พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: มารดาผู้มีอำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวให้ความยินยอมรับบุตรบุญธรรมได้
การที่บิดามารดาจดทะเบียนหย่ากันโดยมีข้อตกลงให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในอำนาจปกครองของมารดานั้น มีผลทำให้มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1520,1566(6) ฉะนั้น เมื่อมารดายินยอมให้บุตรผู้เยาว์ไปเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลภายนอกแล้วก็ชอบที่จะไปดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 ได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลขอให้สั่งอนุญาตแทนบิดาซึ่งหมดอำนาจปกครองแล้วอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมโดยผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา: อำนาจศาลและขั้นตอนตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมฯ ไม่ได้บัญญัติถึงกรณีขอรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมโดยผู้เยาว์นั้นไม่มีบิดามารดาที่จะให้ความยินยอมได้ไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ซึ่งได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1598/21 ซึ่งบัญญัติว่า ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรมมาใช้บังคับ และคำว่า 'ศาล' ในมาตรานี้หมายถึงศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีธรรมดาเพราะมาตรา 8แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 163 ข้อ 1 มิได้บัญญัติว่ากรณีเช่นนี้อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชน ผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ย่อมยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นเพื่อให้มีคำสั่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/21 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมโดยไม่มีบิดามารดาให้ความยินยอม: อำนาจศาลและประมวลกฎหมายแพ่ง
พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ฯ ไม่ได้บัญญัติถึงกรณีขอรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมโดยผู้เยาว์นั้นไม่มีบิดามารดาที่จะให้ความยินยอมได้ไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ซึ่งได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1598/21 ซึ่งบัญญัติว่า ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรมมาใช้บังคับ และคำว่า "ศาล" ในมาตรานี้หมายถึงศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีธรรมดาเพราะมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 163 ข้อ 1 มิได้บัญญัติว่ากรณีเช่นนี้อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชน ผู้ร้องที่ 1 ซึ่ง เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ย่อมยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นเพื่อให้มีคำสั่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/21 ได้