พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5614/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประกอบการค้าประเภท 1 (ก) มีหน้าที่จัดทำบัญชีคุมสินค้า หากไม่ทำ ถือเป็นการขายสินค้า ต้องเสียภาษี
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก)โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องทำบัญชีคุมสินค้าตามแบบที่อธิบดีกำหนด แสดงรายการปริมาณสินค้าที่มีอยู่ได้มา และจำหน่ายไปเป็นรายวัน ตามมาตรา83 ทวิ วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบด้วยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้และภาษีการค้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่1 พฤศจิกายน 2519 เมื่อโจทก์ไม่ทำบัญชีคุมสินค้าดังกล่าวกรณีจึงต้องด้วยมาตรา 79 ทวิ(6) ที่ให้ถือว่าสินค้าที่โจทก์มี โดยไม่ทำบัญชีคุมสินค้านั้นเป็นการขายสินค้าและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้า ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ส่งสินค้าออกจากราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศ โจทก์จึงไม่ใช่"ผู้ส่งออก" โจทก์คงมีฐานะเป็น "ผู้ผลิต" ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 77 กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2517และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 18)ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2517 เนื่องจากโจทก์เป็นเพียงผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้ผลิต และสินค้าพิพาทเป็นเพียงสินค้าที่ผลิตเพื่อจะส่งออกเท่านั้น หาใช่สินค้าส่งออกไม่ กรณีของโจทก์จึงไม่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำบัญชีคุมสินค้าตามมาตรา 83 ทวิ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร กรณีที่จะได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2521 ต้องเป็นกรณีที่ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรเท่านั้น แต่กรณีของโจทก์เป็นเรื่องไม่ทำบัญชีคุมสินค้าตามที่กฎหมายบังคับไว้ซึ่งตามบทกฎหมายให้ถือว่าสินค้าที่โจทก์มี โดยไม่ทำบัญชีคุมสินค้านั้นเป็นการขายสินค้า จึงเป็นคนละกรณีกัน เจ้าพนักงานประเมินได้พิจารณาดำเนินการลดเบี้ยปรับให้แล้วคงเรียกเบี้ยปรับจากโจทก์เพียงร้อยละห้าสิบเท่านั้น นับว่าเหมาะสมตามสภาพและพฤติการณ์แห่งกรณีแล้ว จึงไม่มีเหตุจะลดเบี้ยปรับให้น้อยลงอีก ส่วนเงินเพิ่มตามกฎหมายเมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในดุลพินิจของศาล จึงไม่อาจงดหรือลดลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2550/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินได้พึงประเมินจากเงินที่ได้รับเมื่อออกจากงาน และการหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม
เงินได้ที่โจทก์ได้รับครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานนั้นมีวิธีการคำนวณจ่ายตามระเบียบของบริษัทผู้เป็นนายจ้าง แตกต่างจากวิธีการคำนวณบำเหน็จบำนาญ การคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสามจึงต้องเป็นไปตามข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) เรื่องกำหนดระเบียบการคำนวณเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานโดยคำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงานที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร เงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานไม่ว่าจะเป็นเงินได้ ตามมาตรา 40(1) หรือ (2) แห่งประมวลรัษฎากรก็ตาม ต้องนำมาคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากรทั้งสิ้น ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) คำว่าเงินได้สำหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้าย และเงินได้รายเดือนถัวเฉลี่ย ของ 12 เดือน สุดท้ายก่อนออกจากงาน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) หมายความถึงเงินได้ที่ได้รับในระยะเวลาดังกล่าวทั้งหมดมิได้หมายความถึงเฉพาะเงินเดือนซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากรเพียงอย่างเดียว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2550/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีเงินได้กรณีเงินได้จากการออกจากงาน ต้องพิจารณาตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่เกี่ยวข้อง
เงินได้ที่โจทก์ได้รับครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานนั้นมีวิธีการคำนวณจ่ายตามระเบียบของบริษัทผู้เป็นนายจ้าง แตกต่างจากวิธีการคำนวณบำเหน็จบำนาญ การคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม จึงต้องเป็นไปตามข้อ 3ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2)เรื่อง กำหนดระเบียบการคำนวณเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)และ (2) แห่ง ป. รัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานโดยคำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงานที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสามแห่ง ป. รัษฎากร.
เงินได้พึงประเมินที่นายจ้าง จ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานไม่ว่าจะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) หรือ(2) แห่ง ป.รัษฎากรก็ตามก็ต้องนำมาคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่ง ป.รัษฎากรทั้งสิ้น ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2).
คำว่า เงินได้สำหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้ายและเงินได้รายเดือนถัวเฉลี่ย ของ 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงาน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้(ฉบับที่ 2) หมายความถึงเงินได้ที่ได้รับในระยะเวลาดังกล่าวทั้งหมด มิได้หมายความถึงเฉพาะเงินเดือนซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่ง ป.รัษฎากร เพียงอย่างเดียว.
เงินได้พึงประเมินที่นายจ้าง จ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานไม่ว่าจะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) หรือ(2) แห่ง ป.รัษฎากรก็ตามก็ต้องนำมาคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่ง ป.รัษฎากรทั้งสิ้น ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2).
คำว่า เงินได้สำหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้ายและเงินได้รายเดือนถัวเฉลี่ย ของ 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงาน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้(ฉบับที่ 2) หมายความถึงเงินได้ที่ได้รับในระยะเวลาดังกล่าวทั้งหมด มิได้หมายความถึงเฉพาะเงินเดือนซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่ง ป.รัษฎากร เพียงอย่างเดียว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดหักค่าใช้จ่ายเงินได้ออกจากงาน และประเภทเงินได้จากการประกอบโรคศิลปะ/ธุรกิจ
การคิดหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมินซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 42 ทวิ วรรคสาม บัญญัติว่าจะต้องเป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด ดังนั้น การที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดระเบียบโดยวิธีแยกเงินได้ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวออกเป็นสองประเภทตาม ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) เรื่องกำหนดระเบียบการคำนวณเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ฯ จึงชอบด้วยเหตุผลแล้ว เพราะวิธีคำนวณหรือจ่ายเงินได้ไม่เหมือนกัน
เงินได้ของโจทก์ที่ได้รับจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ฯ เป็นรายเดือนอันเป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่ประจำในการรักษาผู้ป่วยซึ่งเป็นพนักงานและลูกจ้าง ณ สถานพยาบาลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ฯ นั้นเป็นเงินได้ที่เข้าลักษณะเป็นเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือการรับทำงานให้ ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานหรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (2) จึงเป็นเงินได้พึงประเมินที่ให้หักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคหนึ่ง (ความในวรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2526)
เงินได้จากคลีนิคซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของและดำเนินการรับรักษาผู้ป่วยแต่เพียงผู้เดียว ถือเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลปะ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(6) หาใช่เป็นเงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ ตามมาตรา 40(8) ไม่
เงินได้ของโจทก์ที่ได้รับจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ฯ เป็นรายเดือนอันเป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่ประจำในการรักษาผู้ป่วยซึ่งเป็นพนักงานและลูกจ้าง ณ สถานพยาบาลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ฯ นั้นเป็นเงินได้ที่เข้าลักษณะเป็นเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือการรับทำงานให้ ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานหรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (2) จึงเป็นเงินได้พึงประเมินที่ให้หักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคหนึ่ง (ความในวรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2526)
เงินได้จากคลีนิคซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของและดำเนินการรับรักษาผู้ป่วยแต่เพียงผู้เดียว ถือเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลปะ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(6) หาใช่เป็นเงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ ตามมาตรา 40(8) ไม่