พบผลลัพธ์ทั้งหมด 316 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต้องอุทธรณ์ตามขั้นตอน หากไม่ทำตาม จะไม่มีสิทธิโต้แย้งในชั้นศาล
การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากรโจทก์ที่ 2 แต่กรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 ก็มีอำนาจจัดเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพื่อโจทก์ที่ 2 ได้ ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7) เรื่อง กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้าของผู้นำเข้าและส่งออก หากจำเลยไม่พอใจการประเมินนั้นก็ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วจำเลยไม่พอใจคำวินิจฉัย ก็มีสิทธิอุทธรณ์หรือฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยการที่จำเลยไม่ดำเนินการผ่านขั้นตอนตามที่กล่าวนี้ นอกจากจะไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินแล้ว ยังรวมทั้งการโต้แย้งให้การต่อสู้คดีด้วย ดังนั้น การที่จำเลยเห็นว่าการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบเพราะมิได้คำนวณมาจากยอดเงินอากรขาเข้าตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดโดยชอบ เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่อาจโต้แย้งการประเมินดังกล่าวในชั้นพิจารณาของศาลได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802-3803/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากขาดอำนาจและไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน รวมถึงการพิจารณาหลักฐานและรายได้ที่ถูกต้อง
บทบัญญัติของมาตรา 21 และ 25 แห่งประมวลรัษฎากรอันเป็นบทบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมิน กฎหมายมิได้กำหนดเป็นเด็ดขาดว่า ถ้าไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกจะต้องห้ามอุทธรณ์ในทุกกรณี แต่จะต้องห้ามอุทธรณ์ก็ต่อเมื่อไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุอันสมควรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองจำต้องอยู่ต่างประเทศตามความจำเป็นของสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองไม่อาจกลับเข้ามาดำเนินการอย่างใด ๆ ในประเทศไทยได้ เพราะหากเข้ามาจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมืองจึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจจะปฏิบัติตามหมายเรียกได้ และโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด อีกทั้งได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดนับแต่วันรับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ด้วยโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินหมายเรียกเฉพาะโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีเท่านั้นจะถือเอาว่าเป็นการออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2ซึ่งเป็นภริยาด้วยไม่ได้ เพราะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 23กำหนดไว้ชัดเจนว่า ให้ออกหมายเรียกตัวผู้นั้นมาไต่สวน ทั้งนี้แม้มาตรา 57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร จะบัญญัติให้กรณีสามีและภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้วให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีและภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้วให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีและให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติในเรื่อง กำหนดตัวผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเสียภาษี แต่ตามมาตรา 19 และ 23 เป็นเรื่องการออกหมายเรียกตรวจสอบการเสียภาษีอันเป็นขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติ เพื่อที่จะให้ผู้ถูกประเมินได้รู้ถึงผลของการที่ตนจะต้องถูกบังคับให้รับผิดเพิ่มขึ้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่ออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 มาไต่สวนก่อนตามขั้นตอนของประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 23 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบและย่อมส่งผลให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พลอยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย กำหนดเวลาห้าปีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 มิใช่บทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระภาษี แต่เป็นบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกมาตรวจสอบไต่สวน เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้อำนาจในกำหนดเวลาดังกล่าว อำนาจออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 19จึงหมดไป อำนาจที่จะประเมินตามมาตรา 20 ก็ดี และอำนาจที่จะกำหนดเงินได้สุทธิตามมาตรา 49 ก็ดี จึงไม่อาจมีขึ้นได้ และปัญหาข้อนี้แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นอ้างในฎีกาแต่เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ บทบัญญัติมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้ต้องขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนนั้น หมายถึงเฉพาะกรณีที่จะกำหนดเงินได้สุทธิเท่านั้น ส่วนกรณีการออกหมายเรียกเพื่อไต่สวนเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำได้ตามมาตรา 19 และ 23 ซึ่งทั้งสองมาตรานี้กฎหมายมิได้กำหนดไว้ให้ต้องขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนแต่อย่างใด การประเมินโดยวิธีกำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์นั้น เจ้าพนักงานประเมินได้รวบรวมรายได้ของโจทก์ทั้งสองจากทรัพย์สินต่าง ๆ คือเงินฝากในธนาคาร ที่ดิน บ้าน รถยนต์ และรายจ่าย แล้วนำเงินได้นั้นมาหักเงินที่ได้รับยกเว้นภาษี หักค่าใช้จ่ายให้ตามกฎหมาย และหักค่าลดหย่อนแล้ว จึงกำหนดส่วนที่เหลือเป็นเงินได้สุทธิ เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นวิธีการคำนวณกำหนดเงินได้สุทธิที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802-3803/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่มิชอบ การขออนุมัติกำหนดเงินได้สุทธิ และการเพิกถอนการประเมินภาษี
++ คดีแดงที่ 3802-3803/2534 ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ ++
++
บทบัญญัติของมาตรา 21 และ 25 แห่งประมวลรัษฎากรอันเป็นบทบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินนั้น กฎหมายมิได้กำหนดเป็นเด็ดขาดว่า ถ้าไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกจะต้องห้ามอุทธรณ์ในทุกกรณี แต่จะต้องห้ามอุทธรณ์ก็ต่อเมื่อไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุอันสมควรเท่านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองจำต้องอยู่ต่างประเทศตามความจำเป็นของสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองไม่อาจกลับเข้ามาดำเนินการอย่างใด ๆ ในประเทศไทยได้ เพราะหากเข้ามาจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจจะปฏิบัติตามหมายเรียกได้ และโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด อีกทั้งได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดนับแต่วันรับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินหมายเรียกเฉพาะโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีเท่านั้นจะถือเอาว่าเป็นการออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาด้วยไม่ได้ เพราะตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19 และ 23 กำหนดไว้ชัดเจนว่า ให้ออกหมายเรียกตัวผู้นั้นมาไต่สวน ทั้งนี้แม้มาตรา57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร จะบัญญัติให้กรณีสามีและภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้วให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติในเรื่องการกำหนดตัวผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเสียภาษี แต่ตามมาตรา 19 และ 23 เป็นเรื่องการออกหมายเรียกตรวจสอบการเสียภาษีอันเป็นขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติ เพื่อที่จะให้ผู้ถูกประเมินได้รู้ถึงผลของการที่ตนจะต้องถูกบังคับให้รับผิดเพิ่มขึ้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่ออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 มาไต่สวนก่อนตามขั้นตอนของประมวลรัษฎากร มาตรา 19และ 23 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบ และย่อมส่งผลให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พลอยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย
กำหนดเวลาห้าปีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 มิใช่บทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระภาษี แต่เป็นบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกมาตรวจสอบไต่สวน เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้อำนาจในกำหนดเวลาดังกล่าว อำนาจออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 19จึงหมดไป อำนาจที่จะประเมินตามมาตรา 20 ก็ดี และอำนาจที่จะกำหนดเงินได้สุทธิตามมาตรา 49 ก็ดี จึงไม่อาจมีขึ้นได้ และปัญหาข้อนี้แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นอ้างในฎีกาแต่เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
บทบัญญัติมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้ต้องขอนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนนั้น หมายถึงเฉพาะกรณีที่จะกำหนดเงินได้สุทธิเท่านั้น ส่วนกรณีการออกหมายเรียกเพื่อไต่สวนเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำได้ตามมาตรา 19 และ23 ซึ่งทั้งสองมาตรานี้กฎหมายมิได้กำหนดไว้ให้ต้องขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนแต่อย่างใด
การประเมินโดยวิธีการกำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์นั้น เจ้าพนักงานประเมินได้รวบรวมรายได้ของโจทก์ทั้งสองจากทรัพย์สินต่าง ๆ คือ เงินฝากในธนาคารที่ดิน บ้าน รถยนต์ และรายจ่าย แล้วนำเงินได้นั้นมาหักเงินทีได้รับยกเว้นภาษี หักค่าใช้จ่ายให้ตามกฎหมาย และหักค่าลดหย่อนแล้ว จึงกำหนดส่วนที่เหลือเป็นเงินได้สุทธิ เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นวิธีการคำนวณกำหนดเงินได้สุทธิที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ ++
++
บทบัญญัติของมาตรา 21 และ 25 แห่งประมวลรัษฎากรอันเป็นบทบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินนั้น กฎหมายมิได้กำหนดเป็นเด็ดขาดว่า ถ้าไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกจะต้องห้ามอุทธรณ์ในทุกกรณี แต่จะต้องห้ามอุทธรณ์ก็ต่อเมื่อไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุอันสมควรเท่านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองจำต้องอยู่ต่างประเทศตามความจำเป็นของสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองไม่อาจกลับเข้ามาดำเนินการอย่างใด ๆ ในประเทศไทยได้ เพราะหากเข้ามาจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจจะปฏิบัติตามหมายเรียกได้ และโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด อีกทั้งได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดนับแต่วันรับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินหมายเรียกเฉพาะโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีเท่านั้นจะถือเอาว่าเป็นการออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาด้วยไม่ได้ เพราะตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19 และ 23 กำหนดไว้ชัดเจนว่า ให้ออกหมายเรียกตัวผู้นั้นมาไต่สวน ทั้งนี้แม้มาตรา57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร จะบัญญัติให้กรณีสามีและภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้วให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติในเรื่องการกำหนดตัวผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเสียภาษี แต่ตามมาตรา 19 และ 23 เป็นเรื่องการออกหมายเรียกตรวจสอบการเสียภาษีอันเป็นขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติ เพื่อที่จะให้ผู้ถูกประเมินได้รู้ถึงผลของการที่ตนจะต้องถูกบังคับให้รับผิดเพิ่มขึ้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่ออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 มาไต่สวนก่อนตามขั้นตอนของประมวลรัษฎากร มาตรา 19และ 23 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบ และย่อมส่งผลให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พลอยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย
กำหนดเวลาห้าปีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 มิใช่บทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระภาษี แต่เป็นบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกมาตรวจสอบไต่สวน เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้อำนาจในกำหนดเวลาดังกล่าว อำนาจออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 19จึงหมดไป อำนาจที่จะประเมินตามมาตรา 20 ก็ดี และอำนาจที่จะกำหนดเงินได้สุทธิตามมาตรา 49 ก็ดี จึงไม่อาจมีขึ้นได้ และปัญหาข้อนี้แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นอ้างในฎีกาแต่เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
บทบัญญัติมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้ต้องขอนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนนั้น หมายถึงเฉพาะกรณีที่จะกำหนดเงินได้สุทธิเท่านั้น ส่วนกรณีการออกหมายเรียกเพื่อไต่สวนเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำได้ตามมาตรา 19 และ23 ซึ่งทั้งสองมาตรานี้กฎหมายมิได้กำหนดไว้ให้ต้องขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนแต่อย่างใด
การประเมินโดยวิธีการกำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์นั้น เจ้าพนักงานประเมินได้รวบรวมรายได้ของโจทก์ทั้งสองจากทรัพย์สินต่าง ๆ คือ เงินฝากในธนาคารที่ดิน บ้าน รถยนต์ และรายจ่าย แล้วนำเงินได้นั้นมาหักเงินทีได้รับยกเว้นภาษี หักค่าใช้จ่ายให้ตามกฎหมาย และหักค่าลดหย่อนแล้ว จึงกำหนดส่วนที่เหลือเป็นเงินได้สุทธิ เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นวิธีการคำนวณกำหนดเงินได้สุทธิที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบังคับชำระภาษีค้าง เมื่อคดีเพิกถอนการประเมินยังไม่ถึงที่สุด
คดีก่อนที่จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของจำเลยนั้น ศาลอาจมีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิกถอนการประเมินของโจทก์หรือไม่ อย่างไรก็ได้ เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด จะถือว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าภาษีแก่โจทก์ตามที่มีการประเมินหาได้ไม่ คดีนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าภาษีตามที่มีการประเมินดังกล่าว
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้โดยตรง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้โดยตรง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี: เมื่อมีคดีเพิกถอนการประเมินภาษีแล้ว โจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องบังคับชำระภาษี
คดีก่อนที่จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของจำเลยนั้น ศาลอาจมีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิกถอนการประเมินของโจทก์ หรือไม่ อย่างไรก็ได้ เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดจะถือว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าภาษีแก่โจทก์ตามที่มีการประเมินหาได้ไม่คดีนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าภาษีตามที่มีการประเมินดังกล่าว อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้โดยตรง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อเก็งกำไรและผลทางภาษีอากร การซื้อขายที่ดินโดยไม่มีเจตนาใช้ประโยชน์แต่เพื่อเก็งกำไร ต้องเสียภาษี
การที่โจทก์นำสืบว่า ผู้รับมอบอำนาจโจทก์แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยว่าโจทก์ขายที่ดินไปโดยมิได้มุ่งในทางการค้าที่ดิน แต่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งว่า การขายที่ดินของโจทก์ ถือว่าประกอบการค้าที่ดินและให้โจทก์เสียภาษีการค้า ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ไม่ยินยอมเสียภาษีและจะอุทธรณ์ต่อไป แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ให้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ลงชื่อไว้ในช่องผู้ให้ถ้อยคำ โดยแจ้งว่าให้ลงชื่อไปก่อน เพราะเป็นระเบียบของกรมสรรพากร ว่าต้องมีหลักฐานไว้เพื่อตรวจสอบ ส่วนการอุทธรณ์จะอุทธรณ์ในภายหลังย่อมทำได้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จึงลงชื่อไว้พร้อมกับแจ้งด้วยว่าจะอุทธรณ์การประเมิน ดังนี้ตามข้อนำสืบหรือข้ออ้างของโจทก์เท่ากับอ้างว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์มิได้มีเจตนาที่จะยินยอมเสียภาษีการค้าหรือเจตนาลงชื่อ ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเอกสารดังกล่าวจึงใช้ไม่ได้ ซึ่งเป็นการนำสืบหักล้างเอกสารมิใช่นำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 โจทก์มิได้มีเจตนาที่จะยินยอมหรือทำสัญญาประนีประนอมยอมความในส่วนภาษีการค้า โจทก์จึงมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรได้ โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาและขายไปในระยะสั้น โดยในช่วงก่อนขายไม่ปรากฏว่าได้ใช้ประโยชน์ในกิจการของโจทก์อย่างใด ที่อ้างว่ามีโครงการต่าง ๆ ก็ไม่ปรากฏว่ามีเอกสารแสดงถึงโครงการเหล่านั้นมาสนับสนุน จึงเป็นการขายที่ดินเพื่อทางค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีการค้าตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3714/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวแทนทางศุลกากร: ตัวแทนมีสถานะเป็นเจ้าของสินค้าและต้องรับผิดชอบค่าภาษีอากร
จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินสำหรับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ถือว่าการประเมินสำหรับภาษีดังกล่าวยุติแล้ว จำเลยจึงหมดสิทธิที่จะรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินขึ้นโต้แย้งในศาลอีกต่อไป และประเด็นข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง จำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงชื่อในช่องผู้นำของเข้าในใบขนสินค้าขาเข้าในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ลงชื่อในบันทึกการตรวจยึดสินค้า อีกทั้งยังเป็นผู้รับสินค้าไปจากการตรวจปล่อยของโจทก์ที่ 1 ด้วย แสดงว่าจำเลยที่ 3 ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1เจ้าของสินค้าให้เป็นตัวแทนเพื่อปฏิบัติพิธีการทางศุลกากรในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร และจำเลยที่ 3 ก็ได้รับอนุมัติจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรให้เป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1เพื่อดำเนินการนำเข้าเกี่ยวกับสินค้ารายนี้แล้ว กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 106 ซึ่งให้ถือว่าจำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของสินค้าที่นำเข้าในครั้งนี้ด้วยจำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในหนี้ค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าที่นำเข้า เมื่อพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 106 บัญญัติให้ตัวแทนเป็นเจ้าของสินค้าด้วย ก็ต้องถือว่ามีความประสงค์ให้ตัวแทนมีความรับผิดเช่นเดียวกับเจ้าของสินค้าอันแท้จริงและตามมาตรา 10 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า ถ้าค่าภาษีที่ได้เสียไว้ไม่ครบถ้วนตามจำนวนที่ต้องเสียจริง กรมศุลกากรมีสิทธิเรียกเก็บส่วนที่ขาดจนครบ ดังนั้น แม้เจ้าพนักงานของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 จะได้ตรวจปล่อยสินค้าไปแล้ว หากปรากฏว่าค่าภาษีอากรที่เสียไว้ไม่ครบถ้วน โจทก์ที่ 1 ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้เจ้าของสินค้าหรือตัวแทนร่วมกันรับผิดชำระส่วนที่ขาดจนครบถ้วนได้ความรับผิดของตัวแทนที่ถือว่าเป็นเจ้าของสินค้าหาได้สิ้นสุดลงเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจปล่อยสินค้าไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3594/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ค่าใช้จ่ายทางภาษี: ใบเสร็จที่พิสูจน์ผู้รับไม่ได้ ไม่ถือเป็นรายจ่ายที่หักลดหย่อนได้
โจทก์มีใบเสร็จรับเงินซึ่งเขียนด้วยลายมือบุคคลคนเดียวกันรวม 43 ฉบับมาแสดงอ้างว่าซื้อสินค้าจากร้าน ช.และร้านท.แต่โจทก์ไม่อาจหาผู้รับเงินได้ทั้งสองรายอ้างว่าร้านค้าทั้งสองรายเลิกกิจการไปแล้ว และไม่อาจตามหาเจ้าของร้านมาแสดงตัวได้ดังนี้ โจทก์น่าจะนำสืบพยานหลักฐานอื่นประกอบให้น่าเชื่อว่าโจทก์ได้สั่งซื้อสินค้าไปจากร้านค้าทั้งสองจริง และได้ชำระเงินไปจริงด้วยวิธีการใด แต่โจทก์หาได้นำสืบอย่างหนึ่งอย่างใดไม่จึงไม่น่าเชื่อว่าจะมีการจ่ายเงินค่าสินค้าไปจริง ตามพฤติการณ์ถือได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (18) คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์เท่ากับยืนตามความเห็นของเจ้าพนักงานประเมิน เมื่อได้ทำคำวินิจฉัยเป็นหนังสือและส่งไปยังโจทก์ผู้อุทธรณ์ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 34 จึงชอบแล้ว เพราะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 34 ไม่ได้บัญญัติให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต้องให้เหตุผลในคำวินิจฉัยแจ้งไปยังผู้อุทธรณ์ด้วยแต่อย่างใด รายจ่ายใดที่โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งไว้ในชั้นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แสดงว่าโจทก์พอใจการประเมินในรายการเกี่ยวกับรายจ่ายเหล่านั้นแล้ว โจทก์จะยกมากล่าวอ้างในชั้นศาลว่าการประเมินรายการนั้นไม่ถูกต้องหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมชำระภาษีเพิ่มเติมโดยผู้รับมอบอำนาจมีผลผูกพันโจทก์ แม้คัดค้านภายหลัง
ป.ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ไปชี้แจงให้ถ้อยคำและตอบข้อซักถามของเจ้าพนักงานตรวจภาษีอากรเกี่ยวกับเรื่องภาษีอากร ตลอดจนให้ถ้อยคำยินยอมหรือปฏิเสธการรับผิดชอบที่จะเสียภาษีอากรใด ๆแทนบริษัทโจทก์จนเสร็จการที่ ป. ทราบคำชี้แจงของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีแล้วยอมรับว่าบริษัทโจทก์เสียภาษีการค้าไม่ถูกต้อง ยินยอมชำระภาษีการค้าส่วนที่ขาดเพิ่มเติมโดยไม่ขอโต้แย้งหรืออุทธรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้นทั้งมีบันทึกข้อตกลงด้วย กรณีเป็นการที่ ป. ยอมรับว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้เรียกเก็บภาษีการค้าเพิ่มและเงินเพิ่มถูกต้องดังนี้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์ระงับไปแล้วเพราะการกระทำของ ป.ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์มีผลผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทพิกัดอัตราศุลกากรและราคาประเมินสินค้า รถปั้นจั่นขนาดใหญ่จัดอยู่ในพิกัด 84.26 มิใช่ 87.05
โจทก์ฟ้องเฉพาะที่เกี่ยวกับพิกัดอัตราภาษีศุลกากร และการประเมินราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าว่ามิได้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานของจำเลยอ้าง มิได้ฟ้องเกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล และศาลภาษีอากรกลางก็มิได้วินิจฉัยในประเด็นนี้ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า ในส่วนที่เกี่ยวกับเงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลโจทก์มิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากรต้องห้ามอุทธรณ์ต่อศาล จึงเป็นอุทธรณ์นอกฟ้องนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตาม พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 นั้น สินค้าในพิกัดประเภทที่ 4.26 มีลักษณะสำคัญอยู่ที่การยกหรือขนย้ายด้วยการยกของหนัก ๆ จากที่ที่ตั้งหรือวางอยู่ไปวาง ณ อีกที่หนึ่งซึ่งอยู่ใกล้ ๆ มิได้มีความประสงค์ในการบรรทุกแล้วแล่นหรือเคลื่อนที่ไป ส่วนในพิกัดประเภท 7.05 นั้น เป็นสินค้าที่มีลักษณะสำคัญอยู่ที่การเป็นยานยนต์ ซึ่งใช้งานด้วยการบรรทุกสิ่งของแล้วแล่นไป ดังจะเห็นได้จากสินค้าที่ได้ยกตัวอย่างไว้ อันมี รถยกลากรถเสีย รถดับเพลิง รถผสมคอนกรีต รถกวาดถนนรถสำหรับฉีดพ่น เป็นต้น
สินค้าพิพาทเป็นรถปั้นจั่นขนาดใหญ่ มีความยาว 17. 5 เมตรเฉพาะตัวรถกว้าง 2. 5 เมตร มีเพลาล้อ เพลา ล้อ 32 ล้อ ตัวรถมีขาช้างและ
ตาม พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 นั้น สินค้าในพิกัดประเภทที่ 4.26 มีลักษณะสำคัญอยู่ที่การยกหรือขนย้ายด้วยการยกของหนัก ๆ จากที่ที่ตั้งหรือวางอยู่ไปวาง ณ อีกที่หนึ่งซึ่งอยู่ใกล้ ๆ มิได้มีความประสงค์ในการบรรทุกแล้วแล่นหรือเคลื่อนที่ไป ส่วนในพิกัดประเภท 7.05 นั้น เป็นสินค้าที่มีลักษณะสำคัญอยู่ที่การเป็นยานยนต์ ซึ่งใช้งานด้วยการบรรทุกสิ่งของแล้วแล่นไป ดังจะเห็นได้จากสินค้าที่ได้ยกตัวอย่างไว้ อันมี รถยกลากรถเสีย รถดับเพลิง รถผสมคอนกรีต รถกวาดถนนรถสำหรับฉีดพ่น เป็นต้น
สินค้าพิพาทเป็นรถปั้นจั่นขนาดใหญ่ มีความยาว 17. 5 เมตรเฉพาะตัวรถกว้าง 2. 5 เมตร มีเพลาล้อ เพลา ล้อ 32 ล้อ ตัวรถมีขาช้างและ