คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย หมวดเมือง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: การระบุอาชีพจำเลยในคำฟ้องมีผลต่ออำนาจพิจารณาคดี แม้ภายหลังจะอ้างเป็นข้าราชการ
ขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นได้ระบุอาชีพของจำเลยไว้อย่างชัดแจ้งว่าเป็นข้าราชการบำนาญ จำเลยทราบคำฟ้องแล้วมิได้คัดค้านโต้แย้งทั้ง ๆ ที่อยู่ในวิสัยของจำเลยอันพึงต้องกระทำ จึงถือได้ว่าจำเลยมิใช่บุคคลที่อยู่ ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิดตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารพ.ศ. 2498 มาตรา 13,16(1) ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่ง ประทับฟ้องแล้วดำเนินคดีต่อมาตามขั้นตอนแม้จะปรากฏจากฎีกา ของจำเลยในภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารก็ตามศาลล่างทั้งสองซึ่งเป็นศาลพลเรือนด้วยกันก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯมาตรา 15 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการต่อสู้คดี – การอนุญาตเลื่อนสืบพยาน – กระบวนการยุติธรรม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 362 ในวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรก ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาโดยอ้างว่าทนายจำเลยมีอาการวิงเวียนศีรษะและอ่อนเพลียไม่สามารถมาศาลได้ โจทก์มิได้คัดค้านอีกทั้งไม่ปรากฏเหตุว่าจำเลยแกล้งประวิงคดี ประกอบกับคดีมีโทษจำคุกและจำเลยให้การปฏิเสธตลอดมา ตามรูปคดีจึงสมควรที่จะให้โอกาสจำเลยได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่และศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้เลื่อนการพิจารณาไปสืบพยานจำเลยในครั้งต่อไปตามที่ได้นัดไว้ก่อนแล้วได้ แต่ศาลชั้นต้นหาได้กระทำไม่ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดั่งที่ ป.วิ.อ.มาตรา 179 วรรคสองบัญญัติไว้ เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยเป็นการไม่ชอบ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้จำเลยจะให้การปฏิเสธ ก็เป็นการปฏิเสธลอย ๆ โดยไม่ได้นำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ในชั้นพิจารณา คงมีแต่การซักค้านของทนายจำเลย ระหว่างสืบพยานโจทก์ซึ่งมีน้ำหนักน้อยไม่เพียงพอที่จะรับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้จึงเป็นการวินิจฉัยที่ผิดพลาดต่อความเป็นจริงแห่งคดี เพราะการที่จำเลยไม่ได้สืบพยานจำเลยก็เนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีหาใช่เป็นกรณีที่จำเลยไม่สืบพยานจำเลยไม่
เมื่อศาลฎีกาเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อให้คดีได้ดำเนินไปจนสิ้นกระแสความ ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้ศาลชั้นต้นได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังที่ ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225 บัญญัติให้อำนาจไว้ โดยให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไปแล้วพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามกระบวนพิจารณาคดีอาญา การไม่อนุญาตเลื่อนสืบพยานจำเลย ส่งผลต่อสิทธิในการต่อสู้คดี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ในวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรก ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาโดยอ้างว่าทนายจำเลยมีอาการวิงเวียนศีรษะและอ่อนเพลียไม่สามารถมาศาลได้ โจทก์มิได้คัดค้านอีกทั้งไม่ปรากฏเหตุว่าจำเลยแกล้งประวิงคดี ประกอบกับคดีมีโทษจำคุกและจำเลยให้การปฏิเสธตลอดมา ตามรูปคดีจึงสมควรที่จะให้โอกาสจำเลยได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ และศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้เลื่อนการพิจารณาไปสืบพยานจำเลยในครั้งต่อไปตามที่ได้นัดไว้ก่อนแล้วได้ แต่ศาลชั้นต้น หาได้กระทำไม่ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 179 วรรคสองบัญญัติไว้ เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยเป็นการไม่ชอบ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่า แม้จำเลย จะให้การปฏิเสธ ก็เป็นการปฏิเสธลอย ๆโดยไม่ได้นำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ในชั้นพิจารณาคงมีแต่การซักค้านของทนายจำเลย ระหว่างสืบพยานโจทก์ซึ่งมีน้ำหนักน้อยไม่เพียงพอที่จะรับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้จึงเป็นการวินิจฉัยที่ผิดพลาดต่อความเป็นจริงแห่งคดี เพราะการที่จำเลยไม่ได้สืบพยานจำเลยก็เนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีหาใช่ เป็นกรณีที่จำเลยไม่สืบพยานจำเลยไม่ เมื่อศาลฎีกาเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อให้คดีได้ดำเนินไปจนสิ้นกระแสความ ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้ศาลชั้นต้นได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)ประกอบด้วยมาตรา 225 บัญญัติให้อำนาจไว้ โดยให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไปแล้วพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3656/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณทุนทรัพย์คดี และการกำหนดค่าทนายความตามอัตราขั้นสูงในคดีที่มีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์
ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ให้โจทก์ไปประเมินราคาที่พิพาทและเสียค่าขึ้นศาลเพิ่ม ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงขอเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินราคาที่พิพาทซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับไว้ในวันเดียวกันนั้นเองจึงเป็นกรณีที่มีการ คำนวณทุนทรัพย์และเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์นั้นแล้ว โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และขับไล่จำเลยพร้อมบริวารออกไปจากที่พิพาท จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน การกำหนดค่าทนายความใช้แทนให้แก่ผู้ชนะคดีต้องถือเอาค่าทนายความในอัตราขึ้นสูงกว่า ตามตาราง 6ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นหลัก ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ในศาลชั้นต้นสูงกว่าอัตราขั้นสูงตามกฎหมาย แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3656/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าทนายความในคดีต่อสู้กรรมสิทธิ์: ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ให้โจทก์ไปประเมินราคาที่พิพาทและเสียค่าขึ้นศาลเพิ่ม ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงขอเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินราคาที่พิพาทซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับไว้ในวันเดียวกันนั้นเองจึงเป็นกรณีที่มีการคำนวณทุนทรัพย์และเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์นั้นแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และขับไล่จำเลยพร้อมบริวารออกไปจากที่พิพาท จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน การกำหนดค่าทนายความใช้แทนให้แก่ผู้ชนะคดีต้องถือเอาค่าทนายความในอัตราขั้นสูงกว่า ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.เป็นหลัก
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ในศาลชั้นต้นสูงกว่าอัตราขั้นสูงตามกฎหมาย แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3508/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับประโยชน์จากลูกจ้าง-สิทธิโดยไม่สุจริต-ไม่ต้องรับผิดชอบค่าขาดราคา
เมื่อการซื้อขายรายพิพาทที่จำเลยกระทำต่อผู้ซิ้อซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์มีการชำระเงินสดให้เพียง 100,000 บาท ส่วนราคารถที่เหลืออีก1,416,000 บาท ผู้ซื้อได้ชำระเป็นเช็ค ซึ่งปรากฏต่อมาว่า โจทก์ผู้เป็นนายจ้างไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้ซื้อได้นำเช็คฉบับใหม่มาเปลี่ยนถึงสองครั้ง แต่โจทก์ก็ไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คที่นำมาแลกเปลี่ยนได้ ทั้งโจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีแก่ผู้ซื้อแล้ว ดังนี้ พฤติการณ์ที่โจทก์กระทำต่อผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าถือได้ว่าโจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างแล้ว และไม่ถือว่าจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์ ทั้งเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 5แต่กรณีมิใช่เป็นเรื่องตัวการให้สัตยาบันในการขายรถยนต์ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าขาดราคา และเมื่อจำเลยไม่ต้องรับผิดแล้ว จำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันก็ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย เมื่อหนี้รายนี้เป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีเหตุที่ศาลฎีกาควรพิพากษาให้จำเลยที่มิได้อุทธรณ์ให้ได้รับผลเป็นคุณตาม ป.วิ.พ.มาตรา245 (1) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3508/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับประโยชน์จากการกระทำของลูกจ้าง และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทำให้ตัวการไม่ต้องรับผิด
เมื่อการซื้อขายรายพิพาทที่จำเลยกระทำต่อผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์มีการชำระเงินสดให้เพียง 100,000 บาท ส่วนราคารถที่เหลืออีก 1,416,000 บาท ผู้ซื้อได้ชำระเป็นเช็ค แม้จะเป็นการผิดระเบียบการขายรถยนต์และข้อบังคับในการ ปล่อยรถยนต์ตามหลักเกณฑ์ที่โจทก์วางไว้ ซึ่งปรากฏต่อมาว่า โจทก์ผู้เป็นนายจ้างไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แต่การที่ผู้ซื้อได้นำเช็ค ฉบับใหม่มาเปลี่ยนถึงสองครั้ง และโจทก์ไม่สามารถ เรียกเก็บเงินตามเช็คที่นำมาแลกเปลี่ยนได้ โจทก์จึง ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีแก่ผู้ซื้อ พฤติการณ์ที่โจทก์กระทำต่อผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าถือได้ว่า โจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากการกระทำของจำเลยซึ่งเป็น ลูกจ้างแล้วและไม่ถือว่าจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์ ทั้งเป็น กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 5 แต่กรณีมิใช่เป็นเรื่องตัวการให้สัตยาบันในการขายรถยนต์ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าขาดราคาจำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยต่อโจทก์ก็ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย เมื่อหนี้รายนี้เป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีเหตุที่ศาลฎีกาควรพิพากษาให้จำเลยที่มิได้อุทธรณ์ให้ได้รับผลเป็นคุณตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3345/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องกรณีลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม ต้องยื่นอุทธรณ์ตามกำหนดเวลา หากไม่ยื่นตามกำหนด จะไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากมาตรา 85แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537บัญญัติให้ นายจ้าง ผู้ประกันตน หรือบุคคลอื่นใดที่ไม่พอใจคำสั่งของเลขาธิการหรือของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งการตามพระราชบัญญัตินี้มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว กรณีของโจทก์เป็นการยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาซึ่งศาลแรงงานได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในข้อ 2 แล้วซึ่งหากกรณีฟังได้ดังที่จำเลยต่อสู้ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8วรรคท้าย ได้บัญญัติไว้ ศาลแรงงานจึงควรพิจารณาในประเด็นข้อ 2 ก่อนว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ แล้วจึงวินิจฉัยในประเด็นข้ออื่นต่อไป การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่วินิจฉัยประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ก่อน ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวข้างต้นศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลแรงงาน ให้ศาลแรงงานพิจารณาและพิพากษา ใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2949/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยในคดีอาญา โดยพิจารณาจากอาการทางจิตหลังเกิดเหตุ และคำรับสารภาพ
จำเลยฎีกาว่าได้กระทำความผิดขณะที่จิตผิดปกติไม่สมประกอบและไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ โดยมิได้เกิดจากเจตนาที่ชั่วร้าย เป็นฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกาใช้ดุลพินิจในการลงโทษจำเลยในสถานเบาและรอการลงโทษให้จำเลย ช่วงเวลาใกล้เคียงก่อนเกิดเหตุไม่ปรากฏว่าจำเลยจะมีอาการป่วยเจ็บอย่างใดและใบรับรองแพทย์แสดงว่าจำเลยเข้ารักษาตัวเป็นระยะเวลาหลังเกิดเหตุนานพอสมควรกรณีไม่สามารถนำมาเป็นเหตุให้ลงโทษจำเลยในสถานเบาและรอการลงโทษให้แก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2889/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคืนการครอบครองและอำนาจฟ้อง: ข้อจำกัดการยกข้อกฎหมายจากพยานนอกเรื่อง
ข้ออ้างของจำเลยที่ว่า โจทก์ในคดีก่อนฟ้องขับไล่จำเลยและได้ถอนฟ้องไปโดยสละสิทธิในการดำเนินคดีใหม่นั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์หรือผู้รับมอบอำนาจในคดีนั้นกระทำการแทนโจทก์ในคดีนี้ ดังนั้น การถอนฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนจึงไม่ผูกพันโจทก์ในคดีนี้ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ได้ไม่ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 176
ที่จำเลยอ้างว่า โจทก์ฟ้องขอคืนซึ่งการครอบครองในที่ดินพิพาทเกินหนึ่งปีนับแต่วันถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นดังกล่าวไว้ แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นอ้างเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142(5) ก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นข้อกฎหมายอันเกิดจากข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ และต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้จากพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในคดีจะต้องนำสืบเท่านั้น หากเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็นแล้ว ศาลจะรับฟังและยกขึ้นวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87
คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า จำเลยมิได้เข้าปลูกบ้านอาศัยในที่ดินพิพาท บ้านเลขที่ตามฟ้องมิใช่บ้านของจำเลย และจำเลยนำสืบว่าจำเลยเข้าไปดูแลบุตรสาวและหลานจำเลยเป็นบางครั้งเท่านั้น ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์จึงเป็นข้อเท็จจริงนอกประเด็น ศาลฎีกาจึงไม่อาจยกข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องตามที่จำเลยฎีกาขึ้นมาได้
of 32