พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2108/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายที่ไม่จดทะเบียน vs. ผู้จดทะเบียนภายหลัง
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า BENIHANA กับเครื่องหมาย-การค้าจดทะเบียนของจำเลยคำว่า BENNI-HANA หากวิญญูชนไม่ได้สังเกตอย่างรอบคอบโดยถี่ถ้วนแล้ว ย่อมหลงผิดได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าอย่างเดียวกัน โจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ต่างประเทศมาก่อนจำเลยจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนานนับสิบปี โดยใช้กับสินค้าอาหารประเภทเนื้อ ปลา เป็ด ไก่ และผักและโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นชื่อโรงแรมและภัตตาคารที่โจทก์เปิดบริการอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยได้มีโอกาสเห็นเครื่องหมายการค้าคำว่า BENIHANA ของโจทก์ที่ต่างประเทศมาก่อน แล้วนำมาเป็นแนวประดิษฐ์คำขึ้นใหม่ว่า BENNI-HANA การกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า BENIHANA ของโจทก์และคำว่า BENNI-HANAที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนดีกว่าของจำเลย แม้จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยไว้แล้วและโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในประเทศไทย โจทก์ก็ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1)ซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 42 ประเภทอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งซึ่งประกอบด้วยเนื้อ เป็ด ไก่ ปลา และผัก เช่นเดียวกับสินค้าที่ใช้มานานในต่างประเทศ แม้สินค้าดังกล่าวจะแตกต่างกับสินค้าของจำเลยซึ่งเป็นลูกกวาด ขนมปังกรอบ ขนมปังช็อกโกแล็ตและนม แต่สินค้าของจำเลยอยู่ในจำพวกที่ 42 และถือได้ว่าเป็นสินค้าประเภทอาหารด้วย ผู้ซื้อสินค้าดังกล่าวทั้งหมดอาจเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าที่ผลิตโดยผู้ผลิตรายเดียวกัน เป็นการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ลวงขายสินค้าของจำเลยต่อสาธารณชนว่าเป็นสินค้าของโจทก์ กรณีจึงไม่อาจบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทได้
แม้โจทก์จะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้น อันเป็นการฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียนได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 29 วรรคแรกแห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว กรณีจึงไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้ห้ามจำเลยดังกล่าวได้
โจทก์มิได้ฟ้องนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นจำเลยจึงไม่อาจพิพากษาบังคับนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอของโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อ้างในชั้นฎีกาแต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246และ 247
โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 42 ประเภทอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งซึ่งประกอบด้วยเนื้อ เป็ด ไก่ ปลา และผัก เช่นเดียวกับสินค้าที่ใช้มานานในต่างประเทศ แม้สินค้าดังกล่าวจะแตกต่างกับสินค้าของจำเลยซึ่งเป็นลูกกวาด ขนมปังกรอบ ขนมปังช็อกโกแล็ตและนม แต่สินค้าของจำเลยอยู่ในจำพวกที่ 42 และถือได้ว่าเป็นสินค้าประเภทอาหารด้วย ผู้ซื้อสินค้าดังกล่าวทั้งหมดอาจเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าที่ผลิตโดยผู้ผลิตรายเดียวกัน เป็นการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ลวงขายสินค้าของจำเลยต่อสาธารณชนว่าเป็นสินค้าของโจทก์ กรณีจึงไม่อาจบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทได้
แม้โจทก์จะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้น อันเป็นการฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียนได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 29 วรรคแรกแห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว กรณีจึงไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้ห้ามจำเลยดังกล่าวได้
โจทก์มิได้ฟ้องนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นจำเลยจึงไม่อาจพิพากษาบังคับนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอของโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อ้างในชั้นฎีกาแต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดเครื่องหมายการค้า: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นระยะเวลาฟ้อง และสิทธิในเครื่องหมายการค้า
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้หากศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวได้หาใช่อุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225ไม่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยไม่ได้ให้การไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งหากศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของปรากฏว่านายทะเบียนได้มีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อวันที่8ตุลาคม2529ซึ่งมีพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นจึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามมาตรา41(1)แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวดังนี้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีนี้จึงได้แก่บทบัญญัติมาตรา41(1)ดังกล่าวอันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทหาใช่บทบัญญัติมาตรา67แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยแต่จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อนี้ดังนั้นปัญหาว่าจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าโจทก์หรือไม่จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์นั้นปรากฏว่านายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามิได้เป็นคู่ความในคดีกรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกปฏิบัติตามคำขอบังคับท้ายฟ้องของโจทก์ได้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้จึงไม่ชอบศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: บทบัญญัติที่ใช้บังคับและข้อจำกัดในการอุทธรณ์ฎีกา
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้ หากศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวได้ หาใช่อุทธรณ์ที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา225 ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยไม่ได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง หากศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ ปรากฏว่านายทะเบียนได้มีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2529 ซึ่งมี พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามมาตรา41 (1) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนี้ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีนี้จึงได้แก่บทบัญญัติมาตรา 41 (1) ดังกล่าว อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท หาใช่บทบัญญัติมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย แต่จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อนี้ ดังนั้น ปัญหาว่าจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าโจทก์หรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์นั้น ปรากฏว่านายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามิได้เป็นคู่ความในคดี กรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกปฏิบัติตามคำขอบังคับท้ายฟ้องของโจทก์ได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ ปรากฏว่านายทะเบียนได้มีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2529 ซึ่งมี พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามมาตรา41 (1) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนี้ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีนี้จึงได้แก่บทบัญญัติมาตรา 41 (1) ดังกล่าว อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท หาใช่บทบัญญัติมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย แต่จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อนี้ ดังนั้น ปัญหาว่าจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าโจทก์หรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์นั้น ปรากฏว่านายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามิได้เป็นคู่ความในคดี กรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกปฏิบัติตามคำขอบังคับท้ายฟ้องของโจทก์ได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือน/คล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า และสิทธิในการใช้คำทั่วไป (กุ๊ก) เพื่อจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปการ์ตูนเต็มทั้งตัว แต่งตัวเป็นพ่อครัว ลำตัวคล้ายขวด มีมือสองข้างและเท้าสองข้าง คำว่า กุ๊ก และ COOKอยู่กลางลำตัว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปคนยิ้มสวมหมวกพ่อครัวครึ่งตัวยกมือข้างซ้ายชูนิ้วหัวแม่มือ ผูกหูกระต่ายที่คออย่างเด่นชัด ใต้รูปดังกล่าวมีคำว่ากุ๊กอินเตอร์ และ INTER COOK ลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยอยู่ที่รูปคนยิ้มสวมหมวกพ่อครัวครึ่งตัวซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าคำว่า กุ๊กอินเตอร์ และ INTERCOOK รูปคนครึ่งตัวดังกล่าวแตกต่างจากรูปการ์ตูนเต็มตัวมีลักษณะเป็นขวดตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างชัดเจน ประกอบกับสลากปิดสินค้าปลากระป๋องรวมมิตรทะเลตรากุ๊กอินเตอร์ของจำเลยมีรูปคนครึ่งตัวดังกล่าวพร้อมระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายไว้ด้วย ทั้งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็มีเพียงชนิดเดียวคือน้ำมันพืชเท่านั้น ส่วนสินค้าของจำเลยเป็นอาหารกระป๋อง ไม่มีน้ำมันพืช ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะทำให้สาธารณชนหลงผิด ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 คำว่า กุ๊กหมายถึง พ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง ฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำสามัญที่มีคำแปล ไม่ก่อให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้คำว่า กุ๊ก แต่เพียงผู้เดียว บุคคลทั่วไปต่างใช้คำว่า กุ๊ก ได้จำเลยจึงมีสิทธิใช้คำดังกล่าวประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและนำไปยื่นขอจดทะเบียนได้ โจทก์ไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลย จะร้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไม่ได้
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 คำว่า กุ๊กหมายถึง พ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง ฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำสามัญที่มีคำแปล ไม่ก่อให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้คำว่า กุ๊ก แต่เพียงผู้เดียว บุคคลทั่วไปต่างใช้คำว่า กุ๊ก ได้จำเลยจึงมีสิทธิใช้คำดังกล่าวประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและนำไปยื่นขอจดทะเบียนได้ โจทก์ไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลย จะร้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนลวงสาธารณชนได้ แม้ใช้คำ 'กุ๊ก' ซึ่งเป็นคำสามัญได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปการ์ตูนเต็มทั้งตัวแต่งตัวเป็นพ่อครัวลำตัวคล้ายขวดมีมือสองข้างและเท้าสองข้างคำว่ากุ๊กและCOOKอยู่กลางลำตัวส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปคนยิ้มสวนหมวกพ่อครัวครึ่งตัวยกมือข้างซ้ายชูนิ้วหัวแม่มือผูกหูกระต่ายที่คออย่างเด่นชัดใต้รูปดังกล่าวมีคำว่ากุ๊กอินเตอร์และINTERCOOKลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยอยู่ที่รูปคนยิ้มสวมหมวกพ่อครัวครึ่งตัวซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าคำว่ากุ๊กอินเตอร์และINTERCOOKรูปคนครึ่งตัวดังกล่าวแตกต่างจากรูปการ์ตูนเต็มตัวมีลักษณะเป็นขวดตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างชัดเจนประกอบกับสลากปิดสินค้าปลากระป๋องรวมมิตรทะเลตรากุ๊กอินเตอร์ของจำเลยมีรูปคนครึ่งตัวดังกล่าวพร้อมระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายไว้ด้วยทั้งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็มีเพียงชนิดเดียวคือน้ำมันพืชเท่านั้นส่วนสินค้าของจำเลยเป็นอาหารกระป๋องไม่มีน้ำมันพืชยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะทำให้สาธารณชนหลงผิดดังนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525คำว่ากุ๊กหมายถึงพ่อครัวทำกับข้าวฝรั่งฉะนั้นคำนี้จึงเป็นคำสามัญที่มีคำแปลไม่ก่อให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้คำว่ากุ๊กแต่เพียงผู้เดียวบุคคลทั่วไปต่างใช้คำว่ากุ๊กได้จำเลยจึงมีสิทธิใช้คำดังกล่าวประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและนำไปยื่นขอจดทะเบียนได้โจทก์ไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: สิทธิในเครื่องหมายการค้าเก่ากว่าย่อมคุ้มครอง แม้จำเลยจดทะเบียนภายหลัง
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่22รถจักรยานสองล้อดีกว่าจำเลยให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกและชนิดเดียวกันและให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะการลวงขายสินค้าของจำเลยทั้งสองให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์นั้นเป็นการที่โจทก์ทั้งสองฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)และมาตรา29วรรคสองซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ฟ้องเช่นนั้นได้ดังนั้นเมื่อปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์เพียงว่าโจทก์ที่1เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดมีโจทก์ที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ที่2เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนโจทก์ทั้งสองได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้ารถจักรยานสองล้อรถจักรยานสามล้อและอุปกรณ์รถจักรยานดังกล่าวโดยโจทก์ทั้งสองประกอบการค้าเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้านั้นแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่1เป็นเจ้าของหรือเป็นเจ้าของร่วมกับโจทก์ที่2ในเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่อย่างใดโจทก์ที่1มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมายการค้าพิพาทหรือเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนโจทก์ที่1จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)และมาตรา29(2) เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านขวาอยู่ภายในวงกลมกับมีอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILE"และ"TRADEMARK"อยู่ในรูปคล้ายห่วงติดกับวงกลมเหนือและใต้รูปจระเข้ตามลำดับกับมีรูปอาร์ม6เหลี่ยมอยู่ใต้วงกลมโดยมีอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILEENGLANDLTD"โดยมีหยดน้ำ3หยดใต้ตัวอักษรโรมันดังกล่าวซึ่งอยู่ในรูปอาร์มนั้นส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านซ้ายกับมีรูปดาว5ดวงอยู่ใต้รูปจระเข้ภายในวงกลม2ชั้นระหว่างวงกลม2ชั้นซึ่งมีลักษณะเป็นวงแหวนนั้นมีอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILE"และ"FIVESTAR"อยู่เหนือรูปจระเข้และใต้รูปดาว5ดวงนั้นตามลำดับกับมีจุดอยู่ในวงแหวนตรงกึ่งกลางด้านซ้ายและด้านขวาด้านละ1จุดโดยมีรูปอาร์ม6เหลี่ยมอยู่ใต้วงกลมชั้นนอกในรูปอาร์มดังกล่าวมีอักษรโรมันคำว่า"TRADEMARK"อยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า"FIVESTAR"ซึ่งอยู่ในวงแหวนดังกล่าวและมีหยดน้ำ3หยดอยู่ด้านล่างซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสองรูปมีลักษณะคล้ายกันมากโดยมีจุดเด่นเป็นรูปจระเข้อยู่ภายในวงกลมและมีรูปอาร์ม6เหลี่ยมใต้วงกลมนั้นมีตัวอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILE"อยู่ในวงกลมด้านบนและมีตัวอักษรโรมันกับหยดน้ำ3หยดอยู่ในรูปอาร์มนั้นซึ่งแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2และของจำเลยที่1ดังกล่าวมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างอาทิเช่นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2มีวงกลมชั้นเดียวส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1มีวงกลม2ชั้นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2มีอักษรโรมันคำว่า"TRADEMARK"อยู่ด้านล่างของวงกลมส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1มีอักษรโรมันคำว่า"FIVESTAR"อยู่ด้านล่างของวงกลมโดยมีรูปดาว5ดวงอยู่ใต้รูปจระเข้และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2มีอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILEENGLANDLTD"อยู่ในรูปอาร์ม6เหลี่ยมส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1มีอักษรโรมันคำว่า"TRADEMARK"อยู่ในรูปอาร์ม6เหลี่ยมก็ตามแต่ข้อแตกต่างดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อยหากไม่พิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนก็ยากที่ประชาชนทั่วไปจะแยกแยะข้อแตกต่างเช่นนั้นได้ประชาชนผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์ที่2และจำเลยที่1เหมือนกันว่ารถจักรยานตราจระเข้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1จึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สืบสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์โจทก์ที่2ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยที่1โจทก์ที่2จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยที่1และมีสิทธิขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้นั้นได้ตามมาตรา41(1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท เมื่อโจทก์ที่2เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนและเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่จำเลยที่1ได้รับการจดทะเบียนไว้ดีกว่าจำเลยที่1และโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์แม้จำเลยที่1จะเป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา29วรรคสองอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาทการที่จำเลยที่1ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1กับสินค้ารถจักรยานสองล้อซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดเป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2โดยมิชอบและมีเจตนาเพื่อลวงขายสินค้าของจำเลยที่1ว่าเป็นสินค้าของโจทก์ที่2ซึ่งโจทก์ที่2ย่อมได้รับความเสียหายทำให้โจทก์ที่2จำหน่ายสินค้ารถจักรยานสองล้อของโจทก์ที่2ได้น้อยลงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่2แล้วซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนและการลวงขายสินค้าทำให้สาธารณชนสับสน
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมาย-การค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 22 รถจักรยานสองล้อดีกว่าจำเลย ให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกและชนิดเดียวกัน และให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะการลวง-ขายสินค้าของจำเลยทั้งสองให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์นั้น เป็นการที่โจทก์ทั้งสองฟ้องตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1)และมาตรา 29 วรรคสอง ซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ฟ้องเช่นนั้นได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์เพียงว่า โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีโจทก์ที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์ทั้งสองได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้ารถจักรยานสองล้อ รถจักรยานสามล้อ และอุปกรณ์รถจักรยานดังกล่าว โดยโจทก์ทั้งสองประกอบการค้าเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้านั้นแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหรือเป็นเจ้าของร่วมกับโจทก์ที่ 2 ในเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมาย-การค้าพิพาทหรือเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน โจทก์ที่ 1จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474มาตรา 41 (1) และมาตรา 29 (2)
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านขวาอยู่ภายในวงกลมกับมีอักษรโรมันคำว่า "THE CROCODILE"และ "TRADE MARK" อยู่ในรูปคล้ายห่วงติดกับวงกลมเหนือและใต้รูปจระเข้ตามลำดับ กับมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม อยู่ใต้วงกลมโดยมีอักษรโรมันคำว่า"THE CROCODILE ENGLAND LTD" โดยมีหยดน้ำ 3 หยด ใต้ตัวอักษรโรมันดังกล่าวซึ่งอยู่ในรูปอาร์มนั้น ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านซ้าย กับมีรูปดาว 5 ดวง อยู่ใต้รูปจระเข้ภายในวงกลม 2 ชั้น ระหว่างวงกลม 2 ชั้น ซี่งมีลักษณะเป็นวงแหวนนั้น มีอักษรโรมันคำว่า "THE CROCODILE" และ "FIVE STAR" อยู่เหนือรูปจระเข้และใต้รูปดาว 5 ดวง นั้น ตามลำดับ กับมีจุดอยู่ในวงแหวนตรงกึ่งกลางด้านซ้ายและด้านขวาด้านละ 1 จุด โดยมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม อยู่ใต้วงกลมชั้นนอก ในรูปอาร์มดังกล่าวมีอักษรโรมันคำว่า "TRADE MARK" อยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า"FIVE STAR" ซึ่งอยู่ในวงแหวนดังกล่าว และมีหยดน้ำ 3 หยด อยู่ด้านล่างซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสองรูปมีลักษณะคล้ายกันมาก โดยมีจุดเด่นเป็นรูปจระเข้อยู่ภายในวงกลมและมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม ใต้วงกลมนั้น มีตัวอักษรโรมันคำว่า "THE CROCODILE" อยู่ในวงกลมด้านบน และมีตัวอักษรโรมันกับหยดน้ำ 3 หยด อยู่ในรูปอาร์มนั้น ซึ่งแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2และของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง อาทิเช่น เครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ที่ 2 มีวงกลมชั้นเดียว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีวงกลม 2 ชั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 มีอักษรโรมันคำว่า"TRADE MARK" อยู่ด้านล่างของวงกลม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีอักษรโรมันคำว่า "FIVE STAR" อยู่ด้านล่างของวงกลม โดยมีรูปดาว 5 ดวงอยู่ใต้รูปจระเข้ และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 มีอักษรโรมันคำว่า"THE CROCODILE ENGLAND LTD" อยู่ในรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม ส่วนเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยที่ 1 มีอักษรโรมันคำว่า "TRADE MARK" อยู่ในรูปอาร์ม6 เหลี่ยม ก็ตาม แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อย หากไม่พิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วน ก็ยากที่ประชาชนทั่วไปจะแยกแยะข้อแตกต่างเช่นนั้นได้ ประชาชนผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า รถจักรยานตราจระเข้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ที่ 2 ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1โจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยที่ 1 และมีสิทธิขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้นั้นได้ตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท
เมื่อโจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน และเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่จำเลยที่ 1ได้รับการจดทะเบียนไว้ดีกว่าจำเลยที่ 1 และโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ลวง-ขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคสองอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมาย-การค้าของจำเลยที่ 1 กับสินค้ารถจักรยานสองล้อซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิด เป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 โดยมิชอบและมีเจตนาเพื่อลวงขายสินค้าของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 ย่อมได้รับความเสียหายทำให้โจทก์ที่ 2 จำหน่ายสินค้ารถจักรยานสองล้อของโจทก์ที่ 2 ได้น้อยลงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 แล้ว ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านขวาอยู่ภายในวงกลมกับมีอักษรโรมันคำว่า "THE CROCODILE"และ "TRADE MARK" อยู่ในรูปคล้ายห่วงติดกับวงกลมเหนือและใต้รูปจระเข้ตามลำดับ กับมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม อยู่ใต้วงกลมโดยมีอักษรโรมันคำว่า"THE CROCODILE ENGLAND LTD" โดยมีหยดน้ำ 3 หยด ใต้ตัวอักษรโรมันดังกล่าวซึ่งอยู่ในรูปอาร์มนั้น ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านซ้าย กับมีรูปดาว 5 ดวง อยู่ใต้รูปจระเข้ภายในวงกลม 2 ชั้น ระหว่างวงกลม 2 ชั้น ซี่งมีลักษณะเป็นวงแหวนนั้น มีอักษรโรมันคำว่า "THE CROCODILE" และ "FIVE STAR" อยู่เหนือรูปจระเข้และใต้รูปดาว 5 ดวง นั้น ตามลำดับ กับมีจุดอยู่ในวงแหวนตรงกึ่งกลางด้านซ้ายและด้านขวาด้านละ 1 จุด โดยมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม อยู่ใต้วงกลมชั้นนอก ในรูปอาร์มดังกล่าวมีอักษรโรมันคำว่า "TRADE MARK" อยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า"FIVE STAR" ซึ่งอยู่ในวงแหวนดังกล่าว และมีหยดน้ำ 3 หยด อยู่ด้านล่างซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสองรูปมีลักษณะคล้ายกันมาก โดยมีจุดเด่นเป็นรูปจระเข้อยู่ภายในวงกลมและมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม ใต้วงกลมนั้น มีตัวอักษรโรมันคำว่า "THE CROCODILE" อยู่ในวงกลมด้านบน และมีตัวอักษรโรมันกับหยดน้ำ 3 หยด อยู่ในรูปอาร์มนั้น ซึ่งแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2และของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง อาทิเช่น เครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ที่ 2 มีวงกลมชั้นเดียว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีวงกลม 2 ชั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 มีอักษรโรมันคำว่า"TRADE MARK" อยู่ด้านล่างของวงกลม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีอักษรโรมันคำว่า "FIVE STAR" อยู่ด้านล่างของวงกลม โดยมีรูปดาว 5 ดวงอยู่ใต้รูปจระเข้ และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 มีอักษรโรมันคำว่า"THE CROCODILE ENGLAND LTD" อยู่ในรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม ส่วนเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยที่ 1 มีอักษรโรมันคำว่า "TRADE MARK" อยู่ในรูปอาร์ม6 เหลี่ยม ก็ตาม แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อย หากไม่พิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วน ก็ยากที่ประชาชนทั่วไปจะแยกแยะข้อแตกต่างเช่นนั้นได้ ประชาชนผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า รถจักรยานตราจระเข้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ที่ 2 ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1โจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยที่ 1 และมีสิทธิขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้นั้นได้ตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท
เมื่อโจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน และเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่จำเลยที่ 1ได้รับการจดทะเบียนไว้ดีกว่าจำเลยที่ 1 และโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ลวง-ขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคสองอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมาย-การค้าของจำเลยที่ 1 กับสินค้ารถจักรยานสองล้อซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิด เป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 โดยมิชอบและมีเจตนาเพื่อลวงขายสินค้าของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 ย่อมได้รับความเสียหายทำให้โจทก์ที่ 2 จำหน่ายสินค้ารถจักรยานสองล้อของโจทก์ที่ 2 ได้น้อยลงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 แล้ว ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายที่เหมือนกัน/คล้ายกันเป็นการละเมิดสิทธิและลวงสาธารณชน
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 22 รถจักรยานสองล้อดีกว่าจำเลย ให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกและชนิดเดียวกัน และให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะการลวงขายสินค้าของจำเลยทั้งสองให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์นั้น เป็นการที่โจทก์ทั้งสองฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) และมาตรา 29 วรรคสองซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ฟ้องเช่นนั้นได้ ดังนั้น เมื่อปรากฎจากคำฟ้องของโจทก์เพียงว่าโจทก์ที 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีโจทก์ที่ 2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์ทั้งสองได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้ารถจักรยานสองล้อ รถจักรยานสามล้อ และอุปกรณ์รถจักรยานดังกล่าว โดยโจทก์ทั้งสองประกอบการค้าเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้านั้นแต่ไม่ปรากฎว่าโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหรือเป็นเจ้าของร่วมกับโจทก์ที่ 2 ในเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมายการค้าพิพาทหรือเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) และมาตรา 29(2) เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านขวาอยู่ภายในวงกลมกับที่อักษรโรมันคำว่า "THECROCODILE"และ "TRADEMARK" อยู่ในรูปคล้ายห่วงติดกับวงกลมเหนือและใต้รูปจระเข้ตามลำดับ กับมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม อยู่ใต้วงกลมโดยมีอักษรโรมันคำว่า "THECROCODILEENGLANDLTD" โดยมีหยดน้ำ3หยดใต้ตัวอักษรโรมันดังกล่าวซึ่งอยู่ในรูปอาร์มนั้น ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านซ้าย กับมีรูปดาว 5 ดวง อยู่ใต้รูปจระเข้ภายในวงกลม 2 ชั้น ระหว่างวงกลม 2 ชั้นซึ่งมีลักษณะเป็นวงแหวนนั้น มีอักษรโรมันคำว่า "THECROCODILE"และ "FIVESTAR" อยู่เหนือรูปจระเข้และใต้รูปดาว 5 ดวง นั้นตามลำดับ กับมีจุดอยู่ในวงแหวนตรงกึ่งกลางด้านซ้ายและด้านขวาด้านละ1 จุด โดยมีรูปอาร์ม6เหลี่ยมอยู่ใต้วงกลมชั้นนอกในรูปอาร์มดังกล่าวมีอักษรโรมันคำว่า "TRADEMARK" อยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า"FIVESTAR" ซึ่งอยู่ในวงแหวนดังกล่าว และมีหยดน้ำ3หยดอยู่ด้านล่างซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสองรูปมีลักษณะคล้ายกันมากโดยมีจุดเด่นเป็นรูปจระเข้อยู่ภายในวงกลมและมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยมใต้วงกลมนั้น มีตัวอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILE"อยู่ในวงกลมด้านบน และมีตัวอักษรโรมันกับหยดน้ำ3หยด อยู่ในรูปอาร์มนั้น ซึ่งแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 และของจำเลยที่ 1ดังกล่าวมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง อาทิเช่น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 มีวงกลมชั้นเดียว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีวงกลม 2 ชั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 มีอักษรโรมันคำว่า "TRADEMARK" อยู่ด้านล่างของวงกลม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มีอักษรโรมันคำว่า "FIVESTAR" อยู่ด้านล่างของวงกลม โดยมีรูปดาว 5 ดวงอยู่ใต้รูปจระเข้ และเครื่องหมายการค้าของโจทก์มี 2 มีอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILEENGLANDLTD"อยู่ในรูปอารม์ 6 เหลี่ยม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีอักษรโรมันคำว่า "TRADEMARK" อยู่ในรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม ก็ตามแต่ข้อแตกต่างดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อยหากไม่พิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วน ก็ยากที่ประชาชนทั่วไปจะแยกแยะข้อแตกต่างเช่นนั้นได้ ประชาชนผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์ที่ 2 และ จำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า รถจักรยานตราจระเข้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ที่ 2 ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยที่ 1 และมีสิทธิขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้นั้นได้ตามมาตรา 41|1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท เมื่อโจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามจระเข้ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน และเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่จำเลยที่ 1 ได้รับการจดทะเบียนไว้ดีกว่าจำเลยที่ 1และโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคสองอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 กับสินค้ารถจักรยานสองล้อซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิด เป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 โดยมิชอบและมีเจตนาเพื่อลวงขายสินค้าของจำเลยที่ 1ว่าเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 ย่อมได้รับความเสียหายทำให้โจทก์ที่ 2 จำหน่ายสินค้ารถจักรยานสองล้อของโจทก์ที่ 2ได้น้อยลงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 แล้ว ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่เหมือน/คล้ายกัน และค่าเสียหายจากการลอกเลียนแบบ
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่22รถจักรยานสองล้อดีกว่าจำเลยให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกและชนิดเดียวกันและให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะการลวงขายสินค้าของจำเลยทั้งสองให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์นั้นเป็นการที่โจทก์ทั้งสองฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)และมาตรา29วรรคสองซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ฟ้องเช่นนั้นได้ดังนั้นเมื่อปรากฎจากคำฟ้องของโจทก์เพียงว่าโจทก์ที1เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดมีโจทก์ที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ที่2เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนโจทก์ทั้งสองได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้ารถจักรยานสองล้อรถจักรยานสามล้อและอุปกรณ์รถจักรยานดังกล่าวโดยโจทก์ทั้งสองประกอบการค้าเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้านั้นแต่ไม่ปรากฎว่าโจทก์ที่1เป็นเจ้าของหรือเป็นเจ้าของร่วมกับโจทก์ที่2ในเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่อย่างใดโจทก์ที่1มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมายการค้าพิพาทหรือเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนโจทก์ที่1จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)และมาตรา29(2) เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านขวาอยู่ภายในวงกลมกับที่อักษรโรมันคำว่า"THECROCODILE"และ"TRADEMARK" อยู่ในรูปคล้ายห่วงติดกับวงกลมเหนือและใต้รูปจระเข้ตามลำดับกับมีรูปอาร์ม6เหลี่ยมอยู่ใต้วงกลมโดยมีอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILEENGLANDLTD" โดยมีหยดน้ำ3หยดใต้ตัวอักษรโรมันดังกล่าวซึ่งอยู่ในรูปอาร์มนั้นส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านซ้ายกับมีรูปดาว5ดวงอยู่ใต้รูปจระเข้ภายในวงกลม2ชั้นระหว่างวงกลม2ชั้นซึ่งมีลักษณะเป็นวงแหวนนั้นมีอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILE"และ"FIVESTAR" อยู่เหนือรูปจระเข้และใต้รูปดาว5ดวงนั้นตามลำดับกับมีจุดอยู่ในวงแหวนตรงกึ่งกลางด้านซ้ายและด้านขวาด้านละ1จุดโดยมีรูปอาร์ม6เหลี่ยมอยู่ใต้วงกลมชั้นนอกในรูปอาร์มดังกล่าวมีอักษรโรมันคำว่า"TRADEMARK" อยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า"FIVESTAR" ซึ่งอยู่ในวงแหวนดังกล่าวและมีหยดน้ำ3หยดอยู่ด้านล่างซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสองรูปมีลักษณะคล้ายกันมากโดยมีจุดเด่นเป็นรูปจระเข้อยู่ภายในวงกลมและมีรูปอาร์ม6เหลี่ยมใต้วงกลมนั้นมีตัวอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILE"อยู่ในวงกลมด้านบนและมีตัวอักษรโรมันกับหยดน้ำ3หยดอยู่ในรูปอาร์มนั้นซึ่งแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2และของจำเลยที่1ดังกล่าวมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างอาทิเช่นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2มีวงกลมชั้นเดียวส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1มีวงกลม2ชั้นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2มีอักษรโรมันคำว่า"TRADEMARK" อยู่ด้านล่างของวงกลมส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1มีอักษรโรมันคำว่า"FIVESTAR" อยู่ด้านล่างของวงกลมโดยมีรูปดาว5ดวงอยู่ใต้รูปจระเข้และเครื่องหมายการค้าของโจทก์มี2มีอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILEENGLANDLTD"อยู่ในรูปอารม์6เหลี่ยมส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1มีอักษรโรมันคำว่า"TRADEMARK" อยู่ในรูปอาร์ม6เหลี่ยมก็ตามแต่ข้อแตกต่างดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อยหากไม่พิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนก็ยากที่ประชาชนทั่วไปจะแยกแยะข้อแตกต่างเช่นนั้นได้ประชาชนผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์ที่2และจำเลยที่1เหมือนกันว่ารถจักรยานตราจระเข้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1จึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์โจทก์ที่2ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยที่1โจทก์ที่2จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยที่1และมีสิทธิขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้นั้นได้ตามมาตรา41|1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท เมื่อโจทก์ที่2เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามจระเข้ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนและเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่จำเลยที่1ได้รับการจดทะเบียนไว้ดีกว่าจำเลยที่1และโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์แม้จำเลยที่1จะเป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา29วรรคสองอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาทการที่จำเลยที่1ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1กับสินค้ารถจักรยานสองล้อซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดเป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่2โดยมิชอบและมีเจตนาเพื่อลวงขายสินค้าของจำเลยที่1ว่าเป็นสินค้าของโจทก์ที่2ซึ่งโจทก์ที่2ย่อมได้รับความเสียหายทำให้โจทก์ที่2จำหน่ายสินค้ารถจักรยานสองล้อของโจทก์ที่2ได้น้อยลงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่2แล้วซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7425/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกับโจทก์ ซึ่งเป็นที่รู้จักและใช้ก่อนแล้ว โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
กรณีการระบุพยานเพิ่มเติมไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องส่งสำเนาเอกสารให้ก่อนวันสืบพยาน 3 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90(เดิม) เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพิ่งจะยื่นคำร้องและได้รับอนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมวันที่ 19 มกราคม 2530 ซึ่งได้มีการส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยทั้งสองในวันเดียวกันและได้นำสืบพยานเอกสารดังกล่าวในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2530 ซึ่งเป็นการส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยทั้งสองก่อนวันสืบพยานโจทก์ที่เหลือต่อถึง 14 วันมิใช่เป็นกรณีเอาเปรียบจำเลยทั้งสองการที่ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวจึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว การที่จำเลยที่ 1 เดินทางไปยังเมืองฮ่องกงเพื่อติดต่อธุรกิจการค้าก็ไปพบกุญแจตรา GOLDDOOR ซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าสวยดีและเป็นที่ประทับใจจึงนำตราดังกล่าวมาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใช้กับกุญแจของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า GOLDDOOR ขึ้นเองแต่ไปนำเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมาจดทะเบียน โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า GOLDDOOR และอักษรจีนอ่านว่ากิมหมึ่งไป๊ กับเส้นลายประดิษฐ์ตัวอักษรโรมัน GD และได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยทั้งสองโจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลยทั้งสอง แม้จำเลยที่ 1 จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว แต่โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมายการค้านั้น จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท กล่องบรรจุสินค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสองมีขนาดเท่ากันมีเครื่องหมายการค้าเป็นตัวอักษรโรมัน อักษรจีน ตัวเลข และสีสันเช่นเดียวกัน การวางตำแหน่งของตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมาย และรูปอักษรประดิษฐ์อยู่ในตำแหน่งเดียวกันทุกอย่าง คงแตกต่างกันเพียงว่าที่กล่องบรรจุสินค้าของโจทก์มีข้อความว่า MADEINCHINAซึ่งพิมพ์ด้วยตัวอักษรสีดำอยู่บนพื้นสีแดงด้วย ส่วนกล่องบรรจุสินค้าของจำเลยทั้งสองไม่มีข้อความดังกล่าวซึ่งข้อความดังกล่าวพิมพ์ด้วยตัวอักษรเล็กมาก หากไม่พิจารณาโดยพินิจพิเคราะห์อย่างแท้จริงจะไม่มีทางทราบว่ากล่องใดเป็นสินค้าของโจทก์ กล่องใดเป็นสินค้าของจำเลยทั้งสอง โจทก์ส่งสินค้ากุญแจของโจทก์มาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2524 จำเลยทั้งสองเพิ่งผลิตสินค้ากุญแจของจำเลยทั้งสองออกจำหน่ายเมื่อ พ.ศ. 2526 จำเลยที่ 1ได้ไปพบเห็นสินค้าของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่าGOLDDOOR ที่เมืองฮ่องกง แล้วจำเลยที่ 1 นำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาจดทะเบียนในประเทศไทย แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาจะลวงให้สาธารณชนหลงผิด เป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยทั้งสองว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเพราะเหตุที่จำหน่ายสินค้าของโจทก์ได้น้อยลง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 29 วรรคสอง เมื่อฟังว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์จะนำสืบไม่พอให้ฟังว่าโจทก์ได้รับความเสียหายถึงจำนวนที่อ้างในคำฟ้อง ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์