คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 ม. 27

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดตั้งสำนักงานจัดหางานหลอกลวงเพื่อเรียกเก็บเงิน ไม่ถือเป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจัดหางานโดยตั้งสำนักงานและโฆษณาชักชวนประชาชนให้มาสมัครงานโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนโจทก์บรรยายฟ้องว่าความจริงจำเลยไม่ประสงค์ที่จะจัดหางานดังกล่าวอย่างจริงจังและไม่มีงานที่จะให้คนมาสมัครงานทำดังที่ประกาศโฆษณาไว้แต่อย่างใด จำเลยเพียงแต่ตั้งสำนักงานจัดหางานดังกล่าวขึ้นมาเพื่อหลอกลวงให้ประชาชนหลงเชื่อมาติดต่อกับจำเลยแล้วจะได้หลอกเอาเงินค่าสมัครงานและค่าบริการต่าง ๆ จากประชาชน เช่นนี้ แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่พวกผู้เสียหายแต่อย่างใด จำเลยเพียงแต่อ้างการจัดตั้งสำนักงานจัดหางานมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 218 และ 249: ข้อจำกัดในการฎีกาเรื่องข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย 2 กรรมรวมจำคุกจำเลยที่ 1, ที่2 และที่ 3 คนละ 5 ปี และปรับคนละ 1,000 บาท ลงโทษปรับจำเลยที่ 4 เป็นเงิน 11,000 บาท ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนเงิน 1,997,400 บาท แก่ผู้เสียหายศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยทั้งสี่ใช้เงินแก่ผู้เสียหายเพียง 1,985,400 บาท เป็นการแก้ไขเล็กน้อย คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ที่จำเลยฎีกาว่าไม่มีพยานโจทก์ยืนยันถึงการกระทำผิดของจำเลยนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ข้อหนึ่งของจำเลยเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์ในข้อดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 มาตรา 7,27 มิใช่มาตรา 7,28 ตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 7,28 ทั้งมาตรา 27 และ 28 ต่างก็เป็นบทลงโทษของมาตรา 7 ซึ่งกำหนดโทษไว้เท่ากัน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ข้อเท็จจริง, ข้อกฎหมายไม่เป็นสาระ, กระบวนการพิจารณาไม่ชอบ, และการโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยาน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย 2 กรรม รวมจำคุกจำเลยแต่ละคนไม่เกินคนละ 5 ปี ให้จำเลยร่วมกันใช้เงินที่ฉ้อโกงไปแก่ผู้เสียหายศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะจำนวนเงินที่ให้จำเลยใช้คืน ดังนี้ เป็นการแก้ไขเล็กน้อย คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ฎีกาว่าไม่มีพยานโจทก์ยืนยันถึงการกระทำผิดของจำเลย เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ข้อหนึ่งของจำเลยเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์ในข้อดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 มาตรา 7,27 มิใช่มาตรา 7,28ตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัย เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 7,28 ทั้งมาตรา27 และ 28 ต่างก็เป็นบทลงโทษของมาตรา 7 ซึ่งกำหนดโทษไว้เท่ากันจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: แก้ไขเล็กน้อย, ข้อเท็จจริง, ไม่เป็นสาระ, ไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย 2 กรรมรวมจำคุกจำเลยที่ 1, ที่ 2 และที่ 3 คนละ 5 ปี และปรับคนละ 1,000 บาท ลงโทษปรับจำเลยที่ 4 เป็นเงิน 11,000 บาท ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนเงิน 1,997,400 บาท แก่ผู้เสียหายศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยทั้งสี่ใช้เงินแก่ผู้เสียหายเพียง 1,985,400 บาท เป็นการแก้ไขเล็กน้อย คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ที่จำเลยฎีกาว่าไม่มีพยานโจทก์ยืนยันถึงการกระทำผิดของจำเลยนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ข้อหนึ่งของจำเลยเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์ในข้อดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 มาตรา 7, 27 มิใช่มาตรา 7, 28 ตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 7, 28 ทั้งมาตรา 27 และ 28 ต่างก็เป็นบทลงโทษของมาตรา 7 ซึ่งกำหนดโทษไว้เท่ากัน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ กับความผิดฉ้อโกงเป็นคนละกรรม ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคลาดเคลื่อน
ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511มิใช่ความผิดอันยอมความได้ และเป็นความผิดอีกข้อหาหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานฉ้อโกง จะยกฟ้องข้อหาความผิดดังกล่าวด้วยเหตุขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 เช่นเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ ไม่เชื่อมโยงกับอายุความฉ้อโกง ศาลต้องพิจารณาแยกกัน
ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511มิใช่ความผิดอันยอมความได้ และเป็นความผิดอีกข้อหาหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานฉ้อโกง จะยกฟ้องข้อหาความผิดดังกล่าวด้วยเหตุขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96 เช่นเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ และความผิดฉ้อโกงเป็นคนละข้อหา ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคลาดเคลื่อน
ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511มิใช่ความผิดอันยอมความได้ และเป็นความผิดอีกข้อหาหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานฉ้อโกงจะยกฟ้องข้อหาความผิดดังกล่าวด้วยเหตุขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96 เช่นเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกงไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงประชาชนเพื่อจัดหางานต่างประเทศ แม้เป็นลูกจ้างสำนักงานจัดหางานที่ได้รับอนุญาต ก็มีความผิดฐานหลอกลวง
แม้จำเลยจะไม่ได้จดทะเบียนเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้ที่ได้รับอนุญาตให้จัดหางาน แต่จำเลยเป็นลูกจ้างชั่วคราวของผู้จัดการสำนักงาน เอส.ที.เอ็ม. ซึ่งได้รับอนุญาตให้จัดหางานได้แล้ว ดังนี้การที่จำเลยจัดหางานจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 มาตรา 7,27
จำเลยเป็นลูกจ้างชั่วคราวของผู้จัดการสำนักงาน เอส.ที.เอ็ม.ซึ่งได้รับอนุญาตให้จัดหางานได้ แต่จำเลยกลับโฆษณาจัดหางานแก่ประชาชนทั่วไปในนามของบริษัท อ. จนผู้เสียหายหลงเชื่อไปสมัครงานกับจำเลย จำเลยรับเงินจากผู้เสียหายแล้ว ถึงกำหนดผู้เสียหายไม่ได้ไปทำงาน จำเลยปิดบริษัทและหลบหนีไปจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตและฉ้อโกงประชาชน แม้เป็นลูกจ้างชั่วคราวของผู้ได้รับอนุญาต ก็มีความผิดตามกฎหมายอาญา
แม้จำเลยจะไม่ได้จดทะเบียนเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้ที่ได้รับอนุญาตให้จัดหางาน แต่จำเลยเป็นลูกจ้างชั่วคราวของผู้จัดการสำนักงานเอส.ที.เอ็ม. ซึ่งได้รับอนุญาตให้จัดหางานได้แล้ว ดังนี้การที่จำเลยจัดหางาน จึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511มาตรา 7,27 จำเลยเป็นลูกจ้างชั่วคราวของผู้จัดการสำนักงานเอส.ที.เอ็ม.ซึ่งได้รับอนุญาตให้จัดหางานได้ แต่จำเลยกลับโฆษณาจัดหางานแก่ประชาชนทั่วไปในนามของบริษัท อ. จนผู้เสียหายหลงเชื่อไปสมัครงานกับจำเลย จำเลยรับเงินจากผู้เสียหายแล้ว ถึงกำหนดผู้เสียหายไม่ได้ไปทำงาน จำเลยปิดบริษัทและหลบหนีไป จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนจากการจัดหางานต่างประเทศ: ตัวการ vs ผู้สนับสนุน, จำนวนกระทง
ก่อนที่ผู้เสียหายทั้งเก้าคนจะไปสมัครงานที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็ม.เอ็ม.พี พนักงานของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวคนหนึ่งได้ไปชักชวนผู้เสียหายทั้งเก้าคนให้มาสมัครงานกับห้างหุ้นส่วน เมื่อผู้เสียหายทั้งเก้าคนมาพบจำเลยทั้งสองซึ่งทำงานอยู่ที่ห้างหุ้นส่วนนั้น ได้ร่วมกันชักชวนผู้เสียหายให้ไปทำงานต่างประเทศ อ้างว่างานดี ค่าจ้างดี ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวมีความมั่นคงไม่หลอกลวง ทั้งจำเลยทั้งสองได้ทดสอบฝีมือผู้เสียหายทั้งเก้าคน พาไปตรวจโรคและทำหนังสือเดินทาง จำเลยทั้งสองได้รับค่าบริการจากผู้เสียหายคนละ 31,830 บาท พฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวส่อให้เห็นได้ว่า จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยต่างแบ่งหน้าที่กันทำ จึงเป็นความผิดฐานเป็นตัวการฉ้อโกงประชาชน
จำเลยได้พูดชักชวนผู้เสียหายทั้งเก้าคนสมัครงานกับห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็ม.เอ็ม.พี โดยพูดชักชวนและเรียกค่าบริการจาก ฉ.บ.และถ. เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2526 ป. กับ ม. เมื่อวันที่ 9ธันวาคม 2526 ฉ.กับส.เมื่อวันที่29พฤศจิกายน2526ฐ. เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2526 และ ต. เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2526 รวม 5 วัน จึงเป็นความผิด 5 กระทง
การที่จำเลยพูดจาหลอกลวงชักชวนผู้เสียหายและประชาชนให้มาสมัครงานกับห้างหุ้นส่วน เอ็ม.เอ็ม.พี ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสำนักจัดส่งคนงานไปต่างประเทศ การกระทำของจำเลยมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่พวกผู้เสียหายแต่อย่างใด เพียงแต่อ้างเอาเหตุที่จะส่งผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหายเท่านั้น กรณีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตอันจะเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 4