คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย หมวดเมือง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7983/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีและการยกฟ้องเนื่องจากความไม่เอาใจใส่ของโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีอาญา แต่โจทก์ไม่เอาใจใส่ในการดำเนินกระบวนพิจารณา มีลักษณะเป็นการประวิงคดี ทำให้จำเลยทั้งสามได้รับความเดือดร้อน ทั้งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลล่าช้าได้รับการตำหนิจากสังคมส่วนรวม จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 166 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 181 และข้อที่โจทก์อ้างว่า ทนายโจทก์พลั้งเผลอจดเวลานัดของศาลในวันที่ 26 เมษายน 2539ผิดพลาดจากเวลา 9.00 นาฬิกา เป็นเวลา 13.30 นาฬิกา และทนายโจทก์ได้มาศาลในเวลา 13.30 นาฬิกา เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องแจ้งเหตุดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นในวันนั้น และคดีไม่มีเหตุสมควรที่จะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์เสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7850/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานนอกคำฟ้องในความผิดฐานทำไม้ การบรรยายฟ้องต้องครอบคลุมการกระทำทั้งหมด
แม้ตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 4(5) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ให้นิยามความหมายของคำว่า "ทำไม้" นอกจากจะ หมายความว่า "ตัด""ฟัน" "ทอน" แล้วยังรวมถึง "ชักลาก" ด้วยก็ตาม แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้อง ว่า จำเลยทำไม้โดยตัดฟันออกจากต้นแล้วทอนเป็นท่อน ๆ โดยจำเลยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนี้ข้อที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยชักลากไม้ออกจากป่า เป็นข้อเท็จจริงนอกเหนือคำฟ้องจึงรับฟังลงโทษจำเลยฐานทำไม้โดยการชักลากไม้ออกจากป่าไม่ได้ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7850/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการทำไม้ตามฟ้อง: การชักลากไม้เกินคำฟ้อง
แม้ตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 4 (5) แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้พ.ศ.2484 และ มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ให้นิยามความหมายของคำว่า "ทำไม้" นอกจากจะหมายความว่า "ตัด" "ฟัน""ทอน" แล้วยังรวมถึง "ชักลาก" ด้วยก็ตาม แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำไม้โดยตัดฟันออกจากต้นแล้วทอนเป็นท่อน ๆ โดยจำเลยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ดังนี้ ข้อที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยชักลากไม้ออกจากป่า เป็นข้อเท็จจริงนอกเหนือคำฟ้องจึงรับฟังลงโทษจำเลยฐานทำไม้โดยการชักลากไม้ออกจากป่าไม่ได้ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากการเลิกกิจการ ไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม หากปฏิบัติตามข้อตกลงและจ่ายเงินครบถ้วน
กรณีที่จะไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมมิใช่จะมีได้เฉพาะแต่ตามที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1)ถึง (5) เท่านั้น กรณีอื่นนอกเหนือจากนี้ก็อาจมีได้
นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับแต่กฎหมายมาตราดังกล่าวก็ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า หากลูกจ้างกระทำการมิชอบอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (5) นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ ดังนี้ เมื่อกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างกระทำการมิชอบเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าลูกจ้างจะกระทำการดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อกิจการของนายจ้างยังคงดำเนินอยู่เท่านั้น หากกิจการของนายจ้างถูกเลิกไปลูกจ้างก็ไม่อาจกระทำการเช่นนั้นได้การที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
กรณีที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุผลของการเลิกกิจการเป็นสำคัญกับต้องพิจารณาด้วยว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำกันไว้มีว่าอย่างไร เพราะข้อตกลงนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตาม ตลอดจนนายจ้างได้จ่ายเงินผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นใดอันทำให้เห็นได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำที่ทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายโดยปราศจากความชอบธรรมที่จะทำได้
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่โจทก์กับสหภาพแรงงานค. ทำกันไว้ มีข้อตกลงเลิกจ้างในกรณีมีความจำเป็นต้องลดคนงานหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดไว้ด้วย หากมีการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวก็ให้นายจ้างจ่ายเงินต่าง ๆ ตามข้อตกลงให้แก่ลูกจ้าง การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดเนื่องจากโจทก์เลิกกิจการถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดดังที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดไว้เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งเงินที่ต้องจ่ายตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดรับไปครบถ้วน อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์เลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเลิกกิจการและการปฏิบัติตามข้อตกลงสภาพการจ้าง มิใช่การกระทำอันไม่เป็นธรรม
กรณีที่จะไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมมิใช่จะมีได้เฉพาะแต่ตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 บัญญัติไว้ในอนุมาตรา(1) ถึง (5) เท่านั้น กรณีอื่นนอกเหนือจากนี้ก็อาจมีได้
นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับแต่กฎหมายมาตราดังกล่าวก็ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า หากลูกจ้างกระทำการมิชอบอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (5) นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ ดังนี้ เมื่อกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างกระทำการมิชอบเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าลูกจ้างจะกระทำการดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อกิจการของนายจ้างยังคงดำเนินอยู่เท่านั้น หากกิจการของนายจ้างถูกเลิกไปลูกจ้างก็ไม่อาจกระทำการเช่นนั้นได้ การที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
กรณีที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุผลของการเลิกกิจการเป็นสำคัญกับต้องพิจารณาด้วยว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำกันไว้มีว่าอย่างไร เพราะข้อตกลงนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตาม ตลอดจนนายจ้างได้จ่ายเงินผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นใดอันทำให้เห็นได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำที่ทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายโดยปราศจากความชอบธรรมที่จะทำได้
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่โจทก์กับสหภาพแรงงาน ค.ทำกันไว้ มีข้อตกลงเลิกจ้างในกรณีมีความจำเป็นต้องลดคนงานหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดไว้ด้วย หากมีการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวก็ให้นายจ้างจ่ายเงินต่าง ๆ ตามข้อตกลงให้แก่ลูกจ้าง การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดเนื่องจากโจทก์เลิกกิจการ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดดังที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดไว้ เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งเงินที่ต้องจ่ายตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดรับไปครบถ้วน อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์เลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเลิกกิจการ ไม่ถือเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม หากปฏิบัติตามข้อตกลงและกฎหมาย
กรณีที่จะไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมมิใช่จะมีได้เฉพาะแต่ตามที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1)ถึง (5) เท่านั้น กรณีอื่นนอกเหนือจากนี้ก็อาจมีได้
นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับแต่กฎหมายมาตราดังกล่าวก็ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า หากลูกจ้างกระทำการมิชอบอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (5) นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ ดังนี้ เมื่อกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างกระทำการมิชอบเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าลูกจ้างจะกระทำการดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อกิจการของนายจ้างยังคงดำเนินอยู่เท่านั้น หากกิจการของนายจ้างถูกเลิกไปลูกจ้างก็ไม่อาจกระทำการเช่นนั้นได้การที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
กรณีที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุผลของการเลิกกิจการเป็นสำคัญกับต้องพิจารณาด้วยว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำกันไว้มีว่าอย่างไร เพราะข้อตกลงนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตาม ตลอดจนนายจ้างได้จ่ายเงินผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นใดอันทำให้เห็นได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำที่ทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายโดยปราศจากความชอบธรรมที่จะทำได้
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่โจทก์กับสหภาพแรงงานค. ทำกันไว้ มีข้อตกลงเลิกจ้างในกรณีมีความจำเป็นต้องลดคนงานหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดไว้ด้วย หากมีการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวก็ให้นายจ้างจ่ายเงินต่าง ๆ ตามข้อตกลงให้แก่ลูกจ้าง การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดเนื่องจากโจทก์เลิกกิจการถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดดังที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดไว้เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งเงินที่ต้องจ่ายตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดรับไปครบถ้วน อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์เลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7328/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเรียกหนี้ลูกหนี้ร่วมได้โดยไม่จำต้องบังคับพร้อมกัน
เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาอยู่ด้วยคนหนึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้สิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ย่อมได้เพราะเป็นสิทธิของโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยโจทก์ไม่จำต้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 พร้อมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7328/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ในการบังคับคดีลูกหนี้ร่วม - ไม่จำเป็นต้องบังคับพร้อมกัน
เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาอยู่ด้วยคนหนึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้สิ้นเชิงหรือ แต่โดยส่วนก็ย่อมได้เพราะเป็นสิทธิของโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยโจทก์ไม่จำต้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 พร้อมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7328/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดีลูกหนี้ร่วมได้โดยไม่ต้องบังคับพร้อมกัน
เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาอยู่ด้วยคนหนึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้สิ้นเชิงหรือ แต่โดยส่วนก็ย่อมได้เพราะเป็นสิทธิของโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยโจทก์ไม่จำต้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 พร้อมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7283-7285/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ตัดสิทธิโจทก์ฟ้องอาญาเช็ค การยอมความต้องชัดเจน
จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้เอกสารหมาย จ.1 มีความโดยสรุปว่า จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ ทำหนังสือสัญญาฉบับนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ เพื่อตกลงหักกลบลบหนี้และแปลงหนี้ตามสัญญาฉบับอื่นโดยจำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์รวมเป็นเงินทั้งสิ้น2,100,000 บาท ซึ่งเป็นเรื่องหนี้สินที่ค้างชำระกันอยู่ก่อนแล้วจึงตกลงทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวขึ้นโดยจำเลยยอมผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ ด้วยการออกเช็คพิพาทจำนวน 11 ฉบับ ให้แก่โจทก์ ดังนี้ เมื่อเช็คพิพาททั้งหมดธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินความผิดในทางอาญาของจำเลยจึงเกิดขึ้นนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับเป็นต้นไป และเมื่อข้อตกลงตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวไม่มีผลผูกพันให้สิทธิฟ้องคดีอาญาเช็คพิพาททั้งหมดระงับไปเนื่องจากไม่มีข้อความใดแสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้จะไม่ฟ้องหรือดำเนินคดีอาญากับลูกหนี้ คงเป็นเพียงข้อตกลงที่ลูกหนี้รับว่าเป็นหนี้และจะชดใช้หนี้ให้โจทก์อันเป็นสิทธิทางแพ่งที่โจทก์สามารถเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้อีกทางหนึ่งเท่านั้น กรณีจึงไม่ใช่เป็นการยอมความอันมีผลให้สิทธิการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทของโจทก์ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
of 32