คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การไฟฟ้านครหลวง พ.ศ.2501

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าของรัฐวิสาหกิจ ไม่เข้าข่ายประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 193/34 ใช้บังคับอายุความ 10 ปี
โจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวงพ.ศ. 2501 มีวัตถุประสงค์ในการจัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครอันเป็นกิจการสาธารณูปโภคโดยได้รับทุนในการดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดินและทรัพย์สินของโจทก์ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีการที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าจากจำเลยผู้ใช้กระแสไฟฟ้าจึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการค้าเรียกค่าสินค้าตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(1)(7) ที่จะต้องใช้อายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 193/30โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ฎีกาของจำเลยไม่ได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมอย่างไร แต่กลับบรรยายโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ถึงเรื่องการคำนวณค่าไฟฟ้าของโจทก์ว่าเป็นการรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ฝ่ายเดียวไม่ถูกต้อง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีมีทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3411-3412/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องจำเลยเฉพาะราย, สถานะนิติบุคคลรัฐวิสาหกิจ, ค่าจ้างล่วงเวลาจากละเมิด
ศาลชั้นต้นบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ทนายโจทก์ที่ 2 แถลงไม่ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 1 ซึ่งส่งหมายให้ไม่ได้อีกต่อไป เป็นอันว่ามีโจทก์ที่ 2 พิพาทกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 เท่านั้นบันทึกดังกล่าวพอถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้จำหน่ายคดีของโจทก์ที่ 2 เฉพาะตัวจำเลยที่ 1 ไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 แล้ว
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและการไฟฟ้านครหลวงเป็นรัฐวิสาหกิจตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ พิเศษโดยเฉพาะ จึงเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายที่จัดตั้ง หาจำเป็นต้องมีพยานบุคคลมาเบิกความรับรองว่าเป็นนิติบุคคลไม่
แม้พนักงานของโจทก์จะได้รับเงินเดือนจากโจทก์เป็นประจำอยู่แล้วแต่เมื่อโจทก์ต้องใช้พนักงานมาซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหายอันเกิดจากการละเมิดของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างล่วงเวลาของพนักงานโจทก์จากจำเลยได้