คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย หมวดเมือง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการพิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและการนำสืบพยานเพิ่มเติม
การร้องขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่เพื่ออนุญาตให้นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าเป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156วรรคสี่นั้น กฎหมายมิได้บังคับว่าเมื่อมีผู้ยื่นคำร้องขอดังกล่าวศาลจะต้องอนุญาตและทำการไต่สวน จึงเป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้แล้วแต่พฤติการณ์แห่งคดี เมื่อคำร้องขอไม่ได้ระบุว่าจำเลยมีพยานหลักฐานเพิ่มเติมอื่นใดอันจะทำให้เห็นว่าฐานะของจำเลยมิได้เป็นดังเช่นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้ว จึงเป็นการยื่นคำร้องขอที่เลื่อนลอย ไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8216/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลมีอำนาจสั่งแม้ยังไม่ได้รวบรวมทรัพย์มรดก
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นมีเพียงว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ คดีไม่มีประเด็นว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอะไรบ้างหรือไม่ เพราะขั้นตอนดังกล่าวเป็นเรื่องการรวบรวมทรัพย์มรดกหลังจากที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกไปแล้ว หากการรวบรวมทรัพย์มรดกของผู้ตายดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านโต้แย้งได้ ผู้คัดค้านก็ชอบที่จะดำเนินคดีเอาแก่ผู้ร้องได้เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านของผู้ร้องคัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8216/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ประเด็นการตั้งผู้จัดการมรดกแยกจากประเด็นการพิสูจน์ทรัพย์มรดก
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นมีเพียงว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ คดีไม่มีประเด็นว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอะไรบ้างหรือไม่ เพราะขั้นตอนดังกล่าวเป็นเรื่องการรวบรวมทรัพย์มรดกหลังจากที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกไปแล้ว หากการรวบรวมทรัพย์มรดกของผู้ตายดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านโต้แย้งได้ ผู้คัดค้านก็ชอบที่จะดำเนินคดีเอาแก่ผู้ร้องได้เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก จึง ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านของผู้ร้องคัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8182/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่สมบูรณ์ - ขาดรายละเอียดสำคัญ
ตามเอกสารมีข้อความว่า ค่าเสียหายของรถยนต์บรรทุกกระบะจำเลยยินยอมชดใช้ให้ทั้งสิ้นตามสภาพความเสียหายที่เป็นจริง ไม่มีรายละเอียดว่าจำเลยจะต้องชดใช้เงินตามความเสียหายที่เป็นจริงนั้น จำนวนเท่าใด และไม่ปรากฏวันเดือนปีที่ถึงกำหนดชำระแก่กันเมื่อใด ชำระกันที่ไหนอย่างไร ข้อความตามเอกสารดังกล่าวยังไม่ชัดแจ้งพอที่จะถือว่าโจทก์ได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนแล้ว อันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8182/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่ไม่ชัดเจน ไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากนายจ้างได้
ตามเอกสารมีข้อความว่า ค่าเสียหายของรถยนต์บรรทุกกระบะ จำเลยยินยอมชดใช้ให้ทั้งสิ้นตามสภาพความเสียหายที่เป็นจริง ไม่มีรายละเอียดว่าจำเลยจะต้องชดใช้เงินตามความเสียหาย ที่เป็นจริงนั้น จำนวนเท่าใด และไม่ปรากฏวันเดือนปีที่ ถึงกำหนดชำระแก่กันเมื่อใด ชำระกันที่ไหนอย่างไร ข้อความ ตามเอกสารดังกล่าวยังไม่ชัดแจ้งพอที่จะถือว่าโจทก์ได้สิทธิ ตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนแล้ว อันจะทำให้ ปราศจากการโต้แย้งกันอีก จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8121/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการแบ่งทรัพย์สินรวม: เจ้าของรวมมีสิทธิเรียกแบ่งได้โดยไม่ต้องฟ้องทุกคน
ป.พ.พ.มาตรา 1363 บัญญัติให้เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้ โดยมิได้บังคับให้เจ้าของรวมผู้ประสงค์จะให้แบ่งทรัพย์สินต้องฟ้องผู้มีกรรมสิทธิ์รวมทุกคน และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีนิติกรรมขัดอยู่ ทั้งวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทก็ไม่มีลักษณะเป็นการถาวร โจทก์ในฐานะที่เป็นเจ้าของรวมร่วมกับจำเลยบุคคลอื่นอีก จึงมีสิทธิเรียกขอให้แบ่งที่ดินพิพาทดังกล่าวให้แก่ตนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1363
การที่โจทก์เรียกให้แบ่งที่ดินพิพาทซึ่งอาจต้องดำเนินการแบ่งตามวิธีการที่ ป.พ.พ.มาตรา 1364 กำหนดไว้นั้น มิใช่เป็นการเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรตามมาตรา 1363 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8121/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของรวมเรียกแบ่งทรัพย์สิน แม้ยังตกลงเขตแดนไม่ได้ และการฟ้องแบ่งไม่จำกัดเฉพาะผู้มีกรรมสิทธิ์รวมทุกราย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 บัญญัติให้เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้โดยมิได้บังคับให้เจ้าของรวมผู้ประสงค์จะให้แบ่งทรัพย์สินต้องฟ้องผู้มีกรรมสิทธิ์รวมทุกคน และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีนิติกรรมขัดอยู่ ทั้งวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทก็ไม่มีลักษณะเป็นการถาวร โจทก์ในฐานะที่เป็นเจ้าของรวมร่วมกับจำเลยบุคคลอื่นอีก จึงมีสิทธิเรียกขอให้แบ่งที่ดินพิพาทดังกล่าวให้แก่ตนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 การที่โจทก์เรียกให้แบ่งที่ดินพิพาทซึ่งอาจต้องดำเนินการแบ่งตามวิธีการที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364กำหนดไว้นั้น มิใช่เป็นการเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรตามมาตรา 1363 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8040/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยิงเพื่อป้องกันตนต้องมีเหตุอันตรายใกล้จะถึง การกระทำเป็นกรรมต่างกัน
แม้ว่าโจทก์ร่วมที่ 1 จะใช้แขนรัดคอจำเลย แต่ก็ไม่ปรากฏว่า โจทก์ร่วมที่ 1 มีอาวุธใด ๆ ที่จะใช้ทำร้ายจำเลย การที่จำเลยบอกให้โจทก์ร่วมที่ 1 ซึ่งใช้แขนรัดคอปล่อยตัวจำเลยแต่โจทก์ที่ 1 ไม่ยอมปล่อย จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมที่ 1 หลายนัด โดยโจทก์ร่วมที่ 1 ไม่มีอาวุธใด ๆที่จะใช้ทำร้ายจำเลยได้นั้น จำเลยจะอ้างว่าเป็นการยิงเพื่อป้องกันตนโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ เมื่อจำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมทั้งสองโดยเจตนาฆ่าและจำเลยลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่การกระทำดังกล่าวไม่บรรลุผล เพียงแต่ทำให้โจทก์ร่วมทั้งสองได้รับอันตรายสาหัสและการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าโจทก์ร่วมทั้งสอง การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมที่ 1 เพื่อให้โจทก์ร่วมที่ 1 ซึ่งใช้แขนรัดคอปล่อยจำเลย และยิง โจทก์ร่วมที่ 2 โดยอ้างว่าโจทก์ร่วมที่ 2 ถือมีดจะเข้ามาแทง จำเลยเพื่อช่วยเหลือโจทก์ที่ 1 การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อบุคคลต่างคนกัน และเป็นคนละขั้นตอน มิใช่เป็นการยิงในคราวเดียวต่อเนื่องกัน จึงเป็นความผิดคนละกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8040/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยิงเพื่อป้องกันตนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และความผิดฐานพยายามฆ่า
แม้ว่าโจทก์ร่วมที่ 1 จะใช้แขนรัดคอจำเลย แต่ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมที่ 1 มีอาวุธใด ๆ ที่จะใช้ทำร้ายจำเลย การที่จำเลยบอกให้โจทก์ร่วมที่ 1ซึ่งใช้แขนรัดคอปล่อยตัวจำเลย แต่โจทก์ร่วมที่ 1 ไม่ยอมปล่อย จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมที่ 1 หลายนัด โดยโจทก์ร่วมที่ 1 ไม่มีอาวุธใด ๆ ที่จะใช้ทำร้ายจำเลยได้นั้น จำเลยจะอ้างว่าเป็นการยิงเพื่อป้องกันตนโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่
เมื่อจำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมทั้งสองโดยเจตนาฆ่า และจำเลยลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่การกระทำดังกล่าวไม่บรรลุผล เพียงแต่ทำให้โจทก์ร่วมทั้งสองได้รับอันตรายสาหัส และการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าโจทก์ร่วมทั้งสอง
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมที่ 1 เพื่อให้โจทก์ร่วมที่ 1 ซึ่งใช้แขนรัดคอปล่อยตัวจำเลย และยิงโจทก์ร่วมที่ 2 โดยอ้างว่าโจทก์ร่วมที่ 2 ถือมีดจะเข้ามาแทงจำเลยเพื่อช่วยเหลือโจทก์ร่วมที่ 1 การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อบุคคลต่างคนกัน และเป็นคนละขั้นตอน มิใช่เป็นการยิงในคราวเดียวต่อเนื่องกัน จึงเป็นความผิดคนละกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7983/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีของโจทก์ทำให้จำเลยได้รับความเดือดร้อนและกระทบต่อการดำเนินคดีของศาล
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีอาญา แต่โจทก์ไม่เอาใจใส่ในการดำเนินกระบวนพิจารณา มีลักษณะเป็นการประวิงคดีทำให้จำเลยทั้งสามได้รับความเดือดร้อน ทั้งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลล่าช้าได้รับการตำหนิจากสังคมส่วนรวม จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 181 และข้อที่โจทก์อ้างว่า ทนายโจทก์พลั้งเผลอจดเวลานัดของศาลในวันที่ 26 เมษายน 2539ผิดพลาดจากเวลา 9.00 นาฬิกา เป็นเวลา 13.30 นาฬิกาและทนายโจทก์ได้มาศาลในเวลา 13.30 นาฬิกา เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องแจ้งเหตุดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นในวันนั้นและคดีไม่มีเหตุสมควรที่จะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์เสีย
of 32