พบผลลัพธ์ทั้งหมด 316 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การไม่อนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติม, อำนาจฟ้อง, และการประเมินภาษีที่ถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมเพราะเห็นว่าไม่เกี่ยวกับประเด็น จำเลยแถลงคัดค้านและอุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นว่า หากศาลเปิดโอกาสให้นำพยานหลักฐานที่ระบุเพิ่มเติมเข้าสืบจะทำให้ศาลเห็นว่าการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบ เพราะราคาค่าซื้อขายไม้ที่เจ้าพนักงานประเมินนำมาคำนวณเป็นรายรับ เป็นไม้ที่จำเลยยังนำออกมาจำหน่ายไม่ได้ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 32/2532ห้ามเข้าทำไม้และเคลื่อนย้ายไม้โดยเด็ดขาด ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยว่าคำสั่งศาลชั้นต้นชอบแล้ว จำเลยฎีกาว่า หากศาลอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม จำเลยสามารถนำพยานเข้าสืบให้เป็นที่ประจักษ์แก่ศาลได้ว่า ทรัพย์สินของจำเลยยังมีอยู่และมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 5,000,000 บาท จำเลยจึงมิใช่ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งเป็นเหตุผลคนละอย่างกับที่จำเลยเคยให้ไว้ในคำแถลงคัดค้านและในอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 การที่อธิบดีกรมโจทก์มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ในศาล มิใช่การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนอันจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่ออธิบดีกรมโจทก์ปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 แล้วผู้รับมอบอำนาจชอบที่จะฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นแทนโจทก์ได้ เมื่อจำเลยได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีการค้า ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จำเลยมิได้อุทธรณ์ การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30 การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานจึงถึงที่สุด เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าวโจทก์ย่อมมีอำนาจบังคับเอากับจำเลยได้เช่นเดียวกับหนี้ที่เกิดจากคำพิพากษา จำเลยจะกล่าวอ้างว่าการประเมินของเจ้าพนักงานไม่ชอบอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้มละลาย: การประเมินภาษีอากรถึงที่สุด การไม่โต้แย้งถือเป็นหนี้บังคับได้ และอำนาจฟ้องของเจ้าพนักงาน
ฎีกาจำเลยที่ว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 4 ไม่ชอบด้วยเหตุผลโดยให้เหตุผลคนละอย่างกับที่จำเลยเคยให้ไว้ในคำแถลงคัดค้านและในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้ง คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1ย่อมเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 การที่อธิบดีกรมสรรพากรโจทก์มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆในศาล มิใช่การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนอันจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีและทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามที่บัญญัติไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ข้อ 42ฉะนั้นเมื่ออธิบดีกรมโจทก์มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ แทนโจทก์โดยปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 แล้วผู้รับมอบอำนาจจึงชอบที่จะฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ แทนโจทก์ได้ จำเลยได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีการค้าหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากโจทก์แล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และไม่ชำระหนี้ค่าภาษีอากรเมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานจึงถึงที่สุด และเมื่อจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าวโจทก์ย่อมมีอำนาจที่จะบังคับจำเลยได้เช่นเดียวกับหนี้ที่เกิดจากคำพิพากษา จำเลยจะกล่าวอ้างว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาซี่ลวดรถจักรยานยนต์ผิดพลาด และสิทธิในการอุทธรณ์ภาษีการค้า/บำรุงเทศบาล
แม้โจทก์ได้โต้แย้งการประเมินอากรในการตีราคาสินค้าเพิ่มไว้ที่หลังใบขนสินค้าขาเข้าแล้ว แต่ถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรและภาษีที่ถูกต้อง การอุทธรณ์ภาษี และการกักยึดสินค้า
แม้โจทก์ได้โต้แย้งการประเมินอากรในการตีราคาสินค้าเพิ่มไว้ที่หลังใบขนสินค้าขาเข้าแล้ว แต่ถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 30 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการกักยึดสินค้าเพื่อดำเนินคดีอาญา
สินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นซี่ลวดและหัวซี่ลวด รถจักรยานยนต์แต่การที่โจทก์คัดค้านโดยขอสงวนสิทธิโต้แย้งราคาและอัตรากำไรแสดงว่าโจทก์ยังยืนยันว่าสินค้าที่นำเข้าเป็นซี่ลวดและตัวซี่ลวดรถจักรยาน อันเป็นมูลเหตุให้ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงเรื่องการเสียภาษีอากรได้ จำเลยย่อมมีอำนาจยึดสินค้าไว้ได้จนกว่าคดีอาญาจะถึงที่สุด การกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลยประเมินราคาของเพิ่มขึ้นโดยไม่ได้คำนวณตามราคาแท้จริงในท้องตลาดในเวลาที่โจทก์นำเข้าสำเร็จ และคำนวณอากรขาเข้าจากราคาดังกล่าวจึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ จำเลยจึงต้องประเมินอากรขาเข้าใหม่ให้ถูกต้อง และคืนอากรขาเข้าเฉพาะส่วนที่เกินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยของจำนวนที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้น ส่วนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลนั้น แม้โจทก์จะได้โต้แย้งการประเมินอากรในการตีราคาสินค้าเพิ่มไว้ที่หลังใบขนสินค้าขาเข้าแล้ว ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินภาษีดังกล่าวคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรต้องใช้ราคาที่แท้จริงในท้องตลาดและคำนึงถึงปริมาณสินค้า
เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลคืน เมื่อราคาสินค้าที่โจทก์ซื้อและสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าของโจทก์เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดการประเมินของจำเลยที่กำหนดราคาสินค้าเพิ่มขึ้นจึงเป็นการไม่ชอบจำเลยต้องคืนอากรขาเข้าที่เรียกเก็บไว้เกินให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรต้องอาศัยราคาขายส่งเงินสดที่นำเข้า ณ เวลาใกล้เคียงกัน และการอุทธรณ์ภาษีอากรที่ล่าช้าทำให้ต้องรับผิดตามประเมิน
ราคาสินค้าที่โจทก์ที่ 1 นำมาเปรียบเทียบเป็นราคาสินค้าที่จะนำเข้ามาเพียง 2 ชิ้นซึ่งเป็นจำนวนเล็กน้อย จนอาจเรียกได้ว่าเป็นการสั่งซื้อและนำเข้ามาเพื่อใช้เองมากกว่าจะนำเข้ามาเพื่อจำหน่าย จึงรับฟังไม่ได้ว่าเป็นราคาขายส่งเงินสด ตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 วรรคสิบสอง และ ว.นำเข้ามาเป็นระยะเวลาก่อนที่จำเลยนำเข้ามาเกือบถึง 1 ปี มิใช่เป็นการนำเข้า ณ เวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน อันจะนำมาเปรียบเทียบหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดได้ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานของโจทก์ที่ 1 นำราคาสินค้าที่ ว.นำเข้ามาเป็นเกณฑ์คำนวณหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แล้วประเมินราคาสินค้าพิพาทที่จำเลยนำเข้าเพิ่มขึ้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวและย่อมส่งผลให้การประเมินให้จำเลยเสียอากรขาเข้าเพิ่มขึ้นไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ในส่วนของภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล ซึ่งเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากร แม้การประเมินจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30ภาษีส่วนนี้จึงยุติ จำเลยต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามการประเมินที่ยุติไปแล้วนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรต้องพิจารณาปริมาณและวัตถุประสงค์การนำเข้าควบคู่กันไป และผลของการไม่อุทธรณ์การประเมินภาษีสรรพากร
สินค้าเครื่องอบอาหารพร้อมโหลแก้วครบชุดที่จำเลยนำเข้ามาและสำแดงราคามีจำนวน 120 ชุด ซึ่งเป็นจำนวนมากพอที่จะแสดงให้เห็นว่าจำเลยสั่งซื้อและนำเข้ามาเพื่อจำหน่าย ถือได้ว่าราคาที่สำแดงเป็นราคาขายส่งเงินสด แต่สินค้าที่ ว.นำเข้ามาและสำแดงราคามีเพียง 2 ชิ้นเท่านั้น เป็นการสั่งซื้อและนำเข้ามาเพื่อใช้เองมากกว่าจะนำเข้ามาเพื่อจำหน่าย ถือไม่ได้ว่าราคาที่สำแดงเป็นราคาขายส่งเงินสด ทั้งเป็นการนำเข้ามาก่อนที่จำเลยจะนำเข้ามาถึงเกือบ 1 ปี มิใช่การนำเข้า ณ เวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันอันจะนำมาเปรียบเทียบหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดได้ เจ้าพนักงานประเมินอากรของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจนำราคาสินค้าที่ ว.นำเข้ามาเปรียบเทียบถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 วรรคสิบสอง เพื่อประเมินให้จำเลยเสียอากรขาเข้าเพิ่มขึ้นได้ ในส่วนของภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากร จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งการประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 ภาษีส่วนนี้จึงยุติตามที่เจ้าพนักงานของโจทก์ที่ 1ได้ประเมินเพิ่มแล้ว แม้การประเมินจะไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยก็ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์จำเลยก็ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามการประเมินที่ยุติไปแล้วนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน และผลต่อการฟ้องคดีภาษีอากรภายในกำหนด
การส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ กระทำโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนกระทำได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคแรก ซึ่งไปรษณีย์ภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้ ในการนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับการสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่า เวรรักษาการณ์ของสำนักงานเป็นผู้แทนผู้รับ กรณีที่นำจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับ ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่ายตามไปรษณีย์นิเทศพ.ศ. 2524 ข้อ 350 ข้อ 351 และข้อ 353 น. ผู้ที่รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์จากบุรุษไปรษณีย์ไว้ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม2528 นั้นเป็นยามที่บริษัท จ. จัดมาทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้แก่ทรัพย์สินภายในบริเวณโรงงานและสำนักงานของโจทก์ตามสัญญาที่โจทก์เป็นผู้จ้าง การที่ น. ทำหน้าที่ดังกล่าวอยู่ที่ตู้ยามบริเวณหน้าทางเข้าโรงงานและสำนักงานของโจทก์จึงเป็นการทำหน้าที่เป็นเวรรักษาการณ์ของสำนักงานโจทก์นั่นเองหาใช่เป็นยามหรือเวรรักษาการณ์ของบริษัท จ. ไม่ จึงถือได้ว่าน. เป็นผู้แทนโจทก์ และหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับคือโจทก์ ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2528 แล้ว เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในวันอังคาร ที่ 7 มกราคม 2529 จึงเป็นการนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ขัดต่อ ป.รัษฎากร มาตรา 30(2) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่อ้างอิงราคาผู้นำเข้าอื่นต้องเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน ช่วงเวลาใกล้เคียง และพิกัดเดียวกัน มิฉะนั้นถือเป็นราคาไม่แท้จริง
โจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีดังกล่าวตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 7(1),8 โจทก์มิได้กล่าวในคำฟ้องว่า การที่เจ้าพนักงานของกรมศุลกากรจำเลยตรวจสอบราคาสินค้าของโจทก์แล้วสั่งให้โจทก์เพิ่มราคา มิใช่เป็นการประเมินภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์ยกข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลางศาลฎีกาไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้ จำเลยประเมินราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าโดยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าของผู้นำเข้ารายอื่น แต่สินค้าของผู้นำเข้ารายอื่นนั้นเป็นของคนละประเภทต่างพิกัดประเภทย่อยกับสินค้าของโจทก์ และระยะเวลาที่นำของเข้าก็แตกต่างกันมาก ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในความหมายของคำว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 วรรคสิบสอง ราคาของที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินเพิ่มขึ้นจึงไม่อาจถือว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดการประเมินจึงไม่ชอบ