คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มหินทร์ สุรดินทรกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9653/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบสินค้าไม่ตรงตามสัญญา ถือเป็นการไม่ชำระหนี้ ไม่ใช่ความชำรุดบกพร่อง
โจทก์ส่งกระดาษให้แก่จำเลยมีน้ำหนักไม่ถูกต้องตามขนาดที่ตกลงกันไว้เป็นการส่งมอบทรัพย์สินที่ขายผิดจากชนิดที่ตกลงกันตามสัญญา ถือได้ว่าโจทก์ไม่ชำระหนี้ตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ เป็นการไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญา ไม่ใช่เรื่องเกิดความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ขายเพราะการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 472 ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการไม่ชำระหนี้โดยทั่วไป
ฎีกาโจทก์ที่ว่า ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยในประเด็นสิทธิเรียกร้องของจำเลยตามฟ้องแย้งซึ่งเป็นเรื่องความชำรุดบกพร่องขาดอายุความแล้วหรือไม่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่า กรณีพิพาทในคดีนี้เป็นการไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ ตามสัญญาไม่ใช่เรื่องเกิดความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ขายเพราะการชำระหนี้ ข้อฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7032/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากขยายเวลาเกินกำหนดและเหตุผลไม่เข้าข่ายเหตุสุดวิสัย
ทนายโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาเมื่อล่วงเลยเวลากำหนด1เดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา247โดยอ้างว่าหลงลืมวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาต่อมาโจทก์ได้ยื่นฎีกาในกำหนดที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายดังกล่าวศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ดังนี้การที่โจทก์จะขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23นั้นจะต้องกระทำเสียก่อนระยะเวลายื่นฎีกาสิ้นสุดลงเว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยแต่เหตุที่ทนายโจทก์อ้างว่าหลงลืมวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงมิได้ได้ยื่นฎีกาในกำหนดอายุฎีกานั้นมิใช่เหตุสุดวิสัยแต่อย่างใดกรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้โจทก์ได้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาจึงไม่ชอบฎีกาของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับมาจึงเป็นฎีกาที่ยื่นเกินกำหนดอายุฎีกาจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกันศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6538/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องมีเหตุจากการฝ่าฝืนกฎหมายบังคับคดี และก่อให้เกิดความเสียหาย
ศาลจะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ต่อเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมายและก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีดังนั้นการที่จำเลยที่1ยื่นคำร้องว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ที่ยึดต่ำกว่าความเป็นจริงและราคาตลาดโดยมิได้ให้เจ้าพนักงานที่ดินหรือเจ้าพนักงานของรัฐประเมินราคาทรัพย์พิพาทก่อนตามคำร้องของจำเลยที่1จึงมิใช่เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมายอันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่1มีสิทธิขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4815/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าเนื่องจากแยกกันอยู่โดยสมัครใจเกิน 3 ปี และสิทธิในการเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพ
โจทก์ออกจากบ้านที่อยู่กินกับจำเลยเพราะต้องการพาบิดาโจทก์ซึ่งเป็นโรคหัวใจไปให้พ้นจากบิดาจำเลยซึ่งชอบดื่มสุราแล้วส่งเสียงดัง และโจทก์และจำเลยตกลงจะไปจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน แต่หย่าไม่ได้เพราะโจทก์ไม่มีเงินชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแก่จำเลย แสดงว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมา และเป็นเวลานับถึงวันฟ้องเกินสามปีแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4/2) จำเลยซึ่งเป็นภริยาจะเรียกค่าเลี้ยงชีพตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526 จากโจทก์ได้จะต้องปรากฏว่าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวเมื่อเหตุแห่งการหย่าเป็นเพราะโจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปีจำเลยจึงเรียกค่าเลี้ยงชีพจากโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7506/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าน้ำประปา-สมาชิกสหกรณ์: ไม่ถือเป็นการค้า อายุความ 10 ปี
ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยสมัครเข้าเป็นสมาชิกของโจทก์ต่อมาจำเลยใช้สิทธิในฐานะสมาชิกทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์ พร้อมอาคารพาณิชย์ ซึ่งมีข้อตกลงในสัญญาว่าจำเลยจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายของค่าบริการ และจะปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ ซึ่งจำเลยได้เข้าครองครองตั้งแต่รับมอบจากโจทก์เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน จำเลยจึงต้องมีหน้าที่ชำระค่าน้ำ ค่าบริการ และค่าหุ้นแก่โจทก์ ต่อมาจำเลยค้างชำระค่าน้ำประปาตั้งแต่เดือนมกราคม 2532 ถึงเดือนพฤษภาคม 2534จำนวน 27 เดือน เป็นเงิน 25,969 บาท ค้างชำระค่าบริการถึงวันฟ้องรวม 1 เดือน เป็นเงิน 100 บาท และค้างชำระค่าหุ้นรวม 11 หุ้น หุ้นละ 50 บาท รวมเป็นเงิน 550 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 26,646 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์นั้น เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ส่วนจำเลยจะค้างชำระค่าน้ำประปาเดือนใดบ้าง คิดเป็นเงินเดือนละเท่าใดนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การที่จำเลยซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์จากสหกรณ์บริการโจทก์ได้ก็เนื่องมาจากจำเลยสมัครเข้าเป็นสมาชิกของโจทก์ก่อนและตามข้อบังคับของโจทก์ก็ระบุไว้มีใจความว่าโจทก์ให้บริการต่าง ๆ เฉพาะแก่สมาชิกและครอบครัวเท่านั้น ดังนั้น การที่โจทก์ให้บริการน้ำประปาในหมู่บ้านของโจทก์ จึงเป็นการให้บริการเฉพาะกลุ่มคนที่เป็นสมาชิก มิได้ให้บริการแก่บุคคลทั่วไปการประกอบกิจการของโจทก์ในด้านต่าง ๆ รวมถึงการผลิตจำหน่ายน้ำประปาแก่สมาชิกจึงไม่มีลักษณะเป็นการค้า ดังนั้น การที่โจทก์เรียกค่าน้ำประปาที่ค้างชำระจากจำเลย จึงมิใช่กรณีที่โจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันพึงได้รับในการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(7) เดิม อันมีอายุความ 2 ปี เมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่นก็ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามมาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5468/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ไม่เป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ศาลต้องรับพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองปลูกสร้างและต่อเติมอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์โฉนดเลขที่145ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินจำเลยที่1เป็นความกว้างประมาณ50เซนติเมตรยาวตลอดแนวที่ดินโจทก์ประมาณ16เมตรขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมรุกล้ำออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์จำเลยที่2ให้การต่อสู้ว่าอาคารที่จำเลยที่2ปลูกสร้างนั้นมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์แต่ประการใดหากที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จำเลยที่2ก็ครอบครองโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาตั้งแต่ปี2522จนถึงปัจจุบันเกินกว่า10ปีจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่2โดยการครอบครองแล้วขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่145ด้านที่ติดกับที่ดินจำเลยที่1กว้างประมาณ50เซนติเมตรยาวประมาณ50เมตรตลอดแนวที่ติดกับที่ดินจำเลยที่1เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่2โดยการครอบครองคดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์หรือจำเลยที่2เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหากคดีฟังได้จำเลยที่2เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองจำเลยที่2ก็ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2ได้ฟ้องแย้งของจำเลยที่2จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมโดยตรงหาใช่ฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5468/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท: การรุกล้ำที่ดินและการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองปลูกสร้างและต่อเติมอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์โฉนดเลขที่ 145 ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินจำเลยที่ 1 เป็นความกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาวตลอดแนวที่ดินโจทก์ประมาณ 16 เมตร ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมรุกล้ำออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า อาคารที่จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างนั้นมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์แต่อย่างใด หากที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยที่ 2 ก็ครอบครองโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาตั้งแต่ปี 2522 จนถึงปัจจุบันเกินกว่า10 ปี จึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยการครอบครองแล้ว ขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้ง ขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 145 ด้านที่ติดกับที่ดินจำเลยที่ 1 กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาวประมาณ 50 เมตร ตลอดแนวที่ติดกับที่ดินจำเลยที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยการครอบครอง คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท หากคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง จำเลยที่ 2ก็ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2ได้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมโดยตรง หาใช่ฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5468/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์เป็นเหตุให้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ฟ้องแย้งแสดงกรรมสิทธิ์ไม่เป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองปลูกสร้างและต่อเติมอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ โฉนดเลขที่ 145 ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินจำเลยที่ 1 เป็นความกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาวตลอดแนวที่ดินโจทก์ประมาณ 16 เมตร ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมรุกล้ำออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า อาคารที่จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างนั้นมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์แต่ประการใด หากที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จำเลยที่ 2 ก็ครอบครองโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาตั้งแต่ปี 2522 จนถึงปัจจุบันเกินกว่า 10 ปี จึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยการครอบครองแล้ว ขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้ง ขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 145ด้านที่ติดกับที่ดินจำเลยที่ 1 กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาวประมาณ50 เมตร ตลอดแนวที่ติดกับที่ดินจำเลยที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยการครอบครอง คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท หากคดีฟังได้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองจำเลยที่ 2 ก็ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ได้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมโดยตรง หาใช่ฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5468/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ไม่ถือเป็นฟ้องแย้งมีเงื่อนไข หากเกี่ยวข้องกับประเด็นข้อพิพาทเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองปลูกสร้างและต่อเติมอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์โฉนดเลขที่145ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินจำเลยที่1เป็นความกว้างประมาณ50เซนติเมตรยาวตลอดแนวที่ดินโจทก์ประมาณ16เมตรขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมรุกล้ำออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์จำเลยที่2ให้การต่อสู้ว่าอาคารที่จำเลยที่2ปลูกสร้างนั้นมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์แต่อย่างใดหากที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จำเลยที่2ก็ครอบครองโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาตั้งแต่ปี2522จนถึงปัจจุบันเกินกว่า10ปีจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่2โดยการครอบครองแล้วขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่145ด้านที่ติดกับที่ดินจำเลยที่1กว้างประมาณ50เซนติเมตรยาวประมาณ50เมตรตลอดแนวที่ติดกับที่ดินจำเลยที่1เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่2โดยการครอบครองคดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์หรือจำเลยที่2เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหากคดีฟังได้ว่าจำเลยที่2เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองจำเลยที่2ก็ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2ได้ฟ้องแย้งของจำเลยที่2จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมโดยตรงหาใช่ฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขแต่อย่างใดไม่