คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย หมวดเมือง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับรองฐานะทางการเงินที่มีข้อความยินดีชำระหนี้แทน ถือเป็นหนังสือค้ำประกัน
ข้อความในเอกสารซึ่งมีความหมายว่า จำเลยที่ 2และที่ 3 ขอรับรองจำเลยที่ 1 ว่ามีฐานะสมควรที่จะเป็นผู้จำหน่ายสินค้าของโจทก์ได้ ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะชำระแทนนั้น เป็นเอกสารที่แสดงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1ในอนาคตและเป็นการค้ำประกันไม่จำกัดจำนวนต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้ในอนาคต: เอกสารรับรองความสามารถทางการเงินและการชำระหนี้แทน
ข้อความในเอกสารซึ่งมีความหมายว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3ขอรับรองจำเลยที่ 1 ว่ามีฐานะสมควรที่จะเป็นผู้จำหน่ายสินค้าของโจทก์ได้ ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะชำระแทนนั้น เป็นเอกสารที่แสดงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในอนาคตและเป็นการค้ำประกันไม่จำกัดจำนวนต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทะเลาะวิวาท และสิทธิในการรับเงินโบนัสหลังการเลิกจ้าง
การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ห้ามทะเลาะวิวาทและกล่าววาจาที่ไม่สุภาพให้ร้ายต่อเพื่อน-ร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชา ป.เป็นลูกจ้างของ ว. ป.จึงไม่ใช่ลูกจ้างจำเลย และไม่ได้เป็นเพื่อนร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชาของโจทก์ การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย หากจะถือว่าเป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับดังกล่าว ก็ไม่ใช่กรณีร้ายแรงอันจำเลยจะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้น เมื่อคดีไม่มีประเด็นว่า ป.เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ เพราะโจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องและข้อเท็จจริงดังกล่าวเกิดจากคำเบิกความของผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลยเป็นข้อเท็จจริงนอกเรื่องนอกประเด็น และไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 การที่จำเลยยกข้อเท็จจริงดังกล่าวเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์อุทธรณ์ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย
ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจาก ป.ทำงานให้แก่จำเลย การกระทำของโจทก์จึงเป็นการผิดวินัยแต่ศาลแรงงานมิได้ชี้ชัดว่า ป.เกี่ยวพันกับจำเลยในฐานะใด เพียงแต่กล่าวว่าป.ทำงานให้แก่จำเลย แต่เมื่อโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานว่า รายงานเหตุการณ์ของแผนก GENERAL AFFAIRSถึงผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลยตามเอกสารหมาย ล.19 ถูกต้องแล้ว ดังนั้นเมื่อได้ความตามเอกสารดังกล่าวว่า หลังจากมีการสอบสวนพนักงานทั้งหมดแล้วแผนก GENERAL AFFAIRS ได้ตักเตือนพนักงานและได้จัดการเกี่ยวกับการทำงานของพนักงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยให้ย้ายพนักงานไปทำงานในบริเวณที่ไกลต่อกันและกัน เพื่อไม่ให้มีการทะเลาะกันอีก จึงเห็นได้ว่า การที่แผนกธุรการฝ่ายบุคคลของจำเลยสั่งย้ายพนักงานซึ่งมี ป.ลูกจ้างของ ว.ซึ่งเป็นผู้รับเหมาทำความสะอาดให้จำเลยรวมอยู่ด้วยนั้น ถือได้แล้วว่า ป.เป็นเพื่อนร่วมงานของโจทก์เพราะโจทก์มีหน้าที่เป็นคนทำสวนของจำเลย ส่วน ป.เป็นพนักงานของผู้รับเหมาทำความสะอาดในที่ทำการของจำเลย แม้ผู้เป็นนายจ้างของโจทก์กับ ป.จะต่างคนกันก็ตาม แต่เมื่อผลของงานที่แต่ละคนดำเนินการไปนั้นตกได้แก่จำเลยแต่ผู้เดียวดังนั้น เมื่อโจทก์ทำร้ายร่างกาย ป.จนได้รับอันตรายสาหัสเช่นนี้ จึงผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ระบุว่าห้ามทะเลาะวิวาทและกล่าววาจาที่ไม่สุภาพให้ร้ายต่อเพื่อนร่วมงานแล้ว
เมื่อสาเหตุที่โจทก์ทำร้ายร่างกาย ป.เนื่องมาจากในระหว่างเวลาทำงาน ขณะ ป.ทำความสะอาดห้องน้ำในโรงงานของจำเลย เป็นเหตุให้น้ำกระเด็นไปถูกเสื้อผ้าของโจทก์ที่ตากไว้เปียกและสกปรก โจทก์ได้ด่าว่า ป.อย่างเสียหาย และหลังจากเลิกงานแล้วยังได้ไปดักทำร้ายร่างกาย ป.นอกที่ทำการของบริษัทจำเลยอีก เมื่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องมาจากการทำงานภายในบริษัทจำเลย กรณีถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์เดียวกัน และเมื่อการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4)จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ.มาตรา 583
โจทก์จงใจอุทธรณ์บิดเบือนโต้แย้งในข้อเท็จจริง ที่ศาลแรงงานรับฟังคำเบิกความของ ช.ว่า ตามระเบียบจำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานเฉพาะผู้ที่ทำงานถึงวันกำหนดจ่ายเงินโบนัส เป็นการไม่ชอบ เพราะ ช.เบิกความขัดกับระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยตามเอกสารหมาย ล.20 ซึ่งไม่มีการกำหนดจ่ายเงินโบนัสไว้นั้น เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่า ช.ไม่ได้เบิกความเกี่ยวโยงถึงเอกสารหมาย ล.20 ไว้เช่นนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาข้อนี้
แม้ตามประกาศของจำเลยเรื่องการจ่ายเงินโบนัส ได้ประกาศก่อนที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์และข้อความในประกาศกำหนดว่าจำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้พนักงานทุกคนหลังจากวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็ตามคำว่า พนักงาน หมายถึง ผู้ซึ่งมีฐานะเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ในวันกำหนดจ่ายเงินโบนัสเท่านั้น เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ไปก่อนวันที่จำเลยกำหนดจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงาน และเมื่อฐานะความเป็นลูกจ้างของโจทก์ย่อมสิ้นไปก่อนถึงวันกำหนดจ่ายเงินโบนัสดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินโบนัสแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดวินัยร้ายแรง แม้เหตุเกิดนอกสถานที่ทำงาน ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ห้ามทะเลาะวิวาทและกล่าววาจาที่ไม่สุภาพให้ร้ายต่อเพื่อนร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชา ป. เป็นลูกจ้างของ ว. ป. จึงไม่ใช่ลูกจ้างจำเลย และไม่ได้เป็นเพื่อนร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชาของโจทก์ การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย หากจะถือว่าเป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับดังกล่าว ก็ไม่ใช่กรณีร้ายแรงอันจำเลยจะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้นเมื่อคดีไม่มีประเด็นว่า ป. เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่เพราะโจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องและข้อเท็จจริงดังกล่าวเกิดจากคำเบิกความของผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลยเป็นข้อเท็จจริงนอกเรื่องนอกประเด็น และไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 การที่จำเลยยกข้อเท็จจริงดังกล่าวเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์อุทธรณ์ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจาก ป. ทำงานให้แก่จำเลย การกระทำของโจทก์จึงเป็นการผิดวินัยแต่ศาลแรงงานมิได้ชี้ชัดว่า ป. เกี่ยวพันกับจำเลยในฐานะใด เพียงแต่กล่าวว่า ป. ทำงานให้แก่จำเลยแต่เมื่อโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานว่า รายงานเหตุการณ์ของแผนก GENERALAFFAIRSถึงผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลยตามเอกสารหมาย ล.19 ถูกต้องแล้วดังนั้นเมื่อได้ความตามเอกสารดังกล่าวว่า หลังจากมีการสอบสวนพนักงานทั้งหมดแล้วแผนก GENERALAFFAIRS ได้ตักเตือนพนักงานและได้จัดการเกี่ยวกับการทำงานของพนักงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยให้ย้ายพนักงานไปทำงานในบริเวณที่ไกลต่อกันและกันเพื่อไม่ให้มีการทะเลาะกันอีก จึงเห็นได้ว่า การที่แผนกธุรการฝ่ายบุคคลของจำเลยสั่งย้ายพนักงานซึ่งมี ป. ลูกจ้างของว. ซึ่งเป็นผู้รับเหมาทำความสะอาดให้จำเลยรวมอยู่ด้วยนั้นถือได้แล้วว่า ป. เป็นเพื่อนร่วมงานของโจทก์เพราะโจทก์มีหน้าที่เป็นคนทำสวนของจำเลย ส่วน ป. เป็นพนักงานของผู้รับเหมาทำความสะอาดในที่ทำการของจำเลย แม้ผู้เป็น นายจ้างของโจทก์กับ ป. จะต่างคนกันก็ตาม แต่เมื่อผลของงานที่แต่ละคนดำเนินการไปนั้นตกได้แก่จำเลยแต่ผู้เดียว ดังนั้นเมื่อโจทก์ทำร้ายร่างกาย ป. จนได้รับอันตรายสาหัสเช่นนี้จึงผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ระบุว่าห้ามทะเลาะวิวาทและกล่าววาจาที่ไม่สุภาพให้ร้ายต่อเพื่อนร่วมงานแล้ว เมื่อสาเหตุที่โจทก์ทำร้ายร่างกาย ป. เนื่องมาจากในระหว่างเวลาทำงาน ขณะ ป. ทำความสะอาดห้องน้ำในโรงงานของจำเลย เป็นเหตุให้น้ำกระเด็นไปถูกเสื้อผ้าของโจทก์ที่ตากไว้เปียกและสกปรก โจทก์ได้ด่าว่า ป. อย่างเสียหายและหลังจากเลิกงานแล้วยังได้ไปดักทำร้ายร่างกาย ป.นอกที่ทำการของบริษัทจำเลยอีก เมื่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องมาจากการทำงานภายในบริษัทจำเลย กรณีถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์เดียวกัน และเมื่อการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 โจทก์จงใจอุทธรณ์บิดเบือนโต้แย้งในข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังคำเบิกความของ ช. ว่า ตามระเบียบจำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานเฉพาะผู้ที่ทำงานถึงวันกำหนดจ่ายเงินโบนัส เป็นการไม่ชอบ เพราะ ช.เบิกความขัดกับระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยตามเอกสารหมาย ล.20 ซึ่งไม่มีการกำหนดจ่ายเงินโบนัสไว้นั้นเมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่า ช. ไม่ได้เบิกความเกี่ยวโยงถึงเอกสารหมาย ล.20 ไว้เช่นนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาข้อนี้ แม้ตามประกาศของจำเลยเรื่องการจ่ายเงินโบนัส ได้ประกาศ ก่อนที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์และข้อความในประกาศกำหนด ว่าจำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้พนักงานทุกคนหลังจากวันที่จำเลย เลิกจ้างโจทก์ก็ตาม คำว่า พนักงาน หมายถึง ผู้ซึ่งมีฐานะเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ในวันกำหนดจ่ายเงินโบนัสเท่านั้นเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ไปก่อนวันที่จำเลยกำหนดจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงาน และเมื่อฐานะความเป็นลูกจ้างของโจทก์ย่อมสิ้นไปก่อนถึงวันกำหนดจ่ายเงินโบนัสดังกล่าวแล้วจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินโบนัสแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องลดโทษตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ โดยพิจารณาจากสถานที่ควบคุมตัวนักโทษ
ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.ฎ. พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 บัญญัติว่า ผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษตาม พ.ร.ฎ. ฉบับนี้ ต้องมีตัวอยู่ในความควบคุมของทางราชการ หรือถูกกักขังไว้ในสถานที่หรือที่อาศัยที่ศาลหรือทางราชการกำหนดในวันที่ พ.ร.ฎ. นี้ใช้บังคับติดต่อกันไปจนถึงวันที่ศาลออกหมายสั่งปล่อยหรือลดโทษ หรือนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งปล่อยหรือลดโทษ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.ฎ. นี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นนักโทษเด็ดขาดในคดีของศาลจังหวัดลพบุรี ซึ่งถูกควบคุมหรือขังอยู่ในเรือนจำกลางบางขวางซึ่งอยู่ในเขตศาลจังหวัดนนทบุรีในวันที่ พ.ร.ฎ. นี้ใช้บังคับ และมาตรา 11 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.ฎ. นี้บัญญัติว่า ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแห่งท้องที่ ผู้พิพากษาศาลแห่งท้องที่หรือตุลาการศาลทหารแห่งท้องที่หนึ่งคนและอัยการแห่งท้องที่หรืออัยการทหารแห่งท้องที่หนึ่งคน รวมสามคนเป็นคณะกรรมการมีหน้าที่ตรวจสอบผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษ และส่งรายชื่อต่อศาลแห่งท้องที่ให้เสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ พ.ร.ฎ. นี้ใช้บังคับ เพื่อความสะดวกแก่ศาลแห่งท้องที่นั้นพิจารณาออกหมายสั่งปล่อยหรือลดโทษแล้วแต่กรณี ฉะนั้นจึงชอบที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดนนทบุรีซึ่งเป็นศาลแห่งท้องที่นั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญา และความรับผิดของกรรมการผู้จัดการ
โจทก์ฟ้องระบุค่าเสียหายไว้ตามรายละเอียดปรากฏตามเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยให้การว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวไม่ใช่หลักฐานแห่งการเป็นหนี้แต่อย่างใด แสดงว่าจำเลยเข้าใจฟ้องโจทก์เป็นอย่างดี ส่วนค่าเสียหายดังกล่าวกระทำขึ้นเมื่อใด วันเดือนปีใด จำนวนกี่ครั้ง ครั้งละเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ เมื่อฟ้องโจทก์บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับครบถ้วนแล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยไม่มีข้อความตอนใดที่ให้สิทธิแก่จำเลยในอันที่จะบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์ กรณีจึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญา การที่จำเลยเป็นผู้บอกเลิกสัญญาแต่ฝ่ายเดียวจึงไม่ชอบ
สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสองมีข้อความชัดแจ้งว่าสัญญานี้ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยที่ 1 ผู้ให้สัญญา ฝ่ายหนึ่ง และโจทก์ที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะห้างหุ้นส่วนจำกัด โจทก์ที่ 1 อีกฝ่ายหนึ่ง เช่นนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน, การบอกเลิกสัญญา, ความรับผิดร่วมของกรรมการบริษัท
โจทก์ฟ้องระบุค่าเสียหายไว้ตามรายละเอียดปรากฏตามเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยให้การว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวไม่ใช่หลักฐานแห่งการเป็นหนี้แต่อย่างใด แสดงว่าจำเลยเข้าใจฟ้องโจทก์เป็นอย่างดี ส่วนค่าเสียหายดังกล่าวกระทำขึ้นเมื่อใด วันเดือนปีใด จำนวนกี่ครั้งครั้งละเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ เมื่อฟ้องโจทก์บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับครบถ้วนแล้ว จึงไม่เคลือบคลุม สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยไม่มีข้อความตอนใดที่ให้สิทธิแก่จำเลยในอันที่จะบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์ กรณีจึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญา การที่จำเลยเป็นผู้บอกเลิกสัญญาแต่ฝ่ายเดียวจึงไม่ชอบ สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสองมีข้อความชัดแจ้งว่าสัญญานี้ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยที่ 1 ผู้ให้สัญญาฝ่ายหนึ่ง และโจทก์ที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะห้างหุ้นส่วนจำกัด โจทก์ที่ 1 อีกฝ่ายหนึ่ง เช่นนี้ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องฟ้องไม่ชัดเจน ความผิดหลายกรรม และขอบเขตการฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานนำเข้ายางกัญชาและฐานพยายามส่งออกยางกัญชา จำคุกกระทงละ 2 ปี โดยปรับบทว่าความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเป็นกรรมเดียวกับฐานพยายามส่งออก ให้ลงโทษฐานพยายามส่งออกซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โดยยังคงให้ลงโทษจำเลยฐานนำเข้ายางกัญชา และฐานพยายามส่งออกยางกัญชา จำคุกกระทงละ 2 ปี แต่ปรับบท เป็นว่าความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเป็นกรรมเดียวกับฐานนำเข้า ให้ลงโทษฐานนำเข้าอันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ดังนี้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า การกระทำของจำเลยมีเจตนาเดียวคือนำยางกัญชา ของกลางจำนวนเดียวกันจากประเทศเนปาลเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยทางเครื่องบินเพื่อไปเขตบริหารพิเศษฮ่องกง โดยจำเลยครอบครองยางกัญชาจำนวนดังกล่าวต่อเนื่องกันจนกระทั่งถูกจับการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานมียางกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเพียงกรรมเดียว ไม่เป็นความผิดฐานนำเข้าและพยายามส่งออกยางกัญชาดังกล่าวแต่อย่างใด แต่โจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำของจำเลยว่าเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายจึงมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยยกขึ้นอ้างได้แม้จะไม่ได้ยกขึ้นในศาลล่างทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225 โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่20 ธันวาคม 2539 จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันกล่าวคือ ก. จำเลยมียางกัญชา จำนวน 15 แท่ง น้ำหนัก 4,974 กรัม ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ข.จำเลย นำยางกัญชาตามข้อ ก. จากประเทศเนปาลเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยทางเครื่องบิน และ ค. หลังจากนั้น จำเลยส่งยางกัญชาซึ่งจำเลยมีไว้ในครอบครองตามข้อ ก. และนำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยตามข้อ ข. ออกนอกราชอาณาจักรไทยโดยทางเครื่องบินไปยังเขตบริหารพิเศษฮ่องกง จำเลยลงมือกระทำความผิดแล้วแต่กระทำไปไม่ตลอด เพราะเจ้าพนักงานตรวจพบก่อนที่จำเลยจะขึ้นเครื่องบิน เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยกระเป๋า 1 ใบ รองเท้า 1 คู่ ซึ่งจำเลยใช้ซุกซ่อนยางกัญชาดังกล่าวเป็นของกลาง เหตุเกิดที่แขวงตลาดบางเขนเขตดอนเมืองกรุงเทพมหานครดังนี้ฟ้องโจทก์ข้อค.ได้กล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดในข้อหาพยายามส่งยางกัญชาของกลางออกนอกราชอาณาจักรโดยกล่าวถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางแผนร่วมกันฆ่าโดยเจตนาและทารุณโหดร้าย การรับสารภาพที่ไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษ
วันเกิดเหตุเวลาประมาณ 2 นาฬิกา ขณะที่นาง ส.นอนหลับอยู่ในห้องนอนชั้นสองของบ้านหลังใหญ่ ได้ยินเสียงโครมครามดังมาจากชั้นสามที่ผู้ตายนอนอยู่ นางส.วิ่งไปบอก ให้ม.ไปดูผู้ตาย แต่เปิดประตูห้องนอนของผู้ตายไม่ได้ ม. และคนงานช่วยกันใช้ชะแลงงัดประตูระหว่างที่งัดประตูได้ยินเสียงผู้ตายตะโกนว่า "มึงมาทำกูทำไมวะ" แล้วมีเสียงยามตะโกนว่านั่นไงคนร้ายม.หันไปเห็นคนร้ายกำลังโหน ตัวลงมาจากชั้นสามจึงวิ่งจากชั้นสองไปออกประตูห้องครัวชั้นล่าง ขณะกำลังเปิดประตูห้องครัวออกไป คนร้ายซึ่งวิ่งไปถึงกำแพงรั้วยิงปืนมาแต่ไม่ถูกผู้ใด ม. ยิงปืนสวนกลับไปกระสุนปืนถูกคนร้ายที่สะโพก คนร้ายล้มฟุบอยู่ที่ข้างกำแพง ม. จึงเข้าไปจับคนร้ายคือจำเลยที่ 1 ได้และพบอาวุธปืนตกอยู่ข้างตัวจำเลยที่ 1 หลังจากนั้น ม.กลับไปดูผู้ตายโดยมีเจ้าพนักงานตำรวจมาช่วยงัดประตูขึ้นไปชั้นสามได้ พบผู้ตายนอนตายอยู่ในห้องมีบาดแผลถูกมีดฟันหลายแผลและพบมีดสปาต้า ตกอยู่ในห้องที่เกิดเหตุ ดังนี้แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานมาเบิกความประกอบแต่ข้อเท็จจริงก็รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยใช้มีดสปาต้า ของกลางฟันผู้ตายหลายครั้งโดยทารุณโหดร้ายโดยเจตนาฆ่าและโดยไตร่ตรองไว้ก่อน โดยไม่จำเป็นต้องนำคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 มาประกอบการพิจารณาการที่จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ จึงเป็นการรับสารภาพโดยจำนวน ต่อพยานหลักฐานไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีอันจะเป็นเหตุบรรเทาโทษให้ได้รับการลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารตกลงชดใช้ค่าเสียหายไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหากไม่มีข้อตกลงที่ชัดเจนและสละข้อเรียกร้องทั้งหมด
บันทึกข้อตกลงในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมีข้อความว่า วันนี้คู่กรณีทั้งสามฝ่ายได้ตกลงชดใช้ค่าเสียหายกันโดยฝ่าย ช.(จำเลยที่ 1) ซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้กับรถยนต์ตู้หมายเลขทะเบียน ม-3558 ภูเก็ต โดยรับซ่อมให้อยู่ ในสภาพใช้การได้ดีเหมือนเดิม และรับชดใช้ค่าโทรทัศน์สี 14 นิ้วที่ได้รับความเสียหายครั้งนี้ และในวันที่ 31 มกราคม 2537 จะนำเงินมาชำระค่าซ่อมรถยนต์ตู้ล่วงหน้าก่อนจำนวน 30,000 บาทคู่กรณีทั้งสามฝ่ายสามารถตกลงกันได้ จึงได้มอบรถยนต์ให้ต่างฝ่ายต่างรับคืนไปถูกต้องแล้วแต่เวลานี้ ข้อความในบันทึกดังกล่าวแสดงเพียงว่า จำเลยที่ 1 ยอมรับผิดว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายและตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์โดยรับซ่อมรถยนต์ตู้และรับชดใช้ค่าโทรทัศน์เท่านั้น ไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะต้องชำระและวิธีการชำระตลอดจนระยะเวลาที่แน่นอนอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก และหาได้มีข้อความโดยแจ้งชัดว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทโดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้นแต่อย่างใดไม่ ข้อความในเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ
of 32