พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6502/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการแสดงเจตนาไม่จ่ายค่าจ้าง ศาลต้องวินิจฉัยพฤติการณ์เพื่อพิสูจน์การเลิกจ้าง
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง หมายถึง การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายถึงการที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป ซึ่งการไม่จ่ายค่าจ้างตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้หมายความว่าจะต้องถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างก่อนแล้วนายจ้างไม่จ่ายให้ หากมีพฤติการณ์ที่แสดงออกโดยแน่ชัดว่าจะไม่จ่ายค่าจ้างก็ถือได้ว่ามีการเลิกจ้างแล้วตั้งแต่วันที่ไม่ให้ลูกจ้างเข้าทำงาน
เมื่อมีข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานจะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยมีเจตนาหรือแสดงออกโดยพฤติการณ์ว่าจะไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ซึ่งไม่ได้เข้าทำงานด้วยหรือไม่ เพื่อวินิจฉัยในปัญหาจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 53 แล้วหรือไม่ซึ่งศาลแรงงานยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาจึงให้ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นเสียก่อนแล้วพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี
เมื่อมีข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานจะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยมีเจตนาหรือแสดงออกโดยพฤติการณ์ว่าจะไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ซึ่งไม่ได้เข้าทำงานด้วยหรือไม่ เพื่อวินิจฉัยในปัญหาจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 53 แล้วหรือไม่ซึ่งศาลแรงงานยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาจึงให้ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นเสียก่อนแล้วพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5735/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพักงานและการเลิกจ้างที่มิได้เป็นไปตามข้อบังคับบริษัท ทำให้การเตือนการขาดงานไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ ว.ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการจำเลยและเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยพูดกับโจทก์ว่าคุณออกไปวันนี้เลย ย่อมทำให้โจทก์เข้าใจว่าจำเลยไม่ให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานที่บริษัทจำเลยอีกต่อไป การที่หลังจากนั้นโจทก์ไม่ไปทำงานที่บริษัทจำเลยอีกต้องถือว่าจำเลยสั่งไม่ให้โจทก์ไปทำงาน แต่การที่จำเลยยังจ่ายเงินเดือนงวดวันที่ 16 ธันวาคม 2539 วันที่ 27 ธันวาคม2539 และวันที่ 15 มกราคม 2540 ให้แก่โจทก์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยยังมิได้เลิกจ้างโจทก์ ประกอบกับบริษัทจำเลยมีข้อบังคับว่าด้วยการไล่พนักงานออกจะต้องมีมติจากที่ประชุมเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนไล่ออกโดยให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดสำหรับกรณีของโจทก์เมื่อจำเลยยังไม่ได้ดำเนินการดังกล่าว จึงต้องถือว่าจำเลยยังไม่ได้เลิกจ้างโจทก์
การที่จำเลยมีหนังสือเรื่องเตือนการขาดงานไปยังโจทก์โดยระบุในหนังสือทั้งสามฉบับดังกล่าวว่าโจทก์ขาดงาน โดยเฉพาะฉบับสุดท้ายมีข้อความระบุว่าจำเลยคงจำเป็นที่จะต้องทำตามกฎระเบียบข้อบังคับของจำเลยต่อไปนั้น เมื่อจำเลยยังมิได้เลิกจ้างโจทก์และโจทก์ไม่ได้ไปทำงานที่บริษัทจำเลยเป็นเพราะ ว.เป็นผู้สั่งให้โจทก์ไม่ต้องไปทำงานอีก การที่โจทก์ไม่ไปทำงานต้องถือว่าโจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งของ ว.ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลย หรือเท่ากับว่าโจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยนั้นเอง ย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ขาดงาน และการออกหนังสือเตือนการขาดงานดังกล่าวทั้งสามฉบับของจำเลยย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายและถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือเตือนการขาดงานเมื่อจำเลยยังไม่ได้เลิกจ้างโจทก์และยังไม่ได้มีหนังสือเตือนการขาดงาน โจทก์ก็ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยอยู่และยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างตลอดไปจนกว่าความเป็นลูกจ้างกับนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจะหมดไป
การที่จำเลยมีหนังสือเรื่องเตือนการขาดงานไปยังโจทก์โดยระบุในหนังสือทั้งสามฉบับดังกล่าวว่าโจทก์ขาดงาน โดยเฉพาะฉบับสุดท้ายมีข้อความระบุว่าจำเลยคงจำเป็นที่จะต้องทำตามกฎระเบียบข้อบังคับของจำเลยต่อไปนั้น เมื่อจำเลยยังมิได้เลิกจ้างโจทก์และโจทก์ไม่ได้ไปทำงานที่บริษัทจำเลยเป็นเพราะ ว.เป็นผู้สั่งให้โจทก์ไม่ต้องไปทำงานอีก การที่โจทก์ไม่ไปทำงานต้องถือว่าโจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งของ ว.ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลย หรือเท่ากับว่าโจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยนั้นเอง ย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ขาดงาน และการออกหนังสือเตือนการขาดงานดังกล่าวทั้งสามฉบับของจำเลยย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายและถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือเตือนการขาดงานเมื่อจำเลยยังไม่ได้เลิกจ้างโจทก์และยังไม่ได้มีหนังสือเตือนการขาดงาน โจทก์ก็ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยอยู่และยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างตลอดไปจนกว่าความเป็นลูกจ้างกับนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจะหมดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9783/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพักงานกับเลิกจ้าง: ความแตกต่างตามกฎหมายแรงงานและสิทธิค่าจ้าง
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง นั้น มีความหมายว่า เป็นการที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปโดยเด็ดขาด โดยไม่จ่ายค่าจ้างให้ด้วย ซึ่งสภาพความเป็นนายจ้างและลูกจ้างสิ้นสุดลง ไม่ใช่เรื่องการให้ลูกจ้างหยุดงานเพียงชั่วคราว ซึ่งสภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างยังไม่สิ้นสุดลงและลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับค่าจ้าง ถ้านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างให้หยุดงานชั่วคราวลูกจ้างก็มีสิทธิเรียกเอาได้ ส่วนข้อความที่ว่า"ไม่ว่าเพราะเหตุอื่นใด" ในกฎหมายดังกล่าว นั้น ก็หมายถึงมูลเหตุของกรณีที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปโดยเด็ดขาดโดยไม่จ่ายค่าจ้างนั่นเอง มิใช่กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานชั่วคราวหรือพักงานแต่อย่างใด เช่นนี้ การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยเพื่อรอการลงโทษจนกว่าคดีอาญาที่โจทก์ต้องหาว่าลักทรัพย์ของนายจ้างจะถึงที่สุดนั้น นับว่าเป็นการให้ลูกจ้างหยุดงานเป็นการชั่วคราว สภาพการเป็นนายจ้างลูกจ้างยังคงมีอยู่ต่อไป ไม่ใช่เป็นกรณีจำเลยไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไปโดยเด็ดขาดเพราะเมื่อคดีถึงที่สุดปรากฏว่าโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยก็ต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยเลิกจ้างและจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานให้แก่โจทก์ เพราะการที่โจทก์ไม่ได้ทำงานนั้นเนื่องมาจากฝ่ายจำเลยเองก็ไม่มอบงานให้ทำแต่จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ การสั่งพักงานโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2627/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง หากการทำงานต่อเนื่องและได้รับค่าจ้างเดิม
เมื่อคณะรัฐมนตรีมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยก็ได้แต่งตั้งให้โจทก์ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยได้รับเงินเดือนเท่าเดิม มิได้ ปลดโจทก์ออกจากงาน แต่เป็นการสั่งให้โจทก์พ้นตำแหน่งเดิมแล้วให้ไปทำงานตำแหน่งหน้าที่ใหม่ในฐานะเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย การทำงานของโจทก์ต่อเนื่องกัน ไม่มีระยะเวลาอันเป็นช่องว่างที่แสดงว่าโจทก์ต้องออกจากงานไปชั่วคราวแล้วกลับแต่งตั้งเข้ามาใหม่จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 วรรคสอง