จำเลยต้องเสียให้แก่ธนาคารจากการที่โจทก์ผิดนัด จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นถึงความเสียหายเช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว จำเลยจะเรียกร้องให้โจทก์รับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวไม่ได้แต่ศาลมีอำนาจคิดคำนวณให้ได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีโดยเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยของหนี้เงินในระหว่างที่ลูกหนี้ผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบกับความสุจริตในการดำเนินคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7705/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายรถยนต์: หน้าที่ของจำเลยในการปฏิบัติตามข้อเสนอขาย, การผิดสัญญา, และสิทธิในการยึดหน่วง
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาท จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามแผ่นปลิวโฆษณาเชิญชวนให้ซื้อรถยนต์ของจำเลยที่ระบุว่ารับโทรศัพท์มือถือฟรี พร้อมประกันภัยชั้น 1 ซึ่งข้อความตามแผ่นปลิวโฆษณาดังกล่าวถือว่าเป็นเงื่อนไขในข้อเสนอขายของจำเลย จำเลยจึงต้องส่งมอบโทรศัพท์มือถือและทำสัญญาประกันภัยชั้นหนึ่งให้ ทั้งต้องดำเนินการเพื่อให้โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทด้วยตามเงื่อนไขในข้อเสนอขาย เมื่อจำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง ทั้งต่อมายังนำรถยนต์พิพาทกลับไปไว้ในความครอบครอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการผิดสัญญาต่อโจทก์และต่อมาโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาทั้งฟ้องคดี จึงถือได้ว่าสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทเลิกกันโดยปริยาย อันมีผลให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคหนึ่ง และจำเลยต้องส่งคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ตามมาตรา 378(3)
หนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยรถยนต์พิพาทอันจะก่อสิทธิแก่จำเลยที่จะยึดหน่วงรถยนต์พิพาทไว้ต้องเป็นหนี้ที่เกิดจากการตรวจเช็คสภาพรถยนต์ที่โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยเท่านั้น การชำระเงินดาวน์ของโจทก์ต่อจำเลยหาใช่หนี้ที่จะก่อให้จำเลยมีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์พิพาทไม่แม้หากโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หามีสิทธินำรถยนต์พิพาทกลับมาไว้ในครอบครองเพื่อบังคับให้โจทก์ชำระหนี้โดยไม่มีข้อสัญญากำหนดให้มีสิทธิกระทำได้
หนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยรถยนต์พิพาทอันจะก่อสิทธิแก่จำเลยที่จะยึดหน่วงรถยนต์พิพาทไว้ต้องเป็นหนี้ที่เกิดจากการตรวจเช็คสภาพรถยนต์ที่โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยเท่านั้น การชำระเงินดาวน์ของโจทก์ต่อจำเลยหาใช่หนี้ที่จะก่อให้จำเลยมีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์พิพาทไม่แม้หากโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หามีสิทธินำรถยนต์พิพาทกลับมาไว้ในครอบครองเพื่อบังคับให้โจทก์ชำระหนี้โดยไม่มีข้อสัญญากำหนดให้มีสิทธิกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7117/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดิน การคืนเงินมัดจำ ดอกเบี้ยผิดนัด และค่าเสียหายจากความผิดสัญญา
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมีข้อความว่า ผู้จะซื้อได้ชำระเงินค่าที่ดินแล้ว 432,000 บาท คงค้างชำระอีกเพียง 4,200 บาทซึ่งจะชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์... หากสัญญาจะซื้อจะขายนี้ไม่ได้กระทำภายในกำหนดเวลาเพราะความผิดของผู้จะขาย ผู้จะขายต้องคืนเงินมัดจำให้แก่ผู้จะซื้อพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีดังนี้ เมื่อตามสัญญาไม่ปรากฏว่ามีการวางมัดจำกันไว้ก็ต้องถือว่าเงิน432,000 บาท ที่จำเลยรับไปจากโจทก์แล้วนั้นเป็นมัดจำซึ่งตรงตามคำฟ้องที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนเงิน 432,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ในฐานที่เป็นมัดจำ อันเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(3) และเป็นคนละกรณีกับการใช้เงินคืนเมื่อมีการใช้สิทธิเลิกสัญญาตามมาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งกำหนดให้คิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลาที่รับไว้เมื่อการเรียกคืนเงินมัดจำไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คิดดอกเบี้ยไว้โดยเฉพาะจึงต้องเป็นไปตามหลักทั่วไปตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด เมื่อหนังสือทวงถามให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ โจทก์ยังมิได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและเรียกเงินมัดจำคืน จึงต้องถือว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและเรียกเงินมัดจำคืนโดยการฟ้องคดี จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยของเงินมัดจำนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 3,240,000 บาทแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ส่วนจำเลยฎีกายอมรับผิดชำระเงิน 432,000 บาทแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ดังนั้น ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาคือผลต่างของจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิดชำระแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 กับที่จำเลยฎีกามา
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 3,240,000 บาทแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ส่วนจำเลยฎีกายอมรับผิดชำระเงิน 432,000 บาทแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ดังนั้น ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาคือผลต่างของจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิดชำระแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 กับที่จำเลยฎีกามา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3280/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเลิกสัญญาเช่าและการริบเงินประกัน หากมีข้อตกลงยินยอมให้ริบได้
โจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวตามฟ้องจากจำเลยมีกำหนดเวลาการเช่า 1 ปี 6 เดือน โจทก์ได้วางเงินประกันไว้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์ได้ส่งมอบตึกแถวคืนจำเลยในสภาพเรียบร้อย โจทก์ขอบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดเวลาเช่าและจำเลยยินยอมให้โจทก์เลิกสัญญาได้ จึงเป็นการที่ต่างฝ่ายต่างสมัครใจตกลงเลิกสัญญาต่อกัน แต่โจทก์จำเลยมีข้อตกลงในการเลิกสัญญาเช่าว่าโจทก์ยอมให้จำเลยริบเงินประกันได้ จำเลยจึงมีสิทธิริบเอาเงินประกันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3280/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าโดยความยินยอม และการริบเงินประกัน
โจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวตามฟ้องจากจำเลยมีกำหนดเวลาการเช่า1 ปี 6 เดือน โจทก์ได้วางเงินประกันไว้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์ได้ส่งมอบตึกแถวคืนจำเลยในสภาพเรียบร้อย โจทก์ขอบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดเวลาเช่าและจำเลยยินยอมให้โจทก์เลิกสัญญาได้ จึงเป็นการที่ต่างฝ่ายต่างสมัครใจตกลงเลิกสัญญาต่อกันแต่โจทก์จำเลยมีข้อตกลงในการเลิกสัญญาเช่าว่าโจทก์ยอมให้จำเลยริบเงินประกันได้จำเลยจึงมีสิทธิริบเอาเงินประกันดังกล่าว