คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย หมวดเมือง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5418/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ & การนำสืบนอกฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจระบุว่า โจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 4 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีแทน โดยโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 4 ลงชื่อในช่องผู้มอบอำนาจไม่มีระบุไว้ด้วยว่าในฐานะพยาน ส่วนโจทก์ที่ 3 พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ที่บริเวณช่องว่างด้านซ้ายมือของลายมือชื่อโจทก์ที่ 2 ดังนี้ เมื่อหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมีเพียงจ.ลงลายมือชื่อในฐานะพยานเพียงคนเดียวเท่านั้น หาอาจถือได้ว่าลายมือชื่อโจทก์ที่ 2 และที่ 4 ที่ลงไว้ในช่องผู้มอบอำนาจนั้นได้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ที่ 3ด้วย ลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ที่ 3 จึงมีพยานรับรองไม่ถึง 2 คน เท่ากับว่าโจทก์ที่ 3 ไม่ได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้มอบอำนาจโดยสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 9วรรคสาม โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 3
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 ได้กู้เงินจากจำเลยและ ส.โดยให้ยึดถือ น.ส.3 ก.ของที่ดินพิพาทไว้เป็นประกันและยินยอมให้เข้าทำนา หากภายใน3 ปี โจทก์ที่ 1 ไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้ โจทก์ที่ 1 ยินยอมโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยและ ส. การที่ในทางพิจารณาโจทก์ทั้งสี่นำสืบว่า โจทก์ที่ 1 นำที่ดินของโจทก์ที่ 1 และของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ไปขายให้แก่จำเลยและ ส.โดยมีเงื่อนไขว่าจะไถ่ถอนภายใน 3 ปี หากไม่ไถ่ถอนภายใน 3 ปี ให้หมดสิทธิไถ่ถอนนั้น เป็นการนำสืบนอกฟ้องแตกต่างไปจากคำฟ้องอย่างชัดแจ้ง จึงหาใช่การนำสืบความเป็นมาแห่งหนี้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5418/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์: พยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือไม่ครบตามกฎหมาย ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้องแทน
หนังสือมอบอำนาจระบุว่า โจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 4มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีแทน โดยโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 4ลงชื่อในช่องผู้มอบอำนาจไม่มีระบุไว้ด้วยว่าในฐานะพยานส่วนโจทก์ที่ 3 พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ที่บริเวณช่องว่างด้านซ้ายมือของลายมือชื่อโจทก์ที่ 2 ดังนี้ เมื่อหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมีเพียง จ. ลงลายมือชื่อในฐานะพยานเพียงคนเดียวเท่านั้นหาอาจถือได้ว่าลายมือชื่อโจทก์ที่ 2 และที่ 4 ที่ลงไว้ในช่องผู้มอบอำนาจนั้นได้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ที่ 3 ด้วยลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ที่ 3 จึงมีพยานรับรองไม่ถึง 2 คนเท่ากับว่าโจทก์ที่ 3 ไม่ได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้มอบอำนาจโดยสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 วรรคสามโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 3 โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 ได้กู้เงินจากจำเลยและส. โดยให้ยึดถือ น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทไว้เป็นประกันและยินยอมให้เข้าทำนา หากภายใน 3 ปี โจทก์ที่ 1 ไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้ โจทก์ที่ 1 ยินยอมโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยและ ส. การที่ในทางพิจารณาโจทก์ทั้งสี่นำสืบว่าโจทก์ที่ 1 นำที่ดินของโจทก์ที่ 1 และของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4ไปขายให้แก่จำเลยและ ส. โดยมีเงื่อนไขว่าจะไถ่ถอนภายใน3 ปี หากไม่ไถ่ถอนภายใน 3 ปี ให้หมดสิทธิไถ่ถอนนั้นเป็นการนำสืบนอกฟ้องแตกต่างไปจากคำฟ้องอย่างชัดแจ้งจึงหาใช่การนำสืบความเป็นมาแห่งหนี้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5418/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแทน & การนำสืบนอกฟ้อง: หนังสือมอบอำนาจต้องมีพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือครบถ้วน การนำสืบต้องสอดคล้องกับฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจระบุว่าโจทก์ที่2ถึงโจทก์ที่4มอบอำนาจให้โจทก์ที่1ดำเนินคดีแทนโดยโจทก์ที่2และโจทก์ที่4ลงชื่อในช่องผู้มอบอำนาจไม่มีระบุไว้ด้วยว่าในฐานะพยานส่วนโจทก์ที่3พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ที่บริเวณช่องว่างด้านซ้ายมือของลายมือชื่อโจทก์ที่2ดังนี้เมื่อหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมีเพียง จ. ลงลายมือชื่อในฐานะพยานเพียงคนเดียวเท่านั้นหาอาจถือได้ว่าลายมือชื่อโจทก์ที่2และที่4ที่ลงไว้ในช่องผู้มอบอำนาจนั้นได้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ที่3ด้วยลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ที่3จึงมีพยานรับรองไม่ถึง2คนเท่ากับว่าโจทก์ที่3ไม่ได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้มอบอำนาจโดยสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา9วรรคสามโจทก์ที่1จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ที่3 โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ที่1ได้กู้เงินจากจำเลยและส. โดยให้ยึดถือน.ส.3ก.ของที่ดินพิพาทไว้เป็นประกันและยินยอมให้เข้าทำนาหากภายใน3ปีโจทก์ที่1ไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้โจทก์ที่1ยินยอมโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยและส. การที่ในทางพิจารณาโจทก์ทั้งสี่นำสืบว่าโจทก์ที่1นำที่ดินของโจทก์ที่1และของโจทก์ที่2ถึงที่4ไปขายให้แก่จำเลยและส. โดยมีเงื่อนไขว่าจะไถ่ถอนภายใน3ปีหากไม่ไถ่ถอนภายใน3ปีให้หมดสิทธิไถ่ถอนนั้นเป็นการนำสืบนอกฟ้องแตกต่างไปจากคำฟ้องอย่างชัดแจ้งจึงหาใช่การนำสืบความเป็นมาแห่งหนี้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5277/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสิ้นสุด-ไม่ทักท้วง-ค่าปรับ-เบี้ยปรับ-ค่าเสียหาย-ตีความเป็นคุณผู้เสียหนี้-ศาลฎีกายืน
ตามสัญญาเช่าฉบับพิพาท ข้อ 2 ระบุว่า "ผู้เช่าจะชำระค่าเช่าของเดือนถัดไปภายในวันที่ 5 ของทุกเดือนหากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวผู้เช่ายินยอมให้ปรับเป็นรายวันในอัตราวันละ 5% ของค่าเช่ารายเดือนเป็นเงิน 15 บาท (สิบห้าบาทถ้วน) จนว่าจะชำระค่าเช่าครบถ้วน"เมื่อจำเลยค้างชำระค่าเช่าตั้งแต่เดือนตุลาคม 2533จนถึงวันเลิกสัญญาคือวันที่ 19 สิงหาคม 2534 แต่โจทก์กลับฟ้องเรียกค่าปรับดังกล่าวนับแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2534ภายหลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งข้อตกลงข้อนี้ย่อมระงับสิ้นไป จะนำมาใช้บังคับแก่กันต่อไปอีกไม่ได้ สัญญาเช่าข้อ 9 กำหนดไว้ว่า "การต่ออายุสัญญาเช่าในครั้งต่อไป ผู้เช่าจะต้องยื่นคำร้องของต่อคำร้องขอต่ออายุสัญญาต่อผู้อำนวยการวชิรพยาบาลก่อนสิ้นสุดสัญญานี้ไม่น้อยกว่า 90 วัน และหากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวผู้เช่าจะต้องเสียค่าบำรุงโรงพยาบาลจำนวน 1,000 บาท(หนึ่งพันบาทถ้วน) ผู้ให้เช่าสงวนสิทธิที่จะให้ผู้เช่าต่ออายุสัญญาเช่าหรือไม่ก็ได้" ดังนี้ แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 จะบัญญัติว่าในเมื่อสิ้นกำหนดเวลาเช่าซึ่งได้ตกลงกันไว้นั้น ถ้าผู้เช่ายังคงครองทรัพย์สินอยู่ และผู้ให้เช่ารู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วงไซ้ร ท่านให้ถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา" ก็ดี กรณีเพียงทำให้เกิดผลตามที่กฎหมายบัญญัติเท่านั้น แต่ตามข้อตกลงข้างต้นถือว่าเป็นความตกลงกันเป็นพิเศษและมีข้อความว่า "ในครั้งต่อไป"กำกับอยู่ด้วย ส่อแสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาว่า จะต้องมีการทำสัญญาเช่ากันจริง ๆ มิใช่โดยผลของกฎหมาย ทั้งยังต้องให้เป็นคุณแก่จำเลยซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11 อีกด้วย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในค่าบำรุงโรงพยาบาลแต่อย่างใด ตามสัญญาเช่า ข้อ 11 มีข้อความว่า "หากผู้ให้เช่ามีความประสงค์จะใช้อาคารที่เช่าเพื่อดำเนินกิจการของรัฐหรือกิจการใด ๆ ของผู้ให้เช่า ผู้เช่ายินยอมขนย้ายสิ่งของสัมภาระและบริวารออกจากอาคารที่เช่าภายใน 30 วันหากครบกำหนดแล้วผู้เช่าไม่ยอมออกจากอาคารที่เช่า ผู้เช่ายินยอมชำระค่าปรับแก่ผู้ให้เช่าในอัตราวันละ 1 ใน 3ของค่าเช่ารายเดือนเป็นเงิน 100 บาท (หนึ่งร้อยบาทถ้วน)จนกว่าจะออกจากอาคารที่เช่า" ตามข้อตกลงดังกล่าวถือเป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ล่วงหน้า จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง ก็บัญญัติไว้ให้เจ้าหนี้เรียกค่าเสียหายได้เต็มจำนวนที่เสียไปโดยให้คิดเบี้ยปรับรวมอยู่ในนั้นด้วย คือให้ถือว่าเบี้ยปรับเป็นจำนวนน้อยที่สุดของค่าเสียหาย เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเท่ากับอัตราค่าเช่าและศาลล่างพิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเต็มจำนวนที่โจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยเสียเบี้ยปรับดังกล่าวให้โจทก์อีกไม่ได้ เพราะเป็นการเรียกร้องที่นอกเหนือไปจากความเสียหายที่โจทก์ได้รับขัดต่อมาตรา 380 วรรคสองดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5277/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงในสัญญาเช่า: ค่าปรับ, การต่ออายุ, และค่าเสียหาย - การตีความตามเจตนาและกฎหมาย
ตามสัญญาเช่าฉบับพิพาท ข้อ 2 ระบุว่า "...ผู้เช่าจะชำระค่าเช่าของเดือนถัดไปภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวผู้เช่ายินยอมให้ปรับเป็นรายวันในอัตราวันละ 5 % ของค่าเช่ารายเดือนเป็นเงิน15 บาท (สิบห้าบาทถ้วน) จนกว่าจะชำระค่าเช่าครบถ้วน" เมื่อจำเลยค้างชำระค่าเช่าตั้งแต่เดือนตุลาคม 2533 จนถึงวันเลิกสัญญา คือวันที่ 19 สิงหาคม 2534แต่โจทก์กลับฟ้องเรียกค่าปรับดังกล่าวนับแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2534 ภายหลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งข้อตกลงข้อนี้ย่อมระงับสิ้นไป จะนำมาใช้บังคับแก่กันต่อไปอีกไม่ได้
สัญญาเช่าข้อ 9 กำหนดไว้ว่า "การต่ออายุสัญญาเช่าในครั้งต่อไป ผู้เช่าจะต้องยื่นคำร้องขอต่ออายุสัญญาต่อผู้อำนวยการวชิรพยาบาลก่อนสิ้นสุดสัญญานี้ไม่น้อยกว่า 90 วัน และหากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ผู้เช่าจะต้องเสียค่าบำรุงโรงพยาบาลจำนวน 1,000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน) ผู้ให้เช่าสงวนสิทธิที่จะให้ผู้เช่าต่ออายุสัญญาเช่าหรือไม่ก็ได้" ดังนี้ แม้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 570จะบัญญัติว่า ในเมื่อสิ้นกำหนดเวลาเช่าซึ่งได้ตกลงกันไว้นั้น ถ้าผู้เช่ายังคงครองทรัพย์สินอยู่ และผู้ให้เช่ารู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วงไซร้ ท่านให้ถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา" ก็ดี กรณีเพียงทำให้เกิดผลตามที่กฎหมายบัญญัติเท่านั้น แต่ตามข้อตกลงข้างต้นถือว่าเป็นความตกลงกันเป็นพิเศษและมีข้อความว่า"ในครั้งต่อไป" กำกับอยู่ด้วย ส่อแสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาว่า จะต้องมีการทำสัญญาเช่ากันจริง ๆ มิใช่โดยผลของกฎหมาย ทั้งยังต้องตีความให้เป็นคุณแก่จำเลยซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11 อีกด้วย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในค่าบำรุงโรงพยาบาลแต่อย่างใด
ตามสัญญาเช่า ข้อ 11 มีข้อความว่า "หากผู้ให้เช่ามีความประสงค์จะใช้อาคารที่เช่าเพื่อดำเนินกิจการของรัฐหรือกิจการใด ๆ ของผู้ให้เช่าผู้เช่ายินยอมขนย้ายสิ่งของสัมภาระและบริวารออกจากอาคารที่เช่าภายใน 30 วัน...หากครบกำหนดแล้วผู้เช่าไม่ยอมออกจากอาคารที่เช่า ผู้เช่ายินยอมชำระค่าปรับแก่ผู้ให้เช่าในอัตราวันละ 1 ใน 3 ของค่าเช่ารายเดือนเป็นเงิน 100 บาท (หนึ่งร้อยบาทถ้วน) จนกว่าจะออกจากอาคารที่เช่า" ตามข้อตกลงดังกล่าวถือเป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ล่วงหน้า จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายและตาม ป.พ.พ.มาตรา 380 วรรคสอง ก็บัญญัติไว้ให้เจ้าหนี้เรียกค่าเสียหายได้เต็มจำนวนที่เสียไป โดยให้คิดเบี้ยปรับรวมอยู่ในนั้นด้วย คือให้ถือว่าเบี้ยปรับเป็นจำนวนน้อยที่สุดของค่าเสียหาย เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเท่ากับอัตราค่าเช่าและศาลล่างพิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเต็มจำนวนที่โจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยเสียเบี้ยปรับดังกล่าวให้โจทก์อีกไม่ได้ เพราะเป็นการเรียกร้องที่นอกเหนือไปจากความเสียหายที่โจทก์ได้รับขัดต่อมาตรา 380วรรคสอง ดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5261/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีเมทแอมเฟตามีนในครอบครองเพื่อขาย: โจทก์ต้องพิสูจน์เจตนาขาย ไม่ใช่แค่ปริมาณ
เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวน 264 เม็ดไว้ในครอบครองเพื่อขายโดยไม่ได้รับอนุญาตโจทก์ย่อมมีหน้าที่ต้องนำพยานเข้าเบิกความต่อศาลเพื่อสมจริงว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้เพื่อขายการที่จะถือเอาจำนวนของกลางที่ยึดไว้ว่ามีเป็นจำนวนมากแล้วสันนิษฐานว่าจำเลยมีของกลางไว้ในครอบครองเพื่อขายนั้นน่าจะไม่ถูกต้องนัก เพราะพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ไม่มีบทบัญญัติให้สันนิษฐานไว้เช่นนั้น ทั้งจำเลยเองก็ปฏิเสธจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความเช่นนั้น แต่ข้อนำสืบนั้นต้องมิใช่ส่วนหนึ่งของคำรับที่เคยให้การไว้ในชั้นสอบสวนเมื่อโจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยจำหน่าย จ่าย แจกหรือมีไว้ซึ่งของกลางเพื่อขาย เช่น วิธีการล่อซื้อมาเบิกความต่อศาล จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ข้อเท็จจริงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการกระทำผิดฐานพยายามฆ่า: จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานช่วยเหลือจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น การที่จำเลยที่ 2 นำอาวุธปืนของกลางของมารดาจำเลยที่ 2 มาจากบ้านแล้วจำเลย ที่ 1 ใช้อาวุธปืนดังกล่าวกระทำผิดจ่อยิงผู้เสียหายที่ 1 และขณะที่พวกจำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ไล่ติดตามผู้เสียหายทั้งสองนั้น จำเลยที่ 2 เป็นคนขับรถจักรยานยนต์โดยให้จำเลยที่ 1 นั่งซ้อนท้าย ดังนี้พฤติการณ์เป็นที่ชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำผิด จำเลยที่ 2จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดฐานพยายามฆ่าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80 ประกอบด้วยมาตรา 86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สนับสนุนการพยายามฆ่า: การกระทำที่ช่วยให้ผู้อื่นกระทำผิดสำเร็จ
จำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น การที่จำเลยที่ 2นำอาวุธปืนของกลางของมารดาจำเลยที่ 2 มาจากบ้านแล้วจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนดังกล่าวกระทำผิดจ่อยิงผู้เสียหายที่ 1 และขณะที่พวกจำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ไล่ติดตามผู้เสียหายทั้งสองนั้น จำเลยที่ 2 เป็นคนขับรถจักรยานยนต์โดยให้จำเลยที่ 1 นั่งซ้อนท้าย ดังนี้ พฤติการณ์เป็นที่ชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำผิด จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดฐานพยายามฆ่าตาม ป.อ.มาตรา 288, 80 ประกอบด้วย มาตรา 86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5135-5136/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาฎีกาต้องมีเหตุพิเศษ การรับราชการทหารและการเปลี่ยนทนายไม่ถือเป็นเหตุพิเศษ
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ แต่คำร้องของจำเลยที่ 2 อ้างเหตุเพียงว่า จำเลยที่ 2 รับราชการทหารกองประจำการประจำอยู่ที่กองพันทหารม้าที่ 2 จังหวัดสระบุรี เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับแจ้งจากญาติว่าทนายความคนก่อนไม่คัดค้านการที่จำเลยที่ 2 จะแต่งตั้งทนายความคนใหม่ให้ดำเนินคดีในชั้นฎีกา จำเลยที่ 2 จึงขอลาราชการมาหาทนายความคนใหม่ แต่เป็นเวลากะทันหัน เพราะคดีเกี่ยวพันกันสามสำนวนมีพยานบุคคลหลายปาก เอกสารต่าง ๆได้รับจากทนายความคนเดิมไม่ครบ ทนายความคนใหม่ไม่อาจทำฎีกาได้ทันในเวลาที่กำหนด ดังนี้ ข้ออ้างดังกล่าวหาใช่พฤติการณ์พิเศษตามที่กฎหมายบัญญัติไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5004/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาและการขยายระยะเวลาในกรณีที่ศาลมีเขตอำนาจต่างกัน การยื่นฎีกาต้องทำต่อศาลที่มีคำพิพากษา
ป.วิ.พ.มาตรา 229 ประกอบด้วยมาตรา 247 คู่ความจะต้องยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่ถ้าไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัย คู่ความฝ่ายที่เสียหายหรืออาจเสียหายเพราะการนั้นจะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ซึ่งตนมีภูมิลำเนาหรืออยู่ในเขตศาลในขณะนั้นก็ได้ และให้ศาลนั้นมีอำนาจทำคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10แห่ง ป.วิ.พ.
คดีนี้จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งบังคับคดีแทนศาลจังหวัดอุดรธานี ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์รายนี้ศาลจังหวัดนครราชสีมาไต่สวนแล้ว มีคำสั่งให้ยกคำร้องจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ดังนี้ จำเลยที่ 1จะต้องยื่นฎีกาคดีนี้ต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา การที่ทนายจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดอุดรธานีซึ่งมิใช่ศาลที่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาเกี่ยวกับคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์รายนี้เพื่อขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาจึงเป็นการขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 หาใช่เป็นกรณีที่ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 ไม่ อีกทั้งตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาฉบับดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่อาจถือได้ว่ามีเหตุสุดวิสัย คำสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาของศาลจังหวัดอุดรธานีจึงมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้นไม่ทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาตามมาตรา 229 ประกอบมาตรา 247 ต่อศาลจังหวัดอุดรธานีได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 32