คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 378

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 152 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินมัดจำกับการริบตามสัญญาซื้อขาย ศาลไม่มีอำนาจลดจำนวนมัดจำเหมือนเบี้ยปรับ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา377เงินมัดจำเป็นเงินประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญาซึ่งตามมาตรา378กำหนดไว้ว่าหากผู้วางมัดจำผิดสัญญาก็ให้ริบหากผู้รับมัดจำผิดสัญญาก็ให้ส่งคืนเว้นแต่จะได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่นทั้งนี้มิได้ถือเอาความเสียหายของผู้รับมัดจำมาเป็นหลักประกอบการพิจารณาในการริบมัดจำส่วนเงินเบี้ยปรับตามมาตรา379เป็นจำนวนค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าในเมื่อมีการไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสัญญาและการริบเบี้ยปรับมาตรา383ให้ถือเอาทางได้ทางเสียของเจ้าหนี้เป็นหลักในการพิจารณาว่าจะริบเบี้ยปรับทั้งหมดหรือจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรจึงเห็นได้ว่าเงินมัดจำกับเงินเบี้ยปรับมีลักษณะไม่เหมือนกันมัดจำจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับศาลจึงไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำลงได้อย่างเบี้ยปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: การไม่ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ และผลกระทบต่อการคืนมัดจำเมื่อมีการขายให้ผู้อื่น
เมื่อโจทก์และจำเลยไม่ได้ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามกำหนดในสัญญาจะซื้อจะขายโจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยไม่ชำระหนี้เพราะโจทก์ก็มิได้ชำระหนี้ตอบแทน แต่การที่ต่อมาจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่บุคคลภายนอกย่อมทำให้การชำระหนี้คือการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่โจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยต้องรับผิดชอบ จำเลยจึงต้องคืนมัดจำแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(3)ทั้งการฟ้องคดีเรียกมัดจำคืนและเรียกค่าเสียหายเท่ากับเป็นการเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 389 อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีมูลหนี้เนื่องจากสัญญาเลิกกันโดยปริยาย สิทธิฟ้องอาญาจึงระงับ
จำเลยที่ 1 ออกเช็คตามฟ้องให้โจทก์เป็นมัดจำในการว่าจ้างช่วงให้โจทก์ทำเฟอร์นิเจอร์แก่ อ. เช็คตามฟ้องจึงมีมูลหนี้ แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำงานตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ไปแล้วหรือไม่เพียงใด อ. ก็ได้ตกลงว่าจ้างโจทก์ทำเฟอร์นิเจอร์แก่ อ. เสียเอง ซึ่งจำเลยที่ 1 มิได้ทักท้วงอย่างใด ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้เลิกสัญญากันโดยปริยาย เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำงานตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 แล้วหรือไม่ และฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงต้องคืนมัดจำแก่จำเลยที่ 1หนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินจึงสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดมากกว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 5 ที่ใช้ในการกระทำความผิดจึงต้องใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 บังคับแก่กรณีนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3โดยถือว่าคดีเลิกกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: สิทธิเรียกร้องค่ามัดจำต้องพิสูจน์ความผูกพันของหนี้ก่อนนำเช็คไปเรียกเก็บ
เช็คพิพาทเป็นเช็คค่ามัดจำการซื้อขายที่ดิน เมื่อข้อเท็จจริงตามทางไต่สวนของโจทก์ไม่ได้ความว่า โจทก์มีสิทธิจัดเอาเช็คพิพาทเป็นการชำระหนี้บางส่วนหรือเป็นการริบมัดจำ ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีความผูกพันหรือมีหนี้ที่มีอยู่จริงที่จะต้องใช้เงินตามเช็คคดีของโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คค่ามัดจำซื้อขายที่ดิน: สิทธิเรียกร้องต้องมีฐานสัญญาที่ยังผูกพันอยู่ จึงจะบังคับใช้เช็คได้
เช็คพิพาทเป็นเช็คค่ามัดจำการซื้อขายที่ดินซึ่งจำเลยเป็นผู้ซื้อและสั่งจ่ายให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขาย และโจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินแล้วถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่าย แต่เมื่อไม่ได้ความว่า หลังจากทำสัญญาซื้อขายที่ดินแล้วสัญญาซื้อขายยังคงมีอยู่ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย หรือฝ่ายใดปฏิบัติผิดสัญญาไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์มีสิทธิจัดเอาเช็คพิพาทเป็นการชำระหนี้บางส่วน หรือเป็นการริบมัดจำเพราะโจทก์อาจต้องคืนเช็คพิพาทตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378 จำเลยจึงไม่มีความผูกพันหรือมีหนี้ที่มีอยู่จริงที่จะต้องใช้เงินตามเช็คคดีของโจทก์จึงไม่มีมูล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทมัดจำซื้อขายที่ดิน: จำเลยยังไม่ผูกพันหนี้หากสัญญาไม่สมบูรณ์หรือชำระหนี้ไม่ได้
เช็คพิพาทเป็นเช็คค่ามัดจำการซื้อขายที่ดินซึ่งจำเลยเป็นผู้ซื้อและสั่งจ่ายให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขาย และโจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินแล้วถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่าย แต่เมื่อไม่ได้ความว่า หลังจากทำสัญญาซื้อขายที่ดินแล้วสัญญาซื้อขายยังคงมีอยู่ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย หรือฝ่ายใดปฏิบัติผิดสัญญาไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์มีสิทธิจัดเอาเช็คพิพาทเป็นการชำระหนี้บางส่วน หรือเป็นการริบมัดจำเพราะโจทก์อาจต้องคืนเช็คพิพาท ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและ-พาณิชย์ มาตรา 378 จำเลยจึงไม่มีความผูกพันหรือมีหนี้ที่มีอยู่จริงที่จะต้องใช้เงินตามเช็ค คดีของโจทก์จึงไม่มีมูล
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูล พิพากษา-ยกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาได้
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาว่าคดีของโจทก์มีมูลหรือไม่นั้น เห็นว่าแม้โจทก์จะมีเช็คพิพาทซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายไว้ในครอบครอง ทางไต่สวนมูลฟ้องของโจทก์ก็ต้องได้ความด้วยว่าจำเลยมีความผูกพันที่จะต้องใช้เงินตามเช็ค แต่ทางไต่สวนได้ความเพียงว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คค่ามัดจำการซื้อขายที่ดินที่จำเลยเป็นผู้ซื้อและสั่งจ่ายให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายโดยไม่ได้ความว่าหลังจากการทำสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าว สัญญาซื้อขายที่ดินยังคงมีอยู่หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยหรือฝ่ายใดปฏิบัติผิดสัญญาอันจะมีผลให้ส่งคืนหรือจัดเอาเป็นการชำระหนี้บางส่วน หรือให้ริบตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378 การที่โจทก์นำเช็คพิพาทซึ่งเป็นค่ามัดจำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินยังไม่อาจจะคาดหมายได้ว่าโจทก์มีสิทธิจัดเอาเช็คพิพาทเป็นการชำระหนี้บางส่วนหรือเป็นการริบมัดจำ เพราะอาจฟังได้ว่าโจทก์จะต้องส่งคืนก็เป็นได้ ข้อเท็จจริงตามทางไต่สวน-มูลฟ้องของโจทก์ไม่ได้ความว่าจำเลยมีความผูกพันหรือมีหนี้ที่มีอยู่จริงที่จะต้องใช้เงินตามเช็ค คดีของโจทก์ไม่มีมูลความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง
พิพากษายืน.
(สมาน เวทวินิจ - จิระ บุญพจนสุนทร - สมิทธิ์ วราอุบล)ศาลอาญา นายสมศักดิ์ เนตรมัยศาลอุทธรณ์ นายวิชา มหาคุณ
นายสุทัศน์ ศิริมหาพฤกษ์ - ย่อ
สันทนา พ/ท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชำระเงินส่วนหนึ่งของราคาที่ดินมีผลเหนือการอ้างว่าเป็นเงินมัดจำ
การที่สัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้งสองฉบับระบุไว้ชัดแจ้งว่าจำนวนเงินที่จะชำระในวันที่ 25 พฤษภาคม 2530 หรือเลื่อนกำหนดไปชำระในวันที่ 17 สิงหาคม 2530 เป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินการที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า เงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินมัดจำจึงเป็นการขัดกับข้อความในสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3984/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การปฏิบัติตามสัญญา, ความสามารถในการชำระหนี้, และผลกระทบต่อการผิดสัญญา
โจทก์และจำเลยทั้งสองประสงค์ที่จะปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินต่อกัน แต่การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เกิดจากเหตุขัดข้อง2 ประการ เหตุประการแรก เจ้าพนักงานที่ดินไม่กล้าตัดสินใจว่าการขายที่ดินเข้าข่ายจะต้องขออนุญาตค้าที่ดินจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตาม ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 101 ก่อนหรือไม่เป็นการวินิจฉัยสั่งการของเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของจำเลยทั้งสอง การที่เจ้าพนักงานที่ดินไม่กล้าตัดสินใจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจนกว่าจะได้หารือกรมที่ดินก่อนมิใช่เกิดจากความผิดของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา เหตุประการที่สอง เรื่องที่ฝ่ายโจทก์เพียงแต่เตรียมตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 3 ฉบับ ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเงินกับนำสมุดเงินฝากออมทรัพย์ของ ส. ไปแสดงต่อจำเลยทั้งสองแทนค่าซื้อไว้ก่อน แต่จำเลยทั้งสองไม่ยินยอม ซึ่งตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โจทก์มีหน้าที่จะต้องชำระเงินที่ค้างชำระทั้งหมดในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์การที่โจทก์พา ส. ไปซื้อที่ดินดังกล่าวแทนโจทก์ แม้จะไม่ใช่เรื่องผิดสัญญาในส่วนของตัวบุคคลผู้ที่จะเป็นผู้ซื้อก็ตามก็เรียกได้ว่าโจทก์และ ส. ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะปฏิบัติการชำระหนี้ค่าซื้อที่ดินส่วนที่ค้างชำระ โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ชอบที่จำเลยทั้งสองจะริบมัดจำได้ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2574/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน, การผิดสัญญา, การเลิกสัญญา, การคืนสภาพเดิม
การที่โจทก์จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยกำหนดวันที่จำเลยผู้จะขายจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ผู้จะซื้อไว้ แต่เมื่อถึงกำหนดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญาดังกล่าวแล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทวงถามให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยก็รับเงินค่าที่ดินจากโจทก์เพิ่มขึ้นอีก โจทก์จำเลยปล่อยล่วงเวลามานานเช่นนี้แสดงว่าคู่กรณีไม่ถือเอาเวลาตามที่กำหนดไว้เป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยมีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและชำระราคาที่ดินที่ค้าง โดยกำหนดเวลาตามสมควรแล้วโจทก์ไม่ไปตามนัด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และสัญญาเป็นอันเลิกกันตามที่จำเลยบอกกล่าว คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยโจทก์ต้องคืนที่ดินให้แก่จำเลย และจำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำแต่ต้องคืนค่าที่ดินที่ได้รับล่วงหน้าให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้จากการขายที่ดิน: เงินมัดจำและดอกเบี้ยถือเป็นเงินได้พึงประเมิน แม้ยังมิได้โอนกรรมสิทธิ์
เงื่อนไขการชำระเงินค่าที่ดินจำนวน 20,077,000 บาท ในสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับ ก. ผู้จะซื้อ ระบุว่า ก.ได้ชำระมัดจำให้แก่โจทก์ในวันทำสัญญาคือวันที่ 12 ตุลาคม 2526จำนวน 1,000,000 บาท หลังจากนั้นจะชำระเงิน 5,000,000 บาทวันที่ 20 มีนาคม 2527 และชำระเงิน 4,000,000 บาท วันที่ 20มิถุนายน 2527 เงินส่วนที่เหลือจะชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ณ สำนักงานที่ดินในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2527 เช่นนี้ แม้ว่าเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่โจทก์ได้รับจาก ก. ในปี 2526 ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินจะระบุว่าเป็นเงินมัดจำก็ตาม แต่ตามเงื่อนไขการชำระราคาที่ดินดังกล่าวข้างต้นย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าคู่สัญญาได้ตกลงกันให้ถือเอาเงินมัดจำ จำนวน 1,000,000 บาท นั้น เป็นการชำระราคาบางส่วนเช่นเดียวกับการชำระราคาที่ดินในงวดอื่น ๆ ด้วยหาใช่เป็นเพียงเงินประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินเท่านั้นไม่ ส่วนเงินได้จำนวน 5,477,500 บาท ที่โจทก์ได้รับในปี 2527 นั้น ส่วนหนึ่งจำนวน 5,000,000 บาท ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นการชำระราคาที่ดินบางส่วน และอีกส่วนหนึ่งจำนวน 477,500 บาท นั้น เป็นเงินดอกเบี้ยที่ ก.จ่ายให้แก่โจทก์ เพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้ ก. ผัดการชำระเงินออกไป เงินดอกเบี้ยจำนวน 477,500 บาท นั้น จึงถือได้ว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้รับเนื่องจากสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ดังนั้นเงินได้พิพาททั้งหมดจึงเป็นเงินได้พึงประเมินที่โจทก์จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 แม้ว่า ก. ได้ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลชอบให้บังคับโจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน หากโอนไม่ได้ให้โจทก์คืนเงินค่าที่ดินที่ได้รับไว้พร้อมเบี้ยปรับก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เงินได้พิพาทเป็นเงินที่โจทก์ได้รับจาก ก. เพื่อชำระราคาที่ดินบางส่วน และเป็นเงินค่าดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับเนื่องจากสัญญาจะซื้อขายที่ดิน เงินได้พิพาทนั้นย่อมตกเป็นของโจทก์ในแต่ละปีภาษีที่ได้รับเงินนั้นแล้ว หาใช่ว่าเงินได้พิพาทดังกล่าว ยังไม่แน่นอนว่าจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จึงมิใช่เงินได้พึงประเมินไม่ ที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 52 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้วนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนและห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้จนกว่าจะได้รับเงินภาษีที่นำส่งไว้ครบถ้วนถูกต้องแล้ว นั้น เป็นเพียงมาตราการที่กำหนดขึ้นเพื่อให้รัฐสามารถจัดเก็บภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ได้ครบถ้วน รัดกุมและป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีเท่านั้น หาใช่ว่า กฎหมายยกเว้นให้ผู้มีเงินได้ไปเสียภาษีในวันโอนกรรมสิทธิ์ไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์มีเงินได้จากการขายที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินในปีภาษีใด โจทก์ก็ต้องเสียภาษีในปีภาษีนั้น แม้ว่าในปีภาษีนั้นจะยังมิได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันก็ตาม เงินได้พิพาทส่วนหนึ่งจำนวน 600,000 บาท เป็นการชำระราคาที่ดินบางส่วน และอีกส่วนหนึ่ง จำนวน 477,500 บาท เป็นค่าดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับเนื่องจากสัญญาจะซื้อขายที่ดิน เงินได้พิพาททั้งหมดดังกล่าว จึงมิใช่เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนตามมาตรา 40(5)(ค) และไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทต่าง ๆ ดังระบุไว้ในมาตรา 40(1)ถึง (7) แห่งประมวลรัษฎากร จึงจัดเป็นเงินได้จากการอื่น ๆ ตามมาตรา 40(8) ที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 42(13) บัญญัติยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดนั้น หมายความเฉพาะค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากมูลหนี้ละเมิดเท่านั้น เมื่อเงินได้พิพาทเป็นเงินได้ที่โจทก์ได้รับเนื่องจากสัญญาจะซื้อขายที่ดินจึงมีมูลหนี้มาจากสัญญา หาใช่มูลหนี้ละเมิดไม่ ย่อมไม่ได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา นี้
of 16