คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย หมวดเมือง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7283-7285/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ตัดสิทธิโจทก์ฟ้องอาญาเช็ค การยอมความต้องชัดเจน
จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้เอกสารหมาย จ.1 มีความโดยสรุปว่า จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ ทำหนังสือสัญญาฉบับนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ เพื่อตกลงหักกลบลบหนี้และแปลงหนี้ตามสัญญาฉบับอื่นโดยจำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์รวมเป็นเงินทั้งสิ้น2,100,000 บาท ซึ่งเป็นเรื่องหนี้สินที่ค้างชำระกันอยู่ก่อนแล้วจึงตกลงทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวขึ้นโดยจำเลยยอมผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ ด้วยการออกเช็คพิพาทจำนวน 11 ฉบับ ให้แก่โจทก์ ดังนี้ เมื่อเช็คพิพาททั้งหมดธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินความผิดในทางอาญาของจำเลยจึงเกิดขึ้นนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับเป็นต้นไป และเมื่อข้อตกลงตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวไม่มีผลผูกพันให้สิทธิฟ้องคดีอาญาเช็คพิพาททั้งหมดระงับไปเนื่องจากไม่มีข้อความใดแสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้จะไม่ฟ้องหรือดำเนินคดีอาญากับลูกหนี้ คงเป็นเพียงข้อตกลงที่ลูกหนี้รับว่าเป็นหนี้และจะชดใช้หนี้ให้โจทก์อันเป็นสิทธิทางแพ่งที่โจทก์สามารถเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้อีกทางหนึ่งเท่านั้น กรณีจึงไม่ใช่เป็นการยอมความอันมีผลให้สิทธิการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทของโจทก์ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6848/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน เมื่อไม่รังวัดแบ่งแยกตามสัญญา และการอ้างข้อตกลงภาระจำยอมเพิ่มเติมเป็นข้อห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่สัญญาใด ๆ กับจำเลย จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน และแม้ว่าจะเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ที่ 1 แต่เมื่อไม่ปรากฏชื่อของโจทก์ที่ 2 ในกิจการค้าขายดังนี้โจทก์ที่ 2 ถือเอาสิทธิใด ๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนหาได้ไม่ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนของที่ดินจำเลย เมื่อจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์เป็นเจ้าของรวมแล้ว จำเลยยังมีหน้าที่ตามสัญญาจะต้องดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ การที่จำเลยนำสืบต่อสู้คดีว่า ในการซื้อขายที่ดินโจทก์ตกลงกับจำเลยว่าจะจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินที่ซื้อจากจำเลยให้แก่ที่ดินของจำเลยในส่วนที่เหลือ โดยจะระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขาย แต่ในวันทำสัญญากลับไม่มีข้อตกลงดังกล่าว โจทก์บอกว่าจะไปจดทะเบียนภารจำยอมให้ในภายหลัง แต่แล้วกลับไม่ยอมจดทะเบียนภารจำยอมให้ตามข้อตกลงนั้น เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาจะซื้อจะขายว่ายังมีข้อตกลงดังกล่าวอยู่อีกนอกเหนือไปจากสัญญา เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ไม่อาจรับฟังได้ ดังนั้น จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
เงินกู้และดอกเบี้ยรวมทั้งค่าธรรมเนียมออกตั๋วแลกเงินในการที่โจทก์ซื้อที่ดินมาดำเนินการตามโครงการตลอดจนค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ถูกเจ้าหนี้ฟ้องเรียกเงินกู้ และค่าเสียหายจากการเสียชื่อเสียง มิใช่ความเสียหายโดยตรงอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพราะจำเลยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์เป็นเจ้าของรวมตามส่วนที่ได้ซื้อจากจำเลยตามสัญญาแล้ว
ความเสียหายในส่วนของกำไรที่คาดว่าจะได้จากการปลูกบ้านจัดสรรขายซึ่งเป็นเพียงความหวังของโจทก์ ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าจะได้กำไรดังที่คาดหมายหรือไม่จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ
การที่โจทก์ไม่สามารถนำที่ดินที่ซื้อจากจำเลยไปใช้ประโยชน์ได้ย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ย่อมเสียหายขาดประโยชน์ที่จะพึงได้ ความเสียหายในส่วนนี้จึงเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการผิดสัญญาของจำเลยแม้ว่าจะยังฟังไม่ได้ว่าเป็นจำนวนเท่าใด ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6848/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน, การผิดสัญญา, ความเสียหายที่เกิดขึ้น, และอำนาจฟ้องของโจทก์
โจทก์ที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่สัญญาใด ๆ กับจำเลย จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน และแม้ว่าจะเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ที่ 1 แต่เมื่อไม่ปรากฏชื่อของโจทก์ที่ 2 ในกิจการค้าขาย ดังนี้โจทก์ที่ 2 ถือเอาสิทธิใด ๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนหาได้ไม่ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนของที่ดินจำเลย เมื่อจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์เป็นเจ้าของรวมแล้ว จำเลยยังมีหน้าที่ตามสัญญาจะต้องดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ การที่จำเลยนำสืบต่อสู้คดีว่าในการซื้อขายที่ดินโจทก์ตกลงกับจำเลยว่าจะจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินที่ซื้อจากจำเลยให้แก่ที่ดินของจำเลยในส่วนที่เหลือ โดยจะระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายแต่ในวันทำสัญญากลับไม่มีข้อตกลงดังกล่าว โจทก์บอกว่าจะไปจดทะเบียนภาระจำยอมให้ในภายหลัง แต่แล้วกลับไม่ยอมจดทะเบียนภาระจำยอมให้ตามข้อตกลงนั้น เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาจะซื้อจะขายว่ายังมีข้อตกลงดังกล่าวอยู่อีกนอกเหนือไปจากสัญญา เป็นการต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) ไม่อาจรับฟังได้ ดังนั้น จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
เงินกู้และดอกเบี้ยรวมทั้งค่าธรรมเนียมออกตั๋วแลกเงินในการที่โจทก์ซื้อที่ดินมาดำเนินการตามโครงการตลอดจนค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ถูกเจ้าหนี้ฟ้องเรียกเงินกู้ และค่าเสียหายจากการเสียชื่อเสียง มิใช่ความเสียหายโดยตรงอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทเพราะจำเลยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์เป็นเจ้าของรวมตามส่วนที่ได้ซื้อจากจำเลยตามสัญญาแล้ว
ความเสียหายในส่วนของกำไรที่คาดว่าจะได้จากการปลูกบ้านจัดสรรขาย ซึ่งเป็นเพียงความหวังของโจทก์ ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าจะได้กำไรดังที่คาดหมายหรือไม่ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ
การที่โจทก์ไม่สามารถนำที่ดินที่ซื้อจากจำเลยไปใช้ประโยชน์ได้ย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ย่อมเสียหายขาดประโยชน์ที่จะพึงได้ ความเสียหายในส่วนนี้จึงเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการผิดสัญญาของจำเลยแม้ว่าจะยังฟังไม่ได้ว่าเป็นจำนวนเท่าใด ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6848/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน, การผิดสัญญา, การแบ่งแยกที่ดิน, ภารจำยอม, การกำหนดค่าเสียหาย
โจทก์ที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่สัญญาใด ๆ กับจำเลย จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน และแม้ว่าจะเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ที่ 1 แต่เมื่อไม่ปรากฏชื่อของโจทก์ที่ 2 ในกิจการค้าขายดังนี้โจทก์ที่ 2 ถือเอาสิทธิใด ๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนหาได้ไม่ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนของที่ดินจำเลย เมื่อจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์เป็นเจ้าของรวมแล้ว จำเลยยังมีหน้าที่ตามสัญญาจะต้องดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ การที่จำเลยนำสืบต่อสู้คดีว่า ในการซื้อขายที่ดินโจทก์ตกลงกับจำเลยว่าจะจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินที่ซื้อจากจำเลยให้แก่ที่ดินของจำเลยในส่วนที่เหลือ โดยจะระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขาย แต่ในวันทำสัญญากลับไม่มีข้อตกลงดังกล่าว โจทก์บอกว่าจะไปจดทะเบียนภารจำยอมให้ในภายหลัง แต่แล้วกลับไม่ยอมจดทะเบียนภารจำยอมให้ตามข้อตกลงนั้น เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาจะซื้อจะขายว่ายังมีข้อตกลงดังกล่าวอยู่อีกนอกเหนือไปจากสัญญา เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ไม่อาจรับฟังได้ ดังนั้น จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
เงินกู้และดอกเบี้ยรวมทั้งค่าธรรมเนียมออกตั๋วแลกเงินในการที่โจทก์ซื้อที่ดินมาดำเนินการตามโครงการตลอดจนค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ถูกเจ้าหนี้ฟ้องเรียกเงินกู้ และค่าเสียหายจากการเสียชื่อเสียง มิใช่ความเสียหายโดยตรงอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพราะจำเลยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์เป็นเจ้าของรวมตามส่วนที่ได้ซื้อจากจำเลยตามสัญญาแล้ว
ความเสียหายในส่วนของกำไรที่คาดว่าจะได้จากการปลูกบ้านจัดสรรขายซึ่งเป็นเพียงความหวังของโจทก์ ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าจะได้กำไรดังที่คาดหมายหรือไม่จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ
การที่โจทก์ไม่สามารถนำที่ดินที่ซื้อจากจำเลยไปใช้ประโยชน์ได้ย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ย่อมเสียหายขาดประโยชน์ที่จะพึงได้ ความเสียหายในส่วนนี้จึงเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการผิดสัญญาของจำเลยแม้ว่าจะยังฟังไม่ได้ว่าเป็นจำนวนเท่าใด ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6808/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความยังคงมีผลผูกพัน แม้มีการตกลงเพิ่มเติม หากฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา การตกลงใหม่ไม่ตัดสิทธิเดิม
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตกลงกันให้นำที่ดินโฉนดที่ดินที่พิพาทพร้อมบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวออกขาย โดยโจทก์กับจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ซื้อเองหรือนำบุคคลอื่นมาซื้อก็ได้ ฝ่ายใดให้ราคาสูงสุดให้ขายให้แก่ฝ่ายที่ให้ราคาสูงสุดไป และให้ขายให้เสร็จสิ้นภายในปี 2536 หากขายไม่ได้ภายในปี 2536 ให้โจทก์กับจำเลยที่ 2 นำที่ดินและบ้านดังกล่าวมาประมูลกันเองก่อน หากประมูลกันเองไม่ได้ ขอให้ศาลนำที่ดินและบ้านดังกล่าวออกขายทอดตลาด การที่โจทก์และจำเลยที่ 2 แถลงต่อศาลว่าไม่สามารถหาผู้ซื้อบ้านและที่ดินได้ จึงตกลงกันใหม่ว่าจำเลยที่ 2 จะชำระเงินให้โจทก์จำนวน 3,500,000 บาท โดยโจทก์ยอมสละสิทธิในที่ดินและบ้านให้แก่จำเลยที่ 2 นั้น เป็นเพียงวิธีการชำระหนี้ต่อกันเท่านั้น และการตกลงกันครั้งหลังนี้ไม่มีข้อความตอนใดให้ยกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความเดิม ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิดข้อตกลง ไม่สามารถชำระเงินให้โจทก์ตามกำหนดที่ตกลงกันไว้ได้โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อตกลงใหม่นี้อีก และโจทก์จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาตามยอมต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6808/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความยังคงมีผลผูกพัน แม้มีการตกลงเพิ่มเติม หากฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา การตกลงเดิมยังใช้ได้
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตกลงกันให้นำที่ดินโฉนดที่ดินที่พิพาทพร้อมบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวออกขาย โดยโจทก์กับจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ซื้อเองหรือนำบุคคลอื่นมาซื้อก็ได้ ฝ่ายใดให้ราคาสูงสุดให้ขายให้แก่ฝ่ายที่ให้ราคาสูงสุดไป และให้ขายให้เสร็จสิ้นภายในปี 2536 หากขายไม่ได้ภายในปี 2536 ให้โจทก์กับจำเลยที่ 2 นำที่ดินและบ้านดังกล่าวมาประมูลกันเองก่อน หากประมูลกันเองไม่ได้ ขอให้ศาลนำที่ดินและบ้านดังกล่าวออกขายทอดตลาด การที่โจทก์และจำเลยที่ 2 แถลงต่อศาลว่าไม่สามารถหาผู้ซื้อบ้านและที่ดินได้ จึงตกลงกันใหม่ว่าจำเลยที่ 2 จะชำระเงินให้โจทก์จำนวน 3,500,000 บาท โดยโจทก์ยอมสละสิทธิในที่ดินและบ้านให้แก่จำเลยที่ 2 นั้น เป็นเพียงวิธีการชำระหนี้ต่อกันเท่านั้น และการตกลงกันครั้งหลังนี้ไม่มีข้อความตอนใดให้ยกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความเดิม ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิดข้อตกลง ไม่สามารถชำระเงินให้โจทก์ตามกำหนดที่ตกลงกันไว้ได้โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อตกลงใหม่นี้อีก และโจทก์จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาตามยอมต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6808/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันและผลของการผิดสัญญาตกลงเพิ่มเติม
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตกลงกันให้นำที่ดินโฉนดที่พิพาทพร้อมบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวออกขาย โดยโจทก์กับจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ซื้อเองหรือนำบุคคลอื่นมาซื้อก็ได้ ฝ่ายใดให้ราคาสูงสุดให้ขายให้แก่ฝ่ายที่ให้ราคาสูงสุดไป และให้ขายให้เสร็จสิ้นภายในปี 2536 หากขายไม่ได้ภายในปี 2536 ให้โจทก์กับจำเลยที่ 2นำที่ดินและบ้านดังกล่าวมาประมูลกันเองก่อน หากประมูลกันเองไม่ได้ ขอให้ศาลนำที่ดินและบ้านดังกล่าวออกขายทอดตลาด การที่โจทก์และจำเลยที่ 2 แถลงต่อศาลว่าไม่สามารถหาผู้ซื้อบ้านและที่ดินได้ จึงตกลงกันใหม่ว่าจำเลยที่ 2 จะชำระเงินให้โจทก์จำนวน 3,500,000 บาท โดยโจทก์ยอมสละสิทธิในที่ดินและบ้านให้แก่จำเลยที่ 2 นั้น เป็นเพียงวิธีการชำระหนี้ต่อกันเท่านั้น และการตกลงกันครั้งหลังนี้ไม่มีข้อความตอนใดให้ยกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความเดิม ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิดข้อตกลง ไม่สามารถชำระเงินให้โจทก์ตามกำหนดที่ตกลงกันไว้ได้โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อตกลงใหม่นี้อีก และโจทก์จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาตามยอมต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6630/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สละสิทธิอายุความจากหนังสือรับสภาพหนี้ แม้ดอกเบี้ยค้างชำระเกิน 5 ปี ก็ตาม
หนังสือสัญญารับสภาพหนี้มีข้อความระบุว่า"ถ้าหากนายพิลาไชยพร (จำเลยที่ 1) นำเงินดังกล่าวไปชำระหนี้ให้แก่นายวิจิตร (โจทก์) เสร็จสิ้นภายในวันที่25 มีนาคม 2536 นายวิจิตรจะไม่ขอคิดดอกเบี้ยแม้แต่บาทเดียวแต่ถ้าผิดนัด นายพิลาไชยพร จะต้องรับผิดตามสัญญาเดิมคือดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อถูกฟ้องศาลบังคับคดีตามฟ้องข้าพเจ้า นายพิลาไชยพร พอใจตามข้อตกลงนี้ จึงได้ลงชื่อไว้เป็นหลักฐานต่อหน้าพยาน" ดังนี้ แม้สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี จะขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 แต่กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ได้สละประโยชน์แห่งอายุความนั้นแล้วดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 193/24 จำเลยที่ 1ไม่อาจอ้างอายุความมาเป็นข้อตัดฟ้องเพื่อปฏิเสธความรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6252/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากการปิดกิจการต้องมีเหตุผลสมควร การปิดกิจการโดยไม่มีภาวะขาดทุนถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ไม่มีกฎหมายห้ามไม่ให้นายจ้างปิดกิจการการปิดกิจการอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเมื่อต้องปิดกิจการซึ่งมีการเลิกจ้างแล้ว การเลิกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ขึ้นอยู่กับเหตุผลของการปิดกิจการว่ามีเหตุผลสมควรและเพียงพอที่จะปิดกิจการหรือไม่ นายจ้างปิดกิจการโดยไม่ได้ประสบภาวะการขาดทุนตามที่อ้าง ย่อมไม่มีเหตุผลสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ การที่นายจ้างปิดกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างกรณีดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้การโอนสิทธิไม่เป็นหนังสือ แต่มีเจตนาสละการครอบครอง
ป. ได้ออกเงินชำระหนี้เงินกู้ของ ด.ให้ช.ด. จึงยกที่พิพาทให้แก่ ป. ตั้งแต่ปี 2497 ต่อมา ป.ให้ ล. และจำเลยที่ 1 เช่าที่พิพาททำนาหลังจากนั้นป.ขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และได้ส่งมอบที่พิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองทำนาในที่พิพาทต่อจากการครอบครองของป.ตั้งแต่ปี 2525 ติดต่อมาจนปัจจุบันแม้การยกให้ที่พิพาทระหว่างป. กับ ด. กับการขายที่พิพาทระหว่าง ป.กับโจทก์ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่การที่ด.ส่งมอบการครอบครองที่พิพาทให้ป. แสดงว่า ด. ได้เจตนาสละการครอบครองที่พิพาทให้แก่ ป. แล้ว การครอบครองของ ด. ย่อมสิ้นสุดลงป. จึงมีสิทธิครอบครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1377,1378 ครั้ง ป. ขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และส่งมอบที่พิพาทให้โจทก์แสดงว่า ป. ได้เจตนาสละการครอบครองที่พิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองเช่นกัน และในกรณีเช่นนี้โจทก์ย่อมนับระยะเวลาที่ ป.ครอบครองที่พิพาทรวมติดต่อกับระยะเวลาที่โจทก์ครอบครองที่พิพาทเข้าด้วยกันได้ตาม มาตรา 1385 ป. ได้ครอบครองที่พิพาทของ ด. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 2497 และโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของสืบต่อจาก ป. ตั้งแต่ปี 2525ตลอดมาเกินกว่าสิบปีแล้วเช่นนี้ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382
of 32