พบผลลัพธ์ทั้งหมด 316 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีอากรซ้ำซ้อนและการสะดุดหยุดอายุความจากการแจ้งการประเมิน
การที่จำเลยที่1ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในคดีก่อนเท่ากับเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการดังกล่าวต่อศาลตามมาตรา30(2)แห่งประมวลรัษฎากรคำวินิจฉัยดังกล่าวจึงอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลได้โจทก์จะมีสิทธิได้รับชำระเงินค่าภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานได้ทำการประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่นั้นจำต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อนดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ภาษีอากรที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยเป็นคดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนนอกจากนี้การที่จำเลยที่1ยังไม่ชำระเงินค่าภาษีอากรตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์และไม่เป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ การที่โจทก์แจ้งการประเมินภาษีให้จำเลยที่1ทราบเท่ากับเป็นการสั่งให้จำเลยที่1ชำระค่าภาษีอากรประเมินตามที่ประมวลรัษฎากรให้อำนาจไว้หากจำเลยที่1ไม่ชำระภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดอาจถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่จำต้องฟ้องคดีอีกเมื่อโจทก์แจ้งการประเมินให้จำเลยที่1ทราบจึงมีผลเป็นการที่เจ้าหน้าที่ได้ทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการที่เจ้าหนี้ฟ้องคดีเพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา173(เดิม)ซึ่งมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5700/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะประเด็นที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การไม่ให้ความร่วมมือกับการตรวจสอบภาษีไม่มีเหตุผลลดเบี้ยปรับ
แม้กฎหมายจะมิได้กำหนดว่า ในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะต้องชี้บ่งเป็นข้อความอย่างใดก็ตามแต่ก็จะต้องมีข้อความโต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินว่า ประเมินภาษีไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างใด มีหลักฐานการชำระภาษีอย่างไร คำอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีข้อความว่าโจทก์ได้ยื่นแบบชำระภาษีโดยตลอดและถูกต้องไม่เคยหลีกเลี่ยงแต่อย่างใด จึงไม่ทราบว่าเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าจากโจทก์ในกรณีใดโจทก์เข้าใจว่าโจทก์ได้เสียภาษีไว้ถูกต้องแล้ว และเมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินเรียกเก็บภาษีจากโจทก์โจทก์ไม่มีโอกาสแสดงเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องโจทก์เสียเปรียบอย่างมาก โจทก์ยินยอมที่จะชำระภาษีตามการประเมินโดยไม่โต้แย้งเพียงแต่ขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชี้ขาดงดการเรียกเก็บเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือหากไม่สามารถงดได้ก็ขอให้ลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในอัตราสูงสุดด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวมิได้กล่าวอ้างว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้องอย่างไรในประเด็นภาษีการค้าเดือนมีนาคมและเมษายน 2532 เพราะเหตุใด และโจทก์มีหลักฐานใดแสดงการเสียภาษีที่ถูกต้อง ที่โจทก์ อ้างว่าไม่มีโอกาสแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้องทำให้เสียเปรียบ อย่างมาก ก็ไม่มีข้อความใดบ่งชี้ให้เห็นหรือเข้าใจได้ว่า ข้อความดังกล่าวเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งการคำนวณหักค่าใช้จ่ายเหมาในอัตราร้อยละ 75 ของเงินได้พึงประเมินแต่เป็นอุทธรณ์ที่ขอให้คณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดให้งดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์เท่านั้นมิได้ขอให้ยกเลิกหรือเพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อโจทก์ไม่ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในประเด็นการยื่นแบบภาษีการค้าเดือนมีนาคมและเมษายน 2532 และประเด็นการคำนวณหักค่าใช้จ่าย ในอัตราร้อยละ 75 ของเงินได้พึงประเมิน โจทก์จึงไม่มีอำนาจ ฟ้องในประเด็นดังกล่าว อุทธรณ์ของโจทก์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวจึงไม่จำต้องวินิจฉัย ในการตรวจสอบภาษีโจทก์ เจ้าพนักงานผู้ตรวจสอบมีหมายเรียกให้โจทก์ไปพบและนำเอกสารหลักฐานการประกอบการลงบัญชีส่งมอบให้แก่เจ้าพนักงานโจทก์ขอผัดผ่อนแต่ไม่ไปพบจนถูกดำเนินคดีอาญาฐานไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกแสดงให้เห็นว่า โจทก์มิได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบของจำเลย เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยต้องใช้วิธีประเมินไปตามเอกสารเท่าที่ตรวจสอบขอคัดมาได้ กรณีจึงไม่มีเหตุอันควรผ่อนผันงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์จากหนี้ภาษีอากรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การประเมินภาษีที่ไม่แจ้งผู้รับผิดและขั้นตอนไม่ครบถ้วน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์มิใช่ขอให้เพิกถอนการประเมินที่จะต้องอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา30แห่งประมวลรัษฎากรและกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยเห็นว่าโจทก์จะต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระแต่โจทก์ไม่ชำระจำเลยจึงได้ยึดทรัพย์สินของโจทก์ตามอำนาจแต่โจทก์อ้างว่าไม่ต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรรายนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ภาษีอากรซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา7(2)โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยโดยนำข้อเท็จจริงจากการสอบถามคู่ความมาวินิจฉัยชี้ขาดคดีดังนี้คำสั่งงดสืบพยานในกรณีนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาปรากฎว่าจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ทั้งที่จำเลยมีเวลาโต้แย้งได้จึงต้องห้ามอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว แม้ฟังว่าโจทก์เป็นลูกจ้างผู้กระทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการของบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศในประเทศไทยเมื่อเจ้าพนักงานประเมินยังมิได้เรียกโจทก์มาไต่สวนและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา19,20คงประเมินไปยังผู้จัดการสาขาบริษัทคนใหม่ทำให้โจทก์ไม่มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา76ทวิวรรคสามกรณียังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้ครบถ้วนจำเลยจึงยังไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของโจทก์ตามมาตรา12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์จากหนี้ภาษีอากรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: เจ้าหนี้ต้องแจ้งการประเมินให้ผู้รับผิดเสียภาษีทราบก่อน
กรมสรรพากรยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 12 โจทก์ฟ้องกรมสรรพากรขอให้เพิกถอนการยึดและอายัดทรัพย์สินดังกล่าว กรณีจึงมิใช่การฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินซึ่งจะต้องอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 30 แห่ง ป. รัษฎากร เสียก่อน ดังนั้น แม้ว่าบริษัท ร. ซึ่งโจทก์เป็นตัวแทนจะไม่ได้อุทธรณ์การประเมินรายนี้โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้อง และเป็นกรณีซึ่งจะต้องพิจารณาและวินิจฉัยว่าโจทก์จะต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรค้างรายนี้หรือไม่ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์คดีนี้ต่อศาลภาษีอากรกลาง
แม้ข้อเท็จจริงในคดีจะฟังได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้าง ผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการของบริษัท ร. ในประเทศไทย ซึ่งต้องรับผิดเสียภาษีอากรตาม ป. รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ก็ตาม แต่เจ้าพนักงานประเมินยังมิได้เรียกโจทก์มาไต่สวนและแจ้งการประเมินภาษีอากรรายนี้ไปยังโจทก์ผู้ซึ่งต้องรับผิดเสียภาษีอากรตาม ป. รัษฎากร มาตรา 19 , 20 คงประเมินภาษีอากรรายนี้ไปยังผู้จัดการบริษัท ร. เท่านั้น ทำให้โจทก์ไม่มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 76 ทวิ วรรคสาม แห่ง ป. รัษฎากร เมื่อยังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้ครบถ้วน จำเลยจึงยังไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของโจทก์ตามมาตรา 12 แห่ง ป. รัษฎากร
แม้ข้อเท็จจริงในคดีจะฟังได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้าง ผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการของบริษัท ร. ในประเทศไทย ซึ่งต้องรับผิดเสียภาษีอากรตาม ป. รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ก็ตาม แต่เจ้าพนักงานประเมินยังมิได้เรียกโจทก์มาไต่สวนและแจ้งการประเมินภาษีอากรรายนี้ไปยังโจทก์ผู้ซึ่งต้องรับผิดเสียภาษีอากรตาม ป. รัษฎากร มาตรา 19 , 20 คงประเมินภาษีอากรรายนี้ไปยังผู้จัดการบริษัท ร. เท่านั้น ทำให้โจทก์ไม่มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 76 ทวิ วรรคสาม แห่ง ป. รัษฎากร เมื่อยังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้ครบถ้วน จำเลยจึงยังไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของโจทก์ตามมาตรา 12 แห่ง ป. รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: การเพิกถอนสิทธิประโยชน์ทางภาษี การประเมินภาษี และเงินเพิ่ม
แม้จะฟังว่าตามใบขนสินค้าขาเข้าในคำฟ้องของโจทก์ จำเลยนำเข้ามาเกินกว่า10 ปี นับถึงวันฟ้องแล้วก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 55 วรรคท้าย ให้เริ่มนับอายุความเมื่อพ้นหนึ่งเดือนนับแต่วันทราบคำสั่ง ซึ่งคำสั่งดังกล่าวก็คือคำสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์เกี่ยวกับภาษีอากรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรา 55 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยทราบคำสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์เกี่ยวกับภาษีอากรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมื่อวันที่ 6 เมษายน2528 การนับอายุความจึงเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งคิดถึงวันฟ้องยังไม่ครบสิบปี คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคสาม
จำเลยได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จำเลยนำเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับเครื่องจักรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับยกเว้นภาษีอากรเพื่อผลิตกล่องบรรจุตลับเทปคาสเซทและตลับเทปคาสเซท ต่อมาวันที่28 มีนาคม 2528 จำเลยถูกคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมดโดยเหตุไม่ส่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ จึงถือได้ว่าจำเลยไม่เคยได้รับยกเว้นภาษีอากรมาแต่ต้น ดังนั้น จำเลยจึงต้องเสียอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับเครื่องจักรโดยถือสภาพของราคา และอัตราภาษีอากรที่เป็นอยู่ในวันนำเข้าเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากรแก่โจทก์ทั้ง 17 ใบขนที่จำเลยยังไม่นำเงินมาชำระตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 55 วรรคหนึ่ง
หลังจากกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 ได้รับหนังสือจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนว่าได้เพิกถอนสิทธิประโยชน์ที่ให้แก่จำเลยทั้งหมดโดยให้เรียกเก็บภาษีอากรที่ได้รับยกเว้นทั้งหมด โจทก์ที่ 1 ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ประเมินอากร หน่วยส่งเสริมการลงทุนของโจทก์ที่ 1 จัดเก็บภาษีจากจำเลย เจ้าหน้าที่ดังกล่าวได้รวบรวมเอกสารใบขนสินค้าได้จำนวน 20 ใบขนประเมินภาษีอากรแล้วได้แจ้งให้จำเลยทราบและให้มาชำระภาษีพร้อมกับได้ส่งแบบแจ้งการประเมินอากรโดยได้แจ้งภาษีอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าขณะนำสินค้าเข้ามาโดยแจ้งให้จำเลยมาชำระค่าภาษีภายใน 15 วัน นับแต่จำเลยได้รับหนังสือกรณีเช่นนี้ย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าโดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 87(2) แล้ว หากจำเลยเห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 30เสียก่อนแต่จำเลยก็ไม่ได้อุทธรณ์ต่อโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 แต่อย่างใด เมื่อจำเลยไม่ได้อุทธรณ์ตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลจากจำเลยย่อมถึงที่สุด จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้อันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้
จำเลยต้องชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามใบขนสินค้าขาเข้าแต่ละฉบับ รวมทั้งสิ้น 17 ฉบับ ให้แก่โจทก์ทั้งสองแต่จำเลยยังมิได้ชำระ จำเลยจึงต้องชำระเงินเพิ่มอากรขาเข้าในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรขาเข้าที่ต้องชำระในแต่ละใบขนสินค้าขาเข้านับแต่วันที่ได้ส่งมอบของให้จำเลยรับไปจนกว่าจำเลยชำระให้เสร็จสิ้นตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา นอกจากนี้จำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระในแต่ละใบขนสินค้าขาเข้านับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษีจนกว่าจะชำระให้เสร็จสิ้น แต่ทั้งนี้เงินเพิ่มภาษีการค้านี้จะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ วรรคหนึ่ง และวรรคสี่ และจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลอีกร้อยละสิบของเงินเพิ่มภาษีการค้าที่ต้องชำระตามพระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ. 2497 มาตรา 12
จำเลยได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จำเลยนำเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับเครื่องจักรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับยกเว้นภาษีอากรเพื่อผลิตกล่องบรรจุตลับเทปคาสเซทและตลับเทปคาสเซท ต่อมาวันที่28 มีนาคม 2528 จำเลยถูกคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมดโดยเหตุไม่ส่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ จึงถือได้ว่าจำเลยไม่เคยได้รับยกเว้นภาษีอากรมาแต่ต้น ดังนั้น จำเลยจึงต้องเสียอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับเครื่องจักรโดยถือสภาพของราคา และอัตราภาษีอากรที่เป็นอยู่ในวันนำเข้าเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากรแก่โจทก์ทั้ง 17 ใบขนที่จำเลยยังไม่นำเงินมาชำระตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 55 วรรคหนึ่ง
หลังจากกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 ได้รับหนังสือจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนว่าได้เพิกถอนสิทธิประโยชน์ที่ให้แก่จำเลยทั้งหมดโดยให้เรียกเก็บภาษีอากรที่ได้รับยกเว้นทั้งหมด โจทก์ที่ 1 ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ประเมินอากร หน่วยส่งเสริมการลงทุนของโจทก์ที่ 1 จัดเก็บภาษีจากจำเลย เจ้าหน้าที่ดังกล่าวได้รวบรวมเอกสารใบขนสินค้าได้จำนวน 20 ใบขนประเมินภาษีอากรแล้วได้แจ้งให้จำเลยทราบและให้มาชำระภาษีพร้อมกับได้ส่งแบบแจ้งการประเมินอากรโดยได้แจ้งภาษีอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าขณะนำสินค้าเข้ามาโดยแจ้งให้จำเลยมาชำระค่าภาษีภายใน 15 วัน นับแต่จำเลยได้รับหนังสือกรณีเช่นนี้ย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าโดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 87(2) แล้ว หากจำเลยเห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 30เสียก่อนแต่จำเลยก็ไม่ได้อุทธรณ์ต่อโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 แต่อย่างใด เมื่อจำเลยไม่ได้อุทธรณ์ตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลจากจำเลยย่อมถึงที่สุด จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้อันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้
จำเลยต้องชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามใบขนสินค้าขาเข้าแต่ละฉบับ รวมทั้งสิ้น 17 ฉบับ ให้แก่โจทก์ทั้งสองแต่จำเลยยังมิได้ชำระ จำเลยจึงต้องชำระเงินเพิ่มอากรขาเข้าในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรขาเข้าที่ต้องชำระในแต่ละใบขนสินค้าขาเข้านับแต่วันที่ได้ส่งมอบของให้จำเลยรับไปจนกว่าจำเลยชำระให้เสร็จสิ้นตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา นอกจากนี้จำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระในแต่ละใบขนสินค้าขาเข้านับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษีจนกว่าจะชำระให้เสร็จสิ้น แต่ทั้งนี้เงินเพิ่มภาษีการค้านี้จะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ วรรคหนึ่ง และวรรคสี่ และจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลอีกร้อยละสิบของเงินเพิ่มภาษีการค้าที่ต้องชำระตามพระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ. 2497 มาตรา 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากรจากการเพิกถอนสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน การประเมินภาษี และการชำระภาษีค้างชำระ
แม้จะฟังว่าตามใบขนสินค้าขาเข้าในคำฟ้องของโจทก์ จำเลยนำเข้ามาเกินกว่า 10 ปี นับถึงวันฟ้องแล้วก็ตาม แต่ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนพ.ศ.2520 มาตรา 55 วรรคท้าย ให้เริ่มนับอายุความเมื่อพ้นหนึ่งเดือนนับแต่วันทราบคำสั่ง ซึ่งคำสั่งดังกล่าวก็คือคำสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์เกี่ยวกับภาษีอากรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรา 55 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยทราบคำสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์เกี่ยวกับภาษีอากรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2528 การนับอายุความจึงเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่ง คิดถึงวันฟ้องยังไม่ครบสิบปี คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคสาม
จำเลยได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จำเลยนำเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับเครื่องจักรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับยกเว้นภาษีอากรเพื่อผลิตกล่องบรรจุตลับเทปคาสเซทและตลับเทปคาสเซท ต่อมาวันที่ 28 มีนาคม 2528 จำเลยถูกคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมดโดยเหตุไม่ส่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ จึงถือได้ว่าจำเลยไม่เคยได้รับยกเว้นภาษีอากรมาแต่ต้น ดังนั้นจำเลยจึงต้องเสียอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับเครื่องจักรโดยถือสภาพของราคา และอัตราภาษีอากรที่เป็นอยู่ในวันนำเข้าเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากรแก่โจทก์ทั้ง 17 ใบขนที่จำเลยยังไม่นำเงินมาชำระตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 55วรรคหนึ่ง
หลังจากกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 ได้รับหนังสือจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนว่าได้เพิกถอนสิทธิประโยชน์ที่ให้แก่จำเลยทั้งหมดโดยให้เรียกเก็บภาษีอากรที่ได้รับยกเว้นทั้งหมด โจทก์ที่ 1 ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ประเมินอากร หน่วยส่งเสริมการลงทุนของโจทก์ที่ 1 จัดเก็บภาษีจากจำเลย เจ้าหน้าที่ดังกล่าวได้รวบรวมเอกสารใบขนสินค้าได้จำนวน 20 ใบขนประเมินภาษีอากรแล้วได้แจ้งให้จำเลยทราบและให้มาชำระภาษีพร้อมกับได้ส่งแบบแจ้งการประเมินอากรโดยได้แจ้งภาษีอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าขณะนำสินค้าเข้ามาโดยแจ้งให้จำเลยมาชำระค่าภาษีภายใน 15 วัน นับแต่จำเลยได้รับหนังสือกรณีเช่นนี้ย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าโดยเจ้าพนักงานประเมินตามป.รัษฎากร มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 87 (2) แล้ว หากจำเลยเห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในป.รัษฎากร มาตรา 30 เสียก่อนแต่จำเลยก็ไม่ได้อุทธรณ์ต่อโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 แต่อย่างใด เมื่อจำเลยไม่ได้อุทธรณ์ตามที่ ป.รัษฎากรบัญญัติไว้การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลจากจำเลยย่อมถึงที่สุด จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้อันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้
จำเลยต้องชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามใบขนสินค้าขาเข้าแต่ละฉบับ รวมทั้งสิ้น 17 ฉบับ ให้แก่โจทก์ทั้งสองแต่จำเลยยังมิได้ชำระ จำเลยจึงต้องชำระเงินเพิ่มอากรขาเข้าในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรขาเข้าที่ต้องชำระในแต่ละใบขนสินค้าขาเข้านับแต่วันที่ได้ส่งมอบของให้จำเลยรับไปจนกว่าจำเลยชำระให้เสร็จสิ้นตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา นอกจากนี้จำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระในแต่ละใบขนสินค้าขาเข้านับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษีจนกว่าจะชำระให้เสร็จสิ้น แต่ทั้งนี้เงินเพิ่มภาษีการค้านี้จะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 ทวิ วรรคหนึ่ง และวรรคสี่ และจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลอีกร้อยละสิบของเงินเพิ่มภาษีการค้าที่ต้องชำระตาม พ.ร.บ.รายได้เทศบาล พ.ศ.2497 มาตรา 12
จำเลยได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จำเลยนำเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับเครื่องจักรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับยกเว้นภาษีอากรเพื่อผลิตกล่องบรรจุตลับเทปคาสเซทและตลับเทปคาสเซท ต่อมาวันที่ 28 มีนาคม 2528 จำเลยถูกคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมดโดยเหตุไม่ส่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ จึงถือได้ว่าจำเลยไม่เคยได้รับยกเว้นภาษีอากรมาแต่ต้น ดังนั้นจำเลยจึงต้องเสียอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับเครื่องจักรโดยถือสภาพของราคา และอัตราภาษีอากรที่เป็นอยู่ในวันนำเข้าเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากรแก่โจทก์ทั้ง 17 ใบขนที่จำเลยยังไม่นำเงินมาชำระตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 55วรรคหนึ่ง
หลังจากกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 ได้รับหนังสือจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนว่าได้เพิกถอนสิทธิประโยชน์ที่ให้แก่จำเลยทั้งหมดโดยให้เรียกเก็บภาษีอากรที่ได้รับยกเว้นทั้งหมด โจทก์ที่ 1 ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ประเมินอากร หน่วยส่งเสริมการลงทุนของโจทก์ที่ 1 จัดเก็บภาษีจากจำเลย เจ้าหน้าที่ดังกล่าวได้รวบรวมเอกสารใบขนสินค้าได้จำนวน 20 ใบขนประเมินภาษีอากรแล้วได้แจ้งให้จำเลยทราบและให้มาชำระภาษีพร้อมกับได้ส่งแบบแจ้งการประเมินอากรโดยได้แจ้งภาษีอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าขณะนำสินค้าเข้ามาโดยแจ้งให้จำเลยมาชำระค่าภาษีภายใน 15 วัน นับแต่จำเลยได้รับหนังสือกรณีเช่นนี้ย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าโดยเจ้าพนักงานประเมินตามป.รัษฎากร มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 87 (2) แล้ว หากจำเลยเห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในป.รัษฎากร มาตรา 30 เสียก่อนแต่จำเลยก็ไม่ได้อุทธรณ์ต่อโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 แต่อย่างใด เมื่อจำเลยไม่ได้อุทธรณ์ตามที่ ป.รัษฎากรบัญญัติไว้การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลจากจำเลยย่อมถึงที่สุด จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้อันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้
จำเลยต้องชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามใบขนสินค้าขาเข้าแต่ละฉบับ รวมทั้งสิ้น 17 ฉบับ ให้แก่โจทก์ทั้งสองแต่จำเลยยังมิได้ชำระ จำเลยจึงต้องชำระเงินเพิ่มอากรขาเข้าในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรขาเข้าที่ต้องชำระในแต่ละใบขนสินค้าขาเข้านับแต่วันที่ได้ส่งมอบของให้จำเลยรับไปจนกว่าจำเลยชำระให้เสร็จสิ้นตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา นอกจากนี้จำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระในแต่ละใบขนสินค้าขาเข้านับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษีจนกว่าจะชำระให้เสร็จสิ้น แต่ทั้งนี้เงินเพิ่มภาษีการค้านี้จะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 ทวิ วรรคหนึ่ง และวรรคสี่ และจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลอีกร้อยละสิบของเงินเพิ่มภาษีการค้าที่ต้องชำระตาม พ.ร.บ.รายได้เทศบาล พ.ศ.2497 มาตรา 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเอกสารทางไปรษณีย์โดยชอบต่อบริษัท ที่มีบริษัทแม่มอบหมายให้บริษัทอื่นดูแลและใช้พนักงานร่วมกัน
โจทก์ประกอบพาณิชยกิจในประเทศไทย โดยมีสำนักงานอยู่ที่อาคารเลขที่ 2160 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร และใช้อาคารเลขที่ดังกล่าวเป็นสำนักงานประกอบพาณิชยกิจตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น การที่จำเลยส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไปยังที่อยู่ของโจทก์ตามอาคารเลขที่ดังที่ระบุไว้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการส่งโดยชอบแล้ว
โจทก์เป็นบริษัทในเครือของบริษัท อ.แต่โจทก์ยังมีพนักงานไม่ครบสมบูรณ์ บริษัทแม่ในประเทศอังกฤษจึงมอบหมายให้บริษัท อ.เป็นผู้ดูแล การที่โจทก์ใช้พนักงานของบริษัท อ.มาโดยตลอดในการปฏิบัติงานจนเป็นปกติ ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้หรือยอมรับเอาพนักงานของบริษัท อ.เป็นผู้ดำเนินงานเสมือนหนึ่งว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นพนักงานของโจทก์เอง ฉะนั้นการที่พนักงานไปรษณีย์ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์ที่อาคารเลขที่ 2160 ดังกล่าว โดยมี ค.พนักงานของบริษัท อ.เป็นผู้รับเอกสารดังกล่าวไว้แทน จึงถือได้ว่าเป็นการส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของโจทก์แล้ว จึงเป็นการส่งโดยชอบตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8
โจทก์เป็นบริษัทในเครือของบริษัท อ.แต่โจทก์ยังมีพนักงานไม่ครบสมบูรณ์ บริษัทแม่ในประเทศอังกฤษจึงมอบหมายให้บริษัท อ.เป็นผู้ดูแล การที่โจทก์ใช้พนักงานของบริษัท อ.มาโดยตลอดในการปฏิบัติงานจนเป็นปกติ ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้หรือยอมรับเอาพนักงานของบริษัท อ.เป็นผู้ดำเนินงานเสมือนหนึ่งว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นพนักงานของโจทก์เอง ฉะนั้นการที่พนักงานไปรษณีย์ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์ที่อาคารเลขที่ 2160 ดังกล่าว โดยมี ค.พนักงานของบริษัท อ.เป็นผู้รับเอกสารดังกล่าวไว้แทน จึงถือได้ว่าเป็นการส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของโจทก์แล้ว จึงเป็นการส่งโดยชอบตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยชอบตามประมวลรัษฎากร เมื่อผู้รับเป็นผู้ทำงานในสำนักงานของบริษัท แม้ไม่ใช่พนักงานโดยตรง
โจทก์ประกอบพาณิชยกิจในประเทศไทย โดยมีสำนักงานอยู่ที่อาคารเลขที่ 2160แขวงหัวหมากเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร และใช้อาคารเลขที่ดังกล่าวเป็นสำนักงานประกอบพาณิชยกิจตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น การที่จำเลยส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไปยังที่อยู่ของโจทก์ตามอาคารเลขที่ดังที่ระบุไว้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการส่งโดยชอบแล้ว
โจทก์เป็นบริษัทในเครือของบริษัท อ. แต่โจทก์ยังมีพนักงานไม่ครบสมบูรณ์ บริษัทแม่ในประเทศอังกฤษจึงมอบหมายให้บริษัท อ. เป็นผู้ดูแล การที่โจทก์ใช้พนักงานของบริษัท อ. มาโดยตลอดในการปฏิบัติงานจนเป็นปกติ ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้หรือยอมรับเอาพนักงานของบริษัท อ. เป็นผู้ดำเนินงานเสมือนหนึ่งว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นพนักงานของโจทก์เอง ฉะนั้นการที่พนักงานไปรษณีย์ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์ที่อาคารเลขที่ 2160 ดังกล่าว โดยมี ค. พนักงานของบริษัท อ. เป็นผู้รับเอกสารดังกล่าวไว้แทนจึงถือได้ว่าเป็นการส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของโจทก์แล้ว จึงเป็นการส่งโดยชอบตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8
โจทก์เป็นบริษัทในเครือของบริษัท อ. แต่โจทก์ยังมีพนักงานไม่ครบสมบูรณ์ บริษัทแม่ในประเทศอังกฤษจึงมอบหมายให้บริษัท อ. เป็นผู้ดูแล การที่โจทก์ใช้พนักงานของบริษัท อ. มาโดยตลอดในการปฏิบัติงานจนเป็นปกติ ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้หรือยอมรับเอาพนักงานของบริษัท อ. เป็นผู้ดำเนินงานเสมือนหนึ่งว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นพนักงานของโจทก์เอง ฉะนั้นการที่พนักงานไปรษณีย์ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์ที่อาคารเลขที่ 2160 ดังกล่าว โดยมี ค. พนักงานของบริษัท อ. เป็นผู้รับเอกสารดังกล่าวไว้แทนจึงถือได้ว่าเป็นการส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของโจทก์แล้ว จึงเป็นการส่งโดยชอบตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากการค้าซื้อมาขายไป การหักต้นทุนสินค้า และการใช้สิทธิหักค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด
กรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่ง ป.รัษฎากรซึ่งตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 (25) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 80 เว้นแต่ผู้มีเงินได้จากกิจการดังกล่าวแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้นก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร แต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้น ปรากฏว่ารายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดดังกล่าว ก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์ ซึ่งหมายความว่า หากผู้มีเงินได้พิสูจน์โดยมีหลักฐานแสดงว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่าร้อยละ 80 ก็หักค่าใช้จ่ายให้ผู้มีเงินได้มากกว่าร้อยละ 80 ได้ แต่ถ้าหลักฐานที่ผู้มีเงินได้นำมาแสดงนั้นบ่งชี้ว่าผู้มีเงินได้มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าร้อยละ 80 ก็ต้องหักค่าใช้จ่ายให้ผู้มีเงินได้น้อยกว่าร้อยละ 80 ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่สามารถแสดงหลักฐานและพิสูจน์ได้ว่าโจทก์มีค่าใช้จ่ายเท่าใดแน่จึงต้องหักค่าใช้จ่ายให้ร้อยละ 80 แม้ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.ฎ.(ฉบับที่ 11)พ.ศ.2502 จะใช้บังคับแก่บุคคลธรรมดา แต่ก็สามารถนำมาปรับใช้แก่กรณีของนิติบุคคลเช่นกรณีของโจทก์ได้โดยไม่ขัดต่อ ป.รัษฎากร มาตรา 65 ซึ่งบัญญัติว่าเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้ คือ กำไรสุทธิ ฯลฯ แต่อย่างใด เนื่องจากการประกอบกิจการของโจทก์เป็นการประกอบกิจการค้าประเภทซื้อมาขายไปโจทก์มิได้เป็นผู้ผลิตซึ่งตามปกติแล้วต้องมีต้นทุนซื้อมาและจะต้องหักต้นทุนซื้อให้การที่จำเลยทั้งสี่นำรายรับทั้งหมดมาถือเป็นรายได้จึงไม่ถูกต้อง
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ที่มีต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์ถึงการประเมินที่ไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรมของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่า รายจ่ายทุกประเภทรวมทั้งค่าใช้จ่ายโจทก์ได้จ่ายไปจริงสมเหตุผลทางการค้าและเพื่อกิจการของโจทก์ รายการขายแต่ละรายการได้ผ่านการบันทึกบัญชีถูกต้องทุกรายการตามความเป็นจริง รายการขายตามใบส่งของที่ออกแทนนั้น เป็นรายการขายเดี่ยวและเป็นการขายจริงตามเอกสารทางบัญชีมีการลงบัญชีไว้ถูกต้องทุกรายการ ข้อความตามอุทธรณ์ของโจทก์เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่าไม่ต้องรับผิดตามหนังสือแจ้งประเมินภาษีทั้งหมด ดังนั้นในส่วนการขอให้หักต้นทุนซื้อซึ่งทำให้ไม่ต้องรับผิดเสียภาษีในส่วนที่เป็นต้นทุนเพราะมิใช่กำไรสุทธิ จึงถือเป็นเหตุผลหรือรายละเอียดประกอบการอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุผลที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพราะไม่มีบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร บังคับไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 30 แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่โดยบรรยายฟ้องอย่างชัดแจ้งว่ารายการขายสินค้าที่เจ้าพนักงานประเมินอ้างว่า ขายต่ำกว่าความเป็นจริงจำเลยยอมให้หักต้นทุนสินค้า แต่รายการที่หาว่าขายสินค้าโดยมิได้ลงบัญชีขายจำเลยไม่ยอมให้หักต้นทุนสินค้าให้โจทก์ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบและไม่ถูกต้อง ขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับ เมื่อศาลภาษีอากรกลางได้พิจารณาและวินิจฉัยว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้องเป็นการประเมินที่ไม่ชอบและได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับนั้น การที่ศาลภาษีอากรกำหนดให้หักต้นทุนซื้อในกรณีที่โจทก์ขายสินค้าไม่ลงบัญชีโดยหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาให้ร้อยละ 80 ทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชี จึงเป็นการชี้ถึงสิทธิของโจทก์ตามกฎหมาย มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ที่มีต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์ถึงการประเมินที่ไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรมของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่า รายจ่ายทุกประเภทรวมทั้งค่าใช้จ่ายโจทก์ได้จ่ายไปจริงสมเหตุผลทางการค้าและเพื่อกิจการของโจทก์ รายการขายแต่ละรายการได้ผ่านการบันทึกบัญชีถูกต้องทุกรายการตามความเป็นจริง รายการขายตามใบส่งของที่ออกแทนนั้น เป็นรายการขายเดี่ยวและเป็นการขายจริงตามเอกสารทางบัญชีมีการลงบัญชีไว้ถูกต้องทุกรายการ ข้อความตามอุทธรณ์ของโจทก์เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่าไม่ต้องรับผิดตามหนังสือแจ้งประเมินภาษีทั้งหมด ดังนั้นในส่วนการขอให้หักต้นทุนซื้อซึ่งทำให้ไม่ต้องรับผิดเสียภาษีในส่วนที่เป็นต้นทุนเพราะมิใช่กำไรสุทธิ จึงถือเป็นเหตุผลหรือรายละเอียดประกอบการอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุผลที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพราะไม่มีบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร บังคับไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 30 แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่โดยบรรยายฟ้องอย่างชัดแจ้งว่ารายการขายสินค้าที่เจ้าพนักงานประเมินอ้างว่า ขายต่ำกว่าความเป็นจริงจำเลยยอมให้หักต้นทุนสินค้า แต่รายการที่หาว่าขายสินค้าโดยมิได้ลงบัญชีขายจำเลยไม่ยอมให้หักต้นทุนสินค้าให้โจทก์ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบและไม่ถูกต้อง ขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับ เมื่อศาลภาษีอากรกลางได้พิจารณาและวินิจฉัยว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้องเป็นการประเมินที่ไม่ชอบและได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับนั้น การที่ศาลภาษีอากรกำหนดให้หักต้นทุนซื้อในกรณีที่โจทก์ขายสินค้าไม่ลงบัญชีโดยหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาให้ร้อยละ 80 ทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชี จึงเป็นการชี้ถึงสิทธิของโจทก์ตามกฎหมาย มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(8) และการปรับใช้กับนิติบุคคล แม้พระราชกฤษฎีกาฯ จะกำหนดเฉพาะบุคคลธรรมดา
กรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8(25) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 80 เว้นแต่ผู้มีเงินได้จากกิจการดังกล่าวแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้นก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร แต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้น ปรากฏว่ารายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดดังกล่าว ก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์ ซึ่งหมายความว่า หากผู้มีเงินได้พิสูจน์โดยมีหลักฐานแสดงว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่าร้อยละ 80 ก็หักค่าใช้จ่ายให้ผู้มีเงินได้มากกว่าร้อยละ 80 ได้ แต่ถ้าหลักฐานที่ผู้มีเงินได้นำมาแสดงนั้นบ่งชี้ว่าผู้มีเงินได้มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าร้อยละ 80 ก็ต้องหักค่าใช้จ่ายให้ผู้มีเงินได้น้อยกว่าร้อยละ 80 ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่สามารถแสดงหลักฐานและพิสูจน์ได้ว่าโจทก์มีค่าใช้จ่ายเท่าใดแน่จึงต้องหักค่าใช้จ่ายให้ร้อยละ 80 แม้ตามบทบัญญัติแห่งพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 จะใช้บังคับแก่บุคคลธรรมดา แต่ก็สามารถนำมาปรับใช้แก่กรณีของนิติบุคคลเช่นกรณีของโจทก์ได้โดยไม่ขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ซึ่งบัญญัติว่าเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้ คือ กำไรสุทธิ ฯลฯ แต่อย่างใด เนื่องจากการประกอบกิจการของโจทก์เป็นการประกอบกิจการค้าประเภทซื้อมาขายไปโจทก์มิได้เป็นผู้ผลิตซึ่งตามปกติแล้วต้องมีต้นทุนซื้อมาและจะต้องหักต้นทุนซื้อให้ การที่จำเลยทั้งสี่นำรายรับทั้งหมดมาถือเป็นรายได้จึงไม่ถูกต้อง
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ที่มีต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1ได้อุทธรณ์ถึงการประเมินที่ไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรมของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่า รายจ่ายทุกประเภทรวมทั้งค่าใช้จ่ายโจทก์ได้จ่ายไปจริงสมเหตุผลทางการค้าและเพื่อกิจการของโจทก์ รายการขายแต่ละรายการได้ผ่านการบันทึกบัญชีถูกต้องทุกรายการตามความเป็นจริง รายการขายตามใบส่งของที่ออกแทนนั้น เป็นรายการขายเดี่ยวและเป็นการขายจริงตามเอกสารทางบัญชีมีการลงบัญชีไว้ถูกต้องทุกรายการ ข้อความตามอุทธรณ์ของโจทก์เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่าไม่ต้องรับผิดตามหนังสือแจ้งประเมินภาษีทั้งหมด ดังนั้นในส่วนการขอให้หักต้นทุนซื้อซึ่งทำให้ไม่ต้องรับผิดเสียภาษีในส่วนที่เป็นต้นทุนเพราะมิใช่กำไรสุทธิ จึงถือเป็นเหตุผลหรือรายละเอียดประกอบการอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุผลที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพราะไม่มีบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร บังคับไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่โดยบรรยายฟ้องอย่างชัดแจ้งว่ารายการขายสินค้าที่เจ้าพนักงานประเมินอ้างว่า ขายต่ำกว่าความเป็นจริง จำเลยยอมให้หักต้นทุนสินค้า แต่รายการที่หาว่าขายสินค้าโดยมิได้ลงบัญชีขาย จำเลยไม่ยอมให้หักต้นทุนสินค้าให้โจทก์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบและไม่ถูกต้อง ขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับเมื่อศาลภาษีอากรกลางได้พิจารณาและวินิจฉัยว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้องเป็นการประเมินที่ไม่ชอบและได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับนั้น การที่ศาลภาษีอากรกำหนดให้หักต้นทุนซื้อในกรณีที่โจทก์ขายสินค้าไม่ลงบัญชีโดยหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาให้ร้อยละ 80 ทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชี จึงเป็นการชี้ถึงสิทธิของโจทก์ตามกฎหมาย มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ที่มีต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1ได้อุทธรณ์ถึงการประเมินที่ไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรมของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่า รายจ่ายทุกประเภทรวมทั้งค่าใช้จ่ายโจทก์ได้จ่ายไปจริงสมเหตุผลทางการค้าและเพื่อกิจการของโจทก์ รายการขายแต่ละรายการได้ผ่านการบันทึกบัญชีถูกต้องทุกรายการตามความเป็นจริง รายการขายตามใบส่งของที่ออกแทนนั้น เป็นรายการขายเดี่ยวและเป็นการขายจริงตามเอกสารทางบัญชีมีการลงบัญชีไว้ถูกต้องทุกรายการ ข้อความตามอุทธรณ์ของโจทก์เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่าไม่ต้องรับผิดตามหนังสือแจ้งประเมินภาษีทั้งหมด ดังนั้นในส่วนการขอให้หักต้นทุนซื้อซึ่งทำให้ไม่ต้องรับผิดเสียภาษีในส่วนที่เป็นต้นทุนเพราะมิใช่กำไรสุทธิ จึงถือเป็นเหตุผลหรือรายละเอียดประกอบการอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุผลที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพราะไม่มีบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร บังคับไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่โดยบรรยายฟ้องอย่างชัดแจ้งว่ารายการขายสินค้าที่เจ้าพนักงานประเมินอ้างว่า ขายต่ำกว่าความเป็นจริง จำเลยยอมให้หักต้นทุนสินค้า แต่รายการที่หาว่าขายสินค้าโดยมิได้ลงบัญชีขาย จำเลยไม่ยอมให้หักต้นทุนสินค้าให้โจทก์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบและไม่ถูกต้อง ขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับเมื่อศาลภาษีอากรกลางได้พิจารณาและวินิจฉัยว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้องเป็นการประเมินที่ไม่ชอบและได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับนั้น การที่ศาลภาษีอากรกำหนดให้หักต้นทุนซื้อในกรณีที่โจทก์ขายสินค้าไม่ลงบัญชีโดยหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาให้ร้อยละ 80 ทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชี จึงเป็นการชี้ถึงสิทธิของโจทก์ตามกฎหมาย มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์