คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 378

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 152 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายซองกระสุนชำรุด: สิทธิบอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย, และการคืนหลักประกัน
สัญญาซื้อขายของกระสุนปืน เอ็ม .16 ซึ่งผลิตโดยโรงงานในประเทศสหรัฐอเมริกา แม้ตามสัญญาเรื่องการจัดการแก้ไขในกรณีที่ซองกระสุนปืนดังกล่าวไม่ถูกต้องจะมิได้ระบุให้ส่งไปให้ผู้ผลิตทำการแก้ไขก็ตาม แต่การแก้ไขชิ้นส่วนของซองกระสุนปืนเอ็ม .16 อันเป็นเครื่องกระสุนปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ ซึ่งใช้ในราชการสงคราม จึงพึงเป็นที่เข้าใจว่าผู้ที่จะจัดการแก้ไขซ่อมแซมได้ จะต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ดังนี้การที่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้โรงงานผู้ผลิตรับเอาซองกระสุนปืนไปแก้ไขให้ถูกต้องตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และมีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยนับแต่วันครบกำหนดส่งของตามสัญญาถึงวันครบกำหนดที่โจทก์ให้โอกาสจำเลยปฏิบัติตามสัญญา
เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย เมื่อโจทก์เรียกร้องเอาเบี้ยปรับแล้วและจำนวนเบี้ยปรับสูงกว่าค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อของในราคาที่แพงกว่าราคาเดิม โจทก์จึงจะเรียกเอาค่าเสียหายดังกล่าวอีกไม่ได้ เพราะเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายนอกเหนือไปจากความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง
ตามสัญญากำหนดให้ธนาคารวางหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์เพื่อค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา และจะคืนให้แก่ผู้ค้ำประกันเมื่อผู้ขายพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญา ดังนี้ถือได้ว่าหลักประกันดังกล่าวเป็นการวางไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายในกรณีที่มีการผิดสัญญา เมื่อโจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเสียหายเต็มจำนวนแล้ว จึงต้องคืนหลักประกันดังกล่าวให้จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาจะซื้อขายและการคืนเงินมัดจำ: คดีติดตามทรัพย์สินไม่มีอายุความ แม้ทุนทรัพย์ชั้นฎีกาต่ำกว่าเกณฑ์
โจทก์จำเลยได้เลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันแล้ว คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391แต่จำเลยไม่คืนเงินมัดจำและราคาที่ดินที่จำเลยรับไว้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงฟ้องคดีเพื่อเรียกเงินดังกล่าวคืน เป็นกรณีที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามเอาทรัพย์สินคืน ไม่มีอายุความ การพิจารณาทุนทรัพย์ว่าจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่นั้น ต้องถือตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญามัดจำซื้อขายที่ดิน จำเลยต้องคืนเงินมัดจำและราคาที่ดิน คดีไม่มีอายุความ
โจทก์จำเลยได้เลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันแล้ว คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 แต่จำเลยไม่คืนเงินมัดจำและราคาที่ดินที่จำเลยรับไว้ให้แก่โจทก์โจทก์จึงฟ้องคดีเพื่อเรียกเงินดังกล่าวคืน เป็นกรณีที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามเอาทรัพย์สินคืน ไม่มีอายุความ
การพิจารณาทุนทรัพย์ว่าจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่นั้น ต้องถือตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน-บ้าน, การแก้ไขโฉนด, คืนเงินมัดจำ, และค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ตกลงซื้อที่ดินและบ้านจากจำเลยโดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายและวางเงินมัดจำไว้ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินมัดจำพร้อมด้วยดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้
สัญญาซื้อขายระบุว่าในวันทำสัญญาโจทก์ได้วางเงินมัดจำไว้เป็นเงิน 70,000 บาท จำเลยได้รับเงินเรียบร้อยแล้วจำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารดังกล่าวว่าโจทก์วางเงินมัดจำเพียง 50,000 บาทไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 การที่จะให้คู่ความฝ่ายใดเสียค่าฤชาธรรมเนียมเป็นเรื่องที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความ (โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 1497/2515 และคำพิพากษาฎีกาประชุมใหญ่ที่ 2216/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย, ข้อผิดพลาดเรื่องเนื้อที่ดิน, การผิดสัญญา, การคืนเงินมัดจำ, ค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ตกลงซื้อที่ดินและบ้านจากจำเลยโดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายและวางเงินมัดจำไว้ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินมัดจำพร้อมด้วยดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้
สัญญาซื้อขายระบุว่าในวันทำสัญญาโจทก์ได้วางเงินมัดจำไว้เป็นเงิน 70,000 บาท จำเลยได้รับเงินเรียบร้อยแล้วจำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารดังกล่าวว่าโจทก์วางเงินมัดจำเพียง 50,000 บาท ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
การที่จะให้คู่ความฝ่ายใดเสียค่าฤชาธรรมเนียมเป็นเรื่องที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความ
(โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 1497/2515 และคำพิพากษาฎีกาประชุมใหญ่ที่ 2216/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1836/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยผิดสัญญาซื้อขายอาคารพาณิชย์ โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย แม้ยังไม่ได้ซื้ออาคารอื่นแทน
โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพาณิชย์และที่ดินพร้อมกับชำระเงินงวดที่ 1 เมื่อการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ชั้นล่างแล้วเสร็จและกำลังก่อสร้างชั้นที่สอง ซึ่งตามผลงานก่อสร้างดังกล่าวสัญญาได้ระบุไว้ว่าต้องชำระเงินงวดที่ 2และงวดต่อไปแล้ว แต่ปรากฏว่าจำเลยก่อสร้างอาคารพาณิชย์นั้นต่อไปอีกประมาณ 7 วันก็หยุดการก่อสร้าง และทิ้งค้างไว้เนื่องจากเหตุขัดข้องอย่างอื่นที่มิใช่เพราะโจทก์ผิดนัดไม่ชำระราคาเป็นเวลานานกว่า 1 ปีจนกระทั่งโจทก์ฟ้องคดีก็ยังไม่ก่อสร้างต่อ และจำเลยก็มิได้ทวงถามให้โจทก์ชำระเงินงวดที่ 2 และงวดต่อๆ ไป ดังนี้ ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา การที่โจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในอาคารพาณิชย์และที่ดินเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา และโจทก์จะต้องซื้ออาคารพาณิชย์และที่ดินรายใหม่ในราคาสูงขึ้นกว่าเดิมนั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยตามจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจากราคาเดิมที่ตกลงในสัญญาได้ และค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องนี้ก็มิใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษแต่เป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ซึ่งแม้โจทก์จะยังมิได้ซื้ออาคารพาณิชย์และที่ดินใหม่ และไม่เป็นที่แน่นอนว่าโจทก์จะต้องเสียเงินเพิ่มเท่าไร ศาลก็มีอำนาจกำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายให้โจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1836/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายอาคารพาณิชย์ ผู้ขายต้องรับผิดค่าเสียหาย แม้ผู้ซื้อยังไม่ได้ซื้ออาคารใหม่
โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพาณิชย์และที่ดินพร้อมกับชำระเงินงวดที่ 1 เมื่อการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ชั้นล่างแล้วเสร็จและกำลังก่อสร้างชั้นที่สอง ซึ่งตามผลงานก่อสร้างดังกล่าวสัญญาได้ระบุไว้ว่าต้องชำระเงินงวดที่ 2และงวดต่อไปแล้ว แต่ปรากฏว่าจำเลยก่อสร้างอาคารพาณิชย์นั้นต่อไปอีกประมาณ 7 วันก็หยุดการก่อสร้าง และทิ้งค้างไว้เนื่องจากเหตุขัดข้องอย่างอื่นที่มิใช่เพราะโจทก์ผิดนัดไม่ชำระราคาเป็นเวลานานกว่า 1 ปีจนกระทั่งโจทก์ฟ้องคดีก็ยังไม่ก่อสร้างต่อ และจำเลยก็มิได้ทวงถามให้โจทก์ชำระเงินงวดที่ 2 และงวดต่อๆ ไป ดังนี้ ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
การที่โจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในอาคารพาณิชย์และที่ดินเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา และโจทก์จะต้องซื้ออาคารพาณิชย์และที่ดินรายใหม่ในราคาสูงขึ้นกว่าเดิมนั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยตามจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจากราคาเดิมที่ตกลงในสัญญาได้ และค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องนี้ก็มิใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษแต่เป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ซึ่งแม้โจทก์จะยังมิได้ซื้ออาคารพาณิชย์และที่ดินใหม่ และไม่เป็นที่แน่นอนว่าโจทก์จะต้องเสียเงินเพิ่มเท่าไร ศาลก็มีอำนาจกำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายให้โจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3088/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขาย การปฏิบัติตามสัญญา และผลของการผิดสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันเป็นหนังสือ แม้จะมีการวางมัดจำด้วยก็ถือได้ว่าการวางมัดจำเป็นแต่เพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้น หาใช่ทำสัญญากันด้วยการวางมัดจำไม่ การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่ายังมีข้อตกลงเพิ่มเติมว่าจำเลยจะต้องรื้อบ้านหรือไถ่ถอนจำนองก่อนจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ จึงเป็นข้อความที่เพิ่มเติมจากสัญญาต้องห้ามมิให้รับฟังและถือไม่ได้ว่ามีข้อตกลงดังกล่าว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1545/2492)
เมื่อระยะเวลาตามสัญญาได้ล่วงพ้นไปแล้ว จำเลยได้กำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ปฏิบัติการชำระหนี้ โดยจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ในการโอนที่ดินให้โจทก์ในวันที่กำหนดตามหนังสือบอกกล่าว จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องมารับโอนและชำระราคาในวันนัด การที่โจทก์ไม่มารับโอนและไม่ชำระราคาโดยไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ตามกฎหมายจึงถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบมัดจำได้ แม้โจทก์จะกำหนดเวลาโอนขึ้นใหม่ในภายหลังก็ไม่มีผล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2720/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การรับที่ดินเกินเนื้อที่ตามสัญญา, การริบเงินมัดจำ, และดอกเบี้ยผิดนัด
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน 2 แปลงมีเนื้อที่รวมกัน 106 ไร่ 2 งาน 48 ตารางวา เมื่อจำเลยจัดการออกโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงแล้วได้เนื้อที่ดิน 111 ไร่ 82 ตารางวา เนื้อที่ดินล้ำจำนวนตามที่ระบุไว้ในสัญญา 4 ไร่ 2 งาน 34 ตารางวา ไม่เกินร้อยละ 5 แห่งเนื้อที่ทั้งหมดที่ระบุไว้ในสัญญา โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจำต้องรับเอาไว้และใช้ราคาตามส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 466 วรรคสอง
ในวันทำสัญญาโจทก์วางมัดจำไว้ 100,000 บาท เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำนั้นส่วนจำนวนเงิน300,000 บาท เป็นเงินที่โจทก์แบ่งชำระราคาที่ดินให้จำเลยเมื่อไม่มีการซื้อขายกัน จำเลยต้องคืนให้โจทก์ เมื่อจำเลยผิดนัดไม่คืนให้แก่โจทก์จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2720/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การรับราคาตามส่วนเมื่อเนื้อที่ดินเกินสัญญา และสิทธิในการริบเงินมัดจำเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญา
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน 2 แปลงมีเนื้อที่รวมกัน 106ไร่ 2 งาน48 ตารางวา เมื่อจำเลยจัดการออกโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงแล้วได้เนื้อที่ดิน 111 ไร่ 82 ตารางวาเนื้อที่ดินล้ำจำนวนตามที่ระบุไว้ในสัญญา 4 ไร่ 2งาน 34 ตารางวา ไม่เกินร้อยละ 5 แห่งเนื้อที่ทั้งหมดที่ระบุไว้ในสัญญา โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจำต้องรับเอาไว้และใช้ราคาตามส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 466 วรรคสอง
ในวันทำสัญญาโจทก์วางมัดจำไว้ 100,000 บาท เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำนั้นส่วนจำนวนเงิน300,000 บาท เป็นเงินที่โจทก์แบ่งชำระราคาที่ดินให้จำเลยเมื่อไม่มีการซื้อขายกัน จำเลยต้องคืนให้โจทก์ เมื่อจำเลยผิดนัดไม่คืนให้แก่โจทก์จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด
of 16