พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6920/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนเครื่องหมายการค้า การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า
เมื่อฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCK จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำฟ้องของโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่ใช้เป็นหลักแห่งข้อหาแล้วโจทก์หาจำต้องบรรยายในฟ้องว่าผู้ใดเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ซึ่งเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม คดีแพ่งหมายเลขดำที่302/2530ของศาลชั้นต้นเป็นคดีที่ส.ในฐานะส่วนตัวเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยมิใช่คดีที่ส.ฟ้องจำเลยในฐานะที่ส.เป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เช่นในคดีนี้โจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่โจทก์คนเดียวกันกับโจทก์ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่302/2530ของศาลชั้นต้นฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1) โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCK และรูปเครื่องหมายประดิษฐ์ลักษณะวงกลมที่ประกอบด้วยอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCKBADHONNEF-RHEIN กับรูปเท้าและกากบาทที่มีรัศมีแสงส่องสู่เบื้องบนคำว่าBIRKENSTOCKเป็นนามสกุลของบรรพบุรุษของนายคาร์ลเบอร์เคนสต๊อค กรรมการผู้จัดการของโจทก์ส่วนคำว่าBADHONNEF-RHEIN เป็นชื่อตำบลริมแม่น้ำไรน์ซึ่งเป็นที่ตั้งบริษัทของโจทก์โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้ารองเท้าโดยจดทะเบียนไว้ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและประเทศอื่นอีกหลายประเทศกับได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า BIRKENSTOCK ไว้ต่อองค์การทรัพย์สินปัญญาแห่งโลกสินค้ารองเท้าของโจทก์แพร่หลายในประเทศต่างๆมาเป็นเวลานานกว่า25ปีเป็นที่รู้จักในหมู่คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศและมีผู้ซื้อเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยจำเลยได้เคยเห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนการที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลย เครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนและนายทะเบียนได้รับจดทะเบียนคำว่าBIRKENSTOCK คำว่าBIRK ในกรอบรูปประดิษฐ์คำว่าBRIKENS คำว่าBRIKENSTAR คำว่าBRIKENSTYLE และคำว่าBIRKENSTATE ต่างเป็นอักษรโรมันซึ่งตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือเป็นคำย่อของเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือมิฉะนั้นก็มีเพียง2พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวว่าBIRKENS หรือBRIKENS เป็นตัวอักษรโรมัน7ตัวซึ่งเท่ากันกับคำว่าBIRKENS ซึ่งเป็น2พยางค์แรกและเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของโจทก์การออกเสียง2พยางค์แรกดังกล่าวของเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็ออกเสียงตรงหรือใกล้เคียงกับการออกเสียง2พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งเครื่องหมายการค้าทั้งหมดของจำเลยที่จำเลยขอจดทะเบียนและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ดังกล่าวก็ได้ขอใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์คือรองเท้าและรองเท้าแตะด้วยดังนี้เมื่อจำเลยได้เห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงถือได้ว่าจำเลยได้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว บทบัญญัติมาตรา21และ22แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งแบ่งออกเป็นขั้นๆรวมทั้งขึ้นประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา21และขั้นจดทะเบียนตามมาตรา22ซึ่งได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านการจดทะเบียนไว้ว่าจะต้องยื่นภายใน90วันนับแต่วันประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา21แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็หาตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยโจทก์จึงย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา41(1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474โดยไม่คำนึงว่าโจทก์ได้คัดค้านการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยไว้แล้วหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: ความเหมือนและคล้ายคลึงจนลวงสาธารณชน แม้ใช้กับสินค้าต่างชนิดในกลุ่มเดียวกัน
ตามคำฟ้องโจทก์อาศัยสิทธิตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะเกิดข้อพิพาท ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยที่ 1 ผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของดังนี้ ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์คือ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์อ้างว่าได้นำเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับของโจทก์ไปขอจดทะเบียนโดยไม่ชอบ หาใช่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และกรมทะเบียนการค้าจำเลยที่ 3 ไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า "NattySHOES" และรูปคนยืนในรองเท้า ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นอักษรโรมัน คำว่า "NATTY" แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีคำว่า "SHOES"อยู่ใต้คำว่า "Natty" และมีรูปคนยืนอยู่ในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบ ส่วนของจำเลยที่ 1 ไม่มี คงมีคำว่า "NATTY" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่คำเดียว และการประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันแตกต่างกัน แต่สำเนียงเรียกขานและคำแปลเหมือนกันคือทั้งของโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างเรียกขานว่า แน็ตตี้ แปลว่า หรู สมาร์ท โก้เหมือนกัน อักษรอื่นและรูปคนยืนในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีความเด่นชัดเท่ากับคำว่า "Natty" ที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เครื่องหมายการค้าทั้งสองจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่ใช้ภาษาต่างประเทศและมีสำเนียงเรียกขานเหมือนกัน ผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า แน็ตตี้ ผู้ซื้อจึงอาจสับสนหลงผิดได้ว่าสินค้าทั้งสองเครื่องหมายการค้าเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยที่ 1 ต่างขอจดทะเบียนในสินค้าจำพวกเดียวกันแม้ขณะพิพาทจะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าต่างชนิดกัน แต่ก็อยู่ในจำพวกเดียวกัน ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ว่าสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1เป็นของผู้ผลิตรายเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1จึงเหมือนและคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันเช่นนี้ เป็นการจงใจใช้เครื่องหมาย-การค้าคำว่า "NATTY" ให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยจำเลยที่ 1 เห็นว่าสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะคำว่า"Natty" เป็นที่นิยมแพร่หลายเพื่อให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 1เป็นสินค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Natty" มาก่อนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Natty" ที่เขียนเป็น 2 แบบว่า "Natty" และ "NATTY" ดีกว่าจำเลยที่ 1
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า "NattySHOES" และรูปคนยืนในรองเท้า ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นอักษรโรมัน คำว่า "NATTY" แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีคำว่า "SHOES"อยู่ใต้คำว่า "Natty" และมีรูปคนยืนอยู่ในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบ ส่วนของจำเลยที่ 1 ไม่มี คงมีคำว่า "NATTY" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่คำเดียว และการประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันแตกต่างกัน แต่สำเนียงเรียกขานและคำแปลเหมือนกันคือทั้งของโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างเรียกขานว่า แน็ตตี้ แปลว่า หรู สมาร์ท โก้เหมือนกัน อักษรอื่นและรูปคนยืนในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีความเด่นชัดเท่ากับคำว่า "Natty" ที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เครื่องหมายการค้าทั้งสองจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่ใช้ภาษาต่างประเทศและมีสำเนียงเรียกขานเหมือนกัน ผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า แน็ตตี้ ผู้ซื้อจึงอาจสับสนหลงผิดได้ว่าสินค้าทั้งสองเครื่องหมายการค้าเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยที่ 1 ต่างขอจดทะเบียนในสินค้าจำพวกเดียวกันแม้ขณะพิพาทจะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าต่างชนิดกัน แต่ก็อยู่ในจำพวกเดียวกัน ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ว่าสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1เป็นของผู้ผลิตรายเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1จึงเหมือนและคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันเช่นนี้ เป็นการจงใจใช้เครื่องหมาย-การค้าคำว่า "NATTY" ให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยจำเลยที่ 1 เห็นว่าสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะคำว่า"Natty" เป็นที่นิยมแพร่หลายเพื่อให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 1เป็นสินค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Natty" มาก่อนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Natty" ที่เขียนเป็น 2 แบบว่า "Natty" และ "NATTY" ดีกว่าจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแย่งสิทธิเครื่องหมายการค้า 'Natty' กรณีใช้ก่อนและมีความคล้ายคลึงจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน
ตามคำฟ้องโจทก์อาศัยสิทธิตามมาตรา 41(1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะเกิดข้อพิพาท ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยที่ 1 ผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ ดังนี้ ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์คือ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์อ้างว่าได้นำเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับของโจทก์ไปขอจดทะเบียนโดยไม่ชอบ หาใช่จำเลยที่ 2ผู้เป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และกรมทะเบียนการค้าจำเลยที่ 3 ไม่ เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า "NattySHOES"และรูปคนยืนในรองเท้า ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นอักษรโรมัน คำว่า "NATTY" แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีคำว่า"SHOES" อยู่ใต้คำว่า "Natty" และมีรูปคนยืนอยู่ในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบ ส่วนของจำเลยที่ 1 ไม่มี คงมีคำว่า "NATTY" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่คำเดียว และการประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันแตกต่างกันแต่สำเนียงเรียกขานและคำแปลเหมือนกันคือทั้งของโจทก์และจำเลยที่ 1ต่างเรียกขานว่า แน็ตตี้แปลว่าหรูสมาร์ทโก้ เหมือนกันอักษรอื่นและรูปคนยืนในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีความเด่นชัดเท่ากับคำว่า "Natty" ที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1เครื่องหมายการค้าทั้งสองจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่ใช้ภาษาต่างประเทศและมีสำเนียงเรียกขานเหมือนกัน ผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า แน็ตตี้ ผู้ซื้อจึงอาจสับสนหลงผิดได้ว่าสินค้าทั้งสองเครื่องหมายการค้าเป็นเจ้าของคนเดียวกันเมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยที่ 1 ต่างขอจดทะเบียนในสินค้าจำพวกเดียวกัน แม้ขณะพิพาทจะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าต่างชนิดกัน แต่ก็อยู่ในจำพวกเดียวกัน ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ว่าสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 เป็นของผู้ผลิตรายเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1จึงเหมือนและคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้วการที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันเช่นนี้เป็นการจงใจใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "NATTY" ให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยจำเลยที่ 1 เห็นว่าสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะคำว่า "Natty" เป็นที่นิยมแพร่หลายเพื่อให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 1เป็นสินค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Natty"มาก่อนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า"Natty" ที่เขียนเป็น 2 แบบว่า "Natty" และ "NATTY" ดีกว่าจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6503/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนจดทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ละเมิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามกฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยแนบหนังสือรับรองพร้อมคำแปลเป็นภาษาไทยมาด้วยท้ายฟ้อง ซึ่งในคำแปลเป็นภาษาไทยดังกล่าวได้ระบุว่าเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจจดทะเบียนการค้าต่างประเทศเลขที่ 10832 มีชื่อบริษัทโจทก์ที่อยู่และทุนจดทะเบียนพร้อมซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยและจำเลยร่วมเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้น โจทก์สามารถจะนำสืบรายละเอียดในชั้นพิจารณาคดีได้ ฟ้องของโจทก์จึงมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชัดเจนพอเพียงที่จำเลยและจำเลยร่วมสามารถให้การต่อสู้คดีในส่วนนี้ได้แล้ว หาเป็นฟ้องเคลือบคลุมแต่อย่างใดไม่ การเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนนั้นไม่จำต้องระบุไว้เป็นกิจการในวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล หากเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการค้าขายที่บริษัท ก. เกี่ยวข้องอยู่ด้วย ก็ย่อมเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนได้ เมื่อบริษัท ก.เป็นตัวแทนจำหน่ายกุญแจตราลูกโลกของโจทก์ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้ บริษัทก. จึงเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราลูกโลกกับสินค้ากุญแจไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้ในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนจำเลยและจำเลยร่วมจะได้ใช้และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้การที่จำเลยและจำเลยร่วมรู้ดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวอยู่ก่อนแล้วจำเลยและจำเลยร่วมยังนำเครื่องหมายการค้านั้นไปจดทะเบียนแสดงว่าจำเลยและจำเลยร่วมมิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้านี้ขึ้นเอง โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและจำเลยร่วม ทั้งนี้แม้โจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในประเทศไทย และจำเลยกับจำเลยร่วมได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ก่อนที่ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์ทางการฑูตกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ตาม โจทก์ก็ย่อมจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยกับจำเลยร่วมและมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในนามของจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1)ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6503/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ การฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนในไทย แม้จะยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูต
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามกฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยแนบหนังสือรับรองพร้อมคำแปลเป็นภาษาไทยมาด้วยท้ายฟ้อง ซึ่งในคำแปลเป็นภาษาไทยดังกล่าวได้ระบุว่าเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจ จดทะเบียนการค้าต่างประเทศเลขที่ 10832 มีชื่อบริษัทโจทก์ ที่อยู่และทุนจดทะเบียนพร้อมซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยและจำเลยร่วมเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้น โจทก์สามารถจะนำสืบรายละเอียดในชั้นพิจารณาคดีได้ ฟ้องของโจทก์จึงมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชัดเจนพอเพียงที่จำเลยและจำเลยร่วมสามารถให้การต่อสู้คดีในส่วนนี้ได้แล้ว หาเป็นฟ้องเคลือบคลุมแต่อย่างใดไม่
การเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนนั้นไม่จำต้องระบุไว้เป็นกิจการในวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล หากเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการค้าขายที่บริษัท ก.เกี่ยวข้องอยู่ด้วย ก็ย่อมเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนได้ เมื่อบริษัท ก.เป็นตัวแทนจำหน่ายกุญแจตราลูกโลกของโจทก์ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้ บริษัท ก.จึงเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราลูกโลกกับสินค้ากุญแจไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้ในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนจำเลยและจำเลยร่วมจะได้ใช้และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้การที่จำเลยและจำเลยร่วมรู้ดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวอยู่ก่อนแล้ว จำเลยและจำเลยร่วมยังนำเครื่องหมายการค้านั้นไปจดทะเบียนแสดงว่าจำเลยและจำเลยร่วมมิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้านี้ขึ้นเอง โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและจำเลยร่วม ทั้งนี้แม้โจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในประเทศไทย และจำเลยกับจำเลยร่วมได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ก่อนที่ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ตาม โจทก์ก็ย่อมจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยกับจำเลยร่วมและมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในนามของจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท
การเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนนั้นไม่จำต้องระบุไว้เป็นกิจการในวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล หากเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการค้าขายที่บริษัท ก.เกี่ยวข้องอยู่ด้วย ก็ย่อมเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนได้ เมื่อบริษัท ก.เป็นตัวแทนจำหน่ายกุญแจตราลูกโลกของโจทก์ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้ บริษัท ก.จึงเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราลูกโลกกับสินค้ากุญแจไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้ในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนจำเลยและจำเลยร่วมจะได้ใช้และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้การที่จำเลยและจำเลยร่วมรู้ดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวอยู่ก่อนแล้ว จำเลยและจำเลยร่วมยังนำเครื่องหมายการค้านั้นไปจดทะเบียนแสดงว่าจำเลยและจำเลยร่วมมิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้านี้ขึ้นเอง โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและจำเลยร่วม ทั้งนี้แม้โจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในประเทศไทย และจำเลยกับจำเลยร่วมได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ก่อนที่ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ตาม โจทก์ก็ย่อมจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยกับจำเลยร่วมและมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในนามของจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6503/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนต่างประเทศ, การใช้ก่อน, และการเพิกถอนทะเบียน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามกฎหมายของ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยแนบหนังสือรับรองพร้อม คำแปลเป็นภาษาไทยมาด้วยท้ายฟ้องซึ่งในคำแปลเป็นภาษาไทยดังกล่าวได้ระบุว่าเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจจดทะเบียนการค้าต่างประเทศเลขที่10832มีชื่อบริษัทโจทก์ที่อยู่และทุนจดทะเบียนพร้อมซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยและจำเลยร่วมเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลของประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้นโจทก์สามารถจะนำสืบรายละเอียดในชั้นพิจารณาคดีได้ฟ้องของโจทก์จึงมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชัดเจนพอเพียงที่จำเลยและจำเลยร่วมสามารถให้การต่อสู้คดีในส่วนนี้ได้แล้วหาเป็น ฟ้องเคลือบคลุมแต่อย่างใดไม่ การเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนนั้นไม่จำต้องระบุไว้เป็นกิจการใน วัตถุประสงค์ของ นิติบุคคล หากเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการค้าขายที่บริษัท ก. เกี่ยวข้องอยู่ด้วยก็ย่อมเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนได้เมื่อบริษัท ก.เป็น ตัวแทนจำหน่ายกุญแจตราลูกโลกของโจทก์ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้บริษัท ก. จึงเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราลูกโลกกับสินค้ากุญแจไว้ในต่างประเทศหลายประเทศและได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้ในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนจำเลยและจำเลยร่วมจะได้ใช้และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้การที่จำเลยและจำเลยร่วมรู้ดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวอยู่ก่อนแล้วจำเลยและจำเลยร่วมยังนำเครื่องหมายการค้านั้นไปจดทะเบียนแสดงว่าจำเลยและจำเลยร่วมมิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้านี้ขึ้นเองโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและจำเลยร่วมทั้งนี้แม้โจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในประเทศไทยและจำเลยกับจำเลยร่วมได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ก่อนที่ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์ทางการฑูตกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ตามโจทก์ก็ย่อมจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยกับจำเลยร่วมและมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในนามของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6235/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนย่อมมีสิทธิเหนือกว่า แม้จะมีการจดทะเบียนภายหลัง
โจทก์คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นอักษรโรมันคำว่าSunstar ทั้งที่เป็นคำตามลำพังและคำที่อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมตัดแบ่งครึ่งโดยเส้นทแยงมุมขึ้นในปี 2489 และใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้ายาสีฟันเมื่อปี 2489แปรงสีฟันเมื่อปี 2496 เครื่องสำอางและแชมพูเมื่อปี 2503 และต่อมาได้ใช้กับสินค้าของโจทก์ที่ส่งไปจำหน่ายยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วยโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยเมื่อปี 2496 และในประเทศอื่น ๆ อีก 16 ประเทศ ส่วนจำเลยได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองแบบดังกล่าวเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2522 ในลักษณะที่เหมือนกันทุกประการ โดยที่ในขณะนั้นจำเลยยังไม่ได้ผลิตสินค้าใด ๆ ออกจำหน่าย ทั้งปรากฏว่าจำเลยหาได้มีวัตถุประสงค์ในการผลิตสินค้าประเภทแปรงสีฟัน ยาสีฟัน และแชมพู ซึ่งเป็นสินค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแต่อย่างใดไม่ ที่จำเลยไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองแบบดังกล่าวก็มาจากการที่จำเลยเห็นเครื่องหมายการค้าซึ่งปรากฏอยู่ที่สินค้าของโจทก์ ดังนี้ โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยเป็นเวลา 30 ปีเศษ โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลยและขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6235/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนย่อมมีสิทธิเหนือกว่าการจดทะเบียนภายหลัง แม้ไม่มีเจตนาใช้
โจทก์คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นอักษรโรมันคำว่าSunstar ทั้งที่เป็นคำตามลำพังและคำที่อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมตัดแบ่งครึ่งโดยเส้นทะแยงมุมขึ้นในปี 2489 และใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้ายาสีฟันเมื่อปี 2489 แปรงสีฟันเมื่อปี 2496เครื่องสำอางและแชมพูเมื่อปี 2503 และต่อมาได้ใช้กับสินค้าของโจทก์ที่ส่งไปจำหน่ายยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยเมื่อปี 2496และในประเทศอื่น ๆ อีก 16 ประเทศ ส่วนจำเลยได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองแบบดังกล่าวเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2522ในลักษณะที่เหมือนกันทุกประการ โดยที่ในขณะนั้นจำเลยยังไม่ได้ผลิตสินค้าใด ๆ ออกจำหน่าย ทั้งปรากฏว่าจำเลยหาได้มีวัตถุประสงค์ในการผลิตสินค้าประเภทแปรงสีฟันยาสีฟันและแชมพู ซึ่งเป็นสินค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแต่อย่างใดไม่ ที่จำเลยไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองแบบดังกล่าวก็มาจากการที่จำเลยเห็นเครื่องหมายการค้าซึ่งปรากฏอยู่ที่สินค้าของโจทก์ดังนี้ โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยเป็นเวลา30 ปีเศษ โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลยและขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4891/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและการลวงสาธารณชน
โจทก์แสดงให้เห็นความเป็นมาของการใช้อักษรโรมันคำว่าRENOMA เป็นชื่อทางการค้าของ ซ.บิดาของ ม. ประธานกรรมการใหญ่ของโจทก์ตั้งแต่ปี 2480 และการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำดังกล่าวในประเทศฝรั่งเศสในปี 2502 และปี 2509 ตลอดจนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำดังกล่าวในประเทศอื่น ๆ ในภายหลังและการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นของ ซ.ให้โจทก์ จึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันดังกล่าว ที่จำเลยอ้างว่าคิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวขึ้นโดยต้องการให้มีความหมายว่า จำเลยไม่มีแม่อีกแล้วนั้น ก็ปรากฏตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยว่าจำเลยได้ระบุว่าคำว่า RENOMA เป็นอักษรโรมันอ่านว่า รีโนมา แปลไม่ได้ และปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวมีรูปลักษณะตรงกับรูปลักษณะเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กภายในกรอบสี่เหลี่ยมของโจทก์ทุกประการ รวมทั้งลักษณะการเอียงขึ้นของเส้นขวางในตัวอักษร "e" และสัดส่วนของช่องว่างระหว่างตัวอักษรแต่ละตัวด้วยการที่รูปลักษณะเครื่องหมายการค้าของจำเลยตรงกับรูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเช่นนี้ หากจำเลยไม่เคยเห็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์มาก่อน ก็ยากที่เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปลักษณะตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเช่นนั้น นอกจากนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวยังคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กซึ่งมิได้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมอีกด้วย ปรากฏว่าจำเลยเคยเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และฮ่องกง และหลังจากโจทก์ได้รับโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA มาจาก ซ.แล้ว โจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียนไว้ในประเทศต่าง ๆ ประมาณ30 ประเทศ และโจทก์ได้ส่งสินค้าของโจทก์ไปจำหน่ายยังต่างประเทศในทวีปต่าง ๆสินค้าของโจทก์มีวางจำหน่ายที่ห้างสรรพสินค้าโซโกใกล้สถานีรถไฟที่เมืองโกเบประเทศญี่ปุ่น และโจทก์ได้โฆษณาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในนิตยสารและหนังสือต่าง ๆ ในประเทศต่าง ๆ ทั้งได้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้ในประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ และเมืองฮ่องกงด้วย จึงเชื่อได้ว่าจำเลยซึ่งเคยเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ และเมืองฮ่องกง ได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในระหว่างที่เดินทางไปท่องเที่ยวเช่นนั้น แล้วจำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามที่ได้เห็นมานั้นมายื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ดีกว่าจำเลยและขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กในกรอบสี่เหลี่ยมของจำเลยมีรูปลักษณะตรงกับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กในกรอบสี่เหลี่ยมของโจทก์ ทุกประการ แม้กระทั่งลักษณะการเอียงขึ้นของเส้นขวางในตัวอักษร "e" และสัดส่วนของช่องว่างระหว่างตัวอักษร และเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวยังคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "RENOMA" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ และตัวพิมพ์เล็กซึ่งมิได้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมอีกด้วย จึงเห็นได้โดยชัดแจ้งว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันกับหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กในกรอบสี่เหลี่ยมของจำเลยมีรูปลักษณะตรงกับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กในกรอบสี่เหลี่ยมของโจทก์ ทุกประการ แม้กระทั่งลักษณะการเอียงขึ้นของเส้นขวางในตัวอักษร "e" และสัดส่วนของช่องว่างระหว่างตัวอักษร และเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวยังคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "RENOMA" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ และตัวพิมพ์เล็กซึ่งมิได้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมอีกด้วย จึงเห็นได้โดยชัดแจ้งว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันกับหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4891/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต, ความเหมือน/คล้ายคลึง, การลวงสาธารณชน
โจทก์แสดงให้เห็นความเป็นมาของการใช้อักษรโรมันคำว่าRENOMA เป็นชื่อทางการค้าของ ช. บิดาของ ม.ประธานกรรมการใหญ่ของโจทก์ตั้งแต่ปี 2480 และการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำดังกล่าวในประเทศฝรั่งเศสในปี 2502 และปี 2509 ตลอดจนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำดังกล่าวในประเทศอื่น ๆในภายหลังและการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นของ ช. ให้โจทก์ จึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันดังกล่าว ที่จำเลยอ้างว่าคิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวขึ้นโดยต้องการให้มีความหมายว่า จำเลยไม่มีแม่อีกแล้วนั้น ก็ปรากฏตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยว่าจำเลยได้ระบุว่าคำว่า RENOMA เป็นอักษรโรมันอ่านว่ารีโนมา แปลไม่ได้ และปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวมีรูปลักษณะตรงกับรูปลักษณะเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กภายในกรอบสี่เหลี่ยมของโจทก์ทุกประการ รวมทั้งลักษณะการเอียงขึ้นของเส้นขวางในตัวอักษร "e" และสัดส่วนของช่องว่างระหว่างตัวอักษรแต่ละตัวด้วยการที่รูปลักษณะเครื่องหมายการค้าของจำเลยตรงกับรูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเช่นนี้ หากจำเลยไม่เคยเห็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์มาก่อน ก็ยากที่เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปลักษณะตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเช่นนั้น นอกจากนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวยังคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า RENOMAซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กซึ่งมิได้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมอีกด้วย ปรากฏว่าจำเลยเคยเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศเช่น สิงคโปร มาเลเซีย ญี่ปุ่น และฮ่องกง และหลังจากโจทก์ได้รับโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA มาจากช.แล้ว โจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียนไว้ในประเทศต่าง ๆ ประมาณ30 ประเทศ และโจทก์ได้ส่งสินค้าของโจทก์ไปจำหน่ายยังต่างประเทศในทวีป ต่าง ๆ สินค้าของโจทก์มีวางจำหน่ายที่ห้างสรรพสินค้าโซโก้ใกล้สถานีรถไฟที่เมืองโกเบประเทศญี่ปุ่น และโจทก์ได้โฆษณาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในนิตยสารและหนังสือต่าง ๆ ในประเทศต่าง ๆทั้งได้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้ในประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ และเมืองฮ่องกงด้วยจึงเชื่อได้ว่าจำเลยซึ่งเคยเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่นประเทศสิงคโปร์ และเมืองฮ่องกง ได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในระหว่างที่เดินทางไปท่องเที่ยวเช่นนั้นแล้วจำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามที่ได้เห็นมานั้นมายื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ดีกว่าจำเลยและขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กในกรอบสี่เหลี่ยมของจำเลยมีรูปลักษณะRENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็ก ในกรอบสี่เหลี่ยมของโจทก์ทุกประการ แม้กระทั่งลักษณะการเอียงขึ้นของเส้นขวางในตัวอักษร "e" และสัดส่วนของช่องว่างระหว่างตัวอักษรและเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวยังคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "RENOMA" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กซึ่งมิได้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมอีกด้วยจึงเห็นได้โดยชัดแจ้งว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกับหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว