คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย หมวดเมือง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4624/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการแต่งตั้งแพทย์เพื่อตรวจสอบข้อพิพาท และความยินยอมของคู่ความ
รายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานในส่วนการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ซึ่งเกิดขึ้นจากการท้ากันระหว่างโจทก์จำเลย โดยตกลงกันกำหนดประเด็นเสนอศาลเพื่อให้กระบวนพิจารณาเป็นไปโดยรวดเร็ว ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจดำเนินการตามที่คู่ความร้องขอได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คู่ความยอมรับข้อเท็จจริงกันในศาล โดยมีเงื่อนไขว่าให้ถือเอาความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ซึ่งแต่งตั้งโดยแพทยสภาไม่น้อยกว่า 3 คน ตรวจสอบเวชระเบียนแล้วทำความเห็นว่าโจทก์เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงานหรือไม่ หากโจทก์ไม่ได้เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงาน โจทก์ยอมแพ้ให้ศาลพิพากษายกฟ้อง หากคณะกรรมการแพทย์เห็นว่าโจทก์เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงาน จำเลยยอมแพ้ และยอมให้โจทก์ชนะคดี การที่ศาลแรงงานมีหนังสือถึงแพทยสภาขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ และแพทยสภามีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ในเวลาต่อมา จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวน-พิจารณาให้อย่างครบถ้วนตรงตามคำขอของโจทก์จำเลยโดยแท้ หาใช่กรณีที่ศาลแรงงานกลางใช้อำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์โดยพลการไม่ ทั้งนับแต่ศาลแรงงานบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาในเรื่องดังกล่าวฉบับลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2539จนกระทั่งคณะกรรมการแพทย์ทำรายงานเสนอความเห็นต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2539 ก็เป็นระยะเวลายาวนานพอที่โจทก์มีโอกาสติดตามตรวจสอบเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับคณะกรรมการแพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยแพทยสภาได้ แต่โจทก์หาได้ดำเนินการและแถลงคัดค้านต่อศาลแต่อย่างใดไม่ ส่วนข้อที่โจทก์อ้างว่าโจทก์และทนายโจทก์ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาเพราะไม่อาจขัดขืนอำนาจศาลที่จะให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ขึ้นนั้น เป็นข้ออ้างที่ไม่ชัดแจ้งว่าศาลแรงงานกลางใช้อำนาจโดยมิชอบอย่างใด ทั้งการดำเนินการให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ขึ้นก็เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์ที่ร้องขอต่อศาลทั้งสิ้น ดังนี้กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้หนังสือที่ศาลแรงงานกลางที่มีไปถึงแพทยสภาเพื่อขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ลงลายมือชื่อโดยผู้พิพากษาคนเดียวก็ตาม แต่หนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่ศาลแรงงานกลางได้มีไปถึงแพทยสภาเพื่อขอความร่วมมือให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ทำการตรวจสอบเวชระเบียนของโจทก์แล้วทำความเห็นส่งศาลเท่านั้นซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อให้ได้ความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ตามประเด็นที่โจทก์จำเลยกำหนดไว้ การแพ้ชนะคดีของโจทก์ขึ้นอยู่กับความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ตามที่โจทก์ตกลงท้ากับจำเลย ศาลหาได้มีส่วนร่วมออกความเห็นด้วยไม่ หนังสือนี้จึงไม่ใช่เป็นคำสั่งไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ซึ่งเป็นหนังสือที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่ทำให้การแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ รวมทั้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางต้องกลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4432/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์หุ้นตกแก่ผู้ซื้อทันทีเมื่อซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ การจดทะเบียนโอนหุ้นเป็นเพียงการใช้ยันบุคคลภายนอก
ตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 มาตรา 20 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะขายหุ้นพิพาทได้บัญญัติให้การซื้อขายหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์กระทำได้เฉพาะหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์รับอนุญาตและโดยสมาชิกเท่านั้น สมาชิกจะทำการเป็นนายหน้าของบุคคลใด ๆ หรือเป็นตัวแทนบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งมิได้เป็นสมาชิกก็ได้ ฉะนั้น การซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ จึงมิใช่เป็นเรื่องการซื้อขายหุ้นตามปกติ แต่เป็นการซื้อขายหุ้นในกรณีพิเศษ และผู้ดำเนินการซื้อขายหุ้นแทนลูกค้ากับลูกค้ามีเจตนาผูกพันขอให้เป็นหุ้นประเภทจำนวนและราคาตามที่ตกลงสั่งซื้อหรือตกลงขายไว้ต่อกันเป็นปัจจัยสำคัญจึงเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งสามารถแยกจากการจดทะเบียนโอนหุ้นได้โดยเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในหุ้นตกแก่ผู้ซื้อทันทีที่มีการซื้อขายกันโดยไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนทั้งไม่ต้องจดแจ้งการโอนลงทะเบียนผู้ถือหุ้น ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 แต่อย่างใด การจดทะเบียนโอนหุ้นเป็นเพียงเพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นใช้ยันต่อบริษัทที่ออกหุ้นหรือต่อบุคคลภายนอกหาได้เกี่ยวข้องถึงความสมบูรณ์ของการซื้อขายหุ้นไม่ เมื่อหุ้นพิพาทมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นและสลักหลังลอยให้แก่ ส. และ ส. มอบหุ้นพิพาทให้แก่ผู้ร้องเป็นตัวแทนนำไปขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ร้องเสนอขายให้บริษัท อ. แล้วบริษัท อ. ขายหุ้นพิพาทให้แก่ผู้ซื้อในวันนั้นเอง กรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทย่อมตกเป็นของผู้ซื้อทันที การที่โจทก์นำยึดหุ้นพิพาท จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจเพราะจำเลยที่ 2 มิได้เป็นเจ้าของหุ้นพิพาทแล้ว ผู้ร้องซึ่งรับหุ้นพิพาทคืนมาไว้ในครอบครองจึงเป็นเจ้าของผู้ถือหุ้นมีสิทธิร้องขอให้ปล่อยหุ้นดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องลงทะเบียนการโอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4432/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์หุ้นตกแก่ผู้ซื้อทันทีเมื่อซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ การจดทะเบียนโอนหุ้นเป็นเพียงการแจ้งให้ทราบ
ตาม พ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517มาตรา 20 ได้บัญญัติให้การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์กระทำได้เฉพาะหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์รับอนุญาตและโดยสมาชิกเท่านั้น สมาชิกจะทำการเป็นนายหน้าของบุคคลใด ๆ หรือเป็นตัวแทนบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งมิได้เป็นสมาชิกก็ได้ดังนั้นการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ มิใช่เป็นเรื่องการซื้อขายหุ้นตามปกติ แต่เป็นการซื้อขายหุ้นในกรณีพิเศษ และผู้ดำเนินการซื้อขายหุ้นแทนลูกค้ากับลูกค้ามีเจตนาผูกพันขอให้เป็นหุ้น ประเภท จำนวนและราคา ตามที่ตกลงสั่งซื้อหรือตกลงขายไว้ต่อกันเป็นปัจจัยสำคัญ จึงเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งสามารถแยกจากการจดทะเบียนโอนหุ้นได้โดยเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในหุ้นตกแก่ผู้ซื้อทันทีที่มีการซื้อขายกันโดยไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน ทั้งไม่ต้องจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1129 การจดทะเบียนโอนหุ้นเป็นเพียงเพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นใช้ยันต่อบริษัทที่ออกหุ้นหรือต่อบุคคลภายนอก หาได้เกี่ยวข้องถึงความสมบูรณ์ของการซื้อขายหุ้นไม่
เมื่อหุ้นพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือหุ้นและสลักหลังลอยให้แก่ ส. วันที่ 23 เมษายน 2535 ส.ได้มอบหุ้นพิพาทให้แก่ผู้ร้องเป็นตัวแทนนำไปขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ร้องจึงเสนอขายให้แก่บริษัท-เงินทุนหลักทรัพย์ อ. บริษัทดังกล่าวขายหุ้นพิพาทให้แก่ผู้ซื้อในวันนั้นเอง กรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทย่อมตกเป็นของผู้ซื้อทันที โจทก์นำยึดหุ้นพิพาทเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน2535 เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจเพราะขณะนั้นจำเลยที่ 2 มิได้เป็นเจ้าของหุ้นพิพาทแล้ว ผู้ร้องซึ่งรับหุ้นพิพาทคืนมาไว้ในครอบครอง จึงเป็นเจ้าของผู้ถือหุ้นมีสิทธิร้องขอให้ปล่อยหุ้นดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องลงทะเบียนการโอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิเรียกร้องจากสัญญาจำนอง: ทายาทผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยได้
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์มีส่วนได้เสียในที่ดิน กับเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ม. เจ้ามรดกจำต้องชดใช้หนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินแทนจำเลยซึ่งเป็นผู้จำนอง เพื่อปัดป้องมิให้สิทธิของโจทก์ในที่ดินต้องถูกกระทบกระเทือน จะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในที่ดินเพราะอาจถูกผู้รับจำนองบังคับยึดออกขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงใช้หนี้ตามสัญญาจำนองแทนจำเลยจนเป็นที่พอใจของผู้รับจำนอง โดยได้มีการไถ่ถอนจำนองแล้วย่อมเข้ารับช่วงสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้บังคับเอาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 230 หาใช่เรื่องจัดการงานนอกสั่งหรือลาภมิควรได้ไม่ แม้เป็นการขืนใจลูกหนี้ แต่เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้นั้นอันเนื่องจากจำเลยไม่ยอมไถ่ถอนจำนองและหากไม่มีการไถ่ถอนจำนองโจทก์ก็ย่อมเสียสิทธิในที่ดินไปโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากผู้รับจำนองมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยผู้จำนอง ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้ได้ในนามของตนเอง เมื่อหนี้เดิมผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 เดิม ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิเรียกร้องช่วง เมื่อทายาทชำระหนี้จำนองเพื่อรักษาสิทธิในทรัพย์มรดก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ม.ระหว่างโจทก์เป็นทายาทของ ม. โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทจำต้องไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแทนจำเลยทั้งสอง จึงขอให้จำเลยทั้งสองชำระเงินคืนโจทก์ ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของการรับช่วงสิทธิ คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว โดยโจทก์ไม่ต้องบรรยายว่าเงินที่นำไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทเป็นเงินของใคร เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับธนาคาร ก.ไม่มีการเพิกถอน คงเพิกถอนเฉพาะการยกให้และการซื้อขายที่ดินพิพาทเท่านั้นและตามสัญญาจำนองมีความว่า ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินแปลงดังกล่าวข้างต้นทั้งแปลงแก่ผู้รับจำนอง เพื่อเป็นประกันหนี้การกู้เบิกเงินเกินบัญชีและหรือหนี้สินอื่น ๆทุกประเภทของจำเลยที่ 2 และหรือของผู้จำนองทั้งที่มีอยู่แล้วในขณะนี้หรือที่จะมีขึ้นในภายหน้าอันจะพึงมีต่อธนาคาร ก.เป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท จากข้อความในเอกสารดังกล่าวเป็นลักษณะที่จำเลยที่ 1 จำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 2 ด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 709
เมื่อสัญญาจำนองที่ดินพิพาทไม่มีการเพิกถอนก็ต้องถือว่าเป็นสัญญาจำนองที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ ม.จะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ม.เพราะอาจถูกธนาคาร ก.ผู้รับจำนองบังคับยึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงใช้หนี้ตามสัญญาจำนองแทนจำเลยทั้งสองจนเป็นที่พอใจของธนาคาร ก.เจ้าหนี้โดยได้มีการไถ่ถอนจำนองแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้บังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 230 หาใช่เรื่องจัดการงานนอกสั่งหรือลาภมิควรได้ไม่ แม้จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าที่โจทก์ชำระหนี้แก่ธนาคารดังกล่าวไปนั้นเป็นการขืนใจลูกหนี้ก็ตาม ในเมื่อโจทก์เป็นบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้นั้นอันเนื่องจากจำเลยทั้งสองไม่ยอมไถ่ถอนจำนอง และหากไม่มีการไถ่ถอนจำนองโจทก์ก็ย่อมเสียสิทธิในที่ดินพิพาทไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากธนาคาร ก.ผู้รับจำนองมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยทั้งสอง ซึ่งโจทก์ก็ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้ได้ในนามของตนเองเมื่อหนี้เดิมธนาคาร ก.ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 189 เดิม(193/27 ที่แก้ไขใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4130/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานค่ารักษาพยาบาลที่มิได้ส่งให้คู่ความตรงตามกำหนด & หลักการประเมินค่าเสียหายทางกาย
พยานคู่ที่ไม่ได้นำสืบในคราวเดียวกัน ศาลก็ใช้ดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักคำพยานดังกล่าวได้ กฎหมายไม่ได้บัญญัติห้ามมิให้รับฟัง
พนักงานสอบสวนผู้ตรวจสถานที่เกิดเหตุ การพบร่องรอยตลอดจนเศษวัสดุต่าง ๆที่ตกอยู่ในที่เกิดเหตุ เป็นประจักษ์พยานไม่ใช่พยานบอกเล่า
สำเนาใบเสร็จรับเงินเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ ที่โรงพยาบาลออกให้เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตามเอกสารดังกล่าวจริง แม้ฝ่ายโจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยตามที่กฎหมายบัญญัติแต่เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในเรื่องค่ารักษาพยาบาลฉะนั้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานข้างต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)
ในกรณีทำให้เสียหายแก่ร่างกายนั้น ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาลรวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้ เพราะไม่สามารถประกอบการงาน และค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน ทั้งในเวลาปัจจุบันและในเวลาอนาคตด้วยตามมาตรา 443 วรรคสอง และมาตรา 444 วรรคหนึ่งแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ทำละเมิดจึงต้องใช้ค่าขาดรายได้อันเป็นค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์ทำมาหาได้อีกส่วนหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4130/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้าง และการแก้ไขคำพิพากษาที่ผิดพลาด
เกิดเหตุรถชนแล้วจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขับรถคู่กรณีหลบหนีไปส่อแสดงพิรุธว่าเป็นฝ่ายกระทำผิดจริง และยังต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้กระทำผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 78 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 แม้ฝ่ายโจทก์จะมิได้นำสืบ น. ซึ่งเป็นพยานคู่กับโจทก์ที่ 1ในคราวเดียวกันก็ดี แต่ศาลย่อมใช้ดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักคำพยานดังกล่าวแล้วได้กฎหมายมิได้บัญญัติห้ามมิให้รับฟัง ร้อยตำรวจเอกป.เป็นพนักงานสอบสวนผู้ตรวจสถานที่เกิดเหตุการพบร่องรอยตลอดจนเศษวัสดุต่าง ๆ ที่ตกอยู่ในที่เกิดเหตุจึงเป็นประจักษ์พยานไม่ใช่เป็นพยานบอกเล่า สำเนาใบเสร็จรับเงินเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ที่ 1 ที่โรงพยาบาลออกให้เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตามเอกสารดังกล่าวจริง ดังนี้แม้ฝ่ายโจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 แต่กรณีเห็นได้ว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในเรื่องค่ารักษาพยาบาล ฉะนั้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานข้างต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ในกรณีทำให้เสียหายแก่ร่างกายนั้น ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้ เพราะไม่สามารถประกอบการงาน และค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนทั้งในเวลาปัจจุบันและในเวลาอนาคตด้วยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 443 วรรคสอง และมาตรา 444 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนี้ ผู้ทำละเมิดจึงต้องใช้ค่าขาดรายได้อันเป็นค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์ทำมาหาได้อีกส่วนหนึ่ง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 กล่าวคือ ค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์เป็นเงิน 40,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลเป็นเงิน 29,564 บาทค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนเพราะทุพพลภาพเป็นเงิน 60,000 บาท และค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานเป็นเงิน 120,000 บาท รวมค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 249,564 บาท แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 กลับพิพากษาให้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 209,564 บาท กรณีเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเกิดจากความผิดพลาดหรือผิดหลงในการรวมคำนวณยอดค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยที่แก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ให้ถูกต้องได้ ส.มีหน้าที่ควบคุมดูแลตรวจสอบการทำงานของคนขับรถของจำเลยที่ 1 หากคนขับไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับส.สามารถเสนอเรื่องให้กรรมการของจำเลยที่ 1 ลงโทษได้นอกจากนี้ด้านข้างของรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุระบุตัวอักษรชื่อย่อของจำเลยที่ 1 อีกทั้งภายหลังเกิดเหตุ ส. พนักงานของจำเลยที่ 1 ยังไปติดต่อขอชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ถูกกระทำละเมิด พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 2 มีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และได้กระทำไปในทางการที่จ้าง จำเลยทั้งสองฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาเฉพาะเกี่ยวกับโจทก์ที่ 1 เท่านั้น และมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เพราะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาของทุนทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ให้แก่จำเลยทั้งสองทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3881/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาคดีใหม่ จำเลยต้องคัดค้านคำพิพากษาโดยตรง ไม่ใช่แค่โต้แย้งข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐาน
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยที่กล่าวว่า พยานโจทก์เบิกความไม่ตรงต่อความเป็นจริง ผู้แทนโจทก์เรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้จึงเป็นเหตุให้ศาลพิพากษาไปเช่นนั้นมิใช่เป็นการคัดค้านคำวินิจฉัยของศาล หากเป็นเรื่องที่จำเลยโต้แย้งคำเบิกความของพยานโจทก์หรือการกระทำของโจทก์ไม่ได้อ้างเหตุว่า คำพิพากษาของศาลไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนตรงไหนส่วนใดอันจะเป็นการคัดค้านคำพิพากษาของศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3881/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องคัดค้านคำวินิจฉัย ไม่ใช่โต้แย้งพยานหรือการกระทำของคู่ความ
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไม่ได้อ้างเหตุว่า คำพิพากษาของศาลไม่ถูกต้อง หรือคลาดเคลื่อนตรงไหน ส่วนใด อันจะเป็นการคัดค้านคำพิพากษาของศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคสอง การที่จำเลยบรรยายมาในคำร้องว่าผู้แทนโจทก์เบิกความไม่ตรงต่อความเป็นจริง และผู้แทนโจทก์เรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงเป็นเหตุให้ศาลพิพากษาไปเช่นนั้น ดังนี้ มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยคัดค้านคำวินิจฉัยของศาล หากเป็นเรื่องที่จำเลยโต้แย้งคำเบิกความของพยานโจทก์หรือการกระทำของโจทก์ ที่ศาลล่างทั้งสองยกคำร้องของจำเลยมานั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3881/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องเป็นการคัดค้านคำพิพากษาโดยตรง ไม่ใช่การโต้แย้งพยานหรือการกระทำของคู่ความ
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไม่ได้อ้างเหตุว่าคำพิพากษาของศาลไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนตรงไหนส่วนใดอันจะเป็นการค้าค้านคำพิพากษาของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา208วรรคสองการที่จำเลยบรรยายมาในคำร้องว่าผู้แทนโจทก์เบิกความไม่ตรงต่อความเป็นจริงและผู้แทนโจทก์เรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้จึงเป็นเหตุให้ศาลพิพากษาไปเช่นนั้นดังนี้มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลหากเป็นเรื่องที่จำเลยโต้แย้งคำเบิกความของพยานโจทก์หรือการกระทำของโจทก์ที่ศาลล่างทั้งสองยกคำร้องของจำเลยดังกล่าวมานั้นชอบแล้ว
of 32