พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5004/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามยื่นต่อศาลผิดอำนาจ แม้ศาลมีคำสั่งขยายเวลา แต่ไม่ชอบตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา 229 ประกอบด้วย มาตรา 247 คู่ความจะต้องยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่ถ้าไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัยคู่ความฝ่ายที่เสียหายหรืออาจเสียหายเพราะการนั้นจะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งตนมีภูมิลำเนาหรืออยู่ในเขตศาลในขณะนั้นก็ได้และให้ศาลนั้นมีอำนาจทำคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมดังที่บัญญัติไว้ ในมาตรา 10 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คดีนี้จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดนครราชสีมาซึ่งบังคับคดีแทนศาลจังหวัดอุดรธานี ขอให้เพิกถอน การขายทอดตลาดทรัพย์รายนี้ ศาลจังหวัดนครราชสีมาไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนดังนี้ จำเลยที่ 1 จะต้องยื่นฎีกาคดีนี้ต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา การที่ทนายจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดอุดรธานีซึ่งมิใช่ศาลที่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาเกี่ยวกับคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์รายนี้เพื่อขอขยาย ระยะเวลายื่นฎีกาจึงเป็นการขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หาใช่เป็นกรณีที่ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 ไม่ อีกทั้งตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาฉบับดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่อาจถือได้ว่ามีเหตุสุดวิสัย คำสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาของศาลจังหวัดอุดรธานีจึงมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้นไม่ทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาตามมาตรา 229ประกอบมาตรา 247 ต่อศาลจังหวัดอุดรธานีได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4803/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมทางเข้าออก: เจ้าของที่ดินมีภาระผูกพันตามการวางผัง และจำกัดสิทธิในการใช้ประโยชน์
การที่โจทก์วางผังสร้างตึกแถวโดยให้ที่ดินพิพาทเป็นถนนเชื่อมต่อกับทางสาธารณะเป็นทางเข้าออกตึกแถวรายนี้ ย่อมเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้ถนนเป็นสาธารณูปโภคแก่ตึกแถว โจทก์จึงมีภาระผูกพันโดยถือว่าที่ดินพิพาทตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินและตึกแถวรายนี้แล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินและตึกแถวของจำเลย โจทก์ในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์จะประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกหาได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390 และจำเลยในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์หรือในสามยทรัพย์ซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์เช่นเดียวกันตามมาตรา 1388 จำเลยไม่มีสิทธิต่อเติมกันสาดและวางแผงหนังสือรุกล้ำเข้าไปในที่ดิน เพราะเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ โจทก์ไม่อาจนำที่ดินพิพาทไปตั้งแผงลอยหรือนำออกให้เช่าได้อีก เพราะเป็นการกระทำอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4803/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมทางเข้าออก: เจ้าของที่ดินมีภาระผูกพันตามสัญญาและกฎหมาย แม้กรรมสิทธิ์ยังคงอยู่
แม้ขณะเมื่อซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวโจทก์ผู้ขายซึ่ง เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทบอกว่าจะให้ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะก็เป็นแต่เพียงคำมั่นว่าจะให้เท่านั้น กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้อุทิศโดยตรงหรือโดยปริยายให้ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะที่ดินพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามที่ปรากฏตามโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ แต่การที่โจทก์วางผังสร้างตึกแถวโดยให้ที่ดินพิพาทเป็นถนนเชื่อมต่อกับ ทางสาธารณะเป็นทางเข้าออกตึกแถวรายนี้ ย่อมเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้ถนนเป็นสาธารณูปโภคแก่ตึกแถว โจทก์จึงมีภาระผูกพันโดยถือว่าที่ดินพิพาทตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินและตึกแถวรายนี้แล้ว เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะมีผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวโดยไม่มีทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะ ที่ดินพิพาทจึงเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินและตึกแถวของจำเลย ซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์จะประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกหาได้ไม่ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1390 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และจำเลยในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์หรือในสามยทรัพย์ซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์เช่นเดียวกันตามบทบัญญัติมาตรา 1388 การที่จำเลยต่อเติมกันสาดและวางแผนหนังสือรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทซึ่งตกเป็นภารจำยอมเฉพาะใช้เป็นทางเข้าออกเท่านั้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิกระทำได้ เพราะเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์อบที่ศาลจะให้จำเลยรื้อถอนกันสาดและขนย้ายแผงหนังสือออกไปจากที่ดินพิพาท แต่การที่จำเลยต่อเติมกันสาดและวางแผงหนังสือบริเวณหน้าตึกแถวของจำเลย ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายเพราะโจทก์คงมีแต่กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งตกเป็นทางภารจำยอม โจทก์จึงต้องรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน และต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ของจำเลยด้วย กล่าวคือโจทก์ไม่อาจนำที่ดินพิพาทซึ่งตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินและตึกแถวของจำเลยใช้เป็นทางเข้าออกไปตั้งแผงลอยหรือนำออกให้เช่าได้อีกเพราะเป็นการกระทำอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ดังนี้ โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4803/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมทางเข้าออก: สิทธิและหน้าที่ของเจ้าของภารยทรัพย์และสามยทรัพย์
แม้ขณะเมื่อซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวโจทก์ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทบอกว่าจะให้ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะ ก็เป็นแต่เพียงคำมั่นว่าจะให้เท่านั้นกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้อุทิศโดยตรงหรือโดยปริยายให้ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะที่ดินพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามที่ปรากฏตามโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ แต่การที่โจทก์วางผังสร้างตึกแถวโดยให้ที่ดินพิพาทเป็นถนนเชื่อมต่อกับทางสาธารณะเป็นทางเข้าออกตึกแถวรายนี้ ย่อมเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้ถนนเป็นสาธารณูปโภคแก่ตึกแถว โจทก์จึงมีภาระผูกพันโดยถือว่าที่ดินพิพาทตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินและตึกแถวรายนี้แล้ว เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะมีผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวโดยไม่มีทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะ ที่ดินพิพาทจึงเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินและตึกแถวของจำเลย ซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์จะประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกหาได้ไม่ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1390 แห่ง ป.พ.พ. และจำเลยในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์หรือในสามยทรัพย์ซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์เช่นเดียวกันตามบทบัญญัติมาตรา 1388 การที่จำเลยต่อเติมกันสาดและวางแผงหนังสือรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทซึ่งตกเป็นภาระจำยอมเฉพาะใช้เป็นทางเข้าออกเท่านั้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิกระทำได้ เพราะเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ชอบที่ศาลจะให้จำเลยรื้อถอนกันสาดและขนย้ายแผงหนังสือออกไปจากที่ดินพิพาท
แต่การที่จำเลยต่อเติมกันสาดและวางแผงหนังสือบริเวณหน้าตึกแถวของจำเลย ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายเพราะโจทก์คงมีแต่กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งตกเป็นทางภาระจำยอม โจทก์จึงต้องรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน และต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ของจำเลยด้วย กล่าวคือโจทก์ไม่อาจนำที่ดินพิพาทซึ่งตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินและตึกแถวของจำเลยใช้เป็นทางเข้าออกไปตั้งแผงลอยหรือนำออกให้เช่าได้อีก เพราะเป็นการกระทำอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ดังนี้ โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายไม่ได้
แต่การที่จำเลยต่อเติมกันสาดและวางแผงหนังสือบริเวณหน้าตึกแถวของจำเลย ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายเพราะโจทก์คงมีแต่กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งตกเป็นทางภาระจำยอม โจทก์จึงต้องรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน และต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ของจำเลยด้วย กล่าวคือโจทก์ไม่อาจนำที่ดินพิพาทซึ่งตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินและตึกแถวของจำเลยใช้เป็นทางเข้าออกไปตั้งแผงลอยหรือนำออกให้เช่าได้อีก เพราะเป็นการกระทำอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ดังนี้ โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางเดินเมื่อที่ดินถูกแบ่งแยกและไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350ที่บัญญัติว่า ถ้าที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินตามมาตราก่อนได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันและไม่ต้องเสียค่าทดแทนนั้น เมื่อที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 17462แบ่งแยกมาจากที่ดินของ บ. อีกทั้งที่ดินของโจทก์ดังกล่าวมีที่ดินของผู้อื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้แม้โจทก์จะสามารถเข้าออกผ่านที่ดินของ ช. ก็ดี แต่การเข้าออกผ่านที่ดินของ ช. ยังจะต้องเข้าออกผ่านที่ดินของ บ. ส่วนที่เป็นถนนอีกทอดหนึ่ง การผ่านที่ดินของช. เป็นเรื่องของความยินยอม หาใช่สิทธิตามกฎหมายไม่กรณีต้องถือว่าที่ดินของโจทก์ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เปิดช่องทางพิพาทเป็นทางเข้าออก ถึงแม้จะต้องรื้อรั้วเฉพาะส่วนที่ปิดช่องทางเข้าออกของโจทก์ออก แต่ก็เพื่อให้ที่ดินโจทก์เชื่อมต่อกับทางพิพาทซึ่งจำเลยเองก็ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกถนนสาธารณะอยู่แล้วน่าจะทำให้จำเลยเสียหายน้อยที่สุด ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้ตามกฎหมาย และไม่ถือว่าโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางจำเป็นเมื่อที่ดินไม่มีทางออกสู่สาธารณะ แม้มีทางอื่นแต่ต้องผ่านที่ดินผู้อื่น
ที่ดินของโจทก์ซึ่งแบ่งแยกมาจากที่ดินของ บ. มารดาจำเลยที่ถึงแก่กรรมไปแล้วมีที่ดินของผู้อื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ แม้โจทก์สามารถเข้าออกผ่านที่ดินของ ช แต่ก็เป็นเรื่องของความยินยอม มิใช่สิทธิตามกฎหมาย ต้องถือว่าที่ดินของโจทก์ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เปิดทางในที่ดิน บ. เป็นทางเข้าออก และไม่ถือว่าโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางเดินเมื่อที่ดินไม่มีทางออกสู่สาธารณะตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 ที่บัญญัติว่า ถ้าที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินตามมาตราก่อนได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันและไม่ต้องเสียค่าทดแทนนั้น เมื่อที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 17462 แบ่งแยกมาจากที่ดินของ บ. อีกทั้งที่ดินของโจทก์ดังกล่าวมีที่ดินของผู้อื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ แม้โจทก์จะสามารถเข้าออกผ่านที่ดินของ ช.ก็ดี แต่การเข้าออกผ่านที่ดินของ ช.ยังจะต้องเข้าออกผ่านที่ดินของ บ.ส่วนที่เป็นถนนอีกทอดหนึ่ง การผ่านที่ดินของ ช.เป็นเรื่องของความยินยอม หาใช่สิทธิตามกฎหมายไม่กรณีต้องถือว่าที่ดินของโจทก์ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เปิดช่องทางพิพาทเป็นทางเข้าออก
ถึงแม้จะต้องรื้อรั้วเฉพาะส่วนที่ปิดช่องทางเข้าออกของโจทก์ออกแต่ก็เพื่อให้ที่ดินโจทก์เชื่อมต่อกับทางพิพาทซึ่งจำเลยเองก็ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกถนนสาธารณะอยู่แล้ว น่าจะทำให้จำเลยเสียหายน้อยที่สุด ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้ตามกฎหมาย และไม่ถือว่าโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริต
ถึงแม้จะต้องรื้อรั้วเฉพาะส่วนที่ปิดช่องทางเข้าออกของโจทก์ออกแต่ก็เพื่อให้ที่ดินโจทก์เชื่อมต่อกับทางพิพาทซึ่งจำเลยเองก็ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกถนนสาธารณะอยู่แล้ว น่าจะทำให้จำเลยเสียหายน้อยที่สุด ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้ตามกฎหมาย และไม่ถือว่าโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4712/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญา: ศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากขาดอายุความ ทำให้ไม่อาจฎีกาได้
ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีโจทก์ทั้งสองขาดอายุความ และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนมีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท: การยักยอกเช็คและปลอมแปลงเอกสารเพื่อปกปิด
จำเลยกระทำความผิดโดยเอาไปเสียซึ่งเอกสารเช็ครวม 2 คราวแล้วจำเลยได้กระทำการปลอมเอกสารในวันเดียวกันนั้น คือ แก้ไขตัวเลขจำนวนเช็คในเอกสารบัญชีจ่ายเงินซื้อลดเช็ค-ต่อเช็ค และลบตัดทอนข้อความในเอกสารการ์ดลูกหนี้ ทั้งนี้ก็โดยเจตนาปกปิดและทำให้ผู้เกี่ยวข้องหลงเชื่อว่าเช็คที่จำเลยเอาไปเสียมิได้นำมาขายลดเช็คกับบริษัท อ. จึงเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ.มาตรา 188 และ 264ต้องลงโทษตามมาตรา 188 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90 แม้ปัญหาดังกล่าวจะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: การกระทำความผิดต่อเนื่องเกี่ยวกับการยักยอกเช็คและปลอมแปลงเอกสาร ต้องลงโทษตามบทที่มีโทษหนักสุด
จำเลยกระทำความผิดโดยเอาไปเสียซึ่งเอกสารเช็ครวม2 คราว แล้วจำเลยได้กระทำการปลอมเอกสารในวันเดียวกันนั้นคือ แก้ไขตัวเลขจำนวนเช็คในเอกสารบัญชีจ่ายเงินซื้อลดเช็ค-ต่อเช็ค และลบตัดทอนข้อความในเอกสารการ์ดลูกหนี้ทั้งนี้ก็โดยเจตนาปกปิดและทำให้ผู้เกี่ยวข้อหลงเชื่อว่าเช็คที่จำเลยเอาไปเสียมิได้มาขายลดเช็คกับบริษัท อ.จึงเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188และ 264 ต้องลงโทษตามมาตรา 188 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90 แม้ปัญหาดังกล่าวจะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง