พบผลลัพธ์ทั้งหมด 316 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกคืนภาษีอากรต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน แม้จะถูกแจ้งให้แก้ราคาสินค้า
จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า โจทก์มิได้มอบอำนาจให้ดำเนินคดีแก่จำเลย หนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นจำเลยมิได้ต่อสู้โดยตรงว่า โจทก์มิได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเลขที่... ที่ศาลภาษีอากรกลางอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเลขที่ใบขนสินค้าในหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยในรายละเอียดจึงไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ แม้การแก้ราคาสินค้าและจำนวนเงินภาษีอากรที่ต้องชำระในใบขนสินค้ากับใบกำกับสินค้าให้สูงขึ้นจากเดิมจะเป็นการกระทำของโจทก์เองมิใช่เป็นการกระทำของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยก็ตาม แต่การแก้ดังกล่าวก็เป็นการแก้ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งให้โจทก์กระทำ หากโจทก์ไม่แก้ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยก็คงไม่ตรวจปล่อยสินค้าพิพาทจากอารักขามอบให้โจทก์ไป ทั้งโจทก์ก็ได้สงวนสิทธิโต้แย้งราคาสินค้าในส่วนที่เพิ่มขึ้นไว้ที่หลังใบขนสินค้าขาเข้าดังกล่าว แสดงว่าโจทก์มิได้แก้ราคาสินค้าและจำนวนเงินภาษีอากรด้วยความสมัครใจหรือเห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย การยอมแก้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการแก้ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินแล้ว เมื่อโจทก์ได้ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามการประเมินนั้นแล้วมาอ้างว่าได้ชำระเกินกว่าที่จะต้องเสียตามกฎหมาย ขอเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินภาษีอากรดังกล่าวให้อันเป็นการโต้แย้งผลการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย โจทก์จึงต้องอุทธรณ์คัดค้านต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้วินิจฉัยเสียก่อนว่าโจทก์เสียภาษีอากรไว้เกินกว่าที่จะต้องเสียตามกฎหมายหรือไม่ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยและมีคำสั่งแล้ว โจทก์จึงจะอุทธรณ์ต่อศาลหรือนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 บัญญัติไว้ แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกกิจการของผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีและการประเมินภาษี
แม้คดีนี้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแต่ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยศาลอาจสืบพยานตามที่เห็นจำเป็นเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ และจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 205 วรรคแรก ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17ดังนั้น เมื่อศาลภาษีอากรพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จำเลยย่อมอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลภาษีอากรว่าข้ออ้างของโจทก์ทั้งสองไม่มีมูลให้ชนะคดีได้ ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 24 ประกอบมาตรา 29
ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็นประเด็นที่จำเลยจะต้องให้การไว้ คดีนี้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ถูกยกเลิกบัตรส่งเสริมการลงทุน เพราะจำเลยที่ 1เลิกกิจการ มิใช่ถูกคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับตามบัตรส่งเสริมอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 แห่งพ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2522 ซึ่งจะทำให้ผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องเสียภาษีอากรโดยถือสภาพของของ ราคาและอัตราภาษีที่เป็นอยู่ในวันนำเข้าเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากร ตามมาตรา 55 วรรคแรก
ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่งได้บัญญัติเรื่องผู้ได้รับการส่งเสริมเลิกกิจการ รวมกิจการกับผู้อื่น หรือโอนกิจการให้แก่ผู้อื่น ให้บัตรส่งเสริมนั้นใช้ได้ต่อไปอีกไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันเลิก รวมหรือโอนกิจการ ส่วนวรรคสองเป็นเรื่องที่ผู้ซึ่งดำเนินกิจการที่ร่วมกันขึ้นใหม่ หรือโอนกิจการ ประสงค์จะขอรับช่วงดำเนินกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมต่อไป ก็ให้ยื่นคำขอรับการส่งเสริมภายในเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าไม่สมควรให้การส่งเสริม ก็ให้สั่งให้เพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมด ดังนี้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า ตามมาตรา 56 วรรคสองมิได้บัญญัติถึงเรื่องการเลิกกิจการ อันจะถือเท่ากับว่าสิทธิและประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมถูกเพิกถอนแล้วไม่
ปัญหาเรื่องบัตรส่งเสริมถูกยกเลิกเพราะมีการเลิกกิจการสิทธิและประโยชน์ที่ผู้ได้รับการส่งเสริมเคยได้รับโดยเฉพาะเรื่องภาษีอากรนี้จะเรียกเก็บอย่างไร มิได้มีบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ฯ จึงต้องบังคับตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ก. (ฉบับที่ 45) พ.ศ.2528 มิใช่บังคับตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราภาษีศุลกากร พ.ศ.2530 เพราะจำเลยที่ 1 เลิกกิจการและสำนักงานส่งเสริมการลงทุน ประกาศยกเลิกบัตรส่งเสริมของจำเลยที่ 1 ก่อนที่ พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 จะมีผลใช้บังคับ
ตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 มาตรา 10วรรคหนึ่ง ของนำเข้าใดเคยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากร ถ้าสิทธิที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนสิ้นสุดลง ของนั้นจะต้องเสียอากรโดยถือสภาพของของ ราคาและอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่สิทธิดังกล่าวสิ้นสุดลงเป็นเกณฑ์ในการคำนวณอากรโดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรต้องไปดำเนินการเพื่อชำระอากรตามที่กำหนดไว้ ส่วนในช่วงก่อนที่สิทธิที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรจะสิ้นสุดลง ผู้นั้นก็ได้รับสิทธิและประโยชน์ต่อไป และน่ายังถือว่าเป็นสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับไปแล้ว หากผู้นำของเข้าหมดสิทธิที่จะได้รับสิทธิและประโยชน์ต่อไปมิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้น คือ มิได้ดำเนินการเพื่อชำระอากรดังกล่าว ก็ให้ถือว่าของนั้นได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้เสียอากรถูกต้อง อันอาจถูกพนักงานศุลกากรกักยึดเพื่อประเมินเรียกเก็บภาษีอากร รวมทั้งต้องเสียเงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา เท่านั้น แต่ก็ยังต้องถือว่าเป็นของที่ต้องเสียภาษีอากรโดยทั้งสภาพของของ ราคา และอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่สิทธิได้รับยกเว้นอากรสิ้นสุดลงตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 อยู่ หาได้หมายความว่า เมื่อผู้นำของเข้ามิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นแล้ว ให้ถือว่าของนั้นได้นำเข้าโดยยังมิได้เสียอากรถูกต้องตามสภาพของของ ราคา และอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่นำเข้าไม่
หลังจากจำเลยได้รับแจ้งประเมินให้เสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยจึงหมดสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล ซึ่งรวมถึงหมดสิทธิที่จะฟ้องหรือยกขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลว่าการประเมินดังกล่าวมิชอบด้วย
ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็นประเด็นที่จำเลยจะต้องให้การไว้ คดีนี้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ถูกยกเลิกบัตรส่งเสริมการลงทุน เพราะจำเลยที่ 1เลิกกิจการ มิใช่ถูกคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับตามบัตรส่งเสริมอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 แห่งพ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2522 ซึ่งจะทำให้ผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องเสียภาษีอากรโดยถือสภาพของของ ราคาและอัตราภาษีที่เป็นอยู่ในวันนำเข้าเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากร ตามมาตรา 55 วรรคแรก
ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่งได้บัญญัติเรื่องผู้ได้รับการส่งเสริมเลิกกิจการ รวมกิจการกับผู้อื่น หรือโอนกิจการให้แก่ผู้อื่น ให้บัตรส่งเสริมนั้นใช้ได้ต่อไปอีกไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันเลิก รวมหรือโอนกิจการ ส่วนวรรคสองเป็นเรื่องที่ผู้ซึ่งดำเนินกิจการที่ร่วมกันขึ้นใหม่ หรือโอนกิจการ ประสงค์จะขอรับช่วงดำเนินกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมต่อไป ก็ให้ยื่นคำขอรับการส่งเสริมภายในเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าไม่สมควรให้การส่งเสริม ก็ให้สั่งให้เพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมด ดังนี้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า ตามมาตรา 56 วรรคสองมิได้บัญญัติถึงเรื่องการเลิกกิจการ อันจะถือเท่ากับว่าสิทธิและประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมถูกเพิกถอนแล้วไม่
ปัญหาเรื่องบัตรส่งเสริมถูกยกเลิกเพราะมีการเลิกกิจการสิทธิและประโยชน์ที่ผู้ได้รับการส่งเสริมเคยได้รับโดยเฉพาะเรื่องภาษีอากรนี้จะเรียกเก็บอย่างไร มิได้มีบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ฯ จึงต้องบังคับตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ก. (ฉบับที่ 45) พ.ศ.2528 มิใช่บังคับตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราภาษีศุลกากร พ.ศ.2530 เพราะจำเลยที่ 1 เลิกกิจการและสำนักงานส่งเสริมการลงทุน ประกาศยกเลิกบัตรส่งเสริมของจำเลยที่ 1 ก่อนที่ พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 จะมีผลใช้บังคับ
ตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 มาตรา 10วรรคหนึ่ง ของนำเข้าใดเคยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากร ถ้าสิทธิที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนสิ้นสุดลง ของนั้นจะต้องเสียอากรโดยถือสภาพของของ ราคาและอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่สิทธิดังกล่าวสิ้นสุดลงเป็นเกณฑ์ในการคำนวณอากรโดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรต้องไปดำเนินการเพื่อชำระอากรตามที่กำหนดไว้ ส่วนในช่วงก่อนที่สิทธิที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรจะสิ้นสุดลง ผู้นั้นก็ได้รับสิทธิและประโยชน์ต่อไป และน่ายังถือว่าเป็นสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับไปแล้ว หากผู้นำของเข้าหมดสิทธิที่จะได้รับสิทธิและประโยชน์ต่อไปมิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้น คือ มิได้ดำเนินการเพื่อชำระอากรดังกล่าว ก็ให้ถือว่าของนั้นได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้เสียอากรถูกต้อง อันอาจถูกพนักงานศุลกากรกักยึดเพื่อประเมินเรียกเก็บภาษีอากร รวมทั้งต้องเสียเงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา เท่านั้น แต่ก็ยังต้องถือว่าเป็นของที่ต้องเสียภาษีอากรโดยทั้งสภาพของของ ราคา และอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่สิทธิได้รับยกเว้นอากรสิ้นสุดลงตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 อยู่ หาได้หมายความว่า เมื่อผู้นำของเข้ามิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นแล้ว ให้ถือว่าของนั้นได้นำเข้าโดยยังมิได้เสียอากรถูกต้องตามสภาพของของ ราคา และอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่นำเข้าไม่
หลังจากจำเลยได้รับแจ้งประเมินให้เสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยจึงหมดสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล ซึ่งรวมถึงหมดสิทธิที่จะฟ้องหรือยกขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลว่าการประเมินดังกล่าวมิชอบด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรและอำนาจฟ้องเรียกคืนภาษีเกิน การประเมินราคาต้องใช้ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
การดำเนินการค้าแบบเดียวกันนี้ผู้ขายที่ประเทศญี่ปุ่นได้ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. เครือเดียวกับบริษัทโจทก์เป็นผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทยมาประมาณ 20 ปีแล้ว โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า สินค้าพิพาทมีราคาตามที่โจทก์สำแดงไว้แต่แรก แทนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะนำราคาสินค้าที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. เคยสั่งเข้ามาจำหน่ายตั้งแต่ปี2511 ตลอดมาจนถึงปัจจุบันมาเปรียบเทียบราคาเพื่อหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาด กลับประเมินราคาสินค้าพิพาทโดยถือเกณฑ์ให้แตกต่างไม่เกินร้อยละ 10 ของราคาสินค้ายี่ห้ออื่น ตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 28/2527ทั้งที่ราคาที่นำมาเปรียบเทียบนั้นมิใช่ชนิดเดียวกัน คุณภาพอาจแตกต่างกันเป็นการประเมินราคาสินค้าที่ไม่ชอบด้วยเหตุผล ไม่สอดคล้องกับคำจำกัด-ความว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 2
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จำเลยก็ยกขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ได้
เมื่อจำเลยได้รับมอบหมายจากกรมสรรพากร ให้เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล การที่จำเลยเรียกเก็บเกินจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกส่วนที่เก็บเกินคืนได้โดยหาต้องฟ้องกรมสรรพากรด้วยไม่
สำหรับสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุง-เทศบาลเกินเองโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยมิได้ประเมิน หาใช่เป็นการฟ้องเรียกคืนเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินโดยมิชอบไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จำเลยก็ยกขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ได้
เมื่อจำเลยได้รับมอบหมายจากกรมสรรพากร ให้เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล การที่จำเลยเรียกเก็บเกินจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกส่วนที่เก็บเกินคืนได้โดยหาต้องฟ้องกรมสรรพากรด้วยไม่
สำหรับสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุง-เทศบาลเกินเองโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยมิได้ประเมิน หาใช่เป็นการฟ้องเรียกคืนเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินโดยมิชอบไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกคืนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่เรียกเก็บเกินจากกรมการศุลกากร โดยไม่ต้องฟ้องกรมสรรพากร
กรมการศุลกากรจำเลยได้รับมอบหมายจากกรมสรรพากรให้เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล การที่จำเลยเรียกเก็บเกินจากโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกส่วนที่เกินคืนได้โดยไม่ต้องฟ้องกรมสรรพากรด้วย และไม่ใช่เป็นการฟ้องเรียกคืนเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินโดยมิชอบ โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการมีอำนาจฟ้องเรียกคืนภาษีที่ชำระเกิน
การดำเนินการค้าแบบเดียวกันนี้ผู้ขายที่ประเทศญี่ปุ่นได้ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดม. เครือเดียวกับบริษัทโจทก์เป็นผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทยมาประมาณ 20 ปีแล้ว โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า สินค้าพิพาทมีราคาตามที่โจทก์สำแดงไว้แต่แรก แทนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะนำราคาสินค้าที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดม. เคยสั่งเข้ามาจำหน่ายตั้งแต่ปี 2511 ตลอดมาจนถึงปัจจุบันมาเปรียบเทียบราคาเพื่อหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาด กลับประเมินราคาสินค้าพิพาทโดยถือเกณฑ์ให้แตกต่างไม่เกินร้อยละ 10 ของราคาสินค้ายี่ห้ออื่นตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 28/2527 ทั้งที่ราคาที่นำมาเปรียบเทียบนั้นมิใช่ชนิดเดียวกัน คุณภาพอาจแตกต่างกันเป็นการประเมินราคาสินค้าที่ไม่ชอบด้วยเหตุผล ไม่สอดคล้องกับคำจำกัดความว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 2 อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จำเลยก็ยกขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ได้ เมื่อจำเลยได้รับมอบหมายจากกรมสรรพากร ให้เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล การที่จำเลยเรียกเก็บเกินจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกส่วนที่เก็บเกินคืนได้โดยหาต้องฟ้องกรมสรรพากรด้วยไม่ สำหรับสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเกินเองโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยมิได้ประเมิน หาใช่เป็นการฟ้องเรียกคืนเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินโดยมิชอบไม่โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ไม่ถูกต้อง และสิทธิในการฟ้องเรียกเงินคืน รวมถึงการอุทธรณ์ภาษีการค้า
คำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 47/2531 ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน 1 เดือนนั้น เป็นเพียงระเบียบภายในของจำเลยในกรณีไม่อาจจะทราบราคาแท้จริงได้ตามกฎหมาย เมื่อทางโจทก์ได้เสนอหลักฐานให้ทราบแน่ชัดแล้วจึงไม่จำต้องอาศัยระเบียบดังกล่าวมาพิจารณา ประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรฉบับที่ 77(พ.ศ. 2533) ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5(4)และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 กำหนดให้สินค้าบางชนิดต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษในการนำเข้าในราชอาณาจักรในอัตราร้อยละ 0.5ของราคาตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และจำเลยได้ออกคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 25/2533 วางระเบียบเกี่ยวกับการเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษดังกล่าวและนำส่งกระทรวงพาณิชย์ในภายหลัง การที่จำเลยเรียกเก็บเงินนี้ก็โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายและคำสั่งดังกล่าวข้างต้น แต่จำเลยเรียกเก็บเงินโดยที่จำเลยกำหนดราคาผิดไป ฉะนั้นเมื่อจำเลยทำผิดจำเลยก็ต้องมีหน้าที่คืนแก่โจทก์ต่างกับกรณีต้องคืนเงินอากรขาเข้าตามมาตรา 19 หรือมาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 เพราะกรณีดังกล่าวเป็นกรณีเรียกไว้โดยชอบ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินค่าธรรมเนียมพิเศษจากจำเลยได้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ตรวจสอบราคาสินค้าของโจทก์แล้วมีความเห็นให้เพิ่มราคา และเรียกอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่ม โจทก์ก็ได้แก้ไขจำนวนเงินราคา ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลในใบขนสินค้าขาเข้าตามรายการสำแดงที่จำเลยขอเพิ่มแล้ว ถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าโดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 87(2) แล้ว หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 30 เสียก่อน การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการกองวิเคราะห์ราคาซึ่งไม่ใช่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 ไม่เป็นการอุทธรณ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดี อันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลให้คืนเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรและการรับผิดของผู้ชำระบัญชีต่อหนี้ภาษี
โจทก์แจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1ทราบว่าจะต้องเสียภาษีจำนวนเท่าใด ถือว่ามีจำนวนหนี้ภาษีที่โต้แย้งกันแล้วเมื่อไม่ชำระโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกให้ชำระภาษีจำนวนดังกล่าวได้ โดยไม่จำต้องรอให้กำหนดระยะเวลา 30 วันที่จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลสิ้นสุดลงเสียก่อน ส่วนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2-8 ร่วมกันรับผิดในเงินที่จำเลยที่ 2 นำไปแบ่งให้จำเลยที่ 2-8 ในฐานะผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 หาใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกคืนภาษีอากรต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด และมีอายุความตามที่บัญญัติ
การที่เจ้าพนักงานกรมศุลกากรได้รับมอบหมายให้เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแทนกรมสรรพากร เจ้าพนักงานกรมศุลกากรก็มิได้รับมอบหมายและไม่อาจรับมอบหมายให้เป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานกรมศุลกากรประเมินอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล โจทก์ได้แต่โต้แย้งการประเมินไว้ด้านหลังของใบขนสินค้าขาเข้าเพื่อสงวนสิทธิในการเรียกร้องขอคืนอากร ตามมาตรา 10 วรรคห้าแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469เท่านั้น แต่ไม่ได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 บัญญัติไว้ จึงไม่เป็นการอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อโจทก์มิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องและที่ศาลภาษีอากรกลางรับวินิจฉัยเรื่องการเรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลว่าเป็นการถูกต้องหรือไม่จึงเป็นการไม่ชอบ การเรียกเงินอากรขาเข้าที่เกินคืนตามมาตรา 10 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มีกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่นำเข้า ปรากฏว่าระหว่างปี 2525 ถึง 2527 โจทก์นำเข้า 10 ครั้งครั้งสุดท้ายนำเข้าเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2527 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2532 เกินกว่า 2 ปี คดีโจทก์ส่วนนี้จึงขาดอายุความเมื่อมีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะแล้วจะนำอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับหาได้ไม่ และเมื่อการฟ้องเรียกเงินอากรขาเข้าอันเป็นหนี้ประธานขาดอายุความแล้วสิทธิเรียกร้องในเรื่องดอกเบี้ยอันเป็นส่วนอุปกรณ์ก็ย่อมขาดอายุความไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 190 ที่ใช้บังคับในขณะยื่นฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการประเมินภาษีอากรและการรับผิดค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ได้อ้างเหตุในฟ้องไว้แล้วว่าโจทก์ได้รับอนุญาตให้จัดหางานได้ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2525 ก่อนหน้านั้นโจทก์ไม่มีรายได้หรือรายรับจากการประกอบธุรกิจดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยไว้ ดังนั้น เมื่อคดีฟังได้ว่าการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลจึงต้องเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวตามฟ้องโจทก์เสียทั้งหมด หาจำต้องไปวินิจฉัยว่าส่วนใดถูกต้องส่วนใดไม่ถูกต้องเป็นจำนวนเท่าใดไม่
ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีจะตกอยู่แต่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี คดีนี้เมื่อศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 2 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการคนหนึ่งแล้ว ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายและปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อจำเลยที่ 1 หรือไม่เพราะเป็นความสัมพันธ์ภายในระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางดังกล่าว
ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีจะตกอยู่แต่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี คดีนี้เมื่อศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 2 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการคนหนึ่งแล้ว ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายและปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อจำเลยที่ 1 หรือไม่เพราะเป็นความสัมพันธ์ภายในระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์
โจทก์ได้อ้างเหตุในฟ้องไว้แล้วว่าโจทก์ได้รับอนุญาตให้จัดหางานได้ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2525 ก่อนหน้านั้นโจทก์ไม่มีรายได้หรือรายรับจากการประกอบธุรกิจดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยไว้ ดังนั้น เมื่อคดีฟังได้ว่าการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลจึงต้องเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวตามฟ้องโจทก์เสียทั้งหมด หาจำต้องไปวินิจฉัยว่าส่วนใดถูกต้องส่วนใดไม่ถูกต้องเป็นจำนวนเท่าใดไม่ ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีจะตกอยู่แต่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี คดีนี้เมื่อศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 2 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการคนหนึ่งแล้ว ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ได้โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายและปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ต่อจำเลยที่ 1 หรือไม่เพราะเป็นความสัมพันธ์ภายในระหว่างจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลาง ดังกล่าว