พบผลลัพธ์ทั้งหมด 316 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1095/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจแก้ไขการประเมินภาษีที่ผิดพลาดได้ แม้จะอยู่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ การประเมินใหม่ไม่ถือเป็นการประเมินซ้ำซ้อน
ตาม ป. รัษฎากร ลักษณะ 2 หมวด 4 ส่วน 12 เรื่องอำนาจเจ้าพนักงานประเมินไม่มีบทบัญญัติใดห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ ถึงแม้ว่าการประเมินที่ผิดพลาดดังกล่าวจะอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ตาม โดยเฉพาะการประเมินใหม่โดยยกเลิกการประเมินครั้งก่อนเนื่องจากเจ้าพนักงานประเมินมิได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย นอกจากนี้การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในครั้งใหม่นั้น เจ้าพนักงานประเมินยังคงประเมินให้โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มและเบี้ยปรับเท่าเดิม คงมีส่วนเงินเพิ่มเท่านั้นที่ประเมินให้โจทก์ชำระเพิ่มขึ้น ซึ่งเงินเพิ่มที่เพิ่มขึ้นก็หาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ เนื่องจากบุคคลที่ไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย บุคคลนั้นย่อมต้องเสียเงินเพิ่มจนถึงวันชำระหรือนำส่งภาษี ดังนั้น หากโจทก์ยังมิได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่จำเลยอย่างถูกต้องครบถ้วน โจทก์ย่อมมีหน้าที่เสียเงินเพิ่มให้แก่จำเลยอยู่แล้วตาม ป. รัษฎากร มาตรา 89/1 เมื่อการประเมินครั้งใหม่โดยยกเลิกการประเมินครั้งแรกนั้นมีผลทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีเพียงครั้งเดียว การประเมินในครั้งหลังจึงหาใช่การประเมินซ้ำซ้อนหรือทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีซ้ำซ้อนแต่ประการใดไม่
แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์การประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็หาทำให้โจทก์หมดสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ เพราะการที่เจ้าพนักงานประเมินให้ผู้เสียภาษีอากรรับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มโดยไม่มีอำนาจหรือฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ทำให้ผู้เสียภาษีต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียตามกฎหมาย ต้องถือเสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีการประเมินหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินในส่วนนั้นที่โจทก์ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลขอให้เพิกถอนการประเมินในส่วนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์การประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็หาทำให้โจทก์หมดสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ เพราะการที่เจ้าพนักงานประเมินให้ผู้เสียภาษีอากรรับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มโดยไม่มีอำนาจหรือฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ทำให้ผู้เสียภาษีต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียตามกฎหมาย ต้องถือเสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีการประเมินหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินในส่วนนั้นที่โจทก์ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลขอให้เพิกถอนการประเมินในส่วนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8855/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม การคืนเงินภาษี และการหักกลบลบหนี้ โดยต้องมีการแจ้งประเมินภาษีเป็นหนังสือเสียก่อน
เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89/2 ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีอากรประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 14 และมาตรา 77 และมาตรา 88/5 ได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะสำหรับ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยกำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินเเจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังผู้มีหน้าที่เสียภาษี ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินตามบทบัญญัติในส่วน 2 ของหมวด 2 ลักษณะ 2 ก็ได้ การที่โจทก์เพียงแต่ได้รับแจ้งผลการตรวจสอบจากเจ้าพนักงานของจำเลยยังถือไม่ได้ว่ามีการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังโจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีดังกล่าว หากมีการแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มไปยังโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี มูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) เพิ่มเติมครั้งที่ 1 โจทก์ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มโดยไม่มีหน้าที่ต้องชำระจำนวน 4,964,000 บาท และได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (แบบ ค.10) แล้ว เมื่อจำเลยยังไม่ได้แจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับเพิ่มเติม จำเลยจึงยังไม่อาจนำเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณได้จากผลการตรวจสอบดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับจำนวนเงินที่จำเลยต้องคืนให้โจทก์เนื่องจากการชำระภาษีโดยไม่มีหน้าที่ต้องชำระ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8315/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี เกินกำหนดอายุความ การขายทรัพย์สินต่ำกว่าราคาตลาด และการหักลดหย่อนภาษีที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2531 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2531 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2531 และยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 ถึงวันที่31 ธันวาคม 2531 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2532 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์เพื่อตรวจสอบภาษีเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2534 จึงเป็นการออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 แบบภ.ง.ด.51 และแบบแสดงรายการการค้า ตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นและชอบด้วยกฎหมาย
การออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าประมวลรัษฎากรได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะในมาตรา 87 ตรี ซึ่งใช้บังคับขณะนั้น และได้บัญญัติอยู่ในหมวด 4 ภาษีการค้าส่วนที่ 7 ว่าด้วยอำนาจเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีการค้าของโจทก์ได้ภายในระยะเวลาตามมาตรา 88 ทวิ คือ (1)ห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลังถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือ (2) สิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จ โดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับเดือนมิถุนายน 2531 ภายในกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 85 ทวิและเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้ออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีการค้าโจทก์เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2534 จึงเป็นการออกหมายเรียกภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว
สิทธิเรียกร้องของรัฐเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/31 เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2537 โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2537 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันยื่นแบบ ภ.ง.ด.50และแบบ ภ.ง.ด.51 จึงเป็นการแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในอายุความ
โจทก์ขายที่ดินพร้อมโรงงานแก่บริษัท ส.ต่ำกว่าราคาตลาดโดย ฉ.ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์ขณะที่โจทก์ซื้อที่ดิน เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการของโจทก์พิจารณาอนุมัติให้ขายที่ดินพร้อมโรงงานแก่ผู้ซื้อ และเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการของบริษัท ส.พิจารณาอนุมัติให้ซื้อที่ดินพร้อมโรงงานจากโจทก์ โจทก์และผู้ซื้อจึงมีความเกี่ยวพันกัน ทั้งโจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องขายที่ดินพร้อมโรงงาน จึงถือว่าโจทก์ขายที่ดินพร้อมโรงงานต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านการประเมินในปัญหาว่าโจทก์ขายสบู่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุอันสมควรหรือไม่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ปัญหานี้ โจทก์จะยกมากล่าวอ้างในชั้นศาลว่าการประเมินในปัญหานี้ไม่ถูกต้องหาได้ไม่
กรณีที่จะถือว่าการจัดทำประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีโดยมีเหตุอันสมควรนั้น ต้องมีเหตุการณ์เหนือความคาดหมายของผู้ประกอบกิจการเช่นนั้นเกิดขึ้น มิใช่เหตุการณ์ปกติทางการค้าส่งผลให้การประมาณการผิดพลาดไป การที่โจทก์จัดทำประมาณการกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 สูงกว่ารอบระยะเวลาบัญชีปีที่ผ่านมามากกว่าเท่าตัว มิใช่เหตุผลจะอ้างได้ว่าโจทก์จัดทำประมาณการกำไรสุทธิขาดไปโดยมีเหตุอันสมควร
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาในระหว่างปี 2523 ถึงปี 2528 รวม 16แปลง คิดเป็นเนื้อที่รวม 319 ไร่ 1 งาน 8 ตารางวา และโจทก์ได้ก่อสร้างอาคารโรงงาน ติดตั้งเครื่องจักรเป็นโรงงานผลิตสุรา โจทก์เริ่มผลิตสุราจำหน่ายในปี 2529ต่อมาโจทก์ขายที่ดินพร้อมโรงงานไปในปี 2531 กิจการของโจทก์เป็นกิจการขนาดใหญ่ต้องใช้เงินลงทุนสูง โจทก์จึงต้องวางแผนและศึกษาโครงการพร้อมทั้งวิธีแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นไว้แล้วอย่างดี จึงไม่อาจอ้างได้ว่ามีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นของน้ำเสียและโจทก์ไม่มีที่ดินเพียงพอที่จะทำการแก้ปัญหาดังกล่าว พฤติการณ์การซื้อที่ดินของโจทก์และก่อสร้างโรงงานแล้วขายไปดังกล่าวมีลักษณะเป็นทางการค้า โจทก์จึงต้องนำรายได้มาลงเป็นรายรับเพื่อคำนวณเสียภาษีการค้า เมื่อโจทก์มิได้นำรายได้จากการขายที่ดินพร้อมโรงงานมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า จึงเป็นกรณีที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า โจทก์ต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีมิถุนายน 2531ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2531 เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ได้ประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าจากโจทก์เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2537 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า จึงเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องภาษีการค้าภายในกำหนดอายุความ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
โจทก์ประกอบกิจการขายสินค้าประเภทเครื่องดื่ม ยา และเครื่องสำอางมิได้ประกอบกิจการค้าขายที่ดิน จึงมีเหตุให้โจทก์เข้าใจได้ว่า การขายที่ดินพร้อมโรงงานของโจทก์มิได้มีลักษณะเป็นทางการค้าหรือหากำไร ซึ่งโจทก์ก็ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ถูกต้องครบถ้วนเว้นแต่รายรับจากการขายที่ดินพร้อมโรงงานเท่านั้น การที่โจทก์มิได้ลงรายรับดังกล่าว จึงมิใช่เพราะโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี หากแต่เกิดจากความเข้าใจผิดของโจทก์ กรณีจึงมีเหตุสมควรงดเบี้ยปรับสำหรับภาษีการค้าให้โจทก์
จำเลยทั้งสี่ให้การว่า ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และภาษีการค้าจำนวน 722,698.58 บาท เป็นภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้และตามแบบแจ้งการประเมินภาษีการค้าสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 ถึงปี 2524ที่โจทก์จ่ายเมื่อปี 2528 ถึงปี 2530 โจทก์นำมาถือจ่ายเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2529 ถึงปี 2531 เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 จึงปรับปรุงให้ถือจ่ายตามรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายจริง รายจ่ายเหลื่อมปีดังกล่าวเป็นรายจ่ายต้องห้ามแต่จำเลยทั้งสี่กลับนำสืบว่า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์นำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายและภาษีการค้าของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 ถึงปี2524 ที่ค้างชำระรวมจำนวน 986,131.36 บาท มาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 แต่โจทก์แสดงจำนวนภาษีที่ถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531เกินกว่าจำนวนที่ยอมให้หักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 ดังกล่าว เป็นเงิน722,698.58 บาท จึงถือเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง ซึ่งกรณีดังกล่าวแม้ต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (9) แต่ก็คนละเหตุกับที่จำเลยทั้งสี่ให้การต่อสู้ จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่นำสืบตามประเด็นข้อพิพาท และต้องฟังข้อเท็จจริงว่า ภาษีเงินได้และภาษีการค้าจำนวน 722,698.58 บาท มิใช่ภาษีที่โจทก์ชำระเหลื่อมปี จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9)
ปรากฏจากคำฟ้องว่า เจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีไปยังโจทก์รวม 3 ฉบับ เป็นการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 (ครึ่งปี) 1 ฉบับ ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531(เต็มปี) 1 ฉบับ และประเมินภาษีการค้าสำหรับเดือนมิถุนายน 2531 อีก 1 ฉบับจึงเป็นกรณีที่โจทก์ถูกประเมินภาษีหลายคราว แล้วโจทก์รวมฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินมาเป็นคดีเดียว แม้จะได้ความว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหลายคราว แต่การประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 มีทั้งการประเมินครึ่งปีกับเต็มปี จำนวนเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2531 จึงมียอดเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 (ครึ่งปี) และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 (เต็มปี)อันเป็นจำนวนเดียวกัน จึงเป็นข้อหาเดียวเกี่ยวข้องกัน ส่วนการประเมินภาษีการค้าสำหรับเดือนมิถุนายน 2531 เป็นการประเมินภาษีคนละประเภทกันและแต่ละประเภทมีจำนวนเงินแยกออกจากกันได้ จึงมีสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับแตกต่างกัน สภาพแห่งข้อหาตามฟ้องของโจทก์จึงไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกจากกันได้ การที่โจทก์รวมภาษีทั้งสองประเภทมาเป็นจำนวนเดียว และเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดเพียงจำนวนเดียวจึงไม่ถูกต้อง
การออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าประมวลรัษฎากรได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะในมาตรา 87 ตรี ซึ่งใช้บังคับขณะนั้น และได้บัญญัติอยู่ในหมวด 4 ภาษีการค้าส่วนที่ 7 ว่าด้วยอำนาจเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีการค้าของโจทก์ได้ภายในระยะเวลาตามมาตรา 88 ทวิ คือ (1)ห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลังถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือ (2) สิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จ โดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับเดือนมิถุนายน 2531 ภายในกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 85 ทวิและเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้ออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีการค้าโจทก์เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2534 จึงเป็นการออกหมายเรียกภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว
สิทธิเรียกร้องของรัฐเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/31 เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2537 โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2537 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันยื่นแบบ ภ.ง.ด.50และแบบ ภ.ง.ด.51 จึงเป็นการแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในอายุความ
โจทก์ขายที่ดินพร้อมโรงงานแก่บริษัท ส.ต่ำกว่าราคาตลาดโดย ฉ.ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์ขณะที่โจทก์ซื้อที่ดิน เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการของโจทก์พิจารณาอนุมัติให้ขายที่ดินพร้อมโรงงานแก่ผู้ซื้อ และเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการของบริษัท ส.พิจารณาอนุมัติให้ซื้อที่ดินพร้อมโรงงานจากโจทก์ โจทก์และผู้ซื้อจึงมีความเกี่ยวพันกัน ทั้งโจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องขายที่ดินพร้อมโรงงาน จึงถือว่าโจทก์ขายที่ดินพร้อมโรงงานต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านการประเมินในปัญหาว่าโจทก์ขายสบู่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุอันสมควรหรือไม่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ปัญหานี้ โจทก์จะยกมากล่าวอ้างในชั้นศาลว่าการประเมินในปัญหานี้ไม่ถูกต้องหาได้ไม่
กรณีที่จะถือว่าการจัดทำประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีโดยมีเหตุอันสมควรนั้น ต้องมีเหตุการณ์เหนือความคาดหมายของผู้ประกอบกิจการเช่นนั้นเกิดขึ้น มิใช่เหตุการณ์ปกติทางการค้าส่งผลให้การประมาณการผิดพลาดไป การที่โจทก์จัดทำประมาณการกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 สูงกว่ารอบระยะเวลาบัญชีปีที่ผ่านมามากกว่าเท่าตัว มิใช่เหตุผลจะอ้างได้ว่าโจทก์จัดทำประมาณการกำไรสุทธิขาดไปโดยมีเหตุอันสมควร
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาในระหว่างปี 2523 ถึงปี 2528 รวม 16แปลง คิดเป็นเนื้อที่รวม 319 ไร่ 1 งาน 8 ตารางวา และโจทก์ได้ก่อสร้างอาคารโรงงาน ติดตั้งเครื่องจักรเป็นโรงงานผลิตสุรา โจทก์เริ่มผลิตสุราจำหน่ายในปี 2529ต่อมาโจทก์ขายที่ดินพร้อมโรงงานไปในปี 2531 กิจการของโจทก์เป็นกิจการขนาดใหญ่ต้องใช้เงินลงทุนสูง โจทก์จึงต้องวางแผนและศึกษาโครงการพร้อมทั้งวิธีแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นไว้แล้วอย่างดี จึงไม่อาจอ้างได้ว่ามีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นของน้ำเสียและโจทก์ไม่มีที่ดินเพียงพอที่จะทำการแก้ปัญหาดังกล่าว พฤติการณ์การซื้อที่ดินของโจทก์และก่อสร้างโรงงานแล้วขายไปดังกล่าวมีลักษณะเป็นทางการค้า โจทก์จึงต้องนำรายได้มาลงเป็นรายรับเพื่อคำนวณเสียภาษีการค้า เมื่อโจทก์มิได้นำรายได้จากการขายที่ดินพร้อมโรงงานมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า จึงเป็นกรณีที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า โจทก์ต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีมิถุนายน 2531ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2531 เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ได้ประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าจากโจทก์เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2537 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า จึงเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องภาษีการค้าภายในกำหนดอายุความ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
โจทก์ประกอบกิจการขายสินค้าประเภทเครื่องดื่ม ยา และเครื่องสำอางมิได้ประกอบกิจการค้าขายที่ดิน จึงมีเหตุให้โจทก์เข้าใจได้ว่า การขายที่ดินพร้อมโรงงานของโจทก์มิได้มีลักษณะเป็นทางการค้าหรือหากำไร ซึ่งโจทก์ก็ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ถูกต้องครบถ้วนเว้นแต่รายรับจากการขายที่ดินพร้อมโรงงานเท่านั้น การที่โจทก์มิได้ลงรายรับดังกล่าว จึงมิใช่เพราะโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี หากแต่เกิดจากความเข้าใจผิดของโจทก์ กรณีจึงมีเหตุสมควรงดเบี้ยปรับสำหรับภาษีการค้าให้โจทก์
จำเลยทั้งสี่ให้การว่า ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และภาษีการค้าจำนวน 722,698.58 บาท เป็นภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้และตามแบบแจ้งการประเมินภาษีการค้าสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 ถึงปี 2524ที่โจทก์จ่ายเมื่อปี 2528 ถึงปี 2530 โจทก์นำมาถือจ่ายเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2529 ถึงปี 2531 เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 จึงปรับปรุงให้ถือจ่ายตามรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายจริง รายจ่ายเหลื่อมปีดังกล่าวเป็นรายจ่ายต้องห้ามแต่จำเลยทั้งสี่กลับนำสืบว่า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์นำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายและภาษีการค้าของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 ถึงปี2524 ที่ค้างชำระรวมจำนวน 986,131.36 บาท มาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 แต่โจทก์แสดงจำนวนภาษีที่ถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531เกินกว่าจำนวนที่ยอมให้หักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 ดังกล่าว เป็นเงิน722,698.58 บาท จึงถือเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง ซึ่งกรณีดังกล่าวแม้ต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (9) แต่ก็คนละเหตุกับที่จำเลยทั้งสี่ให้การต่อสู้ จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่นำสืบตามประเด็นข้อพิพาท และต้องฟังข้อเท็จจริงว่า ภาษีเงินได้และภาษีการค้าจำนวน 722,698.58 บาท มิใช่ภาษีที่โจทก์ชำระเหลื่อมปี จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9)
ปรากฏจากคำฟ้องว่า เจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีไปยังโจทก์รวม 3 ฉบับ เป็นการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 (ครึ่งปี) 1 ฉบับ ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531(เต็มปี) 1 ฉบับ และประเมินภาษีการค้าสำหรับเดือนมิถุนายน 2531 อีก 1 ฉบับจึงเป็นกรณีที่โจทก์ถูกประเมินภาษีหลายคราว แล้วโจทก์รวมฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินมาเป็นคดีเดียว แม้จะได้ความว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหลายคราว แต่การประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 มีทั้งการประเมินครึ่งปีกับเต็มปี จำนวนเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2531 จึงมียอดเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 (ครึ่งปี) และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 (เต็มปี)อันเป็นจำนวนเดียวกัน จึงเป็นข้อหาเดียวเกี่ยวข้องกัน ส่วนการประเมินภาษีการค้าสำหรับเดือนมิถุนายน 2531 เป็นการประเมินภาษีคนละประเภทกันและแต่ละประเภทมีจำนวนเงินแยกออกจากกันได้ จึงมีสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับแตกต่างกัน สภาพแห่งข้อหาตามฟ้องของโจทก์จึงไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกจากกันได้ การที่โจทก์รวมภาษีทั้งสองประเภทมาเป็นจำนวนเดียว และเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดเพียงจำนวนเดียวจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8315/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีหลายประเภท การรวมฟ้อง การงดเบี้ยปรับ และการคืนค่าขึ้นศาล
โจทก์ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2531 เมื่อวันที่ 29สิงหาคม 2531 และยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2531 เมื่อวันที่ 2มิถุนายน 2532 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์เพื่อตรวจสอบภาษีเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2534 จึงเป็นการออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50แบบ ภ.ง.ด.51 และแบบแสดงรายการการค้า ตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นและชอบด้วยกฎหมาย
การออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าประมวลรัษฎากรได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะในมาตรา 87 ตรี ซึ่งใช้บังคับขณะนั้น และได้บัญญัติอยู่ในหมวด 4 ภาษีการค้าส่วนที่ 7 ว่าด้วยอำนาจเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีการค้าของโจทก์ได้ภายในระยะเวลาตามมาตรา 88 ทวิ คือ (1) ห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลังถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือ (2) สิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จ โดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับเดือนมิถุนายน 2531 ภายในกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 85 ทวิ และเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้ออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีการค้าโจทก์เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2534 จึงเป็นการออกหมายเรียกภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว
สิทธิเรียกร้องของรัฐเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/31 เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2537 โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2537 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันยื่นแบบภ.ง.ด.50 และแบบ ภ.ง.ด.51 จึงเป็นการแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในอายุความ
โจทก์ขายที่ดินพร้อมโรงงานแก่บริษัท ส. ต่ำกว่าราคาตลาดโดย ฉ. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์ขณะที่โจทก์ซื้อที่ดิน เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการของโจทก์พิจารณาอนุมัติให้ขายที่ดินพร้อมโรงงานแก่ผู้ซื้อ และเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการของบริษัท ส. พิจารณาอนุมัติให้ซื้อที่ดินพร้อมโรงงานจากโจทก์ โจทก์และผู้ซื้อจึงมีความเกี่ยวพันกัน ทั้งโจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องขายที่ดินพร้อมโรงงาน จึงถือว่าโจทก์ขายที่ดินพร้อมโรงงานต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านการประเมินในปัญหาว่าโจทก์ขายสบู่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุอันสมควรหรือไม่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ปัญหานี้ โจทก์จะยกมากล่าวอ้างในชั้นศาลว่าการประเมินในปัญหานี้ไม่ถูกต้องหาได้ไม่
กรณีที่จะถือว่าการจัดทำประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีโดยมีเหตุอันสมควรนั้น ต้องมีเหตุการณ์เหนือความคาดหมายของผู้ประกอบกิจการเช่นนั้นเกิดขึ้นมิใช่เหตุการณ์ปกติทางการค้าส่งผลให้การประมาณการผิดพลาดไปการที่โจทก์จัดทำประมาณการกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531สูงกว่ารอบระยะเวลาบัญชีปีที่ผ่านมามากกว่าเท่าตัว มิใช่เหตุผลจะอ้างได้ว่าโจทก์จัดทำประมาณการกำไรสุทธิขาดไปโดยมีเหตุอันสมควร
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาในระหว่างปี 2523 ถึงปี 2528 รวม16 แปลง คิดเป็นเนื้อที่รวม 319 ไร่ 1 งาน 8 ตารางวา และโจทก์ได้ก่อสร้างอาคารโรงงานติดตั้งเครื่องจักรเป็นโรงงานผลิตสุราโจทก์เริ่มผลิตสุราจำหน่ายในปี 2529 ต่อมาโจทก์ขายที่ดินพร้อมโรงงานไปในปี 2531 กิจการของโจทก์เป็นกิจการขนาดใหญ่ต้องใช้เงินลงทุนสูง โจทก์จึงต้องวางแผนและศึกษาโครงการพร้อมทั้งวิธีแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นไว้แล้วอย่างดี จึงไม่อาจอ้างได้ว่ามีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นของน้ำเสียและโจทก์ไม่มีที่ดินเพียงพอที่จะทำการแก้ปัญหาดังกล่าว พฤติการณ์การซื้อที่ดินของโจทก์และก่อสร้างโรงงานแล้วขายไปดังกล่าวมีลักษณะเป็นทางการค้า โจทก์จึงต้องนำรายได้มาลงเป็นรายรับเพื่อคำนวณเสียภาษีการค้าเมื่อโจทก์มิได้นำรายได้จากการขายที่ดินพร้อมโรงงานมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า จึงเป็นกรณีที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า โจทก์ต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีมิถุนายน 2531 ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2531เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ได้ประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าจากโจทก์เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2537 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าจึงเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องภาษีการค้าภายในกำหนดอายุความตามประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
โจทก์ประกอบกิจการขายสินค้าประเภทเครื่องดื่ม ยา และเครื่องสำอางค์มิได้ประกอบกิจการค้าขายที่ดิน จึงมีเหตุให้โจทก์เข้าใจได้ว่า การขายที่ดินพร้อมโรงงานของโจทก์มิได้มีลักษณะเป็นทางการค้าหรือหากำไร ซึ่งโจทก์ก็ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ถูกต้องครบถ้วนเว้นแต่รายรับจากการขายที่ดินพร้อมโรงงานเท่านั้น การที่โจทก์มิได้ลงรายรับดังกล่าว จึงมิใช่เพราะโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี หากแต่เกิดจากความเข้าใจผิดของโจทก์ กรณีจึงมีเหตุสมควรงดเบี้ยปรับสำหรับภาษีการค้าให้โจทก์
จำเลยทั้งสี่ให้การว่า ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายและภาษีการค้าจำนวน 722,698.58 บาท เป็นภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้และตามแบบแจ้งการประเมินภาษีการค้าสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 ถึงปี 2524 ที่โจทก์จ่ายเมื่อปี 2528 ถึงปี 2530 โจทก์นำมาถือจ่ายเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2529 ถึงปี 2531 เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1จึงปรับปรุงให้ถือจ่ายตามรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายจริง รายจ่ายเหลื่อมปีดังกล่าวเป็นรายจ่ายต้องห้าม แต่จำเลยทั้งสี่กลับนำสืบว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์นำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายและภาษีการค้าของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 ถึงปี 2524 ที่ค้างชำระรวมจำนวน 986,131.36 บาทมาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 แต่โจทก์แสดงจำนวนภาษีที่ถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531เกินกว่าจำนวนที่ยอมให้หักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531ดังกล่าวเป็นเงิน 722,698.58 บาท จึงถือเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง ซึ่งกรณีดังกล่าวแม้ต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (9)แต่ก็คนละเหตุกับที่จำเลยทั้งสี่ให้การต่อสู้ จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่นำสืบตามประเด็นข้อพิพาท และต้องฟังข้อเท็จจริงว่า ภาษีเงินได้และภาษีการค้าจำนวน 722,698.58 บาท มิใช่ภาษีที่โจทก์ชำระเหลื่อมปี จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9)
ปรากฏจากคำฟ้องว่า เจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีไปยังโจทก์รวม 3 ฉบับ เป็นการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531(ครึ่งปี)1 ฉบับประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531(เต็มปี)1 ฉบับ และประเมินภาษีการค้าสำหรับเดือนมิถุนายน 2531 อีก1 ฉบับ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ถูกประเมินภาษีหลายคราว แล้วโจทก์รวมฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินมาเป็นคดีเดียว แม้จะได้ความว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหลายคราว แต่การประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 มีทั้งการประเมินครึ่งปีกับเต็มปีจำนวนเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 จึงมียอดเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531(ครึ่งปี) และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531(เต็มปี) อันเป็นจำนวนเดียวกัน จึงเป็นข้อหาเดียวเกี่ยวข้องกันส่วนการประเมินภาษีการค้าสำหรับเดือนมิถุนายน 2531เป็นการประเมินภาษีคนละประเภทกันและแต่ละประเภทมีจำนวนเงินแยกออกจากกันได้ จึงมีสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับแตกต่างกัน สภาพแห่งข้อหาตามฟ้องของโจทก์จึงไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกจากกันได้ การที่โจทก์รวมภาษีทั้งสองประเภทมาเป็นจำนวนเดียวและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดเพียงจำนวนเดียวจึงไม่ถูกต้อง
การออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าประมวลรัษฎากรได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะในมาตรา 87 ตรี ซึ่งใช้บังคับขณะนั้น และได้บัญญัติอยู่ในหมวด 4 ภาษีการค้าส่วนที่ 7 ว่าด้วยอำนาจเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีการค้าของโจทก์ได้ภายในระยะเวลาตามมาตรา 88 ทวิ คือ (1) ห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลังถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือ (2) สิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จ โดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับเดือนมิถุนายน 2531 ภายในกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 85 ทวิ และเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้ออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีการค้าโจทก์เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2534 จึงเป็นการออกหมายเรียกภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว
สิทธิเรียกร้องของรัฐเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/31 เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2537 โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2537 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันยื่นแบบภ.ง.ด.50 และแบบ ภ.ง.ด.51 จึงเป็นการแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในอายุความ
โจทก์ขายที่ดินพร้อมโรงงานแก่บริษัท ส. ต่ำกว่าราคาตลาดโดย ฉ. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์ขณะที่โจทก์ซื้อที่ดิน เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการของโจทก์พิจารณาอนุมัติให้ขายที่ดินพร้อมโรงงานแก่ผู้ซื้อ และเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการของบริษัท ส. พิจารณาอนุมัติให้ซื้อที่ดินพร้อมโรงงานจากโจทก์ โจทก์และผู้ซื้อจึงมีความเกี่ยวพันกัน ทั้งโจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องขายที่ดินพร้อมโรงงาน จึงถือว่าโจทก์ขายที่ดินพร้อมโรงงานต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านการประเมินในปัญหาว่าโจทก์ขายสบู่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุอันสมควรหรือไม่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ปัญหานี้ โจทก์จะยกมากล่าวอ้างในชั้นศาลว่าการประเมินในปัญหานี้ไม่ถูกต้องหาได้ไม่
กรณีที่จะถือว่าการจัดทำประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีโดยมีเหตุอันสมควรนั้น ต้องมีเหตุการณ์เหนือความคาดหมายของผู้ประกอบกิจการเช่นนั้นเกิดขึ้นมิใช่เหตุการณ์ปกติทางการค้าส่งผลให้การประมาณการผิดพลาดไปการที่โจทก์จัดทำประมาณการกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531สูงกว่ารอบระยะเวลาบัญชีปีที่ผ่านมามากกว่าเท่าตัว มิใช่เหตุผลจะอ้างได้ว่าโจทก์จัดทำประมาณการกำไรสุทธิขาดไปโดยมีเหตุอันสมควร
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาในระหว่างปี 2523 ถึงปี 2528 รวม16 แปลง คิดเป็นเนื้อที่รวม 319 ไร่ 1 งาน 8 ตารางวา และโจทก์ได้ก่อสร้างอาคารโรงงานติดตั้งเครื่องจักรเป็นโรงงานผลิตสุราโจทก์เริ่มผลิตสุราจำหน่ายในปี 2529 ต่อมาโจทก์ขายที่ดินพร้อมโรงงานไปในปี 2531 กิจการของโจทก์เป็นกิจการขนาดใหญ่ต้องใช้เงินลงทุนสูง โจทก์จึงต้องวางแผนและศึกษาโครงการพร้อมทั้งวิธีแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นไว้แล้วอย่างดี จึงไม่อาจอ้างได้ว่ามีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นของน้ำเสียและโจทก์ไม่มีที่ดินเพียงพอที่จะทำการแก้ปัญหาดังกล่าว พฤติการณ์การซื้อที่ดินของโจทก์และก่อสร้างโรงงานแล้วขายไปดังกล่าวมีลักษณะเป็นทางการค้า โจทก์จึงต้องนำรายได้มาลงเป็นรายรับเพื่อคำนวณเสียภาษีการค้าเมื่อโจทก์มิได้นำรายได้จากการขายที่ดินพร้อมโรงงานมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า จึงเป็นกรณีที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า โจทก์ต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีมิถุนายน 2531 ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2531เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ได้ประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าจากโจทก์เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2537 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าจึงเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องภาษีการค้าภายในกำหนดอายุความตามประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
โจทก์ประกอบกิจการขายสินค้าประเภทเครื่องดื่ม ยา และเครื่องสำอางค์มิได้ประกอบกิจการค้าขายที่ดิน จึงมีเหตุให้โจทก์เข้าใจได้ว่า การขายที่ดินพร้อมโรงงานของโจทก์มิได้มีลักษณะเป็นทางการค้าหรือหากำไร ซึ่งโจทก์ก็ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ถูกต้องครบถ้วนเว้นแต่รายรับจากการขายที่ดินพร้อมโรงงานเท่านั้น การที่โจทก์มิได้ลงรายรับดังกล่าว จึงมิใช่เพราะโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี หากแต่เกิดจากความเข้าใจผิดของโจทก์ กรณีจึงมีเหตุสมควรงดเบี้ยปรับสำหรับภาษีการค้าให้โจทก์
จำเลยทั้งสี่ให้การว่า ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายและภาษีการค้าจำนวน 722,698.58 บาท เป็นภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้และตามแบบแจ้งการประเมินภาษีการค้าสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 ถึงปี 2524 ที่โจทก์จ่ายเมื่อปี 2528 ถึงปี 2530 โจทก์นำมาถือจ่ายเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2529 ถึงปี 2531 เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1จึงปรับปรุงให้ถือจ่ายตามรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายจริง รายจ่ายเหลื่อมปีดังกล่าวเป็นรายจ่ายต้องห้าม แต่จำเลยทั้งสี่กลับนำสืบว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์นำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายและภาษีการค้าของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 ถึงปี 2524 ที่ค้างชำระรวมจำนวน 986,131.36 บาทมาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 แต่โจทก์แสดงจำนวนภาษีที่ถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531เกินกว่าจำนวนที่ยอมให้หักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531ดังกล่าวเป็นเงิน 722,698.58 บาท จึงถือเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง ซึ่งกรณีดังกล่าวแม้ต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (9)แต่ก็คนละเหตุกับที่จำเลยทั้งสี่ให้การต่อสู้ จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่นำสืบตามประเด็นข้อพิพาท และต้องฟังข้อเท็จจริงว่า ภาษีเงินได้และภาษีการค้าจำนวน 722,698.58 บาท มิใช่ภาษีที่โจทก์ชำระเหลื่อมปี จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9)
ปรากฏจากคำฟ้องว่า เจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีไปยังโจทก์รวม 3 ฉบับ เป็นการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531(ครึ่งปี)1 ฉบับประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531(เต็มปี)1 ฉบับ และประเมินภาษีการค้าสำหรับเดือนมิถุนายน 2531 อีก1 ฉบับ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ถูกประเมินภาษีหลายคราว แล้วโจทก์รวมฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินมาเป็นคดีเดียว แม้จะได้ความว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหลายคราว แต่การประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 มีทั้งการประเมินครึ่งปีกับเต็มปีจำนวนเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 จึงมียอดเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531(ครึ่งปี) และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531(เต็มปี) อันเป็นจำนวนเดียวกัน จึงเป็นข้อหาเดียวเกี่ยวข้องกันส่วนการประเมินภาษีการค้าสำหรับเดือนมิถุนายน 2531เป็นการประเมินภาษีคนละประเภทกันและแต่ละประเภทมีจำนวนเงินแยกออกจากกันได้ จึงมีสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับแตกต่างกัน สภาพแห่งข้อหาตามฟ้องของโจทก์จึงไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกจากกันได้ การที่โจทก์รวมภาษีทั้งสองประเภทมาเป็นจำนวนเดียวและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดเพียงจำนวนเดียวจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8129/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำวินิจฉัยทางไปรษณีย์ และการนับระยะเวลาอุทธรณ์ตามกฎหมายภาษีอากร โดยการส่งให้ผู้แทนผู้รับถือว่าเป็นการนำจ่ายแล้ว
ตามไปรษณีย์นิเทศฯ การสื่อสารแห่งประเทศไทยอาจจัดส่งไปรษณีย์ให้แก่ผู้แทนของผู้รับก็ได้ และเมื่อจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับแล้ว ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่เวลาที่นำจ่าย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้นำเอกสารคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไปส่งยังภูมิลำเนาของโจทก์ โดยมีพนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับไว้เมื่อวันที่ 7สิงหาคม 2541 ถือได้ว่ามีการนำจ่ายทางไปรษณีย์ให้แก่ผู้แทนของผู้รับและถือว่าโจทก์ได้รับคำวินิจฉัยตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2541 อันล่วงเลยกำหนดระยะเวลา 30 วันแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7765/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การให้บริการอาหารแก่พนักงาน/ผู้บริหาร และการเลี้ยงรับรองบุคคลภายนอก มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมาย
โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าค่าอาหารเลี้ยงรับรองบุคคลภายนอกโจทก์ยินดีที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติม แต่ขอให้พิจารณางดเบี้ยปรับและลดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ด้วย และในตอนท้ายก็มีคำขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชี้ขาดสำหรับค่ารับรองของบุคคลภายนอกโดยงดเบี้ยปรับและลดเงินเพิ่ม คำอุทธรณ์ของโจทก์ไม่มีข้อโต้แย้งคัดค้านการประเมินและไม่มีคำขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยยกเลิก การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารเลี้ยงรับรองบุคคลภายนอก ถือว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในปัญหาว่าค่าอาหารเลี้ยงรับรองบุคคลภายนอกของโจทก์อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจนำปัญหานี้มาฟ้องต่อศาล
การที่โจทก์ให้พนักงานและผู้บริหารโรงแรมและภัตตาคารของโจทก์รับประทานอาหารโดยไม่คิดมูลค่า เป็นการให้บริการตามความหมายในมาตรา 77/1 (10) แห่ง ป. รัษฎากร เพราะเป็นการกระทำอันอาจหาประโยชน์ อันมีมูลค่า ซึ่งมิใช่การขายสินค้าและถือเป็นการใช้บริการจากกิจการของตนเองโดยเฉพาะการให้พนักงานและ ผู้บริหารรับประทานอาหารไม่ใช่การนำบริการไปใช้ในการบริหารงานของกิจการโดยตรง จะถือเป็นการนำบริการไปใช้ในการบริหารงานของกิจการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) ไม่ได้โจทก์ จึงเป็นผู้ประกอบการและได้ให้บริการอันอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงต้องนำราคาค่าอาหารดังกล่าวมาเป็น มูลค่าของการให้บริการของโจทก์
แม้การให้บริการของโจทก์จะเข้าเงื่อนไขที่จะไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 78) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่ง ป. รัษฎากร แต่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2541 ส่วนภาระภาษีของโจทก์ตามการประเมินในคดีนี้เป็นภาษีของเดือนสิงหาคม 2540 ถึงเดือนมีนาคม 2541 ประกาศดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับใช้กับคดีนี้ เพราะประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายที่กำหนดให้ใช้ในแต่ละปีภาษีหากมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายมาตราใดก็จะมีผลใช้บังคับนับแต่วันที่ระบุให้มีผลใช้เป็นต้นไป ไม่มีผลบังคับย้อนหลังไปในปีภาษี หรือเดือนภาษีที่ล่วงมาแล้ว ดังนั้นแม้โจทก์เพียงได้รับแจ้งการประเมินและยังไม่มีการชำระภาษีตามการประเมินโจทก์ก็ไม่ได้รับ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์ยอมรับที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารเลี้ยงรับรองบุคคลภายนอก แต่ขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์งดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกรณีดังกล่าวนี้ ส่วนกรณีภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารสวัสดิการพนักงานและผู้บริหารของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ว่าการให้พนักงานของโจทก์รับประทานอาหารเป็นเรื่องสวัสดิการปกติของธุรกิจโรงแรมทุกแห่ง ไม่เข้าลักษณะคำนิยามคำว่า "ขาย" ตามประมวลรัษฎากร ขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชี้ขาดยกเลิกการประเมินการให้พนักงานของโจทก์รับประทานอาหารเป็น ยอดขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ว่าตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์อุทธรณ์ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารดังกล่าวก็ตาม แต่การที่โจทก์ขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกเลิกการประเมินที่ถือว่าการให้พนักงานของโจทก์รับประทานอาหารเป็นยอดขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการที่โจทก์ให้พนักงานและผู้บริหารของโจทก์รับประทานอาหารรวมถึงเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายด้วย เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดยืนตามการประเมินของ เจ้าพนักงานประเมินและพิจารณาลดเบี้ยปรับลง โจทก์ไม่พอใจ จึงอุทธรณ์ต่อศาล ขอให้เพิกถอนการประเมินของ เจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และขอให้ศาลพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารทุกกรณี ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ในเรื่องเบี้ยปรับกรณีภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารสวัสดิการพนักงานและผู้บริหารของโจทก์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณางดเบี้ยปรับให้ แก่โจทก์ได้
โจทก์ลงบัญชีโดยเปิดเผย ไม่มีเจตนาหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีอากร แต่เป็นปัญหา ข้อกฎหมายที่มีความเห็นไม่ตรงกันว่าโจทก์ควรต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารสวัสดิการพนักงาน ผู้บริหารและค่าอาหารเลี้ยงรับรองบุคคลภายนอกของโจทก์หรือไม่เท่านั้น ทั้งโจทก์ให้ความร่วมมือต่อเจ้าพนักงานในการ ตรวจสอบภาษีเป็นอย่างดี ที่ศาลภาษีอากรกลางพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารทุกกรณีให้แก่โจทก์เป็นการเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่โจทก์ให้พนักงานและผู้บริหารโรงแรมและภัตตาคารของโจทก์รับประทานอาหารโดยไม่คิดมูลค่า เป็นการให้บริการตามความหมายในมาตรา 77/1 (10) แห่ง ป. รัษฎากร เพราะเป็นการกระทำอันอาจหาประโยชน์ อันมีมูลค่า ซึ่งมิใช่การขายสินค้าและถือเป็นการใช้บริการจากกิจการของตนเองโดยเฉพาะการให้พนักงานและ ผู้บริหารรับประทานอาหารไม่ใช่การนำบริการไปใช้ในการบริหารงานของกิจการโดยตรง จะถือเป็นการนำบริการไปใช้ในการบริหารงานของกิจการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) ไม่ได้โจทก์ จึงเป็นผู้ประกอบการและได้ให้บริการอันอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงต้องนำราคาค่าอาหารดังกล่าวมาเป็น มูลค่าของการให้บริการของโจทก์
แม้การให้บริการของโจทก์จะเข้าเงื่อนไขที่จะไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 78) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่ง ป. รัษฎากร แต่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2541 ส่วนภาระภาษีของโจทก์ตามการประเมินในคดีนี้เป็นภาษีของเดือนสิงหาคม 2540 ถึงเดือนมีนาคม 2541 ประกาศดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับใช้กับคดีนี้ เพราะประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายที่กำหนดให้ใช้ในแต่ละปีภาษีหากมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายมาตราใดก็จะมีผลใช้บังคับนับแต่วันที่ระบุให้มีผลใช้เป็นต้นไป ไม่มีผลบังคับย้อนหลังไปในปีภาษี หรือเดือนภาษีที่ล่วงมาแล้ว ดังนั้นแม้โจทก์เพียงได้รับแจ้งการประเมินและยังไม่มีการชำระภาษีตามการประเมินโจทก์ก็ไม่ได้รับ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์ยอมรับที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารเลี้ยงรับรองบุคคลภายนอก แต่ขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์งดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกรณีดังกล่าวนี้ ส่วนกรณีภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารสวัสดิการพนักงานและผู้บริหารของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ว่าการให้พนักงานของโจทก์รับประทานอาหารเป็นเรื่องสวัสดิการปกติของธุรกิจโรงแรมทุกแห่ง ไม่เข้าลักษณะคำนิยามคำว่า "ขาย" ตามประมวลรัษฎากร ขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชี้ขาดยกเลิกการประเมินการให้พนักงานของโจทก์รับประทานอาหารเป็น ยอดขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ว่าตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์อุทธรณ์ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารดังกล่าวก็ตาม แต่การที่โจทก์ขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกเลิกการประเมินที่ถือว่าการให้พนักงานของโจทก์รับประทานอาหารเป็นยอดขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการที่โจทก์ให้พนักงานและผู้บริหารของโจทก์รับประทานอาหารรวมถึงเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายด้วย เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดยืนตามการประเมินของ เจ้าพนักงานประเมินและพิจารณาลดเบี้ยปรับลง โจทก์ไม่พอใจ จึงอุทธรณ์ต่อศาล ขอให้เพิกถอนการประเมินของ เจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และขอให้ศาลพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารทุกกรณี ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ในเรื่องเบี้ยปรับกรณีภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารสวัสดิการพนักงานและผู้บริหารของโจทก์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณางดเบี้ยปรับให้ แก่โจทก์ได้
โจทก์ลงบัญชีโดยเปิดเผย ไม่มีเจตนาหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีอากร แต่เป็นปัญหา ข้อกฎหมายที่มีความเห็นไม่ตรงกันว่าโจทก์ควรต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารสวัสดิการพนักงาน ผู้บริหารและค่าอาหารเลี้ยงรับรองบุคคลภายนอกของโจทก์หรือไม่เท่านั้น ทั้งโจทก์ให้ความร่วมมือต่อเจ้าพนักงานในการ ตรวจสอบภาษีเป็นอย่างดี ที่ศาลภาษีอากรกลางพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารทุกกรณีให้แก่โจทก์เป็นการเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อเก็งกำไร และการเสียภาษีเงินได้/ภาษีการค้า ศาลฎีกาวินิจฉัยถึงเจตนาการซื้อขายและการหลีกเลี่ยงภาษี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าจากการที่โจทก์ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จำเลยให้การว่าโจทก์ซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไร คดีจึงมีประเด็นโต้เถียงว่ากรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นโจทก์ได้รับเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหรือไม่ และสำหรับกรณีภาษีการค้านั้น โจทก์มีรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 43091 ตำบลมหาพฤฒาราม พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์โดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหรือไม่ เป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และ มาตรา 183 เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปตามประเด็นที่ถูกต้องได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาพิพากษาใหม่
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 48(4) นั้น มุ่งหมายถึงเจตนาในการได้มาเป็นข้อสำคัญและพิจารณาถึงพฤติการณ์ในระหว่างที่ผู้นั้นถือครองอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายเป็นส่วนประกอบด้วย การที่โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแล้วขายไปในระยะเวลาเพียงสามปีเศษ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่สั้นแล้วยังปรากฏว่าเมื่อโจทก์ได้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือหาประโยชน์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น ทั้งมีบุคคลอื่นอาศัยอยู่โดยมิได้จ่ายค่าเช่าแก่โจทก์แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเพื่ออยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ นอกจากนี้ในระหว่างที่โจทก์ถือครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาท โจทก์ซื้อและขายที่ดินแปลงอื่นอีกหลายแปลง เมื่อพิจารณาถึงเจตนาการได้มาซึ่งที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทของโจทก์ประกอบกับพฤติการณ์ต่าง ๆ ในระหว่างที่โจทก์ถือครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายแล้ว น่าเชื่อว่าโจทก์ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไว้โดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ดังนั้น ในการคำนวณภาษีเงินได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 วรรคหนึ่ง และมาตรา 86 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานรายการใดที่โจทก์ไม่เห็นด้วย โจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยจะต้องมีข้อความโต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินว่า ประเมินภาษีไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างใดมีหลักฐานอย่างไร เมื่อคำอุทธรณ์ของโจทก์ไม่มีข้อความโต้แย้งการประเมินในประเด็นใด โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องในประเด็นนั้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2)ซึ่งในชั้นอุทธรณ์การประเมิน โจทก์มิได้ยกปัญหาว่าจำเลยมิได้นำภาษีหัก ณ ที่จ่ายมาหักเป็นค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ด้วย แสดงว่าโจทก์พอใจการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในรายการนั้นแล้ว ดังนี้โจทก์จะนำประเด็นดังกล่าวมาฟ้องต่อศาลหาได้ไม่ปัญหานี้แม้ศาลภาษีอากรกลางจะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลล่างโดยชอบตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การเรียกเก็บเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27,89 ทวิ ไม่มีข้อยกเว้นให้งดเก็บ หากจะลดก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 48(4) นั้น มุ่งหมายถึงเจตนาในการได้มาเป็นข้อสำคัญและพิจารณาถึงพฤติการณ์ในระหว่างที่ผู้นั้นถือครองอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายเป็นส่วนประกอบด้วย การที่โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแล้วขายไปในระยะเวลาเพียงสามปีเศษ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่สั้นแล้วยังปรากฏว่าเมื่อโจทก์ได้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือหาประโยชน์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น ทั้งมีบุคคลอื่นอาศัยอยู่โดยมิได้จ่ายค่าเช่าแก่โจทก์แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเพื่ออยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ นอกจากนี้ในระหว่างที่โจทก์ถือครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาท โจทก์ซื้อและขายที่ดินแปลงอื่นอีกหลายแปลง เมื่อพิจารณาถึงเจตนาการได้มาซึ่งที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทของโจทก์ประกอบกับพฤติการณ์ต่าง ๆ ในระหว่างที่โจทก์ถือครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายแล้ว น่าเชื่อว่าโจทก์ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไว้โดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ดังนั้น ในการคำนวณภาษีเงินได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 วรรคหนึ่ง และมาตรา 86 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานรายการใดที่โจทก์ไม่เห็นด้วย โจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยจะต้องมีข้อความโต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินว่า ประเมินภาษีไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างใดมีหลักฐานอย่างไร เมื่อคำอุทธรณ์ของโจทก์ไม่มีข้อความโต้แย้งการประเมินในประเด็นใด โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องในประเด็นนั้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2)ซึ่งในชั้นอุทธรณ์การประเมิน โจทก์มิได้ยกปัญหาว่าจำเลยมิได้นำภาษีหัก ณ ที่จ่ายมาหักเป็นค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ด้วย แสดงว่าโจทก์พอใจการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในรายการนั้นแล้ว ดังนี้โจทก์จะนำประเด็นดังกล่าวมาฟ้องต่อศาลหาได้ไม่ปัญหานี้แม้ศาลภาษีอากรกลางจะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลล่างโดยชอบตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การเรียกเก็บเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27,89 ทวิ ไม่มีข้อยกเว้นให้งดเก็บ หากจะลดก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7939/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยเจ้าพนักงาน และอำนาจของศาลในการปรับปรุงยอดรายรับเมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้
คดีนี้เจ้าพนักงานได้ทำการประเมินว่าในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 จำเลยมียอดรายรับจากมูลค่าสินค้าส่งออกกับเงินชดเชยในรูปบัตรภาษีและมูลค่าการส่งออกรวมเป็นรายรับทั้งสิ้น 234,333,578 บาท แต่จำเลยไม่นำบัญชีและเอกสารไปให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบไต่สวน เจ้าพนักงานประเมินจึงใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 71(1) ประเมินให้จำเลยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5ของยอดรายรับดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ตามมาตรา 27จำเลยไม่ได้โต้แย้งการประเมินและไม่ได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามมาตรา 30 ซึ่งมีผลทำให้จำเลยไม่อาจนำคดีมาฟ้องศาลเพื่อโต้แย้งการประเมินของเจ้าพนักงานของโจทก์และทำให้หนี้ภาษีอากรที่ถูกประเมินดังกล่าวเป็นภาษีอากรค้างอันจะถูกโจทก์บังคับชำระได้ตามมาตรา 12 เท่านั้นแต่เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ดังกล่าวโจทก์จึงมีภาระพิสูจน์ด้วยการนำพยานหลักฐานเข้าสืบ เพื่อให้รับฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้าง เมื่อข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีรายรับเป็นเงินจำนวน 234,333,578 บาทตามการประเมิน แต่รับฟังได้เพียงว่าจำเลยมีรายรับเพียง 222,404,146.96 บาทศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจปรับปรุงยอดรายรับและแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4708/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อหากำไร และหน้าที่เสียภาษี
แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า พยานหลักฐานยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไรอันเข้าลักษณะประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ และให้ปลดภาษีการค้าแก่โจทก์ แต่คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ศาลจำต้องถือตาม
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาท จำนวน 3 โฉนด เป็นเงิน 7,000,000 บาทจาก ส. ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2528 โจทก์ได้ จ่ายเงินเกี่ยวกับที่ดินพิพาทเป็นค่าถมที่ดินและค่าจ้างเหมารื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ปรับ ขุด ถอน และขนต้นไม้ไปทิ้ง เป็นเงิน 3,400,000 บาท เห็นได้ชัดว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทแล้วปรับปรุงไว้เพื่อประโยชน์ในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์ถือครองเพียง 3 ปีเศษ แล้วขายไปเป็นเงิน 16,340,000 บาท พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์ซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมาโดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แม้จะกระทำเพียงครั้งเดียวก็ถือได้ว่าเป็นการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเลือกที่จะไม่นำเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวรวมกับเงินได้อื่นตาม ป. รัษฎากร มาตรา 48 (4)
โจทก์มีพฤติการณ์เป็นผู้ซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์โดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและการที่โจทก์ได้รับประโยชน์จากคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีการค้าที่ให้ปลดภาษีการค้าไปแล้ว นับว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์ จึงไม่มีเหตุที่จะงดหรือ ลดเบี้ยปรับแต่อย่างใด
กรณีเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่ง ป.รัษฎากรนั้น กฎหมายกำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดได้และ จะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดได้
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาท จำนวน 3 โฉนด เป็นเงิน 7,000,000 บาทจาก ส. ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2528 โจทก์ได้ จ่ายเงินเกี่ยวกับที่ดินพิพาทเป็นค่าถมที่ดินและค่าจ้างเหมารื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ปรับ ขุด ถอน และขนต้นไม้ไปทิ้ง เป็นเงิน 3,400,000 บาท เห็นได้ชัดว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทแล้วปรับปรุงไว้เพื่อประโยชน์ในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์ถือครองเพียง 3 ปีเศษ แล้วขายไปเป็นเงิน 16,340,000 บาท พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์ซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมาโดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แม้จะกระทำเพียงครั้งเดียวก็ถือได้ว่าเป็นการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเลือกที่จะไม่นำเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวรวมกับเงินได้อื่นตาม ป. รัษฎากร มาตรา 48 (4)
โจทก์มีพฤติการณ์เป็นผู้ซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์โดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและการที่โจทก์ได้รับประโยชน์จากคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีการค้าที่ให้ปลดภาษีการค้าไปแล้ว นับว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์ จึงไม่มีเหตุที่จะงดหรือ ลดเบี้ยปรับแต่อย่างใด
กรณีเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่ง ป.รัษฎากรนั้น กฎหมายกำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดได้และ จะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ภาษีและการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: ข้อจำกัดการอุทธรณ์และการประเมินภาษี
เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินแก่โจทก์โดยแยกเป็นเรื่องแจ้งการประเมินเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย 1 ฉบับภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ฉบับ ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย 1 ฉบับ และภาษีการค้า 2 ฉบับ รวมเป็น 7 ฉบับ แต่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รวมมาในฉบับเดียวกัน โดยข้อความในอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวล้วนเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับภาษีการค้า ส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โจทก์ได้กล่าวโต้แย้งไว้ในอุทธรณ์แต่เพียงว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ แต่มิได้กล่าวว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ทั้งไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์โต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) (9) (13) (18) แห่งป.รัษฎากร จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในประเด็นเรื่องรายจ่ายต้องห้ามต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นนี้ ก็หามีผลให้อุทธรณ์ในประเด็นนี้กลายเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำประเด็นนี้มาฟ้องต่อศาล
มาตรา 67 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการตามมาตรา 68 จึงให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดทำประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วยื่นรายการเพื่อชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยให้ยื่นชำระภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว และหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควรก็จะต้องรับผิดตามมาตรา 67 ตรีซึ่งกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาด แล้วแต่กรณี จึงถือได้ว่าการฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้วอีกประการหนึ่งมาตรา 67 ทวิ นี้เป็นเรื่องของการประมาณการและหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินจะทราบและประเมินให้ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบภงด.50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 กรณีจึงมิใช่เรื่องแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจพบดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 19 และมาตรา 20เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22
มาตรา 67 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการตามมาตรา 68 จึงให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดทำประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วยื่นรายการเพื่อชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยให้ยื่นชำระภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว และหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควรก็จะต้องรับผิดตามมาตรา 67 ตรีซึ่งกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาด แล้วแต่กรณี จึงถือได้ว่าการฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้วอีกประการหนึ่งมาตรา 67 ทวิ นี้เป็นเรื่องของการประมาณการและหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินจะทราบและประเมินให้ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบภงด.50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 กรณีจึงมิใช่เรื่องแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจพบดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 19 และมาตรา 20เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22