พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5571/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าจากการเลียนแบบและเจตนาไม่สุจริต แม้ยังมิได้รับการจดทะเบียน
รูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นรูปคนในเรือ 2 คน อยู่ตรงกลาง คนหนึ่งเป็นผู้หญิงกำลังพายเรืออยู่กลางลำน้ำซึ่งอยู่ด้านขวาของรูป ส่วนอีกคนหนึ่งเป็นเด็กผู้ชายถือถ่อช่วยอยู่ท้ายเรือลำเดียวกันที่ด้านซ้ายของรูป กลางลำเรือมีรูปดอกไม้ ที่ด้านหัวและท้ายเรือก็มีรูปดอกไม้ มีภาพทิวทัศน์ ภูเขา และเรือใบ 2 ลำ ภาพดังกล่าวอยู่ในกรอบวงรี ด้านบนกรอบวงรีมีอักษรภาษาจีนอ่านว่า ลีคุมกี และด้านล่างมีวงกลมอยู่ด้านซ้ายและขวาข้างละ 1 วงภายในวงกลมมีอักษรภาษาจีน ตรงกลางด้านล่างกรอบวงรีมีถ้อยคำว่า OYSTERFLAVORED SAUCE อยู่ในกรอบประดิษฐ์รูปสี่เหลี่ยม และที่มุมด้านในของกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีรูปดอกไม้อยู่ทั้งสี่มุม ส่วนเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยเป็นรูปชายกับหญิงพายเรือสวนกันกลางน้ำซึ่งมีภาพภูเขา 3 ลูก และเมฆเป็นทิวทัศน์อยู่ภาย-ในวงกลม และมีกรอบสี่เหลี่ยมล้อมวงกลมนั้นไว้อีกชั้นหนึ่ง ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตามคำขอจดทะเบียนก็เป็นรูปคน 2 คน พายเรือสวนกันกลางน้ำ มีภูเขา3 ลูก เป็นทิวทัศน์อยู่ภายในวงกลม ด้านข้างซ้ายและขวาของวงกลมมีดอกไม้วางเรียงกันลงมาด้านละ 3 ดอก และมีกรอบสี่เหลี่ยมล้อมวงกลมไว้อีกชั้นหนึ่ง ภาพเรือ 2 ลำแล่นสวนกันในเครื่องหมายการค้าของจำเลยซ้อนกัน หากไม่สังเกตให้ดีจะดูคล้ายคน2 คน นั่งอยู่ในเรือลำเดียวกัน ตำแหน่งของคนทั้งสองอยู่ในตำแหน่งเดียวกับคนทั้งสองในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งเมื่อจำเลยนำเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวมาใช้กับสินค้าซอสหอยนางรม จะเห็นได้ชัดเจนว่าฉลากเครื่องหมายการค้าที่ปิดข้างขวดคล้ายกับฉลากเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างมาก เครื่องหมายการค้าของจำเลยและสลากเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ ภาพถ่ายสินค้า และสลากเครื่องหมายการค้า เมื่อโจทก์ได้ส่งซอสน้ำมันหอยมาจำหน่ายในประเทศไทย 40 ปีเศษแล้ว และโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ในต่างประเทศหลายประเทศ การที่จำเลยเพิ่งยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อปี 2529 และได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้อย่างหนึ่ง แต่เวลานำไปใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันกับของโจทก์ จำเลยได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมรายละเอียดอื่นลงไปให้เหมือนและคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาไม่สุจริตของจำเลยที่จะเลียนเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์เพื่อให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้า เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย แม้โจทก์จะยังมิได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือ โจทก์ก็เป็นผู้มีสิทธิในเครื่อง-หมายการค้านั้นและในเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือของจำเลย และให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
เมื่อเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือของโจทก์ยังไม่ได้รับการ-จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 42 รายการสินค้าซอสน้ำมันหอย โจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในการล่วงละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคแรก และโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ตามมาตรา 29 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ. เดียวกันอันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายรายเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกกระทำละเมิดตามฟ้องได้
เมื่อเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือของโจทก์ยังไม่ได้รับการ-จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 42 รายการสินค้าซอสน้ำมันหอย โจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในการล่วงละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคแรก และโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ตามมาตรา 29 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ. เดียวกันอันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายรายเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกกระทำละเมิดตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2886/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนทำให้เกิดความสับสน และสิทธิของผู้ใช้เครื่องหมายการค้าก่อน
ฉลากกล่องบรรจุสินค้าของโจทก์และจำเลยต่างใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันและอักษรไทยลักษณะประดิษฐ์อย่างเดียวกัน เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์ใช้คำว่า Madame de Mai มาดาม ดีใหม่ เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยใช้คำว่า Due tai Madame ดิวไท มาดามลวดลายการประดิษฐ์อักษรทั้งอักษรโรมันและอักษรไทยในฉลากทั้งสองต่างเป็นตัวเขียนรูปลักษณะและลีลาการเขียนอย่างเดียวกัน ขนาดตัวอักษรใกล้เคียงกัน การวางตัวอักษรในฉลากก็วางไว้ในตำแหน่งเดียวกันของกล่อง สีของตัวอักษรและส่วนประกอบอื่นก็มีสีคล้ายคลึงกัน ต่างกันเพียงระนาบเอียง โดยของโจทก์ระนาบเอียงขึ้นไปทางขวา ของจำเลยระนาบเอียงลงมาทางขวา ลักษณะฉลากเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์และของจำเลยดังกล่าวรวมทั้งเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่าคลาสสิค มาดาม CLASSIC MADAME ของจำเลยต่างมุ่งเน้นถึงความสำคัญของอักษรโรมันคำว่า Madame และอักษรไทยคำว่า มาดาม เช่นเดียวกัน มีสำเนียงเรียกขานชื่อสินค้าน้ำยาย้อมผมว่า มาดาม อย่างเดียวกัน ของโจทก์ระบุว่าผลิตโดยกรุงเทพเคมีของจำเลยระบุว่า ผลิตโดยกรุงธนเคมี ใช้กับสินค้าจำพวกที่ 48 น้ำยาย้อมผมเช่นเดียวกัน อาจทำให้ผู้ซื้อสินค้าสับสนหลงผิดได้ว่าสินค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นสินค้าอย่างเดียวกัน ฉลากเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันและอักษรไทยในลักษณะลวดลายประดิษฐ์คำว่า Madame de Mai และมาดาม ดีใหม่ ของโจทก์จึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้
สามีจำเลยเคยเป็นลูกจ้างโจทก์และออกจากงาน แล้วมาทำกิจการค้าน้ำยาย้อมผมซึ่งเป็นสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยใช้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนกับสินค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยเพิ่งมายื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในขณะที่สามีจำเลยยังเป็นลูกจ้างโจทก์อยู่ โจทก์จึงเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลย การที่เครื่องหมายการค้าจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิด ดังนี้ เป็นการที่จำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนไว้ได้
ในข้อที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์เคยยื่นคำคัดค้านคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมาแล้ว แต่นายทะเบียนมีคำวินิจฉัยยกคำคัดค้านของโจทก์ โจทก์ไม่อุทธรณ์และมิได้ฟ้องคดีต่อศาล จึงหมดสิทธิที่จะฟ้องเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้น เป็นฎีกาข้อที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงไม่มีประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย
สามีจำเลยเคยเป็นลูกจ้างโจทก์และออกจากงาน แล้วมาทำกิจการค้าน้ำยาย้อมผมซึ่งเป็นสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยใช้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนกับสินค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยเพิ่งมายื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในขณะที่สามีจำเลยยังเป็นลูกจ้างโจทก์อยู่ โจทก์จึงเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลย การที่เครื่องหมายการค้าจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิด ดังนี้ เป็นการที่จำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนไว้ได้
ในข้อที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์เคยยื่นคำคัดค้านคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมาแล้ว แต่นายทะเบียนมีคำวินิจฉัยยกคำคัดค้านของโจทก์ โจทก์ไม่อุทธรณ์และมิได้ฟ้องคดีต่อศาล จึงหมดสิทธิที่จะฟ้องเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้น เป็นฎีกาข้อที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงไม่มีประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศและสิทธิที่ดีกว่า
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 22 วรรคสี่ (1) เป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทของโจทก์และจำเลยในชั้นแรกเกี่ยวกับเรื่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ยื่นขอจดทะเบียนว่ามีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่ ซึ่งคำวินิจฉัยดังกล่าวโจทก์จะนำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องต่อศาลอีกไม่ได้ตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น แต่ในคดีนี้สภาพแห่งข้อหาของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จึงขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิตามที่โจทก์ได้รับความคุ้มครองดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ ซึ่งเป็นคนละกรณีกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่วินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ขอจดทะเบียนเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว การฟ้องคดีของโจทก์หาใช่การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศนั้น แม้ไม่มีผลบังคับในประเทศไทย แต่อาจเป็นข้อเท็จจริงที่จะใช้ฟังถึงสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของและการใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "CELINE"มาก่อน โดยจดทะเบียนไว้ที่ประเทศฝรั่งเศสและใช้กับสินค้าของโจทก์ตั้งแต่ พ.ศ.2506 และประเทศอื่น ๆ เกือบทั่วโลก ตั้งแต่ พ.ศ.2517 สินค้าของโจทก์มีจำหน่ายแพร่หลายตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ในประเทศไทย การที่จำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "CE'LINE" อยู่ใต้รูปนกยูงเกาะตัว "C"เมื่อ พ.ศ.2523 โดยอักษรโรมันคำว่า "CE'LINE" เหมือนหรือคล้ายกับอักษร-โรมันคำว่า "CELINE" ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เป็นเครื่องหมายการค้ามาก่อนจำเลย จึงต้องถือว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "CELINE"หรือ "CE'LINE" ดีกว่าจำเลย
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศนั้น แม้ไม่มีผลบังคับในประเทศไทย แต่อาจเป็นข้อเท็จจริงที่จะใช้ฟังถึงสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของและการใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "CELINE"มาก่อน โดยจดทะเบียนไว้ที่ประเทศฝรั่งเศสและใช้กับสินค้าของโจทก์ตั้งแต่ พ.ศ.2506 และประเทศอื่น ๆ เกือบทั่วโลก ตั้งแต่ พ.ศ.2517 สินค้าของโจทก์มีจำหน่ายแพร่หลายตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ในประเทศไทย การที่จำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "CE'LINE" อยู่ใต้รูปนกยูงเกาะตัว "C"เมื่อ พ.ศ.2523 โดยอักษรโรมันคำว่า "CE'LINE" เหมือนหรือคล้ายกับอักษร-โรมันคำว่า "CELINE" ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เป็นเครื่องหมายการค้ามาก่อนจำเลย จึงต้องถือว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "CELINE"หรือ "CE'LINE" ดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเป็นเจ้าของและสิทธิเหนือกว่าเมื่อมีการใช้เครื่องหมายที่คล้ายคลึงกัน
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา22วรรคสี่(1)เป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทของโจทก์และจำเลยในชั้นแรกเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่ามีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่แต่ตามสภาพแห่งข้อหาที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิที่โจทก์ได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)เป็นคนละกรณีกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่กล่าวข้างต้นการฟ้องคดีของโจทก์จึงมิได้เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "CELINE"มาก่อนโดยจดทะเบียนไว้ที่ประเทศ ฝรั่งเศสใช้กับสินค้าของโจทก์ตั้งแต่พ.ศ.2506และประเทศอื่นๆเกือบทั่วโลกตั้งแต่พ.ศ.2517สินค้าของโจทก์มีจำหน่ายแพร่หลายตามห้างสรรพสินค้าต่างๆในประเทศไทยการที่จำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "CELINE" อยู่ใต้รูปนกยูงเกาะตัว "C" เมื่อพ.ศ.2523โดยอักษรโรมันคำว่า "CE'LINE" เหมือนหรือคล้ายกับอักษรโรมันคำว่า "CELINE" ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เป็นเครื่องหมายการค้ามาก่อนจำเลยจึงต้องถือว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "CELINE" หรือ "CE'LINE" ดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนทะเบียนเมื่อมีผู้ใช้ก่อนและมีเจตนาเลียนแบบ
แม้โจทก์กับจำเลยจะโต้เถียงกันในชั้นพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือไม่จนคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยให้จำเลยชนะซึ่งถึงที่สุดแล้วตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา22วรรคสี่(1)แต่ฟ้องโจทก์คดีนี้โจทก์อ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนการจดทะเบียนหลังมีคำวินิจฉัย
แม้โจทก์กับจำเลยจะโต้เถียงกันในชั้นพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยหรือไม่ จนคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยให้จำเลยชนะซึ่งถึงที่สุดแล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 22 วรรคสี่ (1)แต่ฟ้องโจทก์คดีนี้โจทก์อ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2196/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้สาธารณชนสับสน และสิทธิในเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยในส่วนรูปวัวกระทิงมีลักษณะการประดิษฐ์เหมือนกัน กล่าวคือ เป็นภาพลายเส้นรูปวัวกระทิงหันตัวทางด้านข้าง ด้านหลังอยู่ลึกเข้าไป หันหน้ามาทางหน้า ยืนตัวตรง ยกขาซ้ายหน้าหางยาวผิดปกติโดยยกขึ้นเป็นอักษรรูปตัว "S" คงต่างกันเฉพาะเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยเป็นรูปวัวกระทิงประดิษฐ์อยู่ในภายในรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าและมีอักษรไทยว่า "ตราวัวกระทิง" อยู่ใต้รูปวัวกระทิงเท่านั้น ส่วนเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ไม่มีรูปสามเหลี่ยมและอักษรไทยดังกล่าว หากพิจารณาเฉพาะแต่ส่วนประกอบก็จะเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแตกต่างกันแต่เมื่อพิจารณารวมทั้งหมดจะเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยคล้ายคลึงกันมากเพราะเป็นรูปวัวกระทิงประดิษฐ์มีส่วนต่าง ๆ ดังกล่าวเหมือนกันซึ่งสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายเป็นรูปวัวกระทิงอย่างเดียวกันดังนี้ ถือว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกัน อาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนหลงผิดในเครื่องหมายการค้าได้
จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงภายในรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยจำเลยเห็นว่าสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงประดิษฐ์เป็นที่นิยมแพร่หลาย เพื่อให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงประดิษฐ์มาก่อนจำเลยโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงประดิษฐ์ดีกว่าจำเลย
จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงภายในรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยจำเลยเห็นว่าสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงประดิษฐ์เป็นที่นิยมแพร่หลาย เพื่อให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงประดิษฐ์มาก่อนจำเลยโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงประดิษฐ์ดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2196/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าคล้ายคลึงกันทำให้สับสน การใช้เครื่องหมายการค้าโดยจงใจเลียนแบบทำให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิม
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยในส่วนรูปวัวกระทิงมีลักษณะการประดิษฐ์เหมือนกันกล่าวคือเป็นภาพลายเส้นรูปวัวกระทิงหันตัวทางด้านข้างด้านหลังอยู่ลึกเข้าไปหันหน้ามาทางหน้ายืนตัวตรงยกขาซ้ายหน้าหางยาวผิดปกติโดยยกขึ้นเป็นอักษรรูปตัว"s"คงต่างกันเฉพาะเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปวัวกระทิงประดิษฐ์อยู่ในภายในรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าและมีอักษรไทยว่า"ตราวัวกระทิง"อยู่ใต้รูปวัวกระทิงเท่านั้นส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีรูปสามเหลี่ยมและอักษรไทยดังกล่าวหากพิจารณาเฉพาะแต่ส่วนประกอบก็จะเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแตกต่างกันแต่เมื่อพิจารณารวมทั้งหมดจะเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยคล้ายคลึงกันมากเพราะเป็นรูปวัวกระทิงประดิษฐ์มีส่วนต่างๆดังกล่าวเหมือนกันซึ่งสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายเป็นรูปวัวกระทิงอย่างเดียวกันดังนี้ถือว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนหลงผิดในเครื่องหมายการค้าได้ จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงภายในรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยจำเลยเห็นว่าสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงประดิษฐ์เป็นที่นิยมแพร่หลายเพื่อให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงประดิษฐ์มาก่อนจำเลยโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงประดิษฐ์ดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า โดยพิจารณาจากองค์ประกอบและความหมายของคำ
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นเครื่องหมาย-การค้าที่ได้ถือคำอักษรโรมันเป็นสำคัญ คือของโจทก์เป็นคำว่า "DENTYNE" ส่วนของจำเลยเป็นคำว่า "DENT GUM" อักษรไทยเป็นเพียงคำทับศัพท์เพื่ออ่านออกเสียงตามอักษรโรมันว่า เดนทีน เดนท์กัม แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีคำว่า"เดนท์" และคำว่า "DENT" เป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งในเครื่องหมายการค้าซึ่งมีอักษรไทย 3 ตัวแรก และอักษรโรมัน 4 ตัวแรก ตรงกับอักษรไทยและอักษรโรมันในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยแยกเป็นคำ2 คำ ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำคำเดียว คำว่า "DENT" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีความหมายว่า รอยเว้า รอยฟัน ทำเป็นรอยตอกเป็นรอย และคำว่า "GUM" มีความหมายว่า ยางไม้ กาวที่ทำจากยางไม้ส่วนคำว่า "DENTYNE" ของโจทก์เป็นคำที่ไม่มีความหมาย เครื่องหมายการค้าของจำเลยและโจทก์จึงมีคำและตัวอักษรแตกต่างกันอย่างเด่นชัด ทั้งเครื่องหมาย-การค้าทั้งสองก็มีสำเนียงเรียกขานแตกต่างกันอย่างชัดเจน ไม่ก่อให้ความสับสนหลงผิด ถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน โจทก์จึงไม่อาจขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2108/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และการเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนไว้และของจำเลยที่ได้รับการจดทะเบียนไว้มีคำในอักษรโรมันและอักษรไทยรวมทั้งสำเนียงเรียกขานคล้ายคลึงกันมากหากไม่ได้สังเกตอย่างรอบคอบโดยถี่ถ้วนย่อมหลงผิดได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าอย่างเดียวกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นเองโดยไม่มีคำแปลจึงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าขึ้นเองจนคล้ายคลึงกับของโจทก์ซึ่งใช้มาก่อนโดยไม่ได้เจตนาการกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยแม้จำเลยจะจดทะเบียนไว้แล้วและโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทยโจทก์ก็ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1) โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่42ประเภทอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งซึ่งประกอบด้วยเนื้อเป็ดไก่ปลาและผักแม้จะแตกต่างกับสินค้าของจำเลยซึ่งเป็นลูกกวาดขนมปังกรอบขนมปังช็อกโกแล็ตและนมแต่ก็อยู่ในจำพวกที่42และถือว่าเป็นสินค้าประเภทอาหารด้วยผู้ซื้อสินค้าอาจเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าที่ผลิตโดยผู้ผลิตรายเดียวกันได้ถือว่าจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยไม่สุจริต โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทยเมื่อไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่าจำเลยได้ลวงขายสินค้าของจำเลยต่อสาธารณชนว่าเป็นของโจทก์จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามมาตรา29วรรคสองได้ แม้โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยแต่เมื่อยังไม่ได้รับการจดทะเบียนจึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นตามมาตรา29วรรคแรกทั้งโจทก์มิได้ฟ้องนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าด้วยจึงไม่อาจพิพากษาบังคับนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้และเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5),246และ247