พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนย่อมมีสิทธิเหนือกว่า แม้จดทะเบียนภายหลัง
แม้จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า RAPETTI ในประเทศไทยก่อนโจทก์ แต่โจทก์เป็นผู้คิดเครื่องหมายการค้าคำว่า RAPETTIขึ้นใช้กับสินค้าของตนและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในต่างประเทศไว้หลายประเทศ โจทก์ได้ขายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนจำเลยหลายปี ทั้งบริษัทที่จำเลยเป็นกรรมการอยู่ก็เคยรับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากโจทก์มาขายในประเทศไทยด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า RAPETTI ดีกว่าจำเลย จำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทยก่อนโจทก์เพื่อแสดงว่าจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในชั้นชี้สองสถานว่า คำให้การของจำเลยเรื่องอายุความไม่ชัดแจ้ง จึงไม่กำหนดเป็นประเด็นให้ จำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาดังกล่าว ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วจำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ประเด็นเรื่องอายุความอีกทั้งเรื่องดังกล่าวมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องอายุความดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อน, การตกลง, ความคล้ายคลึงจนสับสน และสิทธิในการเพิกถอน
โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันให้จำเลยเป็นผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCarrenaโดยโจทก์จะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับผลิตภัณฑ์ของโจทก์ ดังนั้น แม้โจทก์จะเคยใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCarrenaกับสินค้าของตนมาก่อนจำเลยโจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCarrenaพร้อมลวดลายประดิษฐ์ของจำเลยได้ เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCanonMattressในลักษณะที่มีลวดลายประดิษฐ์ของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCannon-mattessพร้อมลวดลายประดิษฐ์และรูปเด็กนอนตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วปรากฏว่าอักษรโรมันคำว่าCanon-mattessเหมือนกับอักษรโรมันคำว่าCanonMattressของโจทก์แทบทุกตัวอักษร มีส่วนแตกต่างกันเฉพาะคำว่าMattessของจำเลยกับคำว่าMattressของโจทก์ เพราะของโจทก์มีอักษรโรมันตัวrอยู่ระหว่างตัวtกับ ตัวeส่วนของจำเลยนั้นไม่มีตัวrอยู่เลยและตัวอักษรMของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนตัวอักษรMของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น ส่วนประกอบอื่น ๆเช่น ลวดลายประดิษฐ์ก็คล้ายคลึงกัน แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปเด็กนอนอยู่เหนือคำว่าCanon-mattessและมีคำอ่านว่าคานอนแมทเทส แต่จุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็คืออักษรโรมันคำว่าCanon-mattessซึ่งคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ฉะนั้น หากไม่นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมาวางเปรียบเทียบกันดูทุกตัวอักษรแล้วประชาชนผู้ซื้อสินค้าก็ยากที่แยกแยะได้ว่าเครื่องหมายการค้ากับสินค้าใดเป็นของโจทก์และเครื่องหมายการค้ากับสินค้าใดเป็นของจำเลยฉะนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่าCanon-mattessของจำเลยจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าได้ เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยโจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวและในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นและเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิฟ้องให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1)อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า: กรณีเครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนทำให้สาธารณชนสับสน
โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันให้จำเลยเป็นผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า Carrena โดยโจทก์จะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับผลิตภัณฑ์ของโจทก์ ดังนั้น แม้โจทก์จะเคยใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCarrena กับสินค้าของตนมาก่อนจำเลย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า Carrena พร้อมลวดลายประดิษฐ์ของจำเลยได้
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า Canon Mattress ในลักษณะที่มีลวดลายประดิษฐ์ของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCannon-mattess พร้อมลวดลายประดิษฐ์และรูปเด็กนอนตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วปรากฏว่าอักษรโรมันคำว่าCanon-mattess เหมือนกับอักษรโรมันคำว่า Canon Mattress ของโจทก์แทบทุกตัวอักษร มีส่วนแตกต่างกันเฉพาะคำว่า mattess ของจำเลยกับคำว่าMattress ของโจทก์ เพราะของโจทก์มีอักษรโรมันตัว r อยู่ระหว่างตัว t กับตัว e ส่วนของจำเลยนั้นไม่มีตัว r อยู่เลยและตัวอักษร M ของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนตัวอักษร m ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น ส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นลวดลายประดิษฐ์ก็คล้ายคลึงกัน แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปเด็กนอนอยู่เหนือคำว่า Canon-mattess และมีคำอ่านว่า คานอนแมทเทส แต่จุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็คืออักษรโรมันคำว่า Canon-mattessซึ่งคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ฉะนั้น หากไม่นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมาวางเปรียบเทียบกันดูทุกตัวอักษรแล้ว ประชาชนผู้ซื้อสินค้าก็ยากที่แยกแยะได้ว่าเครื่องหมายการค้ากับสินค้าใดเป็นของโจทก์และเครื่องหมายการค้ากับสินค้าใดเป็นของจำเลย ฉะนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่าCanon-mattess ของจำเลยจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าได้ เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวและในเครื่องหมาย-การค้าจดทะเบียนของจำเลยดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นและเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิฟ้องให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474มาตรา 41 (1) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า Canon Mattress ในลักษณะที่มีลวดลายประดิษฐ์ของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCannon-mattess พร้อมลวดลายประดิษฐ์และรูปเด็กนอนตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วปรากฏว่าอักษรโรมันคำว่าCanon-mattess เหมือนกับอักษรโรมันคำว่า Canon Mattress ของโจทก์แทบทุกตัวอักษร มีส่วนแตกต่างกันเฉพาะคำว่า mattess ของจำเลยกับคำว่าMattress ของโจทก์ เพราะของโจทก์มีอักษรโรมันตัว r อยู่ระหว่างตัว t กับตัว e ส่วนของจำเลยนั้นไม่มีตัว r อยู่เลยและตัวอักษร M ของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนตัวอักษร m ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น ส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นลวดลายประดิษฐ์ก็คล้ายคลึงกัน แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปเด็กนอนอยู่เหนือคำว่า Canon-mattess และมีคำอ่านว่า คานอนแมทเทส แต่จุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็คืออักษรโรมันคำว่า Canon-mattessซึ่งคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ฉะนั้น หากไม่นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมาวางเปรียบเทียบกันดูทุกตัวอักษรแล้ว ประชาชนผู้ซื้อสินค้าก็ยากที่แยกแยะได้ว่าเครื่องหมายการค้ากับสินค้าใดเป็นของโจทก์และเครื่องหมายการค้ากับสินค้าใดเป็นของจำเลย ฉะนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่าCanon-mattess ของจำเลยจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าได้ เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวและในเครื่องหมาย-การค้าจดทะเบียนของจำเลยดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นและเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิฟ้องให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474มาตรา 41 (1) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนและลักษณะที่ทำให้สับสนเป็นเหตุเพิกถอนได้
โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมานานหลายสิบปีก่อนจำเลยทั้งได้โฆษณาเผยแพร่และได้จดทะเบียนในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกและมีสินค้าจำหน่ายในประเทศไทย ก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และมีอำนาจฟ้องต่อศาลให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปคนประดิษฐ์ที่ประกอบขึ้นจากยางรถกำลังขี่รถจักรยานดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ซึ่งมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30(ม.164 เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันทำให้สาธารณชนสับสน และการมีอำนาจฟ้องคดี
แม้โจทก์ไม่มีตัวผู้มอบอำนาจมาเบิกความก็ตาม แต่มี ธ.ผู้รับมอบอำนาจเบิกความประกอบหนังสือมอบอำนาจและคำแปลภาษาไทยซึ่งโนตารีปับลิกแห่งมลรัฐเท็กซัสรับรองว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแห่งมลรัฐเท็กซัสจ.เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์และลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อ จ. ประกอบกับมีหนังสือรับรองของรัฐมนตรีแห่งมลรัฐเท็กซัสรับรองโนตารีปับลิกและมีหนังสือรับรองของกงสุลไทย ณ นครลอสแองเจลีสรับรองดวงตราและลายมือชื่อรัฐมนตรี จำเลยมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่นทั้งไม่มีเหตุควรสงสัยว่าไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริงข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามข้อความที่ระบุในหนังสือมอบอำนาจ เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีเลข 7 อารบิคเป็นส่วนสำคัญเพราะเลข 7 มีขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรมากสามารถเห็นได้เด่นชัด แม้เลข 7 ของจำเลยมีลายเส้นซ้อนกัน 4 ตัว ต่างกับของโจทก์ซึ่งมีลักษณะทึบเพียงตัวเดียวก็เป็นเพียงรายละเอียดไม่น่าจะเป็นที่สนใจของผู้พบเห็น ส่วนอักษรELEVEn ของโจทก์ และBIGSEVEn ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เหมือนกันโดยเฉพาะอักษร 4ตัวท้ายเขียนเหมือนกันและอักษรตัว n ท้ายสุดเป็นตัวพิมพ์เล็กเช่นเดียวกัน ลักษณะการวางรูปแบบเครื่องหมายการค้าเหมือนกันคืออักษรพาดกลางตัวเลข เมื่อคำนึงว่าสาธารณชนจำนวนมากมิได้มีความรู้ภาษาอังกฤษหรือตัวอักษรโรมันดีพอที่จะแยกได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างกัน และโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อนจำเลยจนเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยการที่จำเลยประกอบกิจการค้าเช่นเดียวกับโจทก์และใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับของโจทก์เห็นได้ว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่ากิจการค้าของจำเลยเป็นกิจการค้าของโจทก์ จึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตอันเป็นการลวงสาธารณชนและเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4272/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเครื่องหมายการค้าผ่านการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจและการใช้ต่อเนื่องโดยบริษัทใหม่
การที่บิดาโจทก์เลิกประกอบกิจการส่วนตัวในการค้าขายใบชาซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทที่ตนจดทะเบียนไว้มาประกอบกิจการค้าใบชาโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในรูปของบริษัทจำเลย ตลอดจนการใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทกับใบชาของบริษัทจำเลยในลักษณะที่แสดงว่าบริษัทจำเลยเป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดังปรากฎที่กล่องบรรจุใบชา นั้น ถือได้ว่าบิดาโจทก์ได้สละสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทโดยยอมให้เป็นทรัพย์สินของบริษัทจำเลยแล้วตั้งแต่ขณะบิดาโจทก์เลิกประกอบการค้าใบชาเป็นการส่วนตัวมาประกอบการค้าใบชาในรูปบริษัทจำเลยโดยมีตนเป็นกรรมการผู้จัดการ แม้หลักฐานการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทจะปรากฎชื่อบิดาโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โดยบิดาโจทก์ยังมิได้ไปจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นให้จำเลยเพื่อให้สมบูรณ์ตามมาตรา33 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นก็ตาม แต่ก็ถือไม่ได้ว่าบิดาโจทก์ยังคงเป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทต่อไป การที่ปรากฎชื่อบิดาโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทตามหลักฐานการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า มีผลเพียงเท่ากับบิดาโจทก์เป็นผู้ถือสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้แทนจำเลยเท่านั้น เมื่อต่อมาบิดาโจทก์ถึงแก่กรรม สิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทจึงไม่เป็นทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ทายาท การที่ ว. และโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกไปขอจดทะเบียนต่ออายุเครื่องหมายการค้าพิพาท จึงมีผลเป็นเพียงการถือสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้แทนจำเลยเช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทและใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าใบชาที่จำเลยผลิตออกจำหน่ายตั้งแต่ พ.ศ.2494 ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งไม่ปรากฎว่าโจทก์เคยทำการค้าขายใบชาโดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทแต่อย่างใด จำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์และย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทที่โจทก์ยื่นจดทะเบียนต่ออายุดังกล่าวได้ตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4272/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเครื่องหมายการค้า: การเลิกกิจการส่วนตัวแล้วเปลี่ยนเป็นบริษัทถือเป็นการสละสิทธิ
การที่บิดาโจทก์เลิกประกอบกิจการส่วนตัวในการค้าขาย ใบชา ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทที่ตนจดทะเบียน ไว้ มา ประกอบกิจการ ค้า ใบชา โดย ใช้เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ใน รูป ของ บริษัท จำเลยตลอดจน การ ใช้ เครื่องหมายการค้า พิพาท กับ ใบชาของ บริษัท จำเลย ใน ลักษณะ ที่ แสดง ว่า บริษัท จำเลยเป็น เจ้าของ สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า ดังกล่าวดังปรากฏ ที่ กล่อง บรรจุ ใบชา นั้น ถือ ได้ ว่า บิดา โจทก์ได้ สละ สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท โดย ยอม ให้เป็น ทรัพย์สิน ของ บริษัท จำเลย แล้ว ตั้งแต่ ขณะ บิดา โจทก์เลิก ประกอบการค้า ใบชา เป็น การ ส่วนตัว มา ประกอบการค้าใบชา ใน รูป บริษัท จำเลย โดย มี ตน เป็น กรรมการผู้จัดการแม้ หลักฐาน การ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า พิพาทจะ ปรากฏ ชื่อ บิดา โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าวโดย บิดา โจทก์ ยัง มิได้ ไป จดทะเบียน โอน สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า นั้น ให้ จำเลย เพื่อ ให้ สมบูรณ์ ตาม มาตรา 33 แห่ง พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่ง ใช้บังคับ อยู่ ใน ขณะนั้น ก็ตาม แต่ ก็ ถือ ไม่ได้ ว่า บิดา โจทก์ ยังคง เป็น เจ้าของสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท ต่อไปการ ที่ ปรากฏ ชื่อ บิดา โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้าพิพาท ตาม หลักฐาน การ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้ามี ผล เพียง เท่ากับ บิดา โจทก์ เป็น ผู้ถือสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้าพิพาท ไว้ แทน จำเลย เท่านั้น เมื่อ ต่อมา บิดา โจทก์ถึงแก่กรรม สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท จึงไม่เป็น ทรัพย์ ยืม มรดก ที่ ตกทอด แก่ ทายาท การ ที่ ว.และ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ไป ขอ จดทะเบียน ต่อ อายุเครื่องหมายการค้า พิพาท จึง มี ผล เป็น เพียง การ ถือ สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท ไว้แทน จำเลย เช่นเดียวกันเมื่อ จำเลย เป็น ผู้ มี สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท และ ใช้ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว กับ สินค้า ใบชาที่ จำเลย ผลิต ออก จำหน่าย ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ตลอดมาจนถึง ปัจจุบัน ทั้ง ไม่ ปรากฏ ว่า โจทก์ เคย ทำ การค้าขาย ใบชา โดย ใช้ เครื่องหมายการค้า พิพาท แต่อย่างใดจำเลย จึง มี สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท ดีกว่าโจทก์ และ ย่อม เป็น ผู้มีส่วนได้ เสีย ที่ จะ ร้อง ขอ ต่อ ศาล ให้ มี คำสั่ง เพิกถอน ทะเบียน เครื่องหมายการค้าพิพาท ที่ โจทก์ ยื่น จดทะเบียน ต่อ อายุ ดังกล่าว ได้ ตามมาตรา 41(1) แห่ง พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือน/คล้ายของเครื่องหมายการค้าต้องพิจารณาทั้งหมดประกอบกัน ไม่ถือเพียงบางส่วน
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าอื่น จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าทั้งหมดรวมกัน แม้เครื่องหมายการค้าคำว่า "DUNLOPILLO" ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า "DELIGHTPILLO"ของจำเลยเป็นอักษรโรมันด้วยกัน มีลักษณะลีลาการเขียนคล้ายกัน แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ประกอบด้วยอักษรโรมัน 10 ตัว ในขณะที่เครื่องหมายการค้าของจำเลย ประกอบด้วยอักษรโรมัน 12 ตัว อยู่ในกรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแต่ตรงเหลี่ยมประดิษฐ์ให้เป็นรูปมน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลย แม้ต่างออกเสียงเป็นสี่พยางค์ โดยออกเสียงพยางค์ท้ายตรงกันว่า "พิลโล" ก็ตาม แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยสองพยางค์แรกอ่านออกเสียงต่างกัน โดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์สองพยางค์แรกอ่านออกเสียงว่า "ดันล๊อป" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านออกเสียงว่า "ดีไลท์" ซึ่งเมื่ออ่านเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสี่พยางค์รวมกันแล้วปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยอ่านออกเสียงต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัด ลำพังแต่อักษรตัวแรกในแต่ละพยางค์ ประกอบด้วยอักษรตัวเดียวกันไม่อาจทำให้หลงผิดแต่อย่างใด เครื่องหมายการค้าคำว่า "D" ของโจทก์ เป็นอักษรโรมันตัวเดียวอยู่ในวงกลมซึ่งมีลูกศรชี้ไปทางขวามือ ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า "D.R." ของจำเลยเป็นอักษรโรมัน 2 ตัว อยู่ในวงกลม หลังอักษรแต่ละตัวมีเครื่องหมายจุด (.) รูปรอยประดิษฐ์อักษรตัวดีมีลักษณะลีลาการเขียนที่แตกต่างกันอย่างชัดแจ้ง เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกันอันจะทำให้สาธารณชนเข้าใจได้ว่า สินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและการคุ้มครองสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน
บริษัทฟ.เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า FRITOS จดทะเบียนไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2476 โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายนี้ในประเทศไทย เมื่อปี 2524 นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ได้ออกคู่มือรับจดทะเบียนให้โจทก์ในปี 2525 ต่อมาปี 2530 บริษัทฟ. ได้ทำหนังสือมอบฉันทะให้โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทย และประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกแสดงว่า บริษัทฟ. ได้ให้สัตยาบันการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว โจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทยมีอำนาจฟ้องผู้เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ เครื่องหมายการค้าคำว่า FREEDOS ของจำเลยและเครื่องหมายการค้าคำว่า FRITOS ของโจทก์ ต่างก็เป็นคำอักษรโรมัน อ่านออกเสียงสองพยางค์เหมือนกัน แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลย จะมีรูปประดิษฐ์เป็นตัวอักษร F สองตัว หันหลังชนกันในกรอบสี่เหลี่ยมและมีภาษาไทยกำกับว่า ฟรีโดส์ แต่เครื่องหมายการค้าทั้งสองคำน่าจะมีสาระสำคัญอยู่ที่การอ่านออกเสียง หรือสำเนียงเรียกขานมากกว่าอย่างอื่น เครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านว่า ฟรีโดส์ มีสำเนียงใกล้เคียง หรือเกือบเหมือนกับเสียงอ่านเครื่องหมายการค้าของโจทก์คือคำว่า ฟรีโดส์หรือฟรีโตส์ อีกทั้งเครื่องหมายการค้าของโจทก์ประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน 6 ตัว ส่วนของจำเลยมี 7 ตัว แต่ปรากฏว่ามีซ้ำกันถึง 4 ตัว จึงถือได้ว่าเครื่องหมายการค้า คำว่า FREEDOS ของจำเลยมีลักษณะตัวอักษรและการอ่านออกเสียง เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้า คำว่า FRITOS ของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบลักษณะสำคัญจนสับสน และเจตนาเลียนแบบ
จำเลยนำสืบผู้ใช้สินค้าของจำเลย 2 บาท และนำผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามาเบิกความเป็นพยานจำเลยแล้ว พยานจำเลยอีก 3 ปาก ซึ่งเป็นผู้ใช้สินค้าของจำเลย 2 ปากและเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ตัดจึงเป็นพยานที่จะนำสืบในข้อเท็จจริงอย่างเดียวกัน เป็นการสืบพยานที่ฟุ่มเฟือยและทำให้การพิจารณาคดีล่าช้า ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจตัดพยานจำเลยดังกล่าวจึงชอบแล้ว ไม่ขัดต่อหลักกฎหมายในเรื่องการรับฟังพยานหลักฐาน เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปช้างยืนอยู่ภายในรูปหกเหลี่ยมหันหน้าไปทางซ้ายมือ ปล่อยงวงลงและยกเท้าหน้าซ้ายขึ้นเล็กน้อย กับมีเส้นลากไขว้ตัดกันจากมุ่งหนึ่งไปจดอีกมุมหนึ่งรอบตัวช้างลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าคือรูปช้างยืนอยู่ภายใต้ในกรอบรูปหกเหลี่ยมและมีเส้นไขว้ตัดกันรอบตัวช้างสำหรับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปช้างยืนอยู่ภายในรูปหกเหลี่ยมหันหน้าไปทางซ้ายมือกับมีเส้นโค้งลากจากมุมหนึ่งจดอีกมุมหนึ่งรอบตัวช้างลักษณะเด่น ของเครื่องหมายอยู่ที่รูปช้างยืนหันหน้าไปทางซ้ายมืออยู่ภายในรูปหกเหลี่ยมและมีเส้นโค้งรอบตัวช้าง รวม 3 ประการ ซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะเด่น คล้ายคลึงกัน แม้จะมีข้อแตกต่างอยู่บ้างตรงที่รูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นช้างชูงวงขึ้นขาช้างทั้งคู่หน้าหลังแยกจากกัน และขาด้านหน้าซ้ายงอเหยียบถังปูนซึ่งเป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้น และจำเลยใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าเครื่องมือสำหรับใช้ในการก่อสร้างเช่น กระบะถือปูนถังพลาสติกใส่ปูน เกรียงฉาบปูนเป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าวัสดุก่อสร้างของโจทก์ นอกจากนี้โจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้านี้ตั้งแต่ปี 2517 และได้โฆษณาทางหนังสือพิมพ์วิทยุและโทรทัศน์เป็นที่แพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไป จำเลยเพิ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยหลังจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ถึง 10 ปี แสดงว่าจำเลยเจตนาเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตศาลชอบที่จะเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยและห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว