คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 30

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 316 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องอุทธรณ์ภาษี: การยื่นอุทธรณ์ต้องยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ไม่ใช่เจ้าพนักงานประเมิน
ตามมาตรา30แห่งประมวลรัษฎากรกำหนดว่าในกรณีเจ้าพนักงานประเมินผู้ทำการประเมินมีสำนักงานอยู่ในเขตจังหวัดพระนครให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กรมสรรพากรไม่มีหน้าที่ในการสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์และตามฟ้องโจทก์มิได้ยืนยันว่าอธิบดีกรมสรรพากรในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นผู้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องและเนื่องจากเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์นี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงชอบที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์การประเมินภาษี: การส่งหมายแจ้งที่ไม่ถูกต้อง และสิทธิในการฟ้องบังคับให้รับอุทธรณ์
ตามคำฟ้องเป็นกรณีที่โจทก์ยืนยันว่า การส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้ส่งยังสำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ ผลตามกฎหมายก็คือโจทก์ยังไม่ได้รับแจ้งการประเมิน กำหนดเวลาให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีหรือผู้แทนผู้แทนกรมอัยการ และผู้แทนกรมมหาดไทย ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินจึงยังไม่เริ่มนับเมื่อโจทก์ได้รับทราบผลการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินแล้วโจทก์ย่อมอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ทันที เพราะถือว่ายังไม่พ้นกำหนดเวลาที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 30(1)(ก) บัญญัติไว้ การอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 นั้นโจทก์ต้องยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทน ผู้แทนกรมอัยการและผู้แทนกรมมหาดไทย และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยบุคคลดังกล่าวแล้วเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์กรมสรรพากรจำเลยที่ 1 หามีหน้าที่ในการสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ได้ และตามคำฟ้องโจทก์หาได้ยืนยันว่าอธิบดีกรมสรรพากรจำเลยที่ 2 ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นผู้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ไม่โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะมาฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับ อุทธรณ์ของโจทก์ การที่โจทก์ตีความเอาการกระทำของจำเลยที่ 1ที่แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่ขยายเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์มีผลเป็นการที่จำเลยที่ 1 ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ จำเลยที่ 1 กระทำในนามของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งมีจำเลยที่ 2เป็นประธานและตัวแทนจึงต้องรับผิดร่วมกันนั้น มีผลเท่ากับโจทก์กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการไม่ชอบนั่นเอง แม้จะเป็นดังกรณีที่โจทก์เข้าใจเอาเองดังกล่าวก็ไม่มีเหตุจำเป็นที่โจทก์จะต้องมาฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับ อุทธรณ์ของโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องอีก เพราะหากผลการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเท่ากับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อศาลได้ อำนาจฟ้องของโจทก์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์การประเมินภาษี: สิทธิในการอุทธรณ์และการฟ้องร้องบังคับรับอุทธรณ์
ตามคำฟ้องเป็นกรณีที่โจทก์ยืนยันว่า การส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้ส่งยังสำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ ผลตามกฎหมายก็คือโจทก์ยังไม่ได้รับแจ้งการประเมิน กำหนดเวลาให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีหรือผู้แทน ผู้แทนกรมอัยการ และผู้แทนกรมมหาดไทย ภายในสามสิบวัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินจึงยังไม่เริ่มนับเมื่อโจทก์ได้ทราบผลการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินแล้ว โจทก์ย่อมอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ทันที เพราะถือว่ายังไม่พ้นกำหนดเวลาที่ ป.รัษฎากร มาตรา 30 (1) (ก) บัญญัติไว้
การอุทธรณ์การประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 นั้น โจทก์ต้องยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วย อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทนผู้แทนกรมอัยการและผู้แทนกรมมหาดไทย และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยบุคคลดังกล่าวแล้วเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ กรมสรรพากรจำเลยที่ 1หามีหน้าที่ในการสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ได้ และตามคำฟ้องโจทก์หาได้ยืนยันว่าอธิบดีกรมสรรพากรจำเลยที่ 2 ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นผู้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะมาฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ การที่โจทก์ตีความเอาการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่ขยายเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์มีผลเป็นการที่จำเลยที่ 1 ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ จำเลยที่ 1 กระทำในนามของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นประธานและตัวแทนจึงต้องรับผิดร่วมกันนั้น มีผลเท่ากับโจทก์กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการไม่ชอบนั่นเอง แม้จะเป็นดังกรณีที่โจทก์เข้าใจเอาเองดังกล่าวก็ไม่มีเหตุจำเป็นที่โจทก์จะต้องมาฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องอีก เพราะหากผลการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเท่ากับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อศาลได้ อำนาจฟ้องของโจทก์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3452/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้าจากสินค้าขาดบัญชีและการสูญเสียในขั้นตอนการผลิต
เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมิน ภาษีเงินได้นิติบุคคลและ ภาษีการค้าแก่โจทก์โจทก์อุทธรณ์การประเมินภาษีทั้งสองประเภทโดยในปัญหาสินค้าขาดจากบัญชีคุมสินค้านั้นโจทก์อุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินมิได้ไปทำการตรวจสอบสินค้าและบัญชีคุมสินค้าที่สำนักงานของโจทก์เพียงแต่ตรวจบัญชีของบริษัทและพบว่ามีสินค้าขาดไปโจทก์มิได้มีเจตนาที่จะทำให้บัญชีไม่ตรงเช่นนั้นการอุทธรณ์เช่นนี้แม้จะขาดเหตุผลในรายละเอียดของสินค้าขาดบัญชีและผู้อุทธรณ์ขอให้ ลดเบี้ยปรับเท่านั้นก็ถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินแล้วโจทก์จึงชอบที่จะ ฟ้องคดีโดยอ้างเหตุผลคัดค้านการประเมินเพิ่มเติมจากที่ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ ดอกเบี้ยค้างจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี2526แม้โจทก์จะได้รับแจ้งให้ชำระในรอบระยะเวลาบัญชีปี2527โจทก์ก็ต้องนำมาคำนวณหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี2526การที่โจทก์นำมาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี2527จึงต้องห้ามตามมาตรา65ตรี(9)แห่งประมวลรัษฎากร กรณีที่ให้ถือว่าสินค้าขาดจาก บัญชีคุมสินค้าเป็น การขายสินค้าและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็น รายวันตามมาตรา70ทวิ(6)แห่งประมวลรัษฎากรนั้นเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่ ภาษีการค้า หามีบทบัญญัติให้นำไปใช้ในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินให้ถือว่าสินค้าที่ขาดจาก บัญชีคุมสินค้าเป็นการขายเพื่อถือเป็นเงินได้ในการ คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3060/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ภาษีต้องยื่นภายในกำหนด และมีข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องหรือยื่นอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรในเรื่องเกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล
การประเมินอากรขาเข้ากฎหมายมิได้กำหนดว่าจะต้องมีรายละเอียดอย่างไร การที่เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบโดยมีรายการเกี่ยวกับจำนวนเงินอากรขาเข้าที่สำแดง เงินประกันภาษีอากร ภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มและเงินเพิ่ม นับว่าเป็นการประเมินที่ชอบและถูกต้องแล้ว
เมื่อจำนวนภาษีอากรที่โจทก์ต้องชำระเพิ่มตามแบบแจ้งการประเมินจำนวน 2 ฉบับ ซึ่งนำเข้าในวันเดียวกัน อันถือเป็นทุนทรัพย์แห่งคดีมีจำนวนไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรและอำนาจฟ้องคดีภาษี: การเทียบราคาตามบัตรราคาต้องมีหลักเกณฑ์ที่น่าเชื่อถือ และศาลต้องมีข้อเท็จจริงยุติเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง
สินค้าพิพาทโจทก์สั่งซื้อได้ชำระราคาโดยเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับธนาคาร และธนาคารได้หักบัญชีค่าสินค้าจากโจทก์ส่งให้ผู้ขาย มีจำนวนเงินตรงกับใบกำกับสินค้า และตรงกับที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า อีกทั้งจำเลยทั้งสองก็มิได้นำสืบปฏิเสธในเรื่องนี้ ย่อมมีเหตุผลรับฟังได้ว่า โจทก์ได้สั่งซื้อ และชำระราคาสินค้าไปตามที่ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าจริงจึงพอฟังได้ในเบื้องต้นว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จำเลยทั้งสองได้ประเมินราคาสินค้าพิพาทโดยเทียบเคียงกับบัตรราคาซึ่งเป็นไปตามคำสั่งทั่วไปของจำเลยที่ 1ที่ 24/2517 บางรายการต้องอาศัยการเทียบเคียงกับบัตรราคาที่ใกล้เคียงและตามประกาศกองตีราคาที่ 1/2517 ที่ 3/2517 และตามรายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับราคาศุลกากรครั้งที่ 5 หลักเกณฑ์ตามคำสั่งทั่วไปและการเทียบเคียงตามประกาศการตีราคาดังกล่าวเป็นแนวปฏิบัติเพื่อหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่านั้น หาเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวว่าราคาของสินค้าที่นำเข้าจะต้องเป็นจริงตามนั้นไม่ คำสั่งและประกาศดังกล่าวมีมานานแล้วตั้งแต่ปี 2517 มีระยะเวลาก่อนที่โจทก์จะนำสินค้าพิพาทเข้ามาถึง 10 ปี อีกทั้งบัตรราคานั้น แม้ว่ากองวิเคราะห์และประเมินราคาร่วมกันกำหนดขึ้นแต่ก็ไม่ได้ความว่าราคาในบัตรนั้นกำหนดขึ้นโดยมีหลักเกณฑ์อย่างใด และไม่ปรากฏว่าราคาในบัตรนั้นเป็นราคาของสินค้าในปีใด อีกทั้งแม้จะปรากฏว่าบัตรพิพาทได้กำหนดขึ้นตั้งแต่ปี 2523 และ 2524 ก็เป็นระยะเวลาห่างไกลกับระยะเวลาที่โจทก์นำสินค้าพิพาทเข้ามา จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าราคาที่จำเลยที่ 1 นำมาเทียบเคียงนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองยกขึ้นอุทธรณ์ได้แม้จะไม่ได้ยกขึ้นกล่าวในศาลภาษีอากรกลางก็ตามแต่การจะวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนี้ได้จะต้องได้ข้อเท็จจริงอันเป็นยุติด้วยว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินดังกล่าว ปรากฏในคดีสำนวนแรกแม้จำเลยที่ 1 จะให้การไว้ด้วยว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมิน แต่ในคดีสำนวนหลัง โจทก์ก็ได้ให้การต่อสู้ไว้ด้วยว่าได้อุทธรณ์การประเมินแล้ว ศาลภาษีอากรกลางหาได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทให้ทั้งสองฝ่ายนำสืบถึงข้อเท็จจริงส่วนนี้ไม่ อีกทั้งในการสืบพยานของโจทก์ก็ไม่มีพยานโจทก์คนใดเบิกความยอมรับว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินดังกล่าว จึงไม่มีข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบที่จะใช้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวได้ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากร: ราคาที่แท้จริงในท้องตลาดต้องเป็นปัจจุบันและสอดคล้องกับหลักฐานการซื้อขายจริง
สินค้าพิพาทโจทก์สั่งซื้อได้ชำระราคาโดยเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับธนาคาร และธนาคารได้หักบัญชีค่าสินค้าจากโจทก์ส่งให้ผู้ขาย มีจำนวนเงินตรงกับใบกำกับสินค้า และตรงกับที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า อีกทั้งจำเลยทั้งสองก็มิได้นำสืบปฏิเสธในเรื่องนี้ ย่อมมีเหตุผลรับฟังได้ว่า โจทก์ได้สั่งซื้อและชำระราคาสินค้าไปตามที่ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าจริง จึงพอฟังได้ในเบื้องต้นว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
จำเลยทั้งสองได้ประเมินราคาสินค้าพิพาทโดยเทียบเคียงกับบัตรราคาซึ่งเป็นไปตามคำสั่งทั่วไปของจำเลยที่ 1 ที่ 24/2517 บางรายการต้องอาศัยการเทียบเคียงกับบัตรราคาที่ใกล้เคียงและตามประกาศกองตีราคาที่ 1/2517ที่ 3/2517 และตามรายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับราคาศุลกากรครั้งที่ 5 หลักเกณฑ์ตามคำสั่งทั่วไปและการเทียบเคียงตามประกาศการตีราคาดังกล่าวเป็นแนวปฏิบัติเพื่อหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่านั้น หาเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวว่าราคาของสินค้าที่นำเข้าจะต้องเป็นจริงตามนั้นไม่ คำสั่งและประกาศดังกล่าวมีมานานแล้วตั้งแต่ปี 2517 มีระยะเวลาก่อนที่โจทก์จะนำสินค้าพิพาทเข้ามาถึง 10 ปีอีกทั้งบัตรราคานั้น แม้ว่ากองวิเคราะห์และประเมินราคาร่วมกันกำหนดขึ้น แต่ก็ไม่ได้ความว่าราคาในบัตรนั้นกำหนดขึ้นโดยมีหลักเกณฑ์อย่างใด และไม่ปรากฏว่าราคาในบัตรนั้นเป็นราคาของสินค้าในปีใด อีกทั้งแม้จะปรากฏว่าบัตรพิพาทได้กำหนดขึ้นตั้งแต่ปี 2523 และ 2524 ก็เป็นระยะเวลาห่างไกลกับระยะเวลาที่โจทก์นำสินค้าพิพาทเข้ามา จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าราคาที่จำเลยที่ 1 นำมาเทียบเคียงนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองยกขึ้นอุทธรณ์ได้แม้จะไม่ได้ยกขึ้นกล่าวในศาลภาษีอากรกลางก็ตาม แต่การจะวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนี้ได้จะต้องได้ข้อเท็จจริงอันเป็นยุติด้วยว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินดังกล่าว ปรากฏในคดีสำนวนแรกแม้จำเลยที่ 1 จะให้การไว้ด้วยว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมิน แต่ในคดีสำนวนหลัง โจทก์ก็ได้ให้การต่อสู้ไว้ด้วยว่าได้อุทธรณ์การประเมินแล้ว ศาลภาษี-อากรกลางหาได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทให้ทั้งสองฝ่ายนำสืบถึงข้อเท็จจริงส่วนนี้ไม่ อีกทั้งในการสืบพยานของโจทก์ก็ไม่มีพยานโจทก์คนใดเบิกความยอมรับว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินดังกล่าว จึงไม่มีข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบที่จะใช้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวได้ ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2452/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าจากสินค้าขาดบัญชีและการหักอัตราความสูญเสียในการผลิต
เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าแก่โจทก์โจทก์อุทธรณ์การประเมินภาษีทั้งสองประเภทโดยในปัญหาสินค้าขาดจากบัญชีคุมสินค้านั้นโจทก์อุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินมิได้ไปทำการตรวจสอบสินค้าและบัญชีคุมสินค้าที่สำนักงานของโจทก์เพียงแต่ตรวจบัญชีของบริษัทและพบว่ามีสินค้าขาดไปโจทก์มิได้มีเจตนาที่จะทำให้บัญชีไม่ตรงเช่นนั้นการอุทธรณ์เช่นนี้แม้จะขาดเหตุผลในรายละเอียดของสินค้าขาดบัญชีและผู้อุทธรณ์ขอให้ลดเบี้ยปรับเท่านั้นก็ถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินแล้วโจทก์จึงชอบที่จะฟ้องคดีโดยอ้างเหตุผลคัดค้านการประเมินเพิ่มเติมจากที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ ดอกเบี้ยค้างจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี2526แม้โจทก์จะได้รับแจ้งให้ชำระในรอบระยะเวลาบัญชีปี2527โจทก์ก็ต้องนำมาคำนวณหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี2526การที่โจทก์นำมาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี2527จึงต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา65ตรี(9) กรณีที่ให้ถือว่าสินค้าขาดจากบัญชีคุมสินค้าเป็นการขายสินค้าและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับตามประมวลรัษฎากรมาตรา79ทวิ(6)นั้นเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่ภาษีการค้าไม่มีบทบัญญัติให้นำไปใช้ในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินให้ถือว่าสินค้าที่ขาดจากบัญชีคุมสินค้าเป็นการขายเพื่อถือเป็นเงินได้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทภาษีอากร: การประเมินรายได้, การปรับปรุงแก้ไข, และอำนาจของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรตามประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้และผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์จะไปพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้หาได้ไม่เพราะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ใช่เจ้าพนักงานประเมินทั้งยังเป็นการข้ามขั้นตอนไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งมาตรา19,20แห่งประมวลรัษฎากรส่วนมาตรา31วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากรนั้นมิใช่บทบัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาประเด็นใดก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5201/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินอากรขาเข้าเพิ่มเติมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้เสียภาษีมีสิทธิเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนด
จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนของภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลพร้อมเงินเพิ่มต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากร มาตรา 30 ภาษีส่วนนี้จึงยุติตามที่ได้ประเมินจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง เงินประกันค่าอากรขาเข้าที่ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระแทนจำเลยให้แก่โจทก์นั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่โจทก์วางไว้ กรณีมิใช่เรื่องที่โจทก์ได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้การฟ้องแย้งเรียกค่าอากรขาเข้าคืนจึงมิใช่การฟ้องเรียกคืนฐานลาภมิควรได้ ไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้น 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 การที่จำเลยเรียกคืนเงินอากรขาเข้าที่ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระแทนจำเลยไปตามที่โจทก์ประเมินและแจ้งให้ชำระเพิ่มนั้น มิใช่กรณีใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงก่อนนำของออกไปจากอารักขาของศุลกากร ซึ่งสิทธิเรียกร้องจะสิ้นไปเมื่อครบกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคสุดท้าย แต่เป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ประเมินและแจ้งให้จำเลยชำระค่าอากรขาเข้าเพิ่มเติมภายหลังจากนำของออกไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว และธนาคารผู้ค้ำประกันได้ชำระแทนจำเลย ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ใหม่) และการนับอายุความนั้นให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปอายุความสิทธิเรียกร้องเงินค่าอากรขาเข้าคืนของจำเลยจึงเริ่มนับแต่วันที่ 7 เมษายน 2532 ที่ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินให้แก่โจทก์ จำเลยนำคดีมาฟ้องแย้งเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2535ยังไม่พ้น 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ และจำเลยมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าอากรขาเข้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์เรียกเก็บไปในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือน ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคสุดท้าย โดยไม่ต้องพิจารณาว่าจำเลยได้ทวงถามและโจทก์ผิดนัดหรือไม่ แต่จำเลยขอดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จึงให้ดอกเบี้ยตามอัตราที่ขอ
of 32