พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3716/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอให้เงินเพื่อจูงใจลงคะแนน: โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
แม้จะฟังเป็นความจริงว่าจำเลยพูดปราศรัยให้ประชาชนฟังและแจกจ้างวานให้ผู้สนับสนุนของจำเลยแจกและปิดประกาศใบปลิวแก่ประชาชนทั่วไป เพื่อจูงใจให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้จำเลย โดยการเสนอให้หรือสัญญาว่าจะให้เงินหรือทรัพย์สินไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมแก่กิจการสาธารณกุศลทั่ว ๆ ไปดังฟ้องก็เป็นกรณีที่จำเลยเสนอจะให้เงินและทรัพย์สินอื่นแก่กิจการสาธารณกุศล เพื่อให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกจำเลยมิได้ห้ามมิให้เลือกโจทก์ โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลย ถือว่าเป็นการกระทำความผิดต่อรัฐ มิใช่กระทำต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 998/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยุบสภาฯ ทำให้ศาลฎีกาไม่สามารถสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่า การเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะและให้เลือกตั้งใหม่ ระหว่างไต่สวนคำร้องได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการเลือกตั้งทั่วไปจึงเป็นกรณีที่ศาลฎีกาไม่สามารถสั่งให้ตามคำร้องได้ ศาลฎีกามีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5565/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการเลือกตั้งต้องเป็นไปตามเหตุที่กฎหมายกำหนด และคำร้องต้องชัดเจนไม่เคลือบคลุม
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 78 บัญญัติเหตุอันจะพึงร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ไว้โดยเฉพาะว่าต้องมีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26,32,34,51 หรือมาตรา 52 เท่านั้น ตามคำร้องของผู้ร้องที่อ้างเหตุคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 2 และผู้คัดค้านที่ 3 ผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยตนเองหรือตัวแทนของตนได้ให้อามิสสินจ้างแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อจูงใจให้ลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 จึงเป็นข้อกล่าวหาว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษตามมาตรา 84 มิใช่เหตุที่จะต้องคัดค้านการเลือกตั้งเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 78 ส่วนที่อ้างเหตุคัดค้านว่าผู้คัดค้านที่ 3 ได้พิมพ์โฆษณารูปผู้ร้อง ชื่อพรรคซึ่งผู้ร้องสังกัดอยู่ และชื่อผู้ร้องในแผ่นพิมพ์โฆษณา แต่บอกหมายเลขประจำตัวของผู้คัดค้านที่ 3 ไว้ ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดคิดว่าผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งตามหมายเลขดังกล่าว ซึ่งไม่เป็นความจริงนั้นก็เป็นข้อกล่าวหาว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 67 ซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดและต้องระวางโทษตามมาตรา 84 มิใช่เหตุที่จะร้องคัดค้านการเลือกตั้งเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตามมาตรา 78 จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบจะรับไว้พิจารณา
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 79 บัญญัติให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงเป็นคำฟ้องตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 1(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งจะต้องชอบด้วยมาตรา 172 วรรคสอง แต่ผู้ร้องบรรยายมาในคำร้องว่า เจ้าหน้าที่กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งได้แกล้งทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งหล่นหายและขีดฆ่าชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งบางคนซึ่งมีตัวตนออกโดยพลการ มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่ากรรมการผู้ใดได้แกล้งทำบัญชีรายชื่อหล่นหายหรือขีดฆ่าชื่อผู้ใดซึ่งมีสิทธิเลือกตั้งออกพอที่จะให้เข้าใจได้ว่าเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งผู้ใดประจำหน่วยเลือกตั้งใดจงใจไม่ปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือกระทำการอันใดเพื่อขัดขวางมิให้การเป็นไปตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 52 จึงเป็นคำร้องเคลือบคลุม
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 79 บัญญัติให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงเป็นคำฟ้องตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 1(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งจะต้องชอบด้วยมาตรา 172 วรรคสอง แต่ผู้ร้องบรรยายมาในคำร้องว่า เจ้าหน้าที่กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งได้แกล้งทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งหล่นหายและขีดฆ่าชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งบางคนซึ่งมีตัวตนออกโดยพลการ มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่ากรรมการผู้ใดได้แกล้งทำบัญชีรายชื่อหล่นหายหรือขีดฆ่าชื่อผู้ใดซึ่งมีสิทธิเลือกตั้งออกพอที่จะให้เข้าใจได้ว่าเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งผู้ใดประจำหน่วยเลือกตั้งใดจงใจไม่ปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือกระทำการอันใดเพื่อขัดขวางมิให้การเป็นไปตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 52 จึงเป็นคำร้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้เน้นหลักการพิจารณาคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ต้องมีข้อเท็จจริงชัดเจนและผู้ถูกคัดค้านสามารถต่อสู้คดีได้
กระบวนพิจารณาคดีการคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นได้มีพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522บัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 78 และ 79 ว่า ให้ผู้เลือกตั้งหรือพรรคการเมืองซึ่งมีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลจังหวัดที่เขตเลือกตั้งนั้นตั้งอยู่หรือต่อศาลแพ่งสำหรับกรุงเทพมหานคร เมื่อได้รับคำร้องคัดค้านแล้ว ให้ศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งดำเนินการพิจารณาโดยไม่ชักช้าและให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมและให้ทำความเห็นและส่งสำนวนไปยังศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัยและให้ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ หรือมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านเสียแล้วแต่กรณี จากบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นที่เห็นได้ว่ากฎหมายมุ่งประสงค์ให้ศาลฎีกาเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดการคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนการที่กฎหมายให้ศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งมีหน้าที่ดำเนินการพิจารณาในเบื้องต้นแล้วทำความเห็นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกานั้นก็มีเหตุผลในเรื่องการอำนวยความสะดวกแก่ผู้มีส่วนได้เสียในทำนองเดียวกันและยังมุ่งหมายจะลดภาระของศาลฎีกาในอันที่จะต้องออกนั่งพิจารณาคดีเองอีกประการหนึ่งด้วย ด้วยเหตุผลดังกล่าวการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งในคดีคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่กฎหมายให้ศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งกระทำการแทนศาลฎีกา ส่วนความเห็นของศาลหนึ่งศาลใดดังกล่าวที่ได้ส่งมายังศาลฎีกาพร้อมสำนวนนั้นก็เป็นเพียงข้อเสนอแนะต่อศาลฎีกาโดยตรง ไม่มีลักษณะเป็นคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียจะโต้แย้งคัดค้านได้ และในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีศาลฎีกาก็มิได้ถูกผูกมัดโดยความเห็นของศาลหนึ่งศาลใดดังกล่าวนั้นด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ในกรณีที่เห็นสมควรศาลฎีกาอาจจะมีคำวินิจฉัยคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปได้โดยไม่จำต้องรอฟังความเห็นของศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งก็ได้. คำร้องบรรยายว่า การเลือกตั้งทุกหน่วยในอำเภอเมืองสระบุรีอำเภอหนองแค อำเภอแก่งคอยและอำเภอวิหารแดง เจ้าหน้าที่กรรมการเลือกตั้งประจำหน่วยจงใจปล่อยปละละเลยให้มีการหมุนเวียนไปลงคะแนนซ้ำบุคคลกัน ด้วยการไปลงคะแนนแทนบุคคลที่ไม่ใช้สิทธิ ซึ่งบางคนบวชเป็นภิกษุ บางคนถึงแก่กรรมไปแล้ว และบางคนก็ไปทำงานชั่วคราวในต่างประเทศ ซึ่งหลักฐานการลงคะแนนส่วนมากไม่มีการลงชื่อผู้ใช้สิทธิหรือหมายเหตุเลขที่บัตรประจำตัวไว้ในช่องผู้ใช้สิทธิแล้ว ผู้ร้องมิได้บรรยายให้เห็นเลยว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนใดบ้างที่ไปลงคะแนนให้ผู้ถูกคัดค้านซ้ำอีกการลงคะแนนซ้ำเป็นการลงคะแนนแทนผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนใดที่หน่วยเลือกตั้งใด เป็นการยากที่ผู้คัดค้านจะเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172คำร้องข้อนี้จึงเป็นคำร้องที่เคลือบคลุม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 127/2489) คำร้องบรรยายว่า คณะกรรมการตรวจนับบัตรวินิจฉัยและขานคะแนนบัตรด้วยการเข้าข้างผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ด้วยการอ่านบัตรเสียว่าเป็นบัตรดีอันมีอยู่ทุกหน่วยในเขต และบัตรดีซึ่งเป็นของผู้ร้อง กรรมการตรวจนับบัตรกลับวินิจฉัยว่าเป็นบัตรเสียซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3,000 บัตร ในทุกหน่วยเขตเลือกตั้งในเขตอำเภอเมืองสระบุรี อำเภอหนองแค อำเภอแก่งคอยและอำเภอวิหารแดง ผู้ร้องมิได้บรรยายให้เห็นเลยว่าบัตรชนิดใดที่เป็นบัตรเสีย แต่คณะกรรมการตรวจนับบัตรถือว่าเป็นบัตรดี และบัตรชนิดใดที่เป็นบัตรดีแต่คณะกรรมการตรวจนับบัตรถือว่าเป็นบัตรเสียทั้งนี้เพราะบัตรเลือกตั้งนั้นได้กำหนดลักษณะเอาไว้แล้วตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ข้อ 9 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 53 และมาตรา 73 ก็บัญญัตถึงบัตรเสียไว้รวม 6 ชนิดด้วยกัน คำร้องข้อนี้ จึงไม่ชัดแจ้งพอที่ผู้คัดค้านจะเข้าใจและต่อสู้คดีได้ จึงเป็นคำร้องที่เคลือบคลุม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 623/2514) คำร้องบรรยายว่า ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้ละเมิดกฎหมายด้วยการนำดนตรีไปแสดงให้ประชาชนในเขตเลือกตั้งในทุกเขตของจังหวัดสระบุรี อันเป็นการโฆษณาหาเสียง ด้วยการจัดให้มีมหรสพและการรื่นเริงต่างๆ และในการเลือกตั้งดังกล่าวผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ยังได้จ่ายเงินในการหาเสียงเลือกตั้งเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้มากอันเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นั้นสำหรับข้อกล่าวอ้างที่ว่าผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ทำการหาเสียงเลือกตั้งด้วยการจัดให้มีมหรสพและการรื่นเริงต่างๆ นั้นถึงหากจะทำการพิจารณาต่อไปและฟังได้ว่าเป็นความจริงการกระทำดังกล่าวก็เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 35(3) และมีโทษตามมาตรา 84 เท่านั้นหาเป็นกรณีที่ผู้ร้องจะร้องคัดค้านเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้ตามมาตรา 78 ไม่ ประเด็นข้อนี้จึงไม่จำต้องยกขึ้นวินิจฉัย ส่วนข้อที่กล่าวอ้างว่าผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้ใช้จ่ายเงินในการหาเสียงเลือกตั้งเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้มาก อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 32 วรรคแรกที่บัญญัติว่า เมื่อได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งใด ผู้สมัครแต่ละคนจะใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งหมดเกินสามแสนห้าหมื่นบาทไม่ได้ ทั้งนี้ไม่รวมค่าธรรมเนียมการสมัคร คำร้องของผู้ร้องเฉพาะส่วนนี้นอกจากผู้ร้องจะมิได้กล่าวอ้างว่าผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้ใช้จ่ายไปในการหาเสียงเลือกตั้งทั้งหมดเกินจำนวน 350,000 บาท ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว ผู้ร้องก็ยังมิได้กล่าว ข้อเท็จจริงโดยแจ้งชัดว่าผู้คัดค้านทั้งสามได้ใช้จ่ายเงินไปในกิจการใดบ้าง อันพอสมควรที่ผู้คัดค้านทั้งสามจะเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ถูกต้องคำร้องของผู้ร้องส่วนนี้จึงเคลือบคลุมเช่นเดียวกัน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2964/2522)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง: ข้อกล่าวหาต้องชัดเจนและมีรายละเอียด ผู้ร้องต้องระบุข้อเท็จจริงที่ผู้คัดค้านสามารถต่อสู้ได้
กระบวนพิจารณาคดีการคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นได้มีพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 บัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 78 และ 79 ว่า ให้ผู้เลือกตั้งหรือพรรคการเมืองซึ่งมีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลจังหวัดที่เขตเลือกตั้งนั้นตั้งอยู่หรือต่อศาลแพ่งสำหรับกรุงเทพมหานคร เมื่อได้รับคำร้องคัดค้านแล้ว ให้ศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งดำเนินการพิจารณาโดยไม่ชักช้า และให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ทำความเห็นและส่งสำนวนไปยังศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัยและให้ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ หรือมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านเสียแล้วแต่กรณี จากบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นที่เห็นได้ว่ากฎหมายมุ่งประสงค์ให้ศาลฎีกาเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดการคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนการที่กฎหมายให้ศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งมีหน้าที่ดำเนินการพิจารณาในเบื้องต้นแล้วทำความเห็นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกานั้นก็มีเหตุผลในเรื่องการอำนวยความสะดวกแก่ผู้มีส่วนได้เสียในทำนองเดียวกันและยังมุ่งหมายจะลดภาระของศาลฎีกาในอันที่จะต้องออกนั่งพิจารณาคดีเองอีกประการหนึ่งด้วย ด้วยเหตุผลดังกล่าวการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งในคดีคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่กฎหมายให้ศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งกระทำการแทนศาลฎีกา ส่วนความเห็นของศาลหนึ่งศาลใดดังกล่าวที่ได้ส่งมายังศาลฎีกาพร้อมสำนวนนั้นก็เป็นเพียงข้อเสนอแนะต่อศาลฎีกาโดยตรง ไม่มีลักษณะเป็นคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียจะโต้แย้งคัดค้านได้ และในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีศาลฎีกาก็มิได้ถูกผูกมัดโดยความเห็นของศาลหนึ่งศาลใดดังกล่าวนั้นด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ในกรณีที่เห็นสมควรศาลฎีกาอาจจะมีคำวินิจฉัยคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปได้โดยไม่จำต้องรอฟังความเห็นของศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งก็ได้.
คำร้องบรรยายว่า การเลือกตั้งทุกหน่วยในอำเภอเมืองสระบุรี อำเภอหนองแค อำเภอแก่งคอยและอำเภอวิหารแดง เจ้าหน้าที่กรรมการเลือกตั้งประจำหน่วยจงใจปล่อยปละละเลยให้มีการหมุนเวียนไปลงคะแนนซ้ำบุคคลกัน ด้วยการไปลงคะแนนแทนบุคคลที่ไม่ใช้สิทธิ ซึ่งบางคนบวชเป็นภิกษุ บางคนถึงแก่กรรมไปแล้ว และบางคนก็ไปทำงานชั่วคราวในต่างประเทศ ซึ่งหลักฐานการลงคะแนนส่วนมากไม่มีการลงชื่อผู้ใช้สิทธิหรือหมายเหตุเลขที่บัตรประจำตัวไว้ในช่องผู้ใช้สิทธิแล้ว ผู้ร้องมิได้บรรยายให้เห็นเลยว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนใดบ้างที่ไปลงคะแนนให้ผู้ถูกคัดค้านซ้ำอีก การลงคะแนนซ้ำเป็นการลงคะแนนแทนผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนใด ที่หน่วยเลือกตั้งใด เป็นการยากที่ผู้คัดค้านจะเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 คำร้องข้อนี้จึงเป็นคำร้องที่เคลือบคลุม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 127/2489)
คำร้องบรรยายว่า คณะกรรมการตรวจนับบัตรวินิจฉัยและขานคะแนนบัตรด้วยการเข้าข้างผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ด้วยการอ่านบัตรเสียว่าเป็นบัตรดีอันมีอยู่ทุกหน่วยในเขต และบัตรดีซึ่งเป็นของผู้ร้อง กรรมการตรวจนับบัตรกลับวินิจฉัยว่าเป็นบัตรเสีย ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3,000 บัตร ในทุกหน่วยเขตเลือกตั้งในเขตอำเภอเมืองสระบุรี อำเภอหนองแค อำเภอแก่งคอยและอำเภอวิหารแดง ผู้ร้องมิได้บรรยายให้เห็นเลยว่าบัตรชนิดใดที่เป็นบัตรเสีย แต่คณะกรรมการตรวจนับบัตรถือว่าเป็นบัตรดี และบัตรชนิดใดที่เป็นบัตรดีแต่คณะกรรมการตรวจนับบัตรถือว่าเป็นบัตรเสีย ทั้งนี้เพราะบัตรเลือกตั้งนั้นได้กำหนดลักษณะเอาไว้แล้วตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ข้อ 9 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 53 และมาตรา 73 ก็บัญญัติถึงบัตรเสียไว้รวม 6 ชนิดด้วยกัน คำร้องข้อนี้ จึงไม่ชัดแจ้งพอที่ผู้คัดค้านจะเข้าใจและต่อสู้คดีได้ จึงเป็นคำร้องที่เคลือบคลุม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 623/2514)
คำร้องบรรยายว่า ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้ละเมิดกฎหมายด้วยการนำดนตรีไปแสดงให้ประชาชนในเขตเลือกตั้งในทุกเขตของจังหวัดสระบุรี อันเป็นการโฆษณาหาเสียง ด้วยการจัดให้มีมหรสพและการรื่นเริงต่าง ๆ และในการเลือกตั้งดังกล่าวผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ยังได้จ่ายเงินในการหาเสียงเลือกตั้งเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้มากอันเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นั้นสำหรับข้อกล่าวอ้างที่ว่าผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ทำการหาเสียงเลือกตั้งด้วยการจัดให้มีมหรสพและการรื่นเริงต่าง ๆ นั้นถึงหากจะทำการพิจารณาต่อไปและฟังได้ว่าเป็นความจริงการกระทำดังกล่าวก็เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 35(3) และมีโทษตามมาตรา 84 เท่านั้นหาเป็นกรณีที่ผู้ร้องจะร้องคัดค้านเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้ตามมาตรา 78 ไม่ ประเด็นข้อนี้จึงไม่จำต้องยกขึ้นวินิจฉัย ส่วนข้อที่กล่าวอ้างว่าผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้ใช้จ่ายเงินในการหาเสียงเลือกตั้งเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้มาก อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 32 วรรคแรก ที่บัญญัติว่า เมื่อได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งใด ผู้สมัครแต่ละคนจะใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งหมดเกินสามแสนห้าหมื่นบาทไม่ได้ ทั้งนี้ไม่รวมค่าธรรมเนียมการสมัคร คำร้องของผู้ร้องเฉพาะส่วนนี้นอกจากผู้ร้องจะมิได้กล่าวอ้างว่าผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้ใช้จ่ายไปในการหาเสียงเลือกตั้งทั้งหมดเกินจำนวน 350,000 บาท ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว ผู้ร้องก็ยังมิได้กล่าวข้อเท็จจริงโดยแจ้งชัดว่าผู้คัดค้านทั้งสามได้ใช้จ่ายเงินไปในกิจการใดบ้าง อันพอสมควรที่ผู้คัดค้านทั้งสามจะเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ถูกต้องคำร้องของผู้ร้องส่วนนี้จึงเคลือบคลุมเช่นเดียวกัน(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2964/2522)
คำร้องบรรยายว่า การเลือกตั้งทุกหน่วยในอำเภอเมืองสระบุรี อำเภอหนองแค อำเภอแก่งคอยและอำเภอวิหารแดง เจ้าหน้าที่กรรมการเลือกตั้งประจำหน่วยจงใจปล่อยปละละเลยให้มีการหมุนเวียนไปลงคะแนนซ้ำบุคคลกัน ด้วยการไปลงคะแนนแทนบุคคลที่ไม่ใช้สิทธิ ซึ่งบางคนบวชเป็นภิกษุ บางคนถึงแก่กรรมไปแล้ว และบางคนก็ไปทำงานชั่วคราวในต่างประเทศ ซึ่งหลักฐานการลงคะแนนส่วนมากไม่มีการลงชื่อผู้ใช้สิทธิหรือหมายเหตุเลขที่บัตรประจำตัวไว้ในช่องผู้ใช้สิทธิแล้ว ผู้ร้องมิได้บรรยายให้เห็นเลยว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนใดบ้างที่ไปลงคะแนนให้ผู้ถูกคัดค้านซ้ำอีก การลงคะแนนซ้ำเป็นการลงคะแนนแทนผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนใด ที่หน่วยเลือกตั้งใด เป็นการยากที่ผู้คัดค้านจะเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 คำร้องข้อนี้จึงเป็นคำร้องที่เคลือบคลุม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 127/2489)
คำร้องบรรยายว่า คณะกรรมการตรวจนับบัตรวินิจฉัยและขานคะแนนบัตรด้วยการเข้าข้างผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ด้วยการอ่านบัตรเสียว่าเป็นบัตรดีอันมีอยู่ทุกหน่วยในเขต และบัตรดีซึ่งเป็นของผู้ร้อง กรรมการตรวจนับบัตรกลับวินิจฉัยว่าเป็นบัตรเสีย ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3,000 บัตร ในทุกหน่วยเขตเลือกตั้งในเขตอำเภอเมืองสระบุรี อำเภอหนองแค อำเภอแก่งคอยและอำเภอวิหารแดง ผู้ร้องมิได้บรรยายให้เห็นเลยว่าบัตรชนิดใดที่เป็นบัตรเสีย แต่คณะกรรมการตรวจนับบัตรถือว่าเป็นบัตรดี และบัตรชนิดใดที่เป็นบัตรดีแต่คณะกรรมการตรวจนับบัตรถือว่าเป็นบัตรเสีย ทั้งนี้เพราะบัตรเลือกตั้งนั้นได้กำหนดลักษณะเอาไว้แล้วตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ข้อ 9 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 53 และมาตรา 73 ก็บัญญัติถึงบัตรเสียไว้รวม 6 ชนิดด้วยกัน คำร้องข้อนี้ จึงไม่ชัดแจ้งพอที่ผู้คัดค้านจะเข้าใจและต่อสู้คดีได้ จึงเป็นคำร้องที่เคลือบคลุม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 623/2514)
คำร้องบรรยายว่า ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้ละเมิดกฎหมายด้วยการนำดนตรีไปแสดงให้ประชาชนในเขตเลือกตั้งในทุกเขตของจังหวัดสระบุรี อันเป็นการโฆษณาหาเสียง ด้วยการจัดให้มีมหรสพและการรื่นเริงต่าง ๆ และในการเลือกตั้งดังกล่าวผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ยังได้จ่ายเงินในการหาเสียงเลือกตั้งเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้มากอันเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นั้นสำหรับข้อกล่าวอ้างที่ว่าผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ทำการหาเสียงเลือกตั้งด้วยการจัดให้มีมหรสพและการรื่นเริงต่าง ๆ นั้นถึงหากจะทำการพิจารณาต่อไปและฟังได้ว่าเป็นความจริงการกระทำดังกล่าวก็เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 35(3) และมีโทษตามมาตรา 84 เท่านั้นหาเป็นกรณีที่ผู้ร้องจะร้องคัดค้านเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้ตามมาตรา 78 ไม่ ประเด็นข้อนี้จึงไม่จำต้องยกขึ้นวินิจฉัย ส่วนข้อที่กล่าวอ้างว่าผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้ใช้จ่ายเงินในการหาเสียงเลือกตั้งเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้มาก อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 32 วรรคแรก ที่บัญญัติว่า เมื่อได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งใด ผู้สมัครแต่ละคนจะใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งหมดเกินสามแสนห้าหมื่นบาทไม่ได้ ทั้งนี้ไม่รวมค่าธรรมเนียมการสมัคร คำร้องของผู้ร้องเฉพาะส่วนนี้นอกจากผู้ร้องจะมิได้กล่าวอ้างว่าผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้ใช้จ่ายไปในการหาเสียงเลือกตั้งทั้งหมดเกินจำนวน 350,000 บาท ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว ผู้ร้องก็ยังมิได้กล่าวข้อเท็จจริงโดยแจ้งชัดว่าผู้คัดค้านทั้งสามได้ใช้จ่ายเงินไปในกิจการใดบ้าง อันพอสมควรที่ผู้คัดค้านทั้งสามจะเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ถูกต้องคำร้องของผู้ร้องส่วนนี้จึงเคลือบคลุมเช่นเดียวกัน(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2964/2522)