พบผลลัพธ์ทั้งหมด 316 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5282/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาชิ้นส่วนนำเข้าต้องอ้างอิงราคาตลาด ณ เวลาที่นำเข้า และการบังคับใช้บทบัญญัติเกี่ยวกับเงินเพิ่มภาษี
การที่เจ้าพนักงานของโจทก์ประเมินราคาชิ้นส่วนสินค้าตู้เครื่องรับโทรทัศน์พร้อมหลอดภาพที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยเทียบเคียง ราคากับบัตรราคาเครื่องรับโทรทัศน์ครบชุดชนิดเดียวกันที่นำเข้ามาภายหลังประมาณ 2 ปีนั้น มิใช่ราคาณ เวลาที่นำของเข้าและเป็นของชนิดเดียวกัน และการที่เจ้าพนักงานของโจทก์กำหนดราคาสินค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นชิ้นส่วนร้อยละ40 ของราคาสินค้าครบชุดโดยไม่มีกฎเกณฑ์ให้เห็นว่าเพราะเหตุใดถือไม่ได้ว่าราคาที่เจ้าพนักงานของโจทก์ประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด สำหรับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ประเมินเพิ่มนั้นจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 30 ภาษีส่วนนี้จึงยุติและจำเลยที่ 1จะต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1077,1087 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ หากผู้ประกอบการค้าไม่ชำระภาษีการค้าภายในกำหนดเวลาก็ต้องชำระเงินเพิ่มตามอัตราที่กฎหมายกำหนด อันเป็นทางแก้กรณีลูกหนี้ผิดนัดโดยเฉพาะแล้ว จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5114/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภริยาต้องร่วมรับผิดภาษีเงินได้ร่วมกับสามี แม้หย่าแล้ว และบังคับคดีได้ทั้งทรัพย์มรดก
หนี้ภาษีอากรรายพิพาทเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์เรียกเก็บจากจำเลยที่ 1 และสามี จำเลยที่ 1 และสามีอุทธรณ์การประเมินคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ผ่อนผันลดเงินเพิ่มลงและแจ้งให้จำเลยที่ 1 กับสามีชำระ แต่ก็ไม่ได้ชำระและมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาลภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ทั้งเมื่อถูกฟ้องคดีนี้ จำเลยที่ 1 รับว่าการประเมินถูกต้อง หนี้ภาษีรายพิพาทจึงยุติว่าจำเลยที่ 1 มีเงินได้พึงประเมินและมีรายรับอันจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าร่วมกับสามี เพราะการประเมินรายนี้ถือว่าเป็นเงินได้และรายรับร่วมกัน แม้โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 1รับผิดฐานไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่จำเลยที่ 1 เคยตกลงยอมชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่พิพาทก็ตามแต่เมื่อภาษีอากรรายพิพาทเป็นภาษีอากรค้าง จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับสามี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา57 ตรี วรรคแรก ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสองในฐานะทายาทของสามีจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้อง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินจำนวนทรัพย์มรดกที่ตกได้แก่จำเลยทั้งสอง ให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกนำเงินจากกองมรดกหากมีไปชำระภาษี มิได้หมายความว่าจะต้องเอาเฉพาะมรดกที่เป็นเงินไปชำระภาษีโดยไม่ต้องรับผิดในทรัพย์สินอื่นที่เป็นมรดก เพราะความตอนต้นบ่งชัดแล้วว่าจำเลยที่ 2ในฐานะทายาทต้องชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้อง คำพิพากษาดังกล่าวจึงย่อมบังคับคดีแก่ทรัพย์สินทุกชนิดที่เป็นมรดกของผู้ตาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5110/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีถึงที่สุด ผู้เสียภาษีมีหน้าที่ชำระ แม้การประเมินไม่ถูกต้อง ศาลภาษีอากรกลางไม่มีอำนาจวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 รับแจ้งการประเมินแล้ว ไม่อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่เรียกเก็บภาษีการค้าเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ย่อมถึงที่สุด จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้องและเมื่อการประเมินถึงที่สุดแล้ว จึงไม่มีปัญหาว่ายอดรายรับที่เจ้าพนักงานประเมินใช้ในการประเมินภาษีชอบหรือไม่ ทั้งปัญหาดังกล่าวไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5110/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีถึงที่สุด การไม่อุทธรณ์ถือเป็นการยอมรับ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องหนี้ได้
จำเลยที่ 1 รับแจ้งการประเมินแล้ว ไม่อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่เรียกเก็บภาษีการค้าเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ย่อมถึงที่สุด จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้องและเมื่อการประเมินถึงที่สุดแล้ว จึงไม่มีปัญหาว่ายอดรายรับที่เจ้าพนักงานประเมินใช้ในการประเมินภาษีชอบหรือไม่ ทั้งปัญหาดังกล่าวไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5110/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีถึงที่สุด: ผู้เสียภาษีมีหน้าที่ชำระหากไม่โต้แย้งการประเมิน
เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับแจ้งการประเมินแล้ว หากการประเมินไม่ชอบอย่างไร จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ต้องเสียภาษีอากรมีสิทธิที่จะอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หากจำเลยที่ 1ไม่อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่เรียกเก็บภาษีการค้าเพิ่มจากจำเลยที่ 1ย่อมถึงที่สุด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4924/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายเพื่อบริการต่างประเทศ และการเครดิตภาษีหัก ณ ที่จ่าย การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์มิได้จ่ายเงินให้บริษัทต่างประเทศเพื่อเป็นค่าบริการสำหรับกิจการของโจทก์ จึงมิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์และมิใช่การจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ ไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เงินภาษี หัก ณ ที่จ่าย ที่โจทก์ถูกหักไว้ตามมาตรา 69 ทวิแห่งประมวลรัษฎากรโจทก์มีสิทธิเอาไปเครดิตภาษีได้เฉพาะในรอบระยะเวลาบัญชีที่หักไว้เท่านั้น เมื่อโจทก์ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายก่อนรอบระยะเวลาบัญชีที่ถูกประเมิน โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเอามาเครดิตภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีที่ถูกประเมิน การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีในจำนวนที่เอาไปเครดิตไม่ได้ด้วยรวมเป็นเงินภาษีมากกว่าที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียเป็นเพียงการคิดภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมายมิได้เอาเงินได้อื่นมาคำนวณเพื่อเรียกเก็บภาษี จึงมิใช่การประเมินเรียกเก็บเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่น หรือใช้อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษี คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์การประเมินภาษีศุลกากร: การฟ้องคดีแม้มีการอุทธรณ์ และการประเมินราคาตามราคาตลาด
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ทวิวรรคสามเป็นเพียงข้อกำหนดว่าอาจอุทธรณ์ได้ ถ้ามิได้อุทธรณ์ก็มิได้ตัดสิทธิในการฟ้องคดี เมื่อมีการอุทธรณ์แล้วแม้จะมิได้พิจารณาอุทธรณ์หรือพิจารณาไม่เสร็จก็มิได้ห้ามมิให้ฟ้องคดีฉะนั้นเมื่อมีการประเมินภาษีอากรอันจะพึงต้องเสียและแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยไม่ชำระก็เป็นการโต้แย้งสิทธิและโจทก์มีอำนาจที่จะฟ้องคดีได้ทันที การที่จำเลยขอความเป็นธรรมต่อโจทก์ที่ 1 เกี่ยวกับการประเมินภาษีถือเป็นการอุทธรณ์การประเมินอากร ตาม พ.ร.บ. ศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคสาม แต่ไม่ถือว่าเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 การประเมินภาษีอากรขาเข้าจะชอบหรือไม่ ต้องพิจารณาว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าดังกล่าวเป็นจำนวนเท่าใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4779/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ภาษีของห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังพ้นตำแหน่ง
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หนี้ภาษีอากรของจำเลยย่อมยุติไปตามที่เจ้าพนักงานของโจทก์แจ้งประเมินไว้
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นหนี้ค่าภาษีอากรในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2525 ถึงปี พ.ศ. 2526 ต่อมาจำเลยที่ 2ได้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1080 ดังนั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2จะออกจากการเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปแล้วก็ตาม เมื่อการออกไปดังกล่าวยังไม่เกิน 2 ปี โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1077(2),1080, และ 1087
โจทก์แจ้งการประเมินภาษีให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ต้องเสียภาษีอากรแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ด้วยจำเลยที่ 2มิใช่ผู้ที่ถูกประเมิน กรณีไม่มีเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้แก่จำเลยที่ 2.
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นหนี้ค่าภาษีอากรในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2525 ถึงปี พ.ศ. 2526 ต่อมาจำเลยที่ 2ได้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1080 ดังนั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2จะออกจากการเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปแล้วก็ตาม เมื่อการออกไปดังกล่าวยังไม่เกิน 2 ปี โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1077(2),1080, และ 1087
โจทก์แจ้งการประเมินภาษีให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ต้องเสียภาษีอากรแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ด้วยจำเลยที่ 2มิใช่ผู้ที่ถูกประเมิน กรณีไม่มีเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้แก่จำเลยที่ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4779/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ภาษีของห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังพ้นจากตำแหน่ง
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หนี้ภาษีอากรของจำเลยย่อมยุติไปตามที่เจ้าพนักงานของโจทก์แจ้งประเมินไว้ จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นหนี้ค่าภาษีอากรในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2525 ถึงปี พ.ศ. 2526 ต่อมาจำเลยที่ 2ได้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1080 ดังนั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2จะออกจากการเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปแล้วก็ตาม เมื่อการออกไปดังกล่าวยังไม่เกิน 2 ปี โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1077(2),1080, และ 1087 โจทก์แจ้งการประเมินภาษีให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ต้องเสียภาษีอากรแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ด้วยจำเลยที่ 2มิใช่ผู้ที่ถูกประเมิน กรณีไม่มีเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้แก่จำเลยที่ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4629/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ภาษีอากรเกิน 10 ปีเป็นโมฆะ ผู้มีสิทธิฟ้องได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมิน
การใช้อำนาจยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12ต้องกระทำภายในสิบปี นับแต่วันอาจใช้อำนาจดังกล่าวได้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2517 และแจ้งการประเมินภาษีการค้าให้โจทก์ทราบในเดือนสิงหาคม 2518 เมื่อโจทก์ทราบการประเมินแล้วไม่ชำระ จำเลยชอบที่จะใช้อำนาจยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 12 แต่จำเลยเพิ่งมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์ของโจทก์เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2530 อันเป็นเวลาล่วงเลยกำหนดระยะเวลาสิบปีการยึดของจำเลยจึงไม่ชอบ การฟ้องขอให้เพิกถอนการยึดมิใช่กรณีการฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมิน จึงไม่จำต้องอุทธรณ์การประเมินโจทก์มีอำนาจฟ้อง