คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 340 ตรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2299/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สนับสนุนการปล้นทรัพย์: การกระทำที่ให้ความสะดวกแต่ไม่ได้ร่วมลงมือ
จำเลยที่ 2 ร่วมไปกับจำเลยที่ 3 กับพวก เมื่อจำเลยที่ 3กับพวกลงจากรถของ ด. ที่หลังสวนกล้วยห่างบ้านผู้เสียหายประมาณ580 เมตร เพื่อปล้นทรัพย์บ้านผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 ได้ ติด รถของ ด. ไปที่บ้าน บ. และเป็นคนเรียกให้ ด. ขับรถมาคอยรอรับจำเลยที่ 3 กับพวกที่เดิม เมื่อจำเลยที่ 3 กับพวกปล้นทรัพย์เสร็จแล้ววิ่งมาขึ้นรถ จำเลยที่ 2 ก็สั่งให้ ด. ขับรถไปส่งจำเลยที่ 2กับพวก พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ยังอยู่ห่างไกลกับการเข้าปล้นทรัพย์บ้านผู้เสียหาย แม้จำเลยที่ 2 จะมีหน้าที่คอยติดตาม ด. คนขับรถรับจ้าง ในขณะที่จำเลยที่ 3 กับพวกเข้าทำการปล้นทรัพย์และควบคุมให้นำรถกลับไปคอยรับตาม เวลาที่จำเลยที่ 3 กับพวกนัดไว้ จำเลยที่ 2ก็ไม่ได้อยู่คอยช่วยเหลือจำเลยที่ 3 กับพวกเมื่ออาจเกิด เหตุการณ์คับขันขึ้น ยังไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกันปล้นทรัพย์เป็นเพียงการให้ความสะดวกในการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์แก่จำเลยที่ 3 กับพวกทั้งก่อนและขณะกระทำความผิด จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐาน เป็นผู้สนับสนุนตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ในความผิดฐานปล้นทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความร่วมมือชิงทรัพย์-ฆ่าขัดขวางเจ้าพนักงาน: เจตนาใช้ความรุนแรงแม้ไม่อาจระบุตัวผู้ลงมือ
ผู้ตายถูกกระสุนปืนถึงแก่ความตายเนื่องจากจำเลยทั้งสองเป็นผู้ยิงแต่ไม่อาจระบุได้ว่าจำเลยคนใด แม้จะฟังว่าจำเลยคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ยิง แต่การที่จำเลยทั้งสองต่างก็มีอาวุธปืนอาก้าไปร่วมชิงทรัพย์ ส่อให้เห็นเจตนาของจำเลยทั้งสองว่าถ้ามีเหตุการณ์คับขันเกิดขึ้นในการชิงทรัพย์ จำเลยทั้งสองจะใช้อาวุธปืนยิงผู้ที่ต่อสู้หรือขัดขวางปรากฏว่าจำเลยทั้งสองอยู่ด้วยกัน เมื่อยิงแล้วก็วิ่งไปขึ้นรถจักรยานยนต์ขับขี่หลบหนีไปด้วยกันโดยได้ยิงปืนอีก 1 ชุด พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้ขัดขวางและยิงผู้ตายโดยเจตนาฆ่า.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงฐานชิงทรัพย์ และข้อเท็จจริงยุติว่าจำเลยไม่ได้ใช้อาวุธปืน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานชิงทรัพย์โดยใช้อาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339,340 ตรี ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพยานโจทก์มีเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยใช้อาวุธปืนในการกระทำผิดหรือไม่ จึงลงโทษเฉพาะตามมาตรา 339 วรรคสอง จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวข้อเท็จจริงจึงยุติว่าจำเลยไม่ได้ใช้อาวุธปืนในการกระทำความผิดศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ เช่นนี้โจทก์จะฎีกาว่าจำเลยหรือพรรคพวกของจำเลยเป็นผู้ยิงปืน ต้องลงโทษตามฟ้องหาได้ไม่เพราะข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยไม่ได้ใช้อาวุธปืนในการกระทำความผิดถึงที่สุดไปแล้ว และถือไม่ได้ว่า โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษฐานชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 เพราะโจทก์ไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มาในฎีกาว่าจำเลยได้กระทำการอย่างไรที่ถือว่าเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ คงกล่าวเพียงว่าจำเลยหรือพรรคพวกจำเลยได้ใช้อาวุธปืนยิงอันเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องเท่านั้น จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะและอาวุธปืน ร่วมกันข่มขู่บังคับให้ลงลายมือในเช็ค แต่เจตนาคือการเอาทรัพย์ ไม่เป็นกรรโชก
ในการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3กับพวกร่วมกันขู่บังคับให้โจทก์ร่วมลงลายมือในเช็ค สั่งจ่ายเงินให้จำเลยกับพวก แต่เจตนาของจำเลยกับพวกประสงค์ที่จะเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปในทันทีนั้นเอง เพราะขณะที่จำเลยที่ 3 กับพวกนำเช็คไปเบิกเงินที่ธนาคาร โจทก์ร่วมยังถูกจำเลยที่ 1 ที่ 2กับพวกที่เหลือควบคุมตัวไว้ ทั้งนี้เพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์ หรือให้พ้นจากการจับกุมเท่านั้น อันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานปล้นทรัพย์ การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3จึงไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก ในคดีที่รวมพิจารณา 2 สำนวน จำเลยสำนวนหนึ่งฎีกา เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องข้อหากรรโชกตลอดไปถึงจำเลยอีกสำนวนหนึ่งซึ่งถูกฟ้องข้อหาเดียวกันที่มิได้ฎีกาได้ เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปล้นทรัพย์ vs. กรรโชก: เจตนาเอาทรัพย์ทันทีมีผลต่อความผิด
ในการกระทำความผิดฐาน ปล้นทรัพย์ แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3กับพวกร่วมกันขู่บังคับให้โจทก์ร่วมลงลายมือในเช็ค สั่งจ่ายเงินให้จำเลยกับพวกแต่ เจตนาของจำเลยกับพวกประสงค์ที่จะเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปในทันทีนั้นเองเพราะขณะที่จำเลยที่ 3 กับพวกนำเช็ค ไปเบิกเงินที่ธนาคาร โจทก์ร่วมยังถูก จำเลยที่ 1 ที่ 2กับพวกที่เหลือควบคุม ตัว ไว้ ทั้งนี้เพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือให้พ้นจากการจับกุมเท่านั้น อันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานปล้นทรัพย์การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3จึงไม่เป็นความผิดฐาน กรรโชก ในคดีที่รวมพิจารณา 2 สำนวน จำเลยสำนวนหนึ่งฎีกาเมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐาน กรรโชก ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องข้อหากรรโชกตลอดไปถึง จำเลยอีกสำนวนหนึ่งซึ่ง ถูกฟ้องข้อหาเดียวกันที่มิได้ฎีกาได้ เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความบทลงโทษหนักขึ้นเฉพาะผู้กระทำผิดโดยตรงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี เป็นบทลงโทษผู้กระทำความผิดหนักขึ้น ต้องตีความโดยเคร่งครัด คือหมายความเฉพาะตัวผู้กระทำตามที่ระบุไว้ในมาตรา 340 ตรีเท่านั้น การที่จำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายได้แล้ว จำเลยวิ่งไปหลบซ่อนอยู่ในบ้านของร. ส่วนพวกของจำเลยวิ่งไปซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่คนร้ายอีกคนหนึ่งจอดรออยู่ทั้งก่อนทำการปล้นทรัพย์จำเลยก็ไม่ได้มายังที่เกิดเหตุด้วยรถจักรยานยนต์จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 340 ตรีคงมีความผิดตามมาตรา 340 วรรคสอง เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล้นทรัพย์และการตีความบทลงโทษหนักขึ้นตามมาตรา 340 ตรี ที่จำกัดเฉพาะผู้ใช้ยานพาหนะ
เมื่อจำเลยกับพวกได้ทรัพย์ของผู้เสียหายแล้ว จำเลยวิ่งไปหลบซ่อนอยู่ในบ้านของ ร. ส่วนพวกของจำเลยวิ่งไปซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่คนร้ายอีกคนหนึ่งจอดรออยู่ โดยไม่ปรากฏว่าก่อนทำการปล้นทรัพย์จำเลยมายังที่เกิดเหตุด้วยรถจักรยานยนต์แต่ประการใด จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 340 ตรี คงมีความผิดตามมาตรา 340 วรรคสอง เท่านั้น.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความร่วมมือปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าเพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์
จำเลยกับพวกนำสุรามานั่งดื่มที่เพิงพักหน้าบ้านผู้เสียหายเพื่อดักปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย จำเลยจึงย่อมจะทราบดีว่าพวกของจำเลยมีอาวุธปืนมาด้วย เมื่อผู้เสียหายขับรถมาถึงและลงจากรถ จำเลยก็ใช้ท่อนไม้ตีผู้เสียหาย 1 ที ผู้เสียหายเปิดประตูหนีเข้าไปในรถจำเลยไม่ได้ตามเข้าไปปลดทรัพย์ทันทีโดยให้พวกจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 2 นัดก่อน จนผู้เสียหายล้มลงนอนในรถ จำเลยจึงเข้าไปปลดทรัพย์ผู้เสียหายแล้วพากันขึ้นรถจักรยานยนต์หลบหนีไปพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้ร่วมกับพวกใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่าเพื่อความสะดวกแก่การปล้นทรัพย์และเพื่อเอาทรัพย์นั้นไป เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานปล้นทรัพย์และพยายามฆ่า ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(6)(7),80 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษอาญาและบทบัญญัติความผิดต่างกรรมกัน ศาลลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี เป็นบทบัญญัติที่เพิ่มโทษของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 มาตรา 339 ทวิ มาตรา 340 หรือมาตรา 340 ทวิ ส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ มาตรา 7 และมาตรา 8 ทวิ นั้น เป็นความผิดต่างกรรมกัน ซึ่งประมวลกฎมายอาญามาตรา 91 บัญญัติให้ศาลลงโทษทุกกรรมเป็นกระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษอาญาและการลงโทษความผิดต่างกรรมกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการลงโทษทั้งสองกรรมเป็นไปตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 ตรี เป็นบทบัญญัติที่เพิ่มโทษของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 มาตรา 339 ทวิมาตรา 340 หรือมาตรา 340 ทวิ ส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา 7 และมาตรา 8 ทวินั้น เป็นความผิดต่างกรรมกัน ซึ่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 บัญญัติให้ศาลลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป
of 7