คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย หมวดเมือง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การกระทำผิดวินัยทั่วไปไม่ถึงขั้นร้ายแรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยได้ด่า ส. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์ว่า "ตอแหล" ต่อหน้าพนักงานอื่นในสถานที่ทำงานขณะที่ ส.สั่งห้ามพนักงานพูดเสียงดังการที่โจทก์ด่าส.โดยใช้ถ้อยคำว่า "ตอแหล" ซึ่งมีความหมายว่าเป็นคนพูดเท็จอันเป็นการแสดงกิริยากระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาด้วยการใช้วาจาดูหมิ่น เหยียดหยามและก้าวร้าว เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่งจำเลยได้จัดไว้ในหัวข้อเรื่องวินัยและความประพฤติทั่วไปของพนักงาน แยกต่างหากจากหัวข้อเรื่องความผิดร้ายแรงซึ่งได้ระบุการกระทำที่เป็นความผิดร้ายแรงไว้โดยเฉพาะ ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ได้ถือว่าการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเป็นความผิดกรณีร้ายแรงแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อปรับการกระทำของโจทก์กับระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยดังกล่าวแล้ว การกระทำของโจทก์เป็นเพียงฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีทั่วไป หาเป็นความผิดกรณีร้ายแรงไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยเตือนโจทก์เป็นหนังสือมาก่อน จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากคำด่าที่ไม่ถึงขั้นร้ายแรง จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยได้ด่า ส.ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์ว่า "ตอแหล" ต่อหน้าพนักงานอื่นในสถานที่ทำงานขณะที่ ส.สั่งห้ามพนักงานพูดเสียงดัง การที่โจทก์ด่า ส.โดยใช้ถ้อยคำว่า "ตอแหล" ซึ่งมีความหมายว่าเป็นคนพูดเท็จ อันเป็นการแสดงกิริยากระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาด้วยการใช้วาจาดูหมิ่น เหยียดหยามและก้าวร้าว เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่งจำเลยได้จัดไว้ในหัวข้อเรื่องวินัยและความประพฤติทั่วไปของพนักงาน แยกต่างหากจากหัวข้อเรื่องความผิดร้ายแรงซึ่งได้ระบุการกระทำที่เป็นความผิดร้ายแรงไว้โดยเฉพาะ ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ได้ถือว่าการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเป็นความผิดกรณีร้ายแรงแต่อย่างใดดังนั้น เมื่อปรับการกระทำของโจทก์กับระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยดังกล่าวแล้ว การกระทำของโจทก์เป็นเพียงฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีทั่วไป หาเป็นความผิดกรณีร้ายแรงไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยเตือนโจทก์เป็นหนังสือมาก่อน จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดชอบการนำเช็คขีดคร่อมเข้าบัญชีบุคคลอื่นโดยไม่ชอบ แม้ผู้รับผลประโยชน์เป็นผู้เยาว์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ท.ได้สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมเฉพาะ สั่งจ่ายเงินฉบับละ 2,000,000 บาท ระบุชื่อให้แก่โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ตามลำดับโดยขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" โดยห้ามเปลี่ยนมือทั้งสองฉบับ พ.บิดาของโจทก์ทั้งสองรับเช็คดังกล่าวไว้แล้วนำไปเข้าบัญชีเงินฝากของ พ.ที่ธนาคารสาขาของจำเลยที่ 1เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ได้นำเช็คดังกล่าวเข้าบัญชี พ.โดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำเช่นนั้นได้ เพราะเช็คดังกล่าวทั้งสองฉบับเป็นเช็คขีดคร่อมระบุชื่อโจทก์ทั้งสองเป็นผู้รับเงินตามเช็ค และเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะต้องนำเช็คทั้งสองฉบับเข้าบัญชีเฉพาะของโจทก์ทั้งสอง หากโจทก์ทั้งสองยังไม่มีบัญชีกับธนาคารจำเลยที่ 1เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็ต้องเปิดบัญชีให้แก่โจทก์ทั้งสองเพื่อจะได้นำเงินตามเช็คทั้งสองฉบับเข้าบัญชีของโจทก์ทั้งสอง อันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายและธรรมเนียมประเพณีของธนาคารพาณิชย์ การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย การกระทำของเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองแล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้อง แต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้โจทก์จะกล่าวในคำฟ้องว่า ด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์มีมูลหนี้มาจากการละเมิด อันจะต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายภายในอายุความ 1 ปี ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาคำฟ้องเป็นการฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิอ้าง ป.พ.พ.มาตรา 1000 เพื่อยกเว้นความรับผิดทั้งเป็นการเรียกเอาทรัพย์จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้คืน ตามมาตรา 1336ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ ดังนี้จะนำอายุความเรื่องละเมิด 1 ปี มาใช้บังคับไม่ได้ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ
แม้ขณะเกิดเหตุโจทก์ทั้งสองยังเป็นผู้เยาว์ พ.บิดาในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ทั้งสองในขณะนั้นย่อมมีอำนาจจัดการแทนโจทก์ทั้งสองได้ก็ตาม แต่เมื่อเงินได้ตามเช็คพิพาทเป็นเงินได้ที่ต้องนำเข้าบัญชีส่วนตัวของโจทก์ทั้งสองเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะจัดการนำเช็คดังกล่าวของโจทก์ทั้งสองเข้าบัญชีโจทก์ทั้งสอง และในทางปฏิบัติ หากโจทก์ทั้งสองไม่มีบัญชีในธนาคารจำเลยที่ 1เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็ย่อมดำเนินการเปิดบัญชีใหม่ให้โจทก์ทั้งสองได้ เมื่อความเป็นผู้เยาว์ของโจทก์ทั้งสองไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการเปิดบัญชีใหม่แต่ประการใด ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 นำเช็คขีดคร่อมของโจทก์ทั้งสองเข้าบัญชีส่วนตัวของ พ.แล้วเป็นเหตุให้ พ.ถอนเงินจำนวนดังกล่าวไปได้นั้นเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างย่อมต้องรับผิดคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดชดใช้เงินเช็คขีดคร่อมที่เข้าบัญชีผิดพลาด แม้บิดาผู้เยาว์มีอำนาจจัดการได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าท. ได้สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมเฉพาะสั่งจ่ายเงินฉบับละ2,000,000บาทระบุชื่อให้แก่โจทก์ที่1และโจทก์ที่2ตามลำดับโดยขีดฆ่าคำว่า"หรือผู้ถือ"โดยห้ามเปลี่ยนมือทั้งสองฉบับพ. บิดาของโจทก์ทั้งสองรับเช็คดังกล่าวไว้แล้วนำไปเข้าบัญชีเงินฝากของพ.ที่ธนาคารสาขาของจำเลยที่1เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่1ได้นำเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีพ. โดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำเช่นนั้นได้เพราะเช็คดังกล่าวทั้งสองฉบับเป็นเช็คขีดคร่อมระบุชื่อโจทก์ทั้งสองเป็นผู้รับเงินตามเช็คและเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะต้องนำเช็คทั้งสองฉบับเข้าบัญชีเฉพาะของโจทก์ทั้งสองหากโจทก์ทั้งสองยังไม่มีบัญชีกับธนาคารจำเลยที่1เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ก็ต้องปิดบัญชีให้แก่โจทก์ทั้งสองเพื่อจะได้นำเงินตามเช็คทั้งสองฉบับเข้าบัญชีของโจทก์ทั้งสองอันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายและธรรมเนียมประเพณีของธนาคารพาณิชย์การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายการกระทำของเจ้าหน้าที่จำเลยที่1จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองแล้วจำเลยที่1ในฐานะนายจ้างย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง ที่จำเลยที่1ฎีกาว่าโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องแต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันโดยชอบในศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แม้โจทก์จะกล่าวในคำฟ้องว่าด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่จำเลยที่1เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่1ต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์มีมูลหนี้มาจากการละเมิดอันจะต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายภายในอายุความ1ปีก็ตามแต่เมื่อพิจารณาคำฟ้องเป็นการฟ้องว่าจำเลยที่1ไม่มีสิทธิอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1000เพื่อยกเว้นความรับผิดทั้งเป็นการเรียกเอาทรัพย์จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้คืนตามมาตรา1336ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความดังนี้จะนำอายุความเรื่องละเมิด1ปีมาใช้บังคับไม่ได้ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ แม้ขณะเกิดเหตุโจทก์ทั้งสองยังเป็นผู้เยาว์พ.บิดาในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ทั้งสองในขณะนั้นย่อมมีอำนาจจัดการแทนโจทก์ทั้งสองได้ก็ตามแต่เมื่อเงินได้ตามเช็คพิพาทเป็นเงินได้ที่ต้องนำบัญชีส่วนตัวของโจทก์ทั้งสองเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ก็ชอบที่จะจัดการนำเช็คดังกล่าวของโจทก์ทั้งสองเข้าบัญชีโจทก์ทั้งสองและในทางปฏิบัติหากโจทก์ทั้งสองไม่มีบัญชีในธนาคารจำเลยที่1เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ก็ย่อมดำเนินการเปิดบัญชีใหม่ให้โจทก์ทั้งสองได้เมื่อความเป็นผู้เยาว์ของโจทก์ทั้งสองไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการเปิดบัญชีใหม่แต่ประการใดดังนั้นการที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1นำเช็คขีดคร่อมของโจทก์ทั้งสองเข้าบัญชีส่วนตัวของพ. แล้วเป็นเหตุให้พ. ถอนเงินจำนวนดังกล่าวไปได้นั้นเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อจำเลยที่1ในฐานะนายจ้างย่อมต้องรับผิดคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดคืนเงินเช็คขีดคร่อมที่นำเข้าบัญชีบุคคลอื่นโดยมิชอบแก่ผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ท. ได้สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมเฉพาะสั่งจ่ายเงินฉบับละ 2,000,000 บาท ระบุชื่อให้แก่โจทก์ที่ 1และโจทก์ที่ 2 ตามลำดับโดยขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ"โดยห้ามเปลี่ยนมือทั้งสองฉบับ พ. บิดาของโจทก์ทั้งสองรับเช็คดังกล่าวไว้แล้วนำไปเข้าบัญชีเงินฝากของ พ.ที่ธนาคารสาขาของจำเลยที่ 1 เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ได้นำเช็คดังกล่าวเข้าบัญชี พ. โดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำเช่นนั้นได้ เพราะเช็คดังกล่าวทั้งสองฉบับเป็นเช็คขีดคร่อมระบุชื่อโจทก์ทั้งสองเป็นผู้รับเงินตามเช็คและเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะต้องนำเช็คทั้งสองฉบับเข้าบัญชีเฉพาะของโจทก์ทั้งสอง หากโจทก์ทั้งสองยังไม่มีบัญชีกับธนาคารจำเลยที่ 1 เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็ต้องปิดบัญชีให้แก่โจทก์ทั้งสองเพื่อจะได้นำเงินตามเช็คทั้งสองฉบับเข้าบัญชีของโจทก์ทั้งสอง อันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายและธรรมเนียมประเพณีของธนาคารพาณิชย์ การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย การกระทำของเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองแล้วจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องแต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันโดยชอบในศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แม้โจทก์จะกล่าวในคำฟ้องว่า ด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์มีมูลหนี้มาจากการละเมิด อันจะต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายภายในอายุความ 1 ปี ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาคำฟ้องเป็นการฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1000 เพื่อยกเว้นความรับผิดทั้งเป็นการเรียกเอาทรัพย์จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้คืน ตามมาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความดังนี้จะนำอายุความเรื่องละเมิด 1 ปี มาใช้บังคับไม่ได้ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ แม้ขณะเกิดเหตุโจทก์ทั้งสองยังเป็นผู้เยาว์ พ.บิดาในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ทั้งสองในขณะนั้นย่อมมีอำนาจจัดการแทนโจทก์ทั้งสองได้ก็ตาม แต่เมื่อเงินได้ตามเช็คพิพาทเป็นเงินได้ที่ต้องนำบัญชีส่วนตัวของโจทก์ทั้งสองเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะจัดการนำเช็คดังกล่าวของโจทก์ทั้งสองเข้าบัญชีโจทก์ทั้งสอง และในทางปฏิบัติหากโจทก์ทั้งสองไม่มีบัญชีในธนาคารจำเลยที่ 1 เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็ย่อมดำเนินการเปิดบัญชีใหม่ให้โจทก์ทั้งสองได้เมื่อความเป็นผู้เยาว์ของโจทก์ทั้งสองไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการเปิดบัญชีใหม่แต่ประการใด ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 นำเช็คขีดคร่อมของโจทก์ทั้งสองเข้าบัญชีส่วนตัวของ พ.แล้วเป็นเหตุให้พ. ถอนเงินจำนวนดังกล่าวไปได้นั้นเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างย่อมต้องรับผิดคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษายกฟ้องศาลชั้นต้นและอุทธรณ์: กรณีห้ามฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลแขวง
ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงมีคำสั่งให้งดไต่สวนมูลฟ้องและวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) พิพากษายกฟ้องโจทก์ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายแม้คดีนี้จะเป็นการพิจารณาชั้นไต่สวนมูลฟ้องก็ตาม คดีก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499มาตรา 4 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องตามกฎหมายศาลแขวง
ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงมีคำสั่งให้งดไต่สวนมูลฟ้องและวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5)พิพากษายกฟ้องโจทก์ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายแม้คดีนี้จะเป็นการพิจารณาชั้นไต่สวนมูลฟ้องก็ตามคดีก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499มาตรา4ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีในศาลแขวง: คำสั่งยกฟ้องและข้อจำกัดในการอุทธรณ์ฎีกา
ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงมีคำสั่งให้งดไต่สวนมูลฟ้องและวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) พิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายแม้คดีนี้จะเป็นการพิจารณาชั้นไต่สวนมูลฟ้องก็ตามคดีก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 4 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2815/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาตามข้อเท็จจริงที่รับกันในสำนวน แม้มีประเด็นค่าอ้างเอกสาร
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์อ้างสัญญากู้ยืมเงินโดยไม่เสียค่าอ้างเอกสาร จึงไม่อาจรับฟังสัญญากู้เป็นพยานโจทก์ได้ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์มิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าอ้างเอกสารแต่อย่างใด ขอให้ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณารับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาและพิพากษาต่อไปด้วยนั้น ตามอุทธรณ์ของโจทก์พอเข้าใจความหมายได้ว่าโจทก์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีไปตามพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏในสำนวนของศาลชั้นต้น และเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า ข้อเท็จจริงตามท้องสำนวนรับฟังได้ตามคำรับของจำเลยทั้งสองว่าจำเลยทั้งสองกู้เงินโจทก์ไป ทั้งศาลชั้นต้นจะต้องพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามคำรับดังกล่าวแล้ว กรณีเช่นนี้ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความทุกฝ่ายตามข้อเท็จจริงที่รับกันและปรากฏอยู่ในสำนวนคดีนี้ได้ หาใช่เป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2815/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำรับของจำเลย แม้โจทก์อุทธรณ์ประเด็นค่าเอกสาร
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์อ้างสัญญากู้ยืมเงินโดยไม่เสียค่าอ้างเอกสาร จึงไม่อาจรับฟังสัญญากู้เป็นพยานโจทก์ได้ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์มิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าอ้างเอกสารแต่อย่างใด ขอให้ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณารับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาและพิพากษาต่อไปด้วยนั้นตามอุทธรณ์ของโจทก์พอเข้าใจความหมายได้ว่าโจทก์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไปตามพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏในสำนวนของศาลชั้นต้น และเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า ข้อเท็จจริงตามท้องสำนวนรับฟังได้ตามคำรับของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองกู้เงินโจทก์ไป ทั้งศาลชั้นต้นจะต้องพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามคำรับดังกล่าวแล้ว กรณีเช่นนี้ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความทุกฝ่ายตามข้อเท็จจริงที่รับกันและปรากฏอยู่ในสำนวนคดีนี้ได้หาใช่เป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นไม่
of 32