คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมานเวทวินิจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6025/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งอุทธรณ์มีผลเสมือนมิได้ยื่น และข้อจำกัดในการฎีกาประเด็นใหม่ที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้พิจารณา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าอาคารให้แก่จำเลยมีกำหนด20ปีนับแต่วันที่ทำสัญญาจองอาคารจำเลยอุทธรณ์แต่ทิ้งอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำหน่ายคดีสำหรับอุทธรณ์ของจำเลยออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์จำเลยฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปศาลฎีกาพิพากษายืนการทิ้งอุทธรณ์ของจำเลยมีผลเสมือนหนึ่งว่าจำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์นั้นเลยคงมีแต่โจทก์ฝ่ายเดียวที่อุทธรณ์ข้ออ้างที่จำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองจึงเป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นวาระยะเวลาการเช่าจะเริ่มนับแต่วันทำสัญญาเช่าไม่ได้และคดีในส่วนที่โจทก์อุทธรณ์นั้นศาลอุทธรณ์พิพากษายืนที่จำเลยฎีกาว่าสัญญาเช่ามีกำหนด20ปีจะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่าไม่ใช่วันทำสัญญาจองและคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นจึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6025/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การฎีกาในประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์ แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกาไว้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าอาคารให้แก่จำเลยมีกำหนด 20 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญาจองอาคารจำเลยอุทธรณ์แต่ทิ้งอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำหน่ายคดีสำหรับอุทธรณ์ของจำเลยออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ จำเลยฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ศาลฎีกาพิพากษายืน การทิ้งอุทธรณ์ของจำเลยมีผลเสมือนหนึ่งว่าจำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์นั้นเลยคงมีแต่โจทก์ฝ่ายเดียวที่อุทธรณ์ข้ออ้างที่จำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองจึงเป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นวา ระยะเวลาการเช่าจะเริ่มนับแต่วันทำสัญญาเช่าไม่ได้ และคดีในส่วนที่โจทก์อุทธรณ์นั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ที่จำเลยฎีกาว่า สัญญาเช่ามีกำหนด20 ปี จะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่า ไม่ใช่วันทำสัญญาจอง และคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249