คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 30

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 316 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับรถใช้งานที่มีปั้นจั่น และการพิสูจน์ราคาอันแท้จริง
โจทก์ฟ้องเฉพาะที่เกี่ยวกับพิกัดอัตราภาษีศุลกากร และการประเมินราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าว่ามิได้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานของจำเลยอ้าง มิได้ฟ้องเกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลและศาลภาษีอากรกลางก็มิได้วินิจฉัยในประเด็นนี้ ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า ในส่วนที่เกี่ยวกับเงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลโจทก์มิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของมาตรา 30แห่งประมวลรัษฎากรต้องห้ามอุทธรณ์ต่อศาล จึงเป็นอุทธรณ์นอกฟ้องนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามพระราชกฤษฎีกา พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 นั้น สินค้าในพิกัดประเภทที่ 4.26 มีลักษณะสำคัญอยู่ที่การยกหรือขนย้ายด้วยการยกของหนัก ๆ จากที่ที่ตั้งหรือวางอยู่ไปวาง ณ อีกที่หนึ่งซึ่งอยู่ใกล้ ๆ มิได้มีความประสงค์ในการบรรทุกแล้วแล่นหรือเคลื่อนที่ไป ส่วนในพิกัดประเภท 7.05 นั้น เป็นสินค้าที่มีลักษณะสำคัญอยู่ที่การเป็นยานยนต์ ซึ่งใช้งานด้วยการบรรทุกสิ่งของแล้วแล่นไปดังจะเห็นได้จากสินค้าที่ได้ยกตัวอย่างไว้ อันมี รถยกลากรถเสียรถดับเพลิง รถผสมคอนกรีต รถกวาดถนน รถสำหรับฉีดพ่น เป็นต้น สินค้าพิพาทเป็นรถปั้นจั่นขนาดใหญ่ มีความยาว 17.5 เมตรเฉพาะตัวรถกว้าง 2.5 เมตร มีเพลาล้อ เพลาล้อ 32 ล้อ ตัวรถมีขาช้าง และก้านเหล็กทั้งซ้ายและขวา รวม 6 ตัว ซึ่งก้านด้านหน้าและด้านท้ายรถมีความยาวตลอดแนวจากซ้ายไปขวายาว .0 เมตร(รวมทั้งตัวรถ) ส่วนตัวกลางยาวตลอดแนวจากซ้ายไปขวา 11.73 เมตร(รวมทั้งตัวรถ) บนตัวรถมีห้องเครื่องบังคับการทำงานของตัวปั้นจั่นซึ่งมีก้านเหล็กยาววัดได้ 41 เมตร ก้านเหล็กนี้ใช้ยกโดยมีลวดสลิงยกของที่มีน้ำหนักมากจากเรือบรรทุกสินค้า รถรวมทั้งเครื่องจักรและก้านเหล็กมีน้ำหนัก 100 ตันเศษ ซึ่งเกินกว่าที่พระราชบัญญัติ จราจรกำหนดไว้ การเคลื่อนตัวของรถจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งจะต้องยกขาช้างด้วยระบบไฮโดรลิก ส่วนก้านเหล็กขาช้าง ไม่สามารถที่จะพับเก็บได้ คงกางอยู่ตลอดเวลา สามารถยกน้ำหนักได้ถึง 350 ตัน และไม่สามารถเคลื่อนที่ไปตามท้องถนนเหมือนรถดับเพลิงที่มีกระเช้ารถยกลากรถเสีย หรือรถสำหรับยกของการไฟฟ้า สินค้าพิพาทนี้เมื่อติดตั้งเสร็จและยกของเสร็จแล้วจะเคลื่อนไปยกยังอีกที่หนึ่ง สถานที่จะไปยกต่อนี้ต้องอยู่ห่างไม่เกิน5 ถึง 10 เมตร ถ้าจะเคลื่อนไปไกลกว่านี้จะต้องถอดตัวปั้นจั่นทั้งหมดออกพร้อมกับเก็บขาช้าง แล้วเคลื่อนที่ฐานไป เมื่อถึงที่ใหม่แล้วต้องประกอบใหม่ทั้งหมด เช่นนี้ สินค้าพิพาทจึงเป็นสินค้าที่มีความประสงค์ใช้ยกของหนักมาก ทำงานอยู่กับที่ไม่มีลักษณะเป็นยานยนต์อันมีสาระสำคัญอยู่ที่การเคลื่อนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างคล่องตัวดังสินค้าในพิกัดประเภทที่ 87.05 สินค้าพิพาทจึงจัดว่าเป็นรถใช้งานที่มีปั้นจั่นติดอยู่ด้วย อันจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 84.26 ทั้งนี้แม้ว่าสินค้ารายพิพาทจะมี2 ส่วน ส่วนหนึ่งสำหรับบังคับการทำงานของปั้นจั่น อีกส่วนหนึ่งใช้ในการขับเคลื่อนตัวรถก็ตาม แต่ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นสินค้าในพิกัดประเภทที่ 87.05 ราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ตรงกับราคาที่โจทก์กับผู้ขายตกลงกัน และตรงกับจำนวนเงินที่ระบุไว้ในคำขอการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยเฉพาะจำนวนเงินในเอกสารที่โจทก์กับผู้ขายตกลงกันก็ตรงกับจำนวนเงินที่ปรากฏในใบอนุญาตให้โจทก์นำเข้าสินค้ารายพิพาทด้วย และราคาที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าดังกล่าวข้างต้นนั้น จำเลยก็มิได้นำสืบหักล้างว่าโจทก์และบริษัทผู้ขายได้สมคบกันทำขึ้นโดยกำหนดราคาสินค้าต่ำกว่าความเป็นจริงแต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะทำได้ ส่วนราคาตามที่เจ้าพนักงานจำเลยประเมิน นั้นเป็นการที่จำเลยนำเอาราคาสินค้าใหม่ยี่ห้อเดียวกับสินค้ารายพิพาทที่บริษัทช.นำเข้าเมื่อปี พ.ศ. 2525 มาเป็นเกณฑ์แล้วหักค่าเสื่อมราคาออก จึงเป็นการนำเอาสินค้าคนละรุ่นและการใช้งานแตกต่างกัน ทั้งเป็นราคาสินค้าใหม่มาเป็นเกณฑ์คำนวณย่อมไม่อาจจะถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้ารายพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางอ้อมผ่านการส่งสำเนาคำฟ้องคดีล้มละลาย ไม่ถือเป็นการแจ้งโดยชอบตามกฎหมายภาษีอากร
ประมวลรัษฎากรได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือและส่งไปยังผู้อุทธรณ์ กับได้กำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งหนังสือซึ่งมีถึงบุคคลใดตามบทบัญญัติในลักษณะ 2แห่งประมวลรัษฎากรไว้เป็นพิเศษในมาตรา 8 การที่เจ้าพนักงานศาลส่งสำเนาคำฟ้องคดีล้มละลายให้โจทก์โดยวิธีปิดหมายนั้น นอกจากเจ้าพนักงานศาลจะไม่ใช่เจ้าพนักงานสรรพากรตามกฎหมายมาตราดังกล่าวแล้ว จำเลยยังเพียงแต่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์แนบไปในฐานะเป็นเอกสารประกอบคดีดังกล่าวเท่านั้น หาใช่มีเจตนาจะส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ผู้อุทธรณ์โดยตรง ตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลาง ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาสินค้านำเข้า: การประเมินราคาที่แท้จริงและการอุทธรณ์ผลการประเมินภาษี
ผู้ขายสินค้าในประเทศญี่ปุ่นตั้งราคาสินค้าให้โจทก์ตามราคาที่ปรากฏในใบกำกับสินค้า (อินวอยซ์) และบัญชีราคาสินค้า (ไพรซ์ลิสท์)ซึ่งเป็นราคาที่ขายให้แก่ลูกค้าในประเทศไทย เพราะจำเป็นต้องแข่งขันกับสินค้าของผู้ผลิตรายอื่น อีกทั้งสินค้า เป็นอะไหล่รถจักรยานยนต์รุ่นเก่าแต่ผู้ใช้ในประเทศไทยยังใช้อยู่ ประกอบกับมีอะไหล่เทียมขายแข่งขัน แต่ราคาสินค้าก็ยังสูงกว่า ราคา ของอะไหล่รถจักรยานยนต์ยี่ห้ออื่น ซึ่งราคานี้ทางเจ้าพนักงาน ของ จำเลยรับรองหรืออนุมัติราคาไว้แล้ว ดังนี้ ย่อมถือว่าราคาตาม ใบกำกับสินค้าและบัญชีราคาสินค้าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จำเลย จะ นำเอาราคาตามบัญชีราคาสูงสุด (เอ็กซ์ปอร์ตไพรซ์ลิสท์) ที่ จำเลย ขอจากผู้ขายในประเทศญี่ปุ่นและเป็นราคาที่ผู้ขายตั้ง ไว้ สำหรับ เสนอขายแก่ลูกค้าทั่วโลกมาใช้โดยที่ยังไม่ปรากฏว่า เป็น ราคา ที่ ผู้ขายได้ขายตามราคานั้นให้แก่ผู้ใดบ้าง หรือไม่ปรากฏ ว่า โจทก์ ซื้อ สินค้าจากผู้ขายในราคาที่สูงกว่าราคาที่ปรากฏตาม ใบกำกับสินค้า และบัญชีราคาสินค้าไม่ได้ ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 2)เรื่อง ยกเลิกและแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินตาม ประมวลรัษฎากร กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยอยู่ในฐานะ เจ้าพนักงานประเมินด้วยเมื่อเจ้าพนักงานได้โต้แย้งราคาสินค้า สั่งให้ตัวแทนของโจทก์แก้ไขเพิ่มเติมราคาสินค้าตลอดจนค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มขึ้น จึงถือได้ว่าคำสั่งของ เจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวเป็นการแจ้งประเมินค่าภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล ด้วยโจทก์จึงต้องอุทธรณ์คัดค้านต่อคณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนจึงจะมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลเกี่ยวกับ ค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร การจำกัดสิทธิฟ้อง และอำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบแก้ไข
ประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน แล้วจึงจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้นั้น เป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาล จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด และตามมาตรา 30(2) แห่งประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ฉะนั้น โจทก์จึงอ้างเหตุอื่นเพิ่มเติมจากที่เคยอุทธรณ์ไว้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์ยื่นแบบรายการชำระภาษีรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่ปี 2517ถึง 2521 ไว้ต่อจำเลยที่ 1 แล้ว ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรหัก ณ ที่จ่าย จำเลยที่ 2 จึงได้ออกหมายเรียกให้โจทก์ไปให้คำชี้แจงประกอบการไต่สวนตรวจสอบ พร้อมทั้งให้นำสมุดบัญชีและเอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชีไปตรวจสอบด้วย ดังนี้ การที่โจทก์ขอคืนเงินภาษีอากรหัก ณ ที่จ่ายเป็นจำนวนสูงถึง 2,700,000 บาทเศษ จำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นเจ้าพนักงานประเมิน ย่อมมีเหตุอันควรเชื่อว่า โจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์ จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์ตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากรได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ออกหมายเรียกโจทก์ไปตรวจสอบไต่สวนดังกล่าว จึงมิใช่เป็นเพียงการเรียกไปตรวจสอบเพื่อประกอบคำร้องขอคืนภาษีอากรหัก ณ ที่จ่ายตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 133(พ.ศ. 2516) ลงวันที่ 22 มีนาคม 2516แต่ประการเดียว แต่ถือได้ว่า จำเลยที่ 2 ใช้อำนาจตามมาตรา 19หมายเรียกโจทก์ไปตรวจสอบไต่สวนและได้ทราบข้อความแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจที่จะแก้จำนวนเงินที่โจทก์ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรที่ถูกต้องตามราคาซื้อขายจริง และสิทธิในการอุทธรณ์การประเมินภาษี
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากร จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินตาม ป.รัษฎากรด้วย ได้ประเมินราคาสินค้าเพิ่มจากที่โจทก์ได้สำแดงไว้ ทำให้โจทก์ต้องชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มขึ้นเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับแจ้งการประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 18 วรรคหนึ่ง,30 ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเกี่ยวกับค่าภาษีการค้าและค่าภาษีบำรุงเทศบาลที่เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมิน สินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรกำเนิดในประเทศนอร์เวย์มิได้กำเนิดในประเทศสวีเดน โจทก์ได้สำแดงราคา เครื่องหมายการค้าและประเทศกำเนิดสินค้าตามใบขนส่งสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าตรงตามที่ปรากฏในใบอินวอยซ์ อันเป็นราคาแท้จริงที่ซื้อขายกันการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินราคาค่าสินค้าและแจ้งให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มโดยเทียบราคาจากสินค้าที่กำเนิดในประเทศสวีเดนจึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบเพราะมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของจำนวนภาษีการค้าที่ขาดอยู่นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะชำระเสร็จโดยไม่จำกัดจำนวนไว้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องการชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับตาม มาตรา 89 เป็นการไม่ชอบด้วยป.รัษฎากร มาตรา 89 ทวิ วรรคสี่ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตรากำไรมาตรฐานและการประเมินสินค้าชำรุดเสียหายเป็นยอดขาย
โจทก์สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเพื่อและในนามของโจทก์เอง มิได้สั่งแทนบริษัท ท. แล้วโจทก์โอนขายสินค้าดังกล่าวให้บริษัท ท. เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับว่ามีการโอนหรือขายสินค้าดังกล่าวและโจทก์ไม่เคยขายสินค้าชนิดเดียวกันนี้ให้แก่ผู้อื่น การที่จำเลยคำนวณภาษีเงินได้ของโจทก์จากอัตรากำไรมาตรฐานของสินค้าตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรจึงชอบแล้ว บริษัทโจทก์มอบอำนาจให้ จ. มาให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานประเมินแทนโจทก์โดยโจทก์ยอมรับผิดชอบต่อการกระทำใด ๆของ จ. เสมือนหนึ่งโจทก์ได้กระทำการนั้น ๆ เอง เมื่อ จ.ให้การต่อเจ้าพนักงานประเมินว่าได้ตรวจพบว่าบริษัทโจทก์ลงบัญชีคุมสินค้าว่ามีสินค้าชำรุดและเสื่อมราคาเป็นจำนวนมาก และบริษัทได้ตัดบัญชีสินค้าเหล่านั้นออกจากบัญชีสินค้าคงเหลือโดยมิได้ลงบัญชีขาย จ. ยอมรับผิดและยอมให้เจ้าพนักงานประเมินราคาสินค้าซึ่งไม่ได้ลงบัญชีขายไว้เป็นยอดขายของบริษัทโดยใช้ราคาเฉลี่ยหรือราคาปกติของการขายสินค้าของบริษัทแต่ละประเภทสินค้าในปีนั้น ๆเป็นเกณฑ์คำนวณ ต้องถือว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยประเมินสินค้าที่โจทก์อ้างว่าชำรุดเสียหายเป็นสินค้าที่โจทก์จำหน่ายไป จำเลยจึงมีอำนาจประเมินเช่นนั้นได้โดยชอบ โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยประเมินภาษีการค้าของโจทก์โดยไม่ชอบอย่างไร ฟ้องโจทก์คัดค้านเฉพาะการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น ทั้งโจทก์มิได้คัดค้านในเรื่องการประเมินภาษีการค้าต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใดเพียงแต่ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับสำหรับภาษีการค้าโดยโจทก์ยอมรับว่าโจทก์เข้าใจข้อกฎหมายคลาดเคลื่อน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์เกี่ยวกับภาษีการค้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตรากำไรมาตรฐานและการยินยอมให้ประเมินภาษีจากสินค้าชำรุด
โจทก์สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเพื่อและในนามของโจทก์เอง มิได้สั่งแทนบริษัท ท. แล้วโจทก์โอนขายสินค้าดังกล่าวให้บริษัท ท. เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับว่ามีการโอนหรือขายสินค้าดังกล่าว และโจทก์ไม่เคยขายสินค้าชนิดเดียวกันนี้ให้แก่ผู้อื่น การที่จำเลยคำนวณภาษีเงินได้ของโจทก์จากอัตรากำไรมาตรฐานของสินค้าตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรจึงชอบแล้ว
บริษัทโจทก์มอบอำนาจให้ จ.มาให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานประเมินแทนโจทก์โดยโจทก์ยอมรับผิดชอบต่อการกระทำใด ๆ ของ จ.เสมือนหนึ่งโจทก์ได้กระทำการนั้น ๆ เอง เมื่อ จ.ให้การต่อเจ้าพนักงานประเมินว่าได้ตรวจพบว่าบริษัทโจทก์ลงบัญชีคุมสินค้าว่ามีสินค้าชำรุดและเสื่อมราคาเป็นจำนวนมาก และบริษัทได้ตัดบัญชีสินค้าเหล่านั้นออกจากบัญชีสินค้าคงเหลือโดยมิได้ลงบัญชีขาย จ.ยอมรับผิดและยอมให้เจ้าพนักงานประเมินราคาสินค้าซึ่งไม่ได้ลงบัญชีขายไว้เป็นยอดขายของบริษัทโดยใช้ราคาเฉลี่ยหรือราคาปกติของการขายสินค้าของบริษัทแต่ละประเภทสินค้าในปีนั้น ๆ เป็นเกณฑ์คำนวณ ต้องถือว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยประเมินสินค้าที่โจทก์อ้างว่าชำรุดเสียหายเป็นสินค้าที่โจทก์จำหน่ายไป จำเลยจึงมีอำนาจประเมินเช่นนั้นได้โดยชอบ
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยประเมินภาษีการค้าของโจทก์โดยไม่ชอบอย่างไร ฟ้องโจทก์คัดค้านเฉพาะการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น ทั้งโจทก์มิได้คัดค้านในเรื่องการประเมินภาษีการค้าต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใด เพียงแต่ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับสำหรับภาษีการค้าโดยโจทก์ยอมรับว่าโจทก์เข้าใจข้อกฎหมายคลาดเคลื่อน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์เกี่ยวกับภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากร, อายุความทางภาษีอากร, และอำนาจฟ้องคดีภาษีการค้า/ภาษีบำรุงเทศบาล
เจ้าพนักงานกรมศุลกากรเรียกให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มซึ่งมีทั้งอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล ถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากรแล้วหากโจทก์เห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30แม้การเรียกเก็บภาษีการค้ากับภาษีบำรุงเทศบาลจะเกี่ยวเนื่องกับการเรียกเก็บภาษีอากรขาเข้า ก็ไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจอุทธรณ์การประเมินต่อกรมศุลกากรแทนได้ การที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อกรมศุลกากรจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่พนักงานของจำเลยสั่งให้โจทก์เสียภาษีอากรขาเข้าเพิ่มเติม หากโจทก์เห็นว่าไม่ควรเสียก็ต้องร้องขอคืนเงินอากรที่เสียเพิ่มภายใน 2 ปี นับแต่นำสินค้าเข้า ตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯพ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า ปรากฏว่าเจ้าพนักงานของจำเลยสั่งให้โจทก์เสียอากรเพิ่มตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้ารวม5 ใบ ซึ่งโจทก์นำสินค้าเข้าครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 กันยายน2529 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2531 เกินกว่า 2 ปี คดีจึงขาดอายุความ และเมื่อมีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะแล้วจะนำอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร, อำนาจฟ้องภาษีการค้าและบำรุงเทศบาล, การประเมินภาษีอากรเกิน
เมื่อโจทก์สำแดงราคาสินค้านำเข้าเพื่อเสียภาษีอากรและกรมศุลกากรเรียกให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มซึ่งมีทั้งอากรขาเข้าภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล ถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากรแล้ว แม้การเรียกเก็บภาษีอากรทั้งสามประเภทจะต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน หากโจทก์เห็นว่าการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไม่ถูกต้องอย่างไร ชอบที่จะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา30 เสียก่อน ไม่มีกฎหมายใดสนับสนุนให้อุทธรณ์ในกรณีนี้ต่อกรมศุลกากรได้ การที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อกองวิเคราะห์ราคาของกรมศุลกากรถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกคืนภาษีทั้งสองประเภท การเรียกร้องขอคืนอากรเพราะเหตุที่เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะแล้ว มิใช่มีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีและการอุทธรณ์: ข้อจำกัดด้านเวลาและอำนาจฟ้อง กรณีขาดอายุความและไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน
โจทก์สำแดงราคาสินค้าเพื่อเสียภาษีอากร พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่าไม่ถูกต้องจึงให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่ม ซึ่งมีทั้งอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแยกกันอยู่ชัดเจนดังนี้ ถือว่าได้มีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากรแล้ว หากโจทก์เห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้องอย่างไรชอบที่จะอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 30 เสียก่อนเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วันโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง จะอ้างว่าการที่โจทก์อุทธรณ์ต่อจำเลยเป็นการอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลด้วยไม่ได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินอากรขาเข้าที่โจทก์ชำระไว้เกินคืน แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์เสียภาษีอากรเกินดังกล่าวไปโดยไม่ยินยอมโดยมีข้อคัดค้านต่อจำเลยไว้ก็ตาม กรณีเป็นเรื่องการเรียกร้องขอคืนอากรเพราะเหตุที่เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงโจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน 2 ปี นับแต่วันที่นำของเข้า มิฉะนั้นคดีของโจทก์ขาดอายุความ ตามมาตรา 10 วรรคห้าแห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469.
of 32