คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 42

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขต 'ผู้ควบคุมงาน' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ และระเบียบข้อบังคับนายจ้าง: ตำแหน่งบังคับบัญชาสูงสุดเท่านั้น
ลูกจ้างซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 36 หมายถึง ลูกจ้างที่ทำงานในตำแหน่งบังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจให้คุณให้โทษแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา โดยเปรียบเสมือนเป็นนายจ้างในกรณีการจ้าง ลดค่าจ้าง เลิกจ้าง ให้บำเหน็จ ลงโทษ หรือวินิจฉัยข้อร้องทุกข์เพียงประการใดประการหนึ่งก็ได้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยกำหนดให้ "ผู้ควบคุมงาน"มีอำนาจทำการแทนจำเลยสำหรับการจ้าง ลดค่าจ้าง เลิกจ้าง ให้บำเหน็จ ลงโทษหรือวินิจฉัยข้อร้องทุกข์อย่างหนึ่งอย่างใด ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามประกาศเรื่องระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลย "ผู้ควบคุม" จึงหมายถึงลูกจ้างของจำเลยซึ่งทำงานในตำแหน่งบังคับบัญชามีอำนาจให้คุณให้โทษแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาโดยเด็ดขาดเปรียบเสมือนเป็นนายจ้างด้วย ซึ่งปกติย่อมหมายถึงผู้มีอำนาจบังคับบัญชาสูงสุดในแต่ละหน่วยงานของจำเลยเท่านั้น แต่โจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยพยาบาลเท่านั้น มิใช่ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วย โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้ควบคุมงาน จำเลยต้องชำระค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาจ่ายต้องไม่คลุมเครือ หากรวมค่าล่วงเวลา ต้องคำนวณฐานค่าจ้างปกติได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะและลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
ตามสัญญาจ้างข้อ1ระบุว่าโจทก์ตกลงทำงานให้แก่จำเลยและบริษัทในเครือโดยจะทำงานนอกหรือเกินเวลาทำงานปกติและข้อ2ระบุให้โจทก์รับค่าจ้างเดือนละ8,160บาทเป็นการเหมาจ่ายและเงินพิเศษอื่นๆ(ค่าครองชีพค่าพาหนะและค่าอาหาร)อีกเดือนละ440บาทครั้งสุดท้ายโจทก์ได้รับการปรับค่าจ้างเป็นเดือนละ9,350บาทแม้สัญญาจ้างดังกล่าวจะระบุว่าเป็นการเหมาจ่ายแต่ก็มิได้ระบุให้เหมาจ่ายรวมค่าล่วงเวลาเข้าด้วยกับค่าจ้างหากมีการรวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายเข้ากับค่าจ้างผลจะเป็นว่าไม่อาจทราบได้ว่าค่าจ้างปกติที่จะนำไปเป็นฐานคำนวณค่าล่วงเวลานั้นต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขึ้นต่ำหรือไม่และค่าล่วงเวลาที่ตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่เพราะการกำหนดค่าล่วงเวลาต้องคำนวณจากค่าจ้างในเวลาทำงานปกติตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ3,11,29,34และ42เมื่อสัญญาจ้างมิได้กำหนดอัตราค่าจ้างปกติไว้ย่อมทำให้ไม่อาจคำนวณค่าล่วงเวลาได้การรวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายไปกับค่าจ้างจึงเป็นการเอาเปรียบลูกจ้างสัญญาจ้างดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150 นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาวันละ5ชั่วโมงนับแต่แรกเข้าทำงานจนถึงวันฟ้องและนายจ้างประกอบกิจการผลิตสายไฟฟ้าซึ่งเป็นงานอุตสาหกรรมตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ3วรรคสอง(1)(ข)ลูกจ้างย่อมมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาจากการทำงานล่วงเวลาดังกล่าวอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าจ้างพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีตามข้อ31วรรคหนึ่งแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นโมฆะ หากไม่ระบุอัตราค่าจ้างปกติชัดเจน และเป็นการเอาเปรียบลูกจ้าง
การกำหนดค่าล่วงเวลาต้องคำนวณจากค่าจ้างในเวลาทำงานปกติตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ3,11,29,34และ42เมื่อสัญญาจ้างมิได้กำหนดอัตราค่าจ้างปกติไว้ย่อมทำให้ไม่อาจคำนวณค่าล่วงเวลาได้การรวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายไปกับค่าจ้างจึงเป็นการเอาเปรียบลูกจ้างสัญญาจ้างดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150ดังนั้นเมื่อจำเลยให้โจทก์ทำงานล่วงเวลาวันละ5ชั่วโมงนับแต่แรกเข้าทำงานจนถึงวันฟ้องและจำเลยประกอบกิจการผลิตสายไฟฟ้าซึ่งเป็นงานอุตสาหกรรมตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ3วรรคสอง(1)(ข)โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาจากการทำงานล่วงเวลาจำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์อีกส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลา: การคำนวณชั่วโมงทำงานปกติและล่วงเวลาในวันหยุด จำเป็นต้องพิจารณาเวลาทำงานปกติที่นายจ้างกำหนด
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งกำหนดเวลาทำงานปกติของพนักงานคือ 8.00 นาฬิกา ถึง 17.00 นาฬิกา การทำงานนอกเวลาดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นการทำงานนอกเวลาทำงานปกติ โจทก์ได้รับคำสั่งให้ทำงานในวันหยุดตั้งแต่ 13.00 นาฬิกา ถึง 6.00 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น โดยมีช่วงหยุดพักระหว่าง 17.00 นาฬิกา ถึง18.00 นาฬิกา และ 24.00 นาฬิกา ถึง 1.00 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น เช่นนี้ รวมระยะเวลาที่โจทก์ทำงานล่วงเวลาคือ 11 ชั่วโมง ซึ่งจำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ในอัตราสามเท่าของค่าจ้างในวันทำงานสำหรับจำนวนชั่วโมงที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกติ