คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(5)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5192/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากละทิ้งหน้าที่ และการพิจารณาความรับผิดชอบของลูกจ้างในการลาหยุด
โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยมานานหลายปีในปีสุดท้ายที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายบริหารซึ่งเป็นตำแหน่งชั้นสูงโจทก์ควรจะมีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่การที่โจทก์ลากิจโดยไม่มีกำหนดเวลาแสดงให้เห็นถึงการขาดความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ของโจทก์ที่ปฏิบัติอยู่และเมื่อโจทก์ยื่นใบลาแล้วโจทก์หยุดงานทันทีโดยไม่รอฟังว่าจำเลยที่1อนุมัติหรือไม่เป็นการขัดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าด้วยการลาของจำเลยที่1ในที่สุดเมื่อจำเลยที่1ไม่อนุมัติการลาจึงต้องถือว่าโจทก์ขาดงานและโจทก์ก็ยังคงหยุดงานติดต่อกันมาจนจำเลยมีหนังสือเลิกจ้างหากโจทก์มิได้จงใจขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่โจทก์สามารถติดต่อแจ้งให้จำเลยที่1ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครทราบได้โดยสะดวกถึงความจำเป็นของโจทก์เพราะโจทก์ไปเฝ้าบุตรที่ป่วยที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกันแต่โจทก์หาได้ปฏิบัติเช่นนั้นไม่ตั้งแต่วันที่โจทก์หยุดงานจนถึงวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เคยติดต่อจำเลยพฤติการณ์ที่โจทก์ขาดงานติดต่อกันดังกล่าวเกิน3วันและเป็นเวลานานเกือบหนึ่งเดือนจนจำเลยมีหนังสือเลิกจ้างถือได้ว่าเป็นการละทิ้งการงานไปเสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าทั้งถือได้ว่าโจทก์จงใจละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา3วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(5)และกรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายและค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาเพื่อดำเนินกิจการสหภาพแรงงาน: ขอบเขตการคุ้มครองเฉพาะกรรมการสหภาพฯ และลูกจ้างสมาชิกเท่านั้น
การที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็น กรรมการลูกจ้างและเป็นประธานสหภาพแรงงาน พ. ลาหยุดงานเพื่อไปแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงานให้แก่ลูกจ้างของบริษัท ม. โดยลูกจ้างของบริษัทดังกล่าวมิได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน พ. ด้วยนั้นมิใช่เป็นการลาไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงานตามกฎหมายแต่เป็นการลากิจทั่วไปเมื่อผู้คัดค้านมิได้ลาหรือมิได้รับอนุญาตให้ลาจากผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างและได้หยุดงานเป็นเวลา3วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควรผู้ร้องจึงมีสิทธิ เลิกจ้างผู้คัดค้านได้โดยชอบตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2263/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเมื่อลูกจ้างหยุดงานตามคำสั่งนายจ้าง และมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยทำหน้าที่ขับรถยนต์โจทก์ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดใบอนุญาตขับขี่รถยนต์เพราะปฏิบัติผิดกฎจราจรต่อมาหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยกล่าวแก่โจทก์ว่าหากไม่มีใบอนุญาตขับขี่ก็ไม่ต้องมาทำงานโจทก์จึงหยุดงานไปตั้งแต่วันที่5ถึง16เดือนนั้นโดยไม่มีการยื่นใบลาเช่นนี้การที่โจทก์ทำหน้าที่ขับรถยนต์เมื่อส.ซึ่งเป็นนายจ้างกล่าวว่าหากไม่มีใบอนุญาตขับขี่ก็ไม่ต้องมาทำงานนั้นย่อมทำให้โจทก์เข้าใจว่านายจ้างสั่งให้โจทก์หยุดงานการทำงานไว้ก่อนจนกว่าจะได้ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์กลับคืนมาเพราะไม่ปรากฏว่าจำเลยมีระเบียบข้อบังคับว่าผู้มีหน้าที่ขับรถยนต์จะต้องมาปฏิบัติหน้าที่อื่นในกรณีเช่นนี้ด้วยการที่โจทก์ไม่ได้มาทำงานในระหว่างวันดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมิได้มีความผิดต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา582ให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประมาทเลินเล่อจนเกิดความเสียหายร้ายแรง และขอบเขตอำนาจศาลแรงงานในคดีละเมิด
โจทก์เป็นลูกจ้างโรงงานกระสอบซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของขณะโจทก์ดำรงตำแหน่งสมุห์บัญชีได้ลงชื่อและประทับตราโรงงานฯรับทราบการโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. และห้างหุ้นส่วนจำกัดบ. โอนสิทธิการรับเงินค่าปอจากโรงงานฯ ให้แก่บริษัท ท. อันมีผลผูกพันตามกฎหมายที่โรงงานฯจะ ต้องจ่ายเงินให้แก่บริษัท ท. เท่านั้น เช่นนี้ การที่ โจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยจ่ายเงินให้แก่ห้างทั้งสองแทนที่จะจ่าย ให้แก่บริษัท ท. เป็นเหตุให้บริษัท ท. มีหนังสือทวงถาม จากจำเลย จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อและก่อให้เกิดความเสียหาย อย่างร้ายแรงแก่จำเลย จำเลยจึงมีสิทธิใช้อำนาจ ตามระเบียบเลิกจ้างโจทก์ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ และถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าได้ลงโทษเลิกจ้างโจทก์โดยใช้อำนาจตามระเบียบที่วางไว้ เพราะโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่อทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่จำเลยการที่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาท คำฟ้องของโจทก์ที่กล่าวหาว่าจำเลยปิดประกาศคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั่วไปที่สำนักงานใหญ่และที่โรงงานเป็นการละเมิดต่อ โจทก์ ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย มิใช่เป็นคดีอันเกิดจากมูลละเมิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานโจทก์จึงไม่มีสิทธิเสนอคำฟ้องข้อหานี้ต่อศาลแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุประมาทเลินเล่อต้องพิจารณาความร้ายแรงของความเสียหาย และข้อบังคับนายจ้างต้องไม่ขัดกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนดังนั้นการที่ระเบียบของนายจ้างกำหนดว่าการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหายแม้ไม่ร้ายแรงก็เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอันเป็นการแตกต่างไปจากที่ประกาศดังกล่าวบัญญัติจึงเป็นโมฆะใช้บังคับมิได้ การฝ่าฝืนข้อบังคับของนายจ้างซึ่งนายจ้างได้ออกใบเตือนแล้ว อันจะทำให้นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้นหมายถึงข้อบังคับอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างที่ลูกจ้างสามารถปฏิบัติได้แล้วลูกจ้างไม่กระทำโดยเจตนาฝ่าฝืนหาใช่การกระทำโดยประมาทไม่ดังนี้ เมื่อลูกจ้างประมาทเลินเล่อทำให้นายจ้างเสียหายโดยที่นายจ้างออกใบเตือนแล้ว แม้จะไม่ร้ายแรงนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ไม่เป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมแต่นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย