คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 340 ตรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3768/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาชิงทรัพย์และการใช้ยานพาหนะเพื่อหลบหนี ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 และ 340 ตรี
เมื่อจำเลยใช้ไม้ตีทำร้ายผู้เสียหายล้มลงและ ในทันทีทันใดนั้นจำเลยก็ได้ลักเอาอาวุธปืนสั้นของผู้เสียหายไปซึ่งการกระทำทั้งสองอย่างดังกล่าวยังต่อเนื่องติดพันกันตามพฤติการณ์แสดงว่าขณะจำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจำเลยมีเจตนาเพื่อประสงค์ต่อทรัพย์ของผู้เสียหายด้วยจึงเป็นการกระทำที่ครบองค์ประกอบความผิดชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 แล้ว แม้เจตนาเดิมจำเลยจะใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อให้พ้นการจับกุมในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ที่ร้านทองก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์แล้วจำเลยก็ได้ใช้รถจักรยานยนต์คันดังกล่าวเป็นยานพาหนะ ขับหลบหนีไป แสดงว่าจำเลยยังมีเจตนาที่จะใช้รถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับมาจอดไว้นั้นเป็นยานพาหนะในการหลบหนีเพื่อให้พ้นการจับกุมในความผิดฐานชิงทรัพย์นี้ด้วย การกระทำของจำเลย จึงเป็นการชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อให้พ้นจากการจับกุมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3105/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามปล้นทรัพย์, สนับสนุนความผิด, มีอาวุธปืน, วิทยุคมนาคม, และบทลงโทษ
จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกอีก 2 คน กระทำความผิดฐานพยายาม ปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนการปล้นทรัพย์ผู้เสียหายโดยกำหนดให้จำเลยที่ 2 และ ส.กับพวกเข้าไปปล้นทรัพย์ในบ้านผู้เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 3กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกเข้าทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย จากนั้นจำเลยที่ 3 และที่ 1 ไปรออยู่ที่ร้านอาหาร และย้อนกลับมาดูจำเลยที่ 2 กับพวก เมื่อทราบว่าจำเลยที่ 2 กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและจำเลยที่ 2 ถูกเจ้าพนักงานตำรวจสกัดจับโดยพวกของจำเลยที่ 2 หลบหนีไปได้การที่จำเลยที่ 3 อยู่กับจำเลยที่ 1และที่ 2 ในเวลาใกล้ชิดกับเวลาเกิดเหตุ และจำเลยที่ 3เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ แม้จำเลยที่ 3จะไม่ได้ร่วมลงมือกระทำการปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 และพวกอีก 2 คนก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กับพวกดังกล่าวคิดจะไปปล้นทรัพย์ผู้เสียหายอยู่ก่อนแล้ว กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกันปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และพวกอีก 2 คนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้อื่นกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 จึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นตัวการผู้ร่วมกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง แต่การที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ และจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คน ลงจากรถยนต์กระบะไปทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 80 และ 86 และลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานดังกล่าวได้ ไม่เกินคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคหนึ่ง แม้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้มีการใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้กับผู้เสียหาย แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที 2 หรือจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวไว้ในครอบครองและพาติดตัวมาใช้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ และไม่ปรากฏว่าคนร้ายคนใดเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิง ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ให้การปฏิเสธในข้อหามีและพาอาวุธปืนตลอดมา จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานร่วมกันมีและพาอาวุธปืนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำเลยที่ 1 เพียงแต่ขับรถยนต์กระบะไปส่งจำเลยที่ 2กับพวกอีก 2 คน ไปทำการปล้นทรัพย์บ้านผู้เสียหายและกลับไปพบจำเลยที่ 2 กับพวก ภายหลังจากที่ปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและรับจำเลยที่ 2 กับพวกขึ้นรถแล้วมาถูกจับเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กับพวกใช้รถยนต์ดังกล่าวเป็นยานพาหนะเพื่อกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม และเมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดในข้อหาร่วมกันมีและพาอาวุธปืนดังกล่าว และไม่อาจทราบได้ว่าผู้ที่ร่วมลงมือปล้นทรัพย์ครั้งนี้ผู้ใดเป็นผู้มีและใช้อาวุธปืน และยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการใช้ยานพาหนะในการกระทำความผิดฐาน พยายามปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสี่ประกอบมาตรา 80 และ 86 เท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 3ต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวกรณีไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนและใช้ยานพาหนะและลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3ฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวได้ และจะปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรีด้วยมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5448/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดฐานใช้อาวุธปืนปล้นทรัพย์-พยายามฆ่า: ต้องลงโทษบทหนักสุดตามกฎหมายอาญามาตรา 90
จำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำความผิดฐานใช้อาวุธปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นหรือปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 หรือมาตรา 340เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคสามและความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อความสะดวกในการกระทำความผิดอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบมาตรา 80 กับความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธปืนติดตัวและใช้ยานพาหนะตามมาตรา 340 วรรคสอง,340 ตรี เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานใช้อาวุธปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา 78 วรรคสาม ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแต่เพียงบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานใช้อาวุธปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดกระทงหนึ่ง ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อความสะดวกในการกระทำความผิดอย่างอื่น กับความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธปืนและใช้ยานพาหนะเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานพยายามฆ่าซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดอีกสถานหนึ่งต่างหากจากที่ลงโทษในความผิดฐานใช้อาวุธปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นหรือปล้นทรัพย์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง แม้จำเลยที่ 1 ผู้เดียวจะฎีกาศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ไม่ได้ฎีกาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 225 ประกอบมาตรา 213

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดฐานชิงทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน: หลักการประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
จำเลยให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนโดยสมัครใจ คำให้การดังกล่าวใช้ยันจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 ความผิดฐานมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน นอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวง (อาวุธปืนสำหรับใช้เฉพาะในการสงคราม) ความผิดฐานใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน นอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์และความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานใช้อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน นอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคสาม อันเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดแต่เพียงบทเดียว ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9761/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้รถจักรยานยนต์หลังชิงทรัพย์เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี แม้ทรัพย์สินมีขนาดเล็ก
จำเลยใช้มีดปลายแหลมจี้เอาสร้อยคอทองคำและเงินสดของผู้เสียหายทั้งสามแล้ววิ่งไปขึ้นรถจักรยานยนต์ที่จอดเตรียมอยู่ขับหลบหนี แม้ทรัพย์ที่จำเลยชิงไปจะเป็นของเล็กสามารถพาไปได้โดยไม่ต้องใช้รถจักรยานยนต์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยใช้รถจักรยานยนต์พาทรัพย์ที่ชิงได้ไป แสดงว่าจำเลยมีเจตนาจะใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะพาทรัพย์ที่ชิงได้นั้นไป จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7073/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การรับสารภาพที่ไม่น่าเชื่อถือ และการปรับบทลงโทษฐานชิงทรัพย์
คำเบิกความของพนักงานสอบสวนที่ว่าในชั้นจับกุมจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพว่าได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 กระทำผิดเป็นคำบอกเล่าจากจำเลยที่ 1 เมื่อประจักษ์พยานเบิกความว่าไม่เห็นจำเลยที่ 2 ในคืนเกิดเหตุ คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจึงยังไม่พอฟังลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การกระทำของจำเลยที่ 1เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย ที่ศาลล่างลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายโดยใช้ยานพาหนะจึงไม่ชอบ และเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3342/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยให้การรับสารภาพ แต่พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังลงโทษ ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุกคนละ 8 เดือน ฐานร่วมกันพาอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้จำคุกคนละ 4 เดือน ส่วนความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ลดมาตราส่วนโทษแก่จำเลยที่ 2 และปรับบทความผิดในความผิดที่ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามดังกล่าวให้ถูกต้องเท่านั้นจึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยความผิดทั้งสามกระทงดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนโดยสมัครใจจึงเป็นคำรับโดยชอบ ศาลรับฟังได้ แต่ลำพังเพียงคำรับสารภาพชั้นสอบสวนยังไม่พอฟังลงโทษจำเลยทั้งสามได้ต้องฟังพยานโจทก์อื่นประกอบต่อไปอีก จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงไปยังรถยนต์ของผู้เสียหายโดยมีเจตนาจะปล้นทรัพย์ และในขณะเดียวกันย่อมเล็งได้ว่าว่ากระสุนปืนอาจถูกผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้แต่ผู้เสียหายได้ขับรถแล่นหนีไปเสียก่อนจึงไม่ได้รับอันตรายจากการปล้นทรัพย์ของจำเลยทั้งสาม และจำเลยทั้งสามไม่สามารถเอาทรัพย์ใด ๆ ไปได้ จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดฐานใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ในการพยายามฆ่าและพยายามปล้นทรัพย์และความผิดฐานพยายามฆ่าและพยายามปล้นทรัพย์ด้วย ศาลอุทธรณ์รวมโทษจำคุกจำเลยน้อยกว่าที่ถูกต้องแต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการชิงทรัพย์: การกระทำที่เกินกว่าการช่วยเหลือเบื้องต้น ทำให้มีความผิดฐานสนับสนุน
จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ออกนอกเส้นทางพาผู้เสียหายไปที่เกิดเหตุ ซึ่งมีจำเลยที่ 2 คอยอยู่แล้วปล่อยให้ผู้เสียหายอยู่ในที่เกิดเหตุ ขณะจำเลยที่ 2 ชิงทรัพย์ผู้เสียหาย จำเลยที่ 1ไม่ได้อยู่คอยช่วยเหลือจำเลยที่ 2 จึงยังไม่ถือว่าเป็นตัวการร่วมกันชิงทรัพย์ผู้เสียหาย เป็นเพียงผู้สนับสนุนเท่านั้น ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2871/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล้นทรัพย์ด้วยอาวุธปืนและยานพาหนะของผู้เสียหาย ศาลยกเว้นโทษหนักฐานใช้ยานพาหนะ
จำเลยร่วมกับพวกอีก 3 คน ปล้นทรัพย์ผู้เสียหายโดยคนร้ายซึ่งเป็นพวกของจำเลยคนหนึ่งมีอาวุธปืนติดตัวไปด้วยและใช้อาวุธปืน ดังนี้ จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสองเท่านั้น ศาลจะนำ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 ตรี มาประกอบการลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสองเพื่อให้ต้องรับโทษหนักขึ้นหาได้ไม่ เพราะจำเลยไม่ได้เป็นผู้มีหรือใช้อาวุธปืนเพื่อกระทำผิดแต่อย่างใด ขณะที่จำเลยกับพวกมาการปล้นทรัพย์ จำเลยกับพวกไม่มียานพาหนะมา รถยนต์กระบะที่จำเลยขับไปในขณะที่ปล้นทรัพย์นั้นเป็นรถของผู้เสียหายเอง โดยผู้เสียหายนั้นไปด้วยจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้มีดปลายแหลมของกลางบังคับผู้เสียหายและขึ้นขับรถผู้เสียหายไป ระหว่างที่จำเลยขับรถไปพวกจำเลยก็บังคับผู้เสียหายให้ปลดทรัพย์ให้ การที่จำเลยขับรถไปเป็นขับไปตามสภาพของทรัพย์นั้นเองถือไม่ได้ว่าเป็นการปล้นทรัพย์โดยใช้ยานหนะเพื่อกระทำผิดหรือเพื่อให้พ้นการจับกุมอันเป็นเหตุให้รับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2547/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขู่เข็ญด้วยอาวุธและการลักทรัพย์ด้วยการข่มขู่ ถือเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์
จำเลยกับพวกประมาณ 6-7 คน นั่งเรือแล่นมาเทียบเรือผู้เสียหายซึ่งมีผู้เสียหายกับ น. นั่งอยู่แล้วพวกจำเลยคนหนึ่งคว้าโคมไฟเรือของผู้เสียหายทิ้งลงน้ำ ผู้เสียหายตกใจกระโดดหนีลงน้ำ แล้วคนร้ายอีกคนหนึ่งชักมีดปลายแหลมออกมาและพูดว่า อย่าหนีนะ หนีแล้วตายน. จึงกระโดดลงน้ำหนีไปด้วย จากนั้นจำเลยกับพวกใช้เรือลากจูงเรือผู้เสียหายไป ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยกับพวกได้ร่วมกันลักทรัพย์โดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสอง,340 ตรี แล้ว
of 7