พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8513/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าตราอูฐโดยไม่สุจริต ละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้าเดิม ศาลสั่งเพิกถอนทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปอูฐประดิษฐ์ตัวเดียวกับอักษรโรมันคำว่าCAMELPAINTและเป็นรูปอูฐตัวเดียวกับอักษรโรมันคำว่าCAMELBRANDส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปอูฐ2ตัวกับมีอักษรโรมันคำว่าOASISสิ่งที่มองเห็นได้เด่นชัดคือรูปอูฐรูปลักษณะของอูฐในเครื่องหมายการค้าของจำเลยอยู่ในท่ายืนและหันหน้าไปทางซ้ายเช่นเดียวกันกับรูปอูฐของโจทก์อักษรโรมันคำว่าCAMELPAINTและCAMELBRANDของโจทก์กับคำว่าOASISของจำเลยดังกล่าวเป็นเพียงส่วนปลีกย่อยสาธารณชนซึ่งส่วนมากไม่สันทัดในภาษาอังกฤษหรืออักษรโรมันย่อมยากที่จะจำแนกถึงความแตกต่างของตัวอักษรคำว่าCAMELPAINTและCAMELBRANDกับคำว่าOASISนอกจากจะยึดถือเอาเครื่องหมายการค้ารูปตราอูฐเป็นสำคัญส่วนรูปชาวอาหรับจูงอูฐและภาพภูเขากับต้นไม้2ต้นหลังตัวอูฐในเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้นมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดของตัวอูฐสาธารณชนเรียกสินค้าของโจทก์และจำเลยว่าสินค้าตราอูฐเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนกันหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการ ลวงสาธารณชนให้สับสนในความเป็นเจ้าของของสินค้าการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้ารูปตราอูฐของโจทก์ไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยในการจำหน่ายสินค้าจำพวกและชนิดเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ทั้งๆที่จำเลยก็เคยเป็นบริษัทในเครือของบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนในการผลิตและจำหน่ายสินค้าของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าตราอูฐมาก่อนย่อมชี้ชัดว่าจำเลยมีเจตนาไม่สุจริตโดยมุ่งหมายที่จะลวงให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดเมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนตราอูฐของโจทก์มาก่อนจำเลยโจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนรูปอูฐ2ตัวกับคำว่าOASISของจำเลยดีกว่าจำเลยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่ง เพิกถอนทะเบียน และห้ามใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ ปัญหาในเรื่องการละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้าต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ว่าจำเลยนำเอาชื่อของโจทก์ไปใช้เป็นชื่อของจำเลยหรือไม่ ก่อนจำเลยจะเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท สีตราอูฐ(แอล.ที.ซี.) จำกัดจำเลยทราบดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนรูปอูฐและคำว่าCAMELPAINTซึ่งแปลว่า สีตราอูฐ ใช้กับสินค้าจำพวกสีและผลิตสีชนิดต่างๆออกจำหน่ายในประเทศไทยภายใต้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนดังกล่าวมาหลายปีจนสาธารณชนเรียกขานสินค้าของโจทก์ว่า สีตราอูฐ การที่จำเลยนำคำว่าCAMELPAINTซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์และคำว่าสีตราอูฐ ซึ่งเป็นความหมายของคำว่าCAMELPAINTมาเป็นส่วนหนึ่งของชื่อและดวงตราของจำเลยกับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปอูฐ2ตัวเพื่อใช้กับสินค้าสีซึ่งเป็นสินค้าชนิดเดียวกันกับของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยอย่างชัดแจ้งว่าจำเลยประสงค์จะลวงสาธารณชนผู้บริโภคให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าสีตราอูฐของจำเลยเป็นสินค้าตราอูฐที่โจทก์ผลิตการใช้ชื่อดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการใช้โดยไม่สุจริตเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา30แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโจทก์ย่อมมีสิทธิขัดขวางจำเลยมิให้นำส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ไปเป็นส่วนหนึ่งของชื่อและดวงตราของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8512/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึงจนสับสน และสิทธิในการขอให้ถอนคำขอจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "Dulcolax" มีอักษรโรมันรวม 8 ตัว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่า "DECOLAX" มีอักษรโรมันรวม 7 ตัว และในเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยคงมีแตกต่างกันที่ตัวอักษรโรมันเพียง 2 ตัว คือตัวอักษร "ul" และ "E" และเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรกคือตัวอักษร "D" ตัวอักษรอื่นเป็นตัวพิมพ์เล็ก ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด แต่เครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างก็ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ "D" เหมือนกัน และลงท้ายด้วยตัวอักษรโรมันคำว่า "COLAX" เหมือนกัน ทั้งการอ่านก็ออกเสียงเป็น 3 พยางค์ เหมือนกันซึ่งเมื่อพิจารณาโดยรวมทั้งหมดแล้วจะเห็นได้ว่าคล้ายคลึงกันมาก ซึ่งแม้แต่ผู้ที่อ่านอักษรโรมันได้ หากไม่พิจารณาให้รอบคอบ ก็ยากที่จะสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าทั้งสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าของโจทก์และจำเลยตามแผงบรรจุเม็ดยาต่างก็เป็นสินค้าประเภทยาระบายใช้สำหรับอาการท้องผูกเหมือนกันทั้งเม็ดยาและซองบรรจุยาก็มีลักษณะกลมนูนและมีขนาดเท่ากัน เม็ดยามีผิวเคลือบสีน้ำตาลเหลืองเหมือนกัน และเมื่อคำนึงถึงว่าส่วนใหญ่ของสาธารณชนมิได้มีความรู้ในภาษาอังกฤษหรือตัวอักษรโรมันดีพอที่จะแยกความแตกต่างของตัวอักษรด้วยแล้วย่อมเป็นไปได้ง่ายที่สาธารณชนจะเกิดความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่า "DECOLAX"จึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "Dulcolax" จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิดแล้ว โจทก์ได้ใช้และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้มาก่อนจำเลยจนเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในสินค้าประเภทเดียวกัน ย่อมแสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์คำว่า "Dulcolax" เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "DECOLAX" ของจำเลยได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนและมีสิทธิดีกว่าจำเลยในเครื่องหมายการค้าคำว่า "DECOLAX"ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 175169 ซึ่งเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "Dulcolax" ของโจทก์สำหรับสินค้าจำพวกที่ 3 ขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันกับของโจทก์ดังกล่าว เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิที่มีอยู่ตามมาตรา 41 (1)แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ แม้มาตรา 41 (1) ดังกล่าวจะเป็นบทบัญญัติให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าผู้มีสิทธิดีกว่าขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมาย-การค้า และคดีนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยยังไม่ได้รับการจดทะเบียนก็ตามแต่โจทก์ก็มีสิทธิขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนนั้น เพราะแม้เครื่องหมาย-การค้านั้นได้รับการจดทะเบียนไปแล้วยังอาจถูกเพิกถอนได้ คำขอที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิดีกว่าย่อมขอให้บังคับผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ถอนคำขอนั้นได้อยู่ในตัว การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยให้ยกคำคัดค้านของโจทก์เพราะเห็นว่าเครื่องหมาย-การค้าตามคำขอของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่โจทก์ไม่เห็นด้วย จึงอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้านั้น เป็นเรื่องที่โต้แย้งกันเกี่ยวกับปัญหาว่าเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่อันเป็นกรณีที่โจทก์ดำเนินการตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 ซึ่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวหาได้ตัดสิทธิโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41 (1) ไม่ ดังนี้แม้ขณะฟ้องคดีนี้โจทก์จะได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้วยังมิได้ถอนอุทธรณ์ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิที่จะนำคดีนี้มาฟ้องได้
ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ 4,000 บาท แต่คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลอุทธรณ์ไว้เพียง 1,500 บาท การกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนและมีสิทธิดีกว่าจำเลยในเครื่องหมายการค้าคำว่า "DECOLAX"ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 175169 ซึ่งเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "Dulcolax" ของโจทก์สำหรับสินค้าจำพวกที่ 3 ขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันกับของโจทก์ดังกล่าว เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิที่มีอยู่ตามมาตรา 41 (1)แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ แม้มาตรา 41 (1) ดังกล่าวจะเป็นบทบัญญัติให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าผู้มีสิทธิดีกว่าขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมาย-การค้า และคดีนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยยังไม่ได้รับการจดทะเบียนก็ตามแต่โจทก์ก็มีสิทธิขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนนั้น เพราะแม้เครื่องหมาย-การค้านั้นได้รับการจดทะเบียนไปแล้วยังอาจถูกเพิกถอนได้ คำขอที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิดีกว่าย่อมขอให้บังคับผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ถอนคำขอนั้นได้อยู่ในตัว การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยให้ยกคำคัดค้านของโจทก์เพราะเห็นว่าเครื่องหมาย-การค้าตามคำขอของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่โจทก์ไม่เห็นด้วย จึงอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้านั้น เป็นเรื่องที่โต้แย้งกันเกี่ยวกับปัญหาว่าเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่อันเป็นกรณีที่โจทก์ดำเนินการตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 ซึ่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวหาได้ตัดสิทธิโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41 (1) ไม่ ดังนี้แม้ขณะฟ้องคดีนี้โจทก์จะได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้วยังมิได้ถอนอุทธรณ์ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิที่จะนำคดีนี้มาฟ้องได้
ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ 4,000 บาท แต่คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลอุทธรณ์ไว้เพียง 1,500 บาท การกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7731/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลอกเลียนเครื่องหมายการค้า: สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศ
การที่โจทก์ที่ 1 ระบุว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า 0101 ของโจทก์ที่ 1 อ่านออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นว่า โออิโออิ นั้น แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ที่ 1 ได้นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 นั้นมาจากภาษาญี่ปุ่น ดังนั้นเมื่อจำเลยได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า 0101 ซึ่งเป็นตัวเลขอารบิคประดิษฐ์ไว้ในประเทศญี่ปุ่นสำหรับสินค้า 33 จำพวก ตั้งแต่ปี 2516 และได้จด-ทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องแต่งกาย จำพวกกระเป๋าและจำพวกกระดาษในปี 2522 ปี 2520 และปี 2520 ตามลำดับ จำเลยจึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นและโจทก์ที่ 1 ได้เห็นและลอกเครื่องหมายการค้าตัวเลขอารบิคประดิษฐ์ 0101 ของจำเลยไปเป็นภาคส่วนของเครื่องหมายการค้าในส่วนที่เป็นตัวเลขอารบิคประดิษฐ์ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 นอกจากนี้โจทก์ที่ 1 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใดกับคำว่า MARUI ซึ่งเป็นชื่อของจำเลยแต่กลับปรากฏจากภาพถ่ายร้านค้าที่โจทก์ที่ 1 เพิ่งเปิดว่า โจทก์ที่ 1 ได้ติดแผ่นป้ายหน้าร้านว่า MARUI 0101 ตรงกับชื่อ MARUI ของจำเลยตามที่ปรากฏอยู่ที่หน้าร้านหลายแห่งของจำเลย ทั้งยังปรากฏอีกด้วยว่าถุงบรรจุสินค้า และกระดาษห่อสินค้าซึ่งโจทก์ที่ 1 ใช้บรรจุและห่อสินค้าของโจทก์ที่ 1 ให้แก่ลูกค้าของโจทก์ที่ 1 ไม่มีคำว่า youngs fashion ซึ่งเป็นภาคส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1คงมีแต่ตัวเลยอารบิคประดิษฐ์ 0101 ขนาดใหญ่บนถุงบรรจุสินค้าและกระดาษห่อสินค้าเหล่านั้น การที่โจทก์ที่ 1 ติดป้ายหน้าร้านว่า MARUI 0101 และใช้ถุงบรรจุสินค้าและกระดาษห่อสินค้าเช่นนั้น ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 จงใจลอกเครื่องหมายการค้าตัว-เลขอารบิคประดิษฐ์ 0101 ของจำเลยซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศญี่ปุ่นมาก่อนนานประมาณถึง 15 ปี แล้ว ดังนั้น แม้จำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทย จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมาย-การค้าคำว่า 0101 ก็มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าโจทก์ที่ 1 เมื่อโจทก์ที่ 1ไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทคำว่า 0101 ดีกว่าจำเลยและโจทก์ที่ 1 ให้นำเครื่องหมายการค้าคำว่า 0101 younge fashion ไปจดทะเบียนเครื่อง-หมายการค้า โจทก์ที่ 2 ก็ย่อมไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7378/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: HALOG vs. halog แม้ต่างตัวพิมพ์เล็ก-ใหญ่ หากทำให้สาธารณชนหลงผิด ก็ถือว่าละเมิดได้
หนังสือรับรองความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ตามกฎหมายต่าง-ประเทศหาใช่ใบมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศและศาลมีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 47ไม่ ดังนี้ แม้หนังสือรับรองดังกล่าวจะไม่มีกงสุลไทยรับรองก็รับฟังได้
โจทก์มีหนังสือมอบอำนาจพร้อมคำแปลเป็นพยานหลักฐานแสดงว่าโจทก์โดย ฮ. ผู้ช่วยเลขานุการมอบอำนาจให้ บ. ฟ้องคดีแทนโจทก์ โดยมี จ.โนตารีปับลิกแห่งมลรัฐนิวยอร์ครับรองว่า ผู้แทนโจทก์ดังกล่าวมีอำนาจลงชื่อในนามของโจทก์ได้ น. เสมียนมณฑลและเสมียนศาลสูงสุดมณฑลนิวยอร์คลงชื่อรับรองอำนาจและลายมือชื่อของ จ. และมี ส. กงสุลไทยแห่งสถานกุงสุลใหญ่ ณ นคร-นิวยอร์ค ลงชื่อรับรองลายมือชื่อของ น. ด้วย ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่ทำในเมืองต่างประเทศจึงมีการรับรองกันมาเป็นลำดับ ฟังได้ว่าผู้แทนโจทก์ดังกล่าวในเมืองต่างประเทศได้มอบอำนาจให้ บ. ฟ้องคดีแทนโจทก์
โจทก์ได้ผลิตและจำหน่ายยารักษาโรคชนิดต่าง ๆ ที่ประเทศ-สหรัฐอเมริกาโดยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ตั้งแต่ พ.ศ.2515 และส่งไปจำหน่ายยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก สำหรับประเทศไทยโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2515 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 3 ประเภทยารักษาโรคผิวหนัง บริษัทในเครือของโจทก์เป็นผู้ส่งสินค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2518 และได้โฆษณาสินค้าของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทยในหนังสือนิตยสารวงการแพทย์ก่อนจำเลยยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำเดียวกันกับของโจทก์ใน พ.ศ.2532 หลายปี จำเลยทราบว่ามีเครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ของโจทก์ใช้กับสินค้าจำพวกยารักษาผิวหนังก่อนจำเลยยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ของโจทก์ไม่มีคำแปล ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า halog ของจำเลย ก็ไม่มีคำแปลเช่นเดียวกัน และออกสำเนียงเรียกขานว่า ฮาลอกหรือเฮลอก เหมือนกันทั้งสองคำ ต่างกันแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น ดังนี้ เครื่องหมายการค้าคำว่า halog ของจำเลยจึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ของโจทก์ ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว อาจทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ แม้จำเลยจะได้รับการจดทะเบียนสำหรับจำพวกที่ 48 ประเภทเครื่องสำอาง ก็ถือได้ว่าสินค้าของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน อันอาจทำให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG กับสินค้าครีมทาผิวหนังมาก่อนจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่าHALOG กับ halog ในสินค้าครีมทาผิวหนังและสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันดีกว่าจำเลย และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวได้
โจทก์มีหนังสือมอบอำนาจพร้อมคำแปลเป็นพยานหลักฐานแสดงว่าโจทก์โดย ฮ. ผู้ช่วยเลขานุการมอบอำนาจให้ บ. ฟ้องคดีแทนโจทก์ โดยมี จ.โนตารีปับลิกแห่งมลรัฐนิวยอร์ครับรองว่า ผู้แทนโจทก์ดังกล่าวมีอำนาจลงชื่อในนามของโจทก์ได้ น. เสมียนมณฑลและเสมียนศาลสูงสุดมณฑลนิวยอร์คลงชื่อรับรองอำนาจและลายมือชื่อของ จ. และมี ส. กงสุลไทยแห่งสถานกุงสุลใหญ่ ณ นคร-นิวยอร์ค ลงชื่อรับรองลายมือชื่อของ น. ด้วย ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่ทำในเมืองต่างประเทศจึงมีการรับรองกันมาเป็นลำดับ ฟังได้ว่าผู้แทนโจทก์ดังกล่าวในเมืองต่างประเทศได้มอบอำนาจให้ บ. ฟ้องคดีแทนโจทก์
โจทก์ได้ผลิตและจำหน่ายยารักษาโรคชนิดต่าง ๆ ที่ประเทศ-สหรัฐอเมริกาโดยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ตั้งแต่ พ.ศ.2515 และส่งไปจำหน่ายยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก สำหรับประเทศไทยโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2515 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 3 ประเภทยารักษาโรคผิวหนัง บริษัทในเครือของโจทก์เป็นผู้ส่งสินค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2518 และได้โฆษณาสินค้าของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทยในหนังสือนิตยสารวงการแพทย์ก่อนจำเลยยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำเดียวกันกับของโจทก์ใน พ.ศ.2532 หลายปี จำเลยทราบว่ามีเครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ของโจทก์ใช้กับสินค้าจำพวกยารักษาผิวหนังก่อนจำเลยยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ของโจทก์ไม่มีคำแปล ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า halog ของจำเลย ก็ไม่มีคำแปลเช่นเดียวกัน และออกสำเนียงเรียกขานว่า ฮาลอกหรือเฮลอก เหมือนกันทั้งสองคำ ต่างกันแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น ดังนี้ เครื่องหมายการค้าคำว่า halog ของจำเลยจึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ของโจทก์ ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว อาจทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ แม้จำเลยจะได้รับการจดทะเบียนสำหรับจำพวกที่ 48 ประเภทเครื่องสำอาง ก็ถือได้ว่าสินค้าของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน อันอาจทำให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG กับสินค้าครีมทาผิวหนังมาก่อนจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่าHALOG กับ halog ในสินค้าครีมทาผิวหนังและสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันดีกว่าจำเลย และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7378/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อน, ความคล้ายคลึง, สินค้าประเภทเดียวกัน, และการมอบอำนาจฟ้องแทน
หนังสือรับรองความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ตามกฎหมายต่างประเทศหาใช่ใบมอบอำนาจที่ทำได้ในเมืองต่างประเทศและศาลมีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา47ไม่ดังนี้แม้หนังสือรับรองดังกล่าวจะไม่มีกงสุลไทยรับรองก็รับฟังได้ โจทก์มีหนังสือมอบอำนาจพร้อมคำแปลเป็นพยานหลักฐานแสดงว่าโดย ฮ.ผู้ช่วยเลขานุการมอบอำนาจให้ บ.ฟ้องคดีแทนโจทก์โดยมี จ. โนตารีปับลิกแห่งมลรัฐ นิวยอร์ครับรองว่าผู้แทนโจทก์ดังกล่าวมีอำนาจลงชื่อในนามของโจทก์ได้ น.เสมียนมณฑลและเสมียนศาลสูงสุดมณฑล นิวยอร์คลงชื่อรับรองอำนาจและลายมือชื่อของ จ. และมี ส. กงสุลไทยแห่งสถานกงสุลใหญ่นคร นิวยอร์คลงชื่อรับรองลายมือชื่อของ น. ด้วยดังนั้นหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่ทำในเมืองต่างประเทศจึงมีการรับรองกันมาเป็นลำดับฟังได้ว่าผู้แทนโจทก์ดังกล่าวในเมืองต่างประเทศได้มอบอำนาจให้บ.ฟ้องคดีแทนโจทก์ โจทก์ได้ผลิตและจำหน่ายยารักษาโรคชนิดต่างๆที่ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ตั้งแต่พ.ศ.2515และส่งไปจำหน่ายยังประเทศต่างๆทั่วโลกสำหรับประเทศไทยโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้เมื่อวันที่29พฤศจิกายน2515สำหรับสินค้าจำพวกที่3 ประเภทยารักษาโรคผิวหนังบริษัทในเครือของโจทก์เป็นผู้ส่งสินค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่พ.ศ.2518และได้โฆษณาสินค้าของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทยในหนังสือนิตยสารวงการแพทย์ก่อนจำเลยยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำเดียวกันกับของโจทก์ในพ.ศ.2532หลายปีจำเลยทราบว่ามีเครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ของโจทก์ใช้กับสินค้าจำพวกยารักษาผิวหนังก่อนจำเลยยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้วปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ของโจทก์ไม่มีคำแปลส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า halog ของจำเลยก็ไม่มีคำแปลเช่นเดียวกันและออกสำเนียงเรียกขานว่า ฮาลอกหรือเฮลอกเหมือนกันทั้งสองคำต่างกันแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กเท่านั้นดังนี้เครื่องหมายการค้าคำว่า halog ของจำเลยจึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ของโจทก์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้วอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดได้แม้จำเลยจะได้รับการจดทะเบียนสำหรับจำพวกที่48ประเภทเครื่องสำอางก็ถือได้ว่าสินค้าของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันอันอาจทำให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่าHALOG กับสินค้าครีมทาผิวหนังมาก่อนจำเลยโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า HALOGกับhalog ในสินค้าครีมทาผิวหนังและสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันดีกว่าจำเลยและมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7291/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายที่ไม่ได้รับการจดทะเบียน และประเด็นค่าเสียหาย
เมื่อโจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ธ. เป็นผู้รับมอบอำนาจโดยให้มีอำนาจยื่นฟ้องเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ธ. จึงย่อมมีอำนาจตั้งทนายความยื่นฟ้องคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานและมี ธ. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาเบิกความประกอบพยานเอกสารนั้น แม้ไม่มีพยานที่รู้เห็นการทำเอกสารดังกล่าวมาเบิกความ แต่เอกสารดังกล่าวก็เข้าสู่สำนวนโดยชอบ พยานเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ว่า โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างปรเทศและมีการผลิตสินค้าตามเครื่องหมายการค้าคำว่า NIKKO HORN กับรูปรอยประดิษฐ์ตามฟ้องออกจำหน่าย
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมีตัวอักษรโรมันทั้งหมด 2 คำ โดยคำหลังคือ HORN มีตัวอักษรเหมือนกันทั้งสี่ตัว ส่วนคำหน้าคงแตกต่างกันแต่เพียงว่าคำว่า NIKKO ของโจทก์มีอักษร K อยู่ 2 ตัว ส่วนคำว่าNIKO ของจำเลยมีอักษร K เพียง 1 ตัว อักษรโรมันดังกล่าวของโจทก์และของจำเลยก็อ่านออกเสียงคล้ายคลึงกัน โดยของโจทก์อ่านออกเสียงว่า นิกโกฮอน ส่วนของจำเลยอ่านออกเสียงว่า นิโก้ ฮอน รูปรอยประดิษฐ์ของเครื่อง-หมายการค้าของโจทก์และจำเลยนั้นต่างเป็นสีขาวอยู่กลางพื้นสีดำ โดยมีอักษรโรมันว่า NIKKO และ NIKO ตามลำดับ กำกับอยู่ด้านล่างของรูปประดิษฐ์ซึ่งเขียนด้วยลายเส้นเป็นรอยหยักขนาดใกล้เคียงกัน คงต่างกันแต่เฉพาะทิศทางของลายเส้นเท่านั้น เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์สายฟ้าแลบของจำเลยจึงแทบจะไม่มีข้อแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKKO HORN และรูป N ประดิษฐ์ของโจทก์ สำหรับเครื่องหมายการค้าของจำเลยอีกเครื่องหมายหนึ่งแม้จะมีตัวอักษรโรมันคำว่า Mighty-mate VFD-150อยู่ด้วยก็ตาม แต่จุดเด่นของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็อยู่ที่คำว่า NIKOและรูปรอยประดิษฐ์ซึ่งคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์ดังกล่าวมาก่อนจำเลย แม้จำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าของจำเลยไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก่อน โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์นั้นและในเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย
แม้รูปรอยประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยกับตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยและตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์แตกต่างกันอยู่บ้าง โดยตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยมีคำว่า NIKO Mighty-mate VFD-150ส่วนตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์เป็นตัวอักษรโรมันคำว่าNIKO Power-mate SFD-100 แต่ความแตกต่างดังกล่าวก็มีเพียงเล็กน้อยซึ่งสำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยในขณะเดียวกัน ก็ยากที่จะกล่าวได้ว่ามีอะไรแตกต่างกันบ้างและแม้ผู้ที่อ่านอักษรโรมันได้ หากได้พิจารณาให้รอบคอบหรือได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างเวลากันก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว การที่เครื่องหมายการค้าที่กล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่กล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์ โดยสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์เช่นนี้นับได้ว่า เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ และเป็นการที่จำเลยได้ลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าคำว่า NIKD HORN และรูปรอยประดิษฐ์ที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปยื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยอันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต เป็นการละเมิดต่อโจทก์เพื่อประโยชน์ในทางการค้าของจำเลย เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในเครื่องหมายการค้าโดยเข้าใจว่าสินค้าของจำเลยภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า NIKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์เป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์ร่วมในการผลิตและจำหน่าย ทำให้สาธารณชนเสื่อมความนิยมในเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์ มีผลทำให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าของโจทก์ โจทก์ขอคิดค่าเสียหายเดือนละ50,000 บาท ดังนี้ โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์แต่อย่างใดไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์หรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ ก็เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่อาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ได้
เมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้รับจดทะเบียนนั้น ตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์อ้างว่าตนถูกโต้แย้งสิทธิ และเมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยได้เอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในฐานลวงขายตามมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.เดียวกันได้ และไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้งนี้เพราะสิทธินั้นเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของบุคคลผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่อง-หมายการค้าดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 เท่านั้น
เมื่อโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานและมี ธ. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาเบิกความประกอบพยานเอกสารนั้น แม้ไม่มีพยานที่รู้เห็นการทำเอกสารดังกล่าวมาเบิกความ แต่เอกสารดังกล่าวก็เข้าสู่สำนวนโดยชอบ พยานเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ว่า โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างปรเทศและมีการผลิตสินค้าตามเครื่องหมายการค้าคำว่า NIKKO HORN กับรูปรอยประดิษฐ์ตามฟ้องออกจำหน่าย
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมีตัวอักษรโรมันทั้งหมด 2 คำ โดยคำหลังคือ HORN มีตัวอักษรเหมือนกันทั้งสี่ตัว ส่วนคำหน้าคงแตกต่างกันแต่เพียงว่าคำว่า NIKKO ของโจทก์มีอักษร K อยู่ 2 ตัว ส่วนคำว่าNIKO ของจำเลยมีอักษร K เพียง 1 ตัว อักษรโรมันดังกล่าวของโจทก์และของจำเลยก็อ่านออกเสียงคล้ายคลึงกัน โดยของโจทก์อ่านออกเสียงว่า นิกโกฮอน ส่วนของจำเลยอ่านออกเสียงว่า นิโก้ ฮอน รูปรอยประดิษฐ์ของเครื่อง-หมายการค้าของโจทก์และจำเลยนั้นต่างเป็นสีขาวอยู่กลางพื้นสีดำ โดยมีอักษรโรมันว่า NIKKO และ NIKO ตามลำดับ กำกับอยู่ด้านล่างของรูปประดิษฐ์ซึ่งเขียนด้วยลายเส้นเป็นรอยหยักขนาดใกล้เคียงกัน คงต่างกันแต่เฉพาะทิศทางของลายเส้นเท่านั้น เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์สายฟ้าแลบของจำเลยจึงแทบจะไม่มีข้อแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKKO HORN และรูป N ประดิษฐ์ของโจทก์ สำหรับเครื่องหมายการค้าของจำเลยอีกเครื่องหมายหนึ่งแม้จะมีตัวอักษรโรมันคำว่า Mighty-mate VFD-150อยู่ด้วยก็ตาม แต่จุดเด่นของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็อยู่ที่คำว่า NIKOและรูปรอยประดิษฐ์ซึ่งคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์ดังกล่าวมาก่อนจำเลย แม้จำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าของจำเลยไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก่อน โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์นั้นและในเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย
แม้รูปรอยประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยกับตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยและตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์แตกต่างกันอยู่บ้าง โดยตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยมีคำว่า NIKO Mighty-mate VFD-150ส่วนตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์เป็นตัวอักษรโรมันคำว่าNIKO Power-mate SFD-100 แต่ความแตกต่างดังกล่าวก็มีเพียงเล็กน้อยซึ่งสำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยในขณะเดียวกัน ก็ยากที่จะกล่าวได้ว่ามีอะไรแตกต่างกันบ้างและแม้ผู้ที่อ่านอักษรโรมันได้ หากได้พิจารณาให้รอบคอบหรือได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างเวลากันก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว การที่เครื่องหมายการค้าที่กล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่กล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์ โดยสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์เช่นนี้นับได้ว่า เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ และเป็นการที่จำเลยได้ลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าคำว่า NIKD HORN และรูปรอยประดิษฐ์ที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปยื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยอันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต เป็นการละเมิดต่อโจทก์เพื่อประโยชน์ในทางการค้าของจำเลย เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในเครื่องหมายการค้าโดยเข้าใจว่าสินค้าของจำเลยภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า NIKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์เป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์ร่วมในการผลิตและจำหน่าย ทำให้สาธารณชนเสื่อมความนิยมในเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์ มีผลทำให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าของโจทก์ โจทก์ขอคิดค่าเสียหายเดือนละ50,000 บาท ดังนี้ โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์แต่อย่างใดไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์หรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ ก็เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่อาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ได้
เมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้รับจดทะเบียนนั้น ตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์อ้างว่าตนถูกโต้แย้งสิทธิ และเมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยได้เอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในฐานลวงขายตามมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.เดียวกันได้ และไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้งนี้เพราะสิทธินั้นเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของบุคคลผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่อง-หมายการค้าดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การจดทะเบียนโดยไม่สุจริต และสิทธิในเครื่องหมายการค้าเหนือกว่า
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะตัวอักษรและภาพวาดเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มากจนเกินกว่าที่บุคคลจะคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยมิได้เลียนแบบกันการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้าเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของสินค้านั้นด้วยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศ ญี่ปุ่นมาตั้งแต่พ.ศ.2499ทั้งได้จดทะเบียนในต่างประเทศอีกหลายประเทศตลอดจนลงทุนโฆษณาเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย แม้จำเลยจะได้ครอบครองเครื่องหมายการค้าเป็นเวลานานประมาณ28ปีแล้วแต่เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยและจำเลยได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริตเสียแล้วจำเลยย่อมไม่ได้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าว คำฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนดีกว่าจำเลยและให้จำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนของจำเลยเป็นคำฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ไม่ใช่กรณีที่จะต้องอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา16วรรคสองแต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนและนับแต่ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า5ปีแล้วดังนั้นโจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา29วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การจดทะเบียนโดยไม่สุจริต และสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่เหนือกว่า
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะตัวอักษรและภาพวาดเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มากจนเกินกว่าที่บุคคลจะคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยมิได้เลียนแบบกันการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้าเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของสินค้านั้นด้วยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศ ญี่ปุ่นมาตั้งแต่พ.ศ.2499ทั้งได้จดทะเบียนในต่างประเทศอีกหลายประเทศตลอดจนลงทุนโฆษณาเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย แม้จำเลยจะได้ครอบครองเครื่องหมายการค้าเป็นเวลานานประมาณ28ปีแล้วแต่เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยและจำเลยได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริตเสียแล้วจำเลยย่อมไม่ได้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าว คำฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนดีกว่าจำเลยและให้จำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนของจำเลยเป็นคำฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ไม่ใช่กรณีที่จะต้องอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา16วรรคสองแต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนและนับแต่ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า5ปีแล้วดังนั้นโจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา29วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า, สิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่า, การจดทะเบียนโดยไม่สุจริต, อายุความฟ้องร้อง
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะตัวอักษรและภาพวาดเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มากจนเกินกว่าที่บุคคลจะคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยมิได้เลียนแบบกัน การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้าเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของสินค้านั้นด้วย จึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศญี่ปุ่นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ทั้งได้จดทะเบียนในต่างประเทศอีกหลายประเทศ ตลอดจนลงทุนโฆษณาเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย แม้จำเลยจะได้ครอบครองเครื่องหมายการค้าเป็นเวลานานประมาณ28 ปีแล้ว แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และจำเลยได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริตเสียแล้ว จำเลยย่อมไม่ได้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าว คำฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนดีกว่าจำเลยและให้จำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนของจำเลยเป็นคำฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ ไม่ใช่กรณีที่จะต้องอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 16 วรรคสอง แต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนและนับแต่ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5571/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน: การเพิกถอนทะเบียนและการเลียนแบบเครื่องหมาย
รูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นรูปคนในเรือ2คนอยู่ตรงกลางคนหนึ่งเป็นผู้หญิงกำลังพายเรืออยู่กลางลำน้ำซึ่งอยู่ด้านขวาของรูปส่วนอีกคนหนึ่งเป็นเด็กผู้ชายถือถ่อช่วยอยู่ท้ายเรือลำเดียวกันที่ด้านซ้ายของรูปกลางลำเรือมีรูปดอกไม้ที่ด้านหัวและท้ายเรือก็มีรูปดอกไม้มีภาพทิวทัศน์ภูเขาและเรือใบ2ลำภาพดังกล่าวอยู่ในกรอบวงรีด้านบนกรอบวงรีมีอักษรภาษาจีนอ่านว่า ลีคุมกี และด้านล่างมีวงกลมอยู่ด้านซ้ายและขวาข้างละ1วงภายในวงกลมมีอักษรภาษาจีนตรงกลางด้านล่างกรอบวงรีมีถ้อยคำว่าOYSTERFLAVOREDSAUCEอยู่ในกรอบประดิษฐ์รูปสี่เหลี่ยมและที่มุมด้านในของกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีรูปดอกไม้อยู่ทั้งสี่มุมส่วนเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยเป็นรูปชายกับหญิงพายเรือสวนกันกลางน้ำซึ่งมีภาพภูเขา3ลูกและเมฆเป็นทิวทัศน์อยู่ภายในวงกลมและมีกรอบสี่เหลี่ยมล้อมวงกลมนั้นไว้อีกชั้นหนึ่งส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตามคำขอจดทะเบียนก็เป็นรูปคน2คนพายเรือสวนกันกลางน้ำมีภูเขา3ลูกเป็นทิวทัศน์อยู่ภายในวงกลมด้านข้างซ้ายและขวาของวงกลมมีดอกไม้วางเรียงกันลงมาด้านละ3ดอกและมีกรอบสี่เหลี่ยมล้อมวงกลมไว้อีกชั้นหนึ่งภาพเรือ2ลำแล่นสวนกันในเครื่องหมายการค้าของจำเลยซ้อนกันหากไม่สังเกตให้ดีจะดูคล้ายคน2คนนั่งอยู่ในเรือลำเดียวกันตำแหน่งของคนทั้งสองอยู่ในตำแหน่งเดียวกับคนทั้งสองในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งเมื่อจำเลยนำเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวมาใช้กับสินค้าซอสหอยนางรมจะเห็นได้ชัดเจนว่าฉลากเครื่องหมายการค้าที่ปิดข้างขวดคล้ายกับฉลากเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างมากเครื่องหมายการค้าของจำเลยและสลากเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ภาพถ่ายสินค้าและสลากเครื่องหมายการค้าเมื่อโจทก์ได้ส่งซอสน้ำมันหอยมาจำหน่ายในประเทศไทย40ปีเศษแล้วและโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในต่างประเทศหลายประเทศการที่จำเลยเพิ่งยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อปี2529และได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้อย่างหนึ่งแต่เวลานำไปใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันกับของโจทก์จำเลยได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมรายละเอียดอื่นลงไปให้เหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาไม่สุจริตของจำเลยที่จะเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้าเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยแม้โจทก์จะยังมิได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือโจทก์ก็เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นและในเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของโจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือของจำเลยและให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ เมื่อเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่42รายการสินค้าซอสน้ำมันหอยโจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในการล่วงละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา29วรรคแรกและโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฎว่าจำเลยทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ตามมาตรา29วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติเดียวกันอันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทโจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายรายเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกกระทำละเมิดตามฟ้องได้