พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7228/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, การนำสืบหลักฐานนอกคำให้การ, และสัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่สมบูรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 49,000 บาทและให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินคนละ 240,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดไร้อุปการะเป็นว่า ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าขาด ไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินคนละ 120,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ยกฟ้องทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา สำหรับจำเลยที่ 2 กับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า เหตุเกิดจากความประมาทของผู้ตายเพียงฝ่ายเดียว หรือผู้ตายมีส่วนประมาทด้วย และโจทก์เรียกค่า ขาดไร้อุปการะสูงเกินจริง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นพิพาทว่าได้มีการตกลงระงับข้อพิพาทกันแล้ว โดยอ้างข้อตกลงระหว่าง โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นสำคัญเพียงฉบับเดียว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 นำสืบอ้าง ว่ามีการตกลงระงับข้อพิพาทกันตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับ คดีเพิ่มเติมในชั้นสืบพยานจำเลยจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ทั้งเอกสารฉบับนี้ไม่ได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้ในบัญชีระบุพยาน ของจำเลยที่ 2 ด้วย จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์เป็นฝ่ายได้รับ ความเสียหายจากมูลละเมิด จึงเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฉะนั้น จำเลยทั้งสองจึงอยู่ในฐานะเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด แต่กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850,851 สัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ จึงเป็นสัญญาที่ไม่ชอบ จำเลยที่ 2 จะอ้างเอาสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7228/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกา, การนำสืบพยานนอกคำให้การ, และความไม่ชอบของสัญญาประนีประนอมยอมความ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 49,000 บาท และให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินคนละ 240,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดไร้อุปการะเป็นว่า ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินคนละ 120,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ยกฟ้องทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา สำหรับจำเลยที่ 2 กับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000บาท ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 2 ฎีกาว่า เหตุเกิดจากความประมาทของผู้ตายเพียงฝ่ายเดียว หรือผู้ตายมีส่วนประมาทด้วย และโจทก์เรียกค่าขาดไร้อุปการะสูงเกินจริง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นพิพาทว่า ได้มีการตกลงระงับข้อพิพาทกันแล้ว โดยอ้างข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสำคัญเพียงฉบับเดียว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2นำสืบอ้างว่ามีการตกลงระงับข้อพิพาทกันตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเพิ่มเติมในชั้นสืบพยานจำเลยจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ทั้งเอกสารฉบับนี้ไม่ได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้ในบัญชีระบุพยานของจำเลยที่ 2 ด้วย จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตามป.วิ.พ.มาตรา 87
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์เป็นฝ่ายได้รับความเสียหายจากมูลละเมิด จึงเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฉะนั้น จำเลยทั้งสองจึงอยู่ในฐานะเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด แต่กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และ ที่ 2ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 850, 851 สัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ จึงเป็นสัญญาที่ไม่ชอบ จำเลยที่ 2 จะอ้างเอาสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้หาได้ไม่
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นพิพาทว่า ได้มีการตกลงระงับข้อพิพาทกันแล้ว โดยอ้างข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสำคัญเพียงฉบับเดียว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2นำสืบอ้างว่ามีการตกลงระงับข้อพิพาทกันตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเพิ่มเติมในชั้นสืบพยานจำเลยจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ทั้งเอกสารฉบับนี้ไม่ได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้ในบัญชีระบุพยานของจำเลยที่ 2 ด้วย จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตามป.วิ.พ.มาตรา 87
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์เป็นฝ่ายได้รับความเสียหายจากมูลละเมิด จึงเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฉะนั้น จำเลยทั้งสองจึงอยู่ในฐานะเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด แต่กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และ ที่ 2ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 850, 851 สัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ จึงเป็นสัญญาที่ไม่ชอบ จำเลยที่ 2 จะอ้างเอาสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6330/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานโจทก์ไม่เพียงพอ ศาลยกฟ้องจำเลย และคืนของกลางแก่เจ้าของ
โจทก์มีคำขอให้ศาลสั่งคืนอาวุธปืน ซองกระสุนปืนและรถจักรยานยนต์ของกลางแก่เจ้าของ มิได้ขอให้ศาลสั่งริบศาลย่อมริบอาวุธปืน ซองกระสุนปืนและรถจักรยานยนต์ดังกล่าวมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคหนึ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองสั่งริบอาวุธปืนซองกระสุนปืนและรถจักรยานยนต์ของกลางจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6257/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องรื้อถอนบ้าน – เจ้าของที่แท้จริง – อำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับมารดาโจทก์ทั้งสองเพื่อปลูกบ้านตามหนังสือสัญญาเช่า เอกสารหมาย จ.2 โดยมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนบ้านเลขที่ 63/1 การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะจำเลยมิใช่เจ้าของบ้านเลขที่ 63/1 ความจริงแล้วที่ดินพิพาทและบ้านดังกล่าวเป็นของ จ. จำเลยเป็นเพียงผู้อาศัย จ.อยู่เท่านั้น ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยก็คือ บ้านเลขที่ 63/1 หลังนี้เป็นของจำเลยหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าบ้านเลขที่ 63/1 ไม่ใช่บ้านของจำเลยแต่เป็นบ้านของ จ.ที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโดยชอบมาตั้งแต่ก่อนที่จะทำหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.2 และจำเลยเป็นผู้อาศัย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนบ้านเลขที่ 63/1 ออกจากที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6257/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องขับไล่จำกัดเฉพาะผู้มีสิทธิในที่ดิน การเช่าเพื่อปลูกสร้างบ้านไม่ได้ทำให้จำเลยเป็นเจ้าของบ้าน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับมารดาโจทก์ทั้งสองเพื่อปลูกบ้านตามหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.2 โดยมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนบ้านเลขที่ 63/1 การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะจำเลยมิใช่เจ้าของบ้านเลขที่ 63/1ความจริงแล้วที่ดินพิพาทและบ้านดังกล่าวเป็นของ จ.จำเลยเป็นเพียงผู้อาศัย จ. อยู่เท่านั้น ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยก็คือ บ้านเลขที่ 63/1 หลังนี้เป็นของจำเลยหรือไม่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าบ้านเลขที่ 63/1 ไม่ใช่บ้าน ของจำเลยแต่เป็นบ้านของจ. ที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโดยชอบมาตั้งแต่ก่อนที่จะทำหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.2 และจำเลยเป็นผู้อาศัย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ จำเลยให้รื้อถอนบ้านเลขที่ 63/1 ออกจากที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6032/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับหนี้ด้วยการทำสัญญากู้ใหม่ ไม่ต้องมีใบเสร็จหรือเวนคืนเอกสารเดิม
การที่โจทก์จำเลยตกลงกันระงับหนี้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทที่โจทก์นำมาฟ้อง โดยโจทก์จำเลยตกลงให้ใช้สัญญากู้เงินฉบับใหม่แทน และต่อมาได้มีการชำระหนี้ตามสัญญากู้ฉบับใหม่นี้แล้ว การตกลงระงับหนี้ โดยทำสัญญาเป็นหนี้เงินกู้ใหม่เช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องมีใบเสร็จ หรือเวนคืนเอกสารดังที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 326 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้ ทั้งไม่ใช่กรณีต้องห้ามการนำสืบตามมาตรา 653 วรรคสอง จำเลยจึงนำสืบได้ ไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5790/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่อเนื่อง: อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีลักทรัพย์-รับของโจร แม้เกิดต่างท้องที่
รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายถูกลักไปในท้องที่สถานีตำรวจนครบาล บางขุนเทียน ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจยึดรถจักรยานยนต์ดังกล่าวได้จากบ้านของจำเลยซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสาคร ดังนี้แม้ความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นต่างท้องที่กันก็ตาม แต่ก็เป็นความผิดต่อเนื่องกันพนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 19(3) พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนคดีนี้ จึงมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาที่เกิดขึ้นกับทรัพย์ของผู้เสียหายได้ไม่ว่าจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร และแม้ว่าจะยึดรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายและจับจำเลยได้พร้อมกันที่บ้านของจำเลยซึ่ง อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง สมุทรสาครก็ตามก็ไม่ทำให้อำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนหมดสิ้นไป จึงถือว่ามีการสอบสวน ในความผิดฐานรับของโจรโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5790/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีความผิดต่อเนื่อง – ลักทรัพย์/รับของโจร – ท้องที่ที่เกิดเหตุ/ท้องที่ยึดทรัพย์
รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายถูกลักไปในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียน ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจยึดรถจักรยานยนต์ดังกล่าวได้จากบ้านของจำเลยซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสาคร ดังนี้ แม้ความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นต่างท้องที่กันก็ตาม แต่ก็เป็นความผิดต่อเนื่องกัน พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 19 (3) พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนคดีนี้ จึงมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาที่เกิดขึ้นกับทรัพย์ของผู้เสียหายได้ไม่ว่าจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร และแม้ว่าจะยึดรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายและจับจำเลยได้พร้อมกันที่บ้านของจำเลยซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสาครก็ตามก็ไม่ทำให้อำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนหมดสิ้นไป จึงถือว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานรับของโจรโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจทนายความทำสัญญาประนีประนอม: อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงาน
ศาลแรงงานมีคำสั่งคำร้องให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบของจำเลยว่า จำเลยแต่งตั้งให้ ก. เป็นทนายความและใบแต่งทนายความดังกล่าวระบุให้ทนายจำเลยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่ศาลพิพากษาตามยอมจึงมิใช่การพิจารณาที่ผิดระเบียบ ถือได้ว่าศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยยินยอมให้ทนายความกรอกข้อความในใบแต่งทนายความระบุให้ทนายจำเลยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ดังนั้นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้มอบอำนาจให้ทนายความมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และมิได้ยินยอมให้ทนายความกรอกข้อความดังกล่าวในใบแต่งทนายความ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยทนายจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบจึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องการพิจารณาที่ผิดระเบียบ อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจทนายความทำสัญญาประนีประนอม: การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงาน
ศาลแรงงานมีคำสั่งคำร้องให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบของจำเลยว่า จำเลยแต่งตั้งให้ ก.เป็นทนายความ และใบแต่งทนายความดังกล่าวระบุให้ทนายจำเลยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่ศาลพิพากษาตามยอมจึงมิใช่การพิจารณาที่ผิดระเบียบ ถือได้ว่าศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยยินยอมให้ทนายความกรอกข้อความในใบแต่งทนายความระบุให้ทนายจำเลยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ดังนั้น ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้มอบอำนาจให้ทนายความมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และมิได้ยินยอมให้ทนายความกรอกข้อความดังกล่าวในใบแต่งทนายความ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยทนายจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องการพิจารณาที่ผิดระเบียบ อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย