พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินบำเหน็จ: เกณฑ์การรวมระยะเวลาทำงานนักเรียนอบรม, จำนวนวันทำงานรายวัน, และค่าครองชีพ
ตามข้อบังคับของจำเลยผู้เป็นนายจ้างว่าด้วยกองทุนบำเหน็จกำหนดว่า 'พนักงาน' หมายถึง พนักงานประจำตามอัตรากำลังขององค์การทอผ้า และ 'อายุการทำงาน' หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่พนักงานเข้าประจำทำงานจน ถึงวันพ้นตำแหน่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้บรรจุโจทก์เป็นนักเรียนอบรมโดยได้รับเบี้ยเลี้ยงในระหว่างเป็นนักเรียนอบรมตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม2512 และโจทก์ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำรายวันตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2517 ดังนั้นโจทก์จึงมีฐานะเป็นพนักงานตามข้อบังคับดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2517 ก่อนหน้านี้โจทก์ยังมิได้เป็นพนักงานประจำของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธินำระยะเวลาระหว่างที่เป็นนักเรียนอบรมมารวมคำนวณเงินบำเหน็จได้
ในการคำนวณเงินบำเหน็จ ข้อบังคับของจำเลยมิได้กำหนดว่าค่าจ้างเดือนสุดท้ายของพนักงานที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายวันเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างกี่วัน เพียงแต่ให้จ่ายเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือน หรือค่าจ้างเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีของอายุการทำงานเท่านั้น จึงต้องถือจำนวนค่าจ้างที่ได้รับจริง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทำงานเดือนละ 23 วัน แม้ระเบียบใหม่ของจำเลยจะระบุให้คิดเดือนหนึ่ง 26 วัน แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยออกใช้บังคับสำหรับพนักงานใหม่ที่ได้รับการบรรจุตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2519 โดยเฉพาะโดยจำเลยมีสิทธิที่จะกำหนดเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสำหรับพนักงานใหม่ได้หาใช่จำเลยตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับโจทก์ไม่โจทก์จึงมีสิทธิคำนวณค่าจ้างรายวันโดยคิดได้เพียงจำนวน 23วันเป็นหนึ่งเดือนเท่านั้น
จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์เดือนละ 400 บาท เป็นจำนวนแน่นอน ค่าครองชีพจึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานเช่นเดียวกับค่าจ้างเมื่อข้อบังคับของจำเลยไม่ได้ยกเว้นไว้โดยชัดแจ้งว่าค่าจ้างไม่รวมถึงค่าครองชีพค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างซึ่งต้องนำมารวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จให้โจทก์ด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)
ในการคำนวณเงินบำเหน็จ ข้อบังคับของจำเลยมิได้กำหนดว่าค่าจ้างเดือนสุดท้ายของพนักงานที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายวันเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างกี่วัน เพียงแต่ให้จ่ายเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือน หรือค่าจ้างเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีของอายุการทำงานเท่านั้น จึงต้องถือจำนวนค่าจ้างที่ได้รับจริง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทำงานเดือนละ 23 วัน แม้ระเบียบใหม่ของจำเลยจะระบุให้คิดเดือนหนึ่ง 26 วัน แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยออกใช้บังคับสำหรับพนักงานใหม่ที่ได้รับการบรรจุตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2519 โดยเฉพาะโดยจำเลยมีสิทธิที่จะกำหนดเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสำหรับพนักงานใหม่ได้หาใช่จำเลยตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับโจทก์ไม่โจทก์จึงมีสิทธิคำนวณค่าจ้างรายวันโดยคิดได้เพียงจำนวน 23วันเป็นหนึ่งเดือนเท่านั้น
จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์เดือนละ 400 บาท เป็นจำนวนแน่นอน ค่าครองชีพจึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานเช่นเดียวกับค่าจ้างเมื่อข้อบังคับของจำเลยไม่ได้ยกเว้นไว้โดยชัดแจ้งว่าค่าจ้างไม่รวมถึงค่าครองชีพค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างซึ่งต้องนำมารวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จให้โจทก์ด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เวลาพักงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย: การกำหนดเวลาพักต้องไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน และเป็นช่วงเวลาที่อยู่ในระหว่างการทำงาน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6 และข้อ2 นายจ้างจะต้องให้ลูกจ้างมีเวลาพักในระหว่างการทำงานไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง โดยจะให้มีเวลาพักเป็นหลายครั้งก็ได้ แต่เมื่อรวมเวลาพักแล้วจะต้องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง และเวลาพักจะต้องเป็นระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการทำงานด้วย การที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานระหว่างเวลา 8.00 นาฬิกา -16.00 นาฬิกา และระหว่างเวลา 16.00 นาฬิกา ถึง24.00 นาฬิกาโดยให้มีเวลาพักกะละครึ่งชั่วโมง จึงเป็นการกำหนดเวลาพักที่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว
กรณีดังกล่าวแม้ลูกจ้างทำงานในช่วงเวลาพักก็เป็นการทำงานในเวลาทำงานปกติ หาใช่นอกเวลาทำงานปกติอันจะทำให้ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาไม่ ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกร้องได้แต่เพียงค่าจ้างโดยคำนวณเฉลี่ยจากค่าจ้างของแต่ละเดือนเท่านั้น.
กรณีดังกล่าวแม้ลูกจ้างทำงานในช่วงเวลาพักก็เป็นการทำงานในเวลาทำงานปกติ หาใช่นอกเวลาทำงานปกติอันจะทำให้ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาไม่ ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกร้องได้แต่เพียงค่าจ้างโดยคำนวณเฉลี่ยจากค่าจ้างของแต่ละเดือนเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงาน: การจ่ายเงินเดือนให้ยามรักษาการณ์ของบริษัทลูกหนี้ ไม่ถือเป็นการจ้างงาน
คดีมีประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ ที่โจทก์จำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่า โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างบริษัท ข. เป็นผู้รักษาทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวเนื่องจากจำเลยนำยึดเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ และจำเลยได้จ่ายเงินเดือนให้โจทก์เป็นค่ารักษาทรัพย์นั้น เป็นการแถลงรับกันในข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เพียงพอจะวินิจฉัยได้แล้วว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ แม้โจทก์จะมีพยานมาสืบข้อเท็จจริงอย่างใดก็หาอาจรับฟังนอกเหนือไปจากข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันไม่ ที่ศาลแรงงานกลางสั่งงดสืบพยาน จึงชอบแล้ว
เมื่อเดือนสิงหาคม 2528 จำเลยฟ้องบริษัท ข. ให้ชำระหนี้กรรมการผู้จัดการหลบหนี และบริษัท ข. หยุดกิจการ จำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นยามรักษาการณ์ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยจ่ายเงินเป็นรายเดือนให้ ต่อมาจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของบริษัท ข. เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2529 เจ้าพนักงานบังคับคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาทรัพย์อีก ดังนี้ จำเลยเพียงแต่ตกลงให้โจทก์รับทำหน้าที่เฉพาะอย่าง คือ การดูแลทรัพย์สินของบริษัท ข. มิให้สูญหายหรือเสียหาย ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่งานของจำเลยโดยตรง ทั้งโจทก์มิได้อยู่ในการบังคับบัญชาของจำเลย เมื่อมีการยึดทรัพย์ส่ินของบริษัท ข. ขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาทรัพย์ก็เป็นการมอบตามอำนาจและหน้าที่ แม้จำเลยจะให้เงินเดือนแก่โจทก์จำนวนเดิมก็ตามยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้จ้างโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย.
เมื่อเดือนสิงหาคม 2528 จำเลยฟ้องบริษัท ข. ให้ชำระหนี้กรรมการผู้จัดการหลบหนี และบริษัท ข. หยุดกิจการ จำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นยามรักษาการณ์ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยจ่ายเงินเป็นรายเดือนให้ ต่อมาจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของบริษัท ข. เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2529 เจ้าพนักงานบังคับคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาทรัพย์อีก ดังนี้ จำเลยเพียงแต่ตกลงให้โจทก์รับทำหน้าที่เฉพาะอย่าง คือ การดูแลทรัพย์สินของบริษัท ข. มิให้สูญหายหรือเสียหาย ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่งานของจำเลยโดยตรง ทั้งโจทก์มิได้อยู่ในการบังคับบัญชาของจำเลย เมื่อมีการยึดทรัพย์ส่ินของบริษัท ข. ขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาทรัพย์ก็เป็นการมอบตามอำนาจและหน้าที่ แม้จำเลยจะให้เงินเดือนแก่โจทก์จำนวนเดิมก็ตามยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้จ้างโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างมีสิทธิยกเหตุผลในคำให้การ แม้คำสั่งเลิกจ้างไม่ได้ระบุเหตุ
แม้คำสั่งเลิกจ้างโจทก์จะมิได้ระบุความผิดและสาเหตุการเลิกจ้างไว้ก็มิได้หมายความว่า โจทก์ไม่มีความผิดหรือไม่มีสาเหตุแห่งการเลิกจ้าง เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยก็ชอบที่จะยกเหตุแห่งการเลิกจ้างขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การได้ว่า การเลิกจ้างนั้นมาจากสาเหตุใด การที่จำเลยมิได้ระบุความผิดและอ้างระเบียบข้อบังคับไว้ในคำสั่งเลิกจ้างไม่เป็นเหตุให้การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เงินเดือนที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างประจำรายเดือนย่อมเป็นค่าจ้างของทุกวันตลอดทั้งเดือนซึ่งรวมทั้งวันหยุดประจำสัปดาห์ด้วย.
เงินเดือนที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างประจำรายเดือนย่อมเป็นค่าจ้างของทุกวันตลอดทั้งเดือนซึ่งรวมทั้งวันหยุดประจำสัปดาห์ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนในการคำนวณเงินบำเหน็จ และสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จมีอายุความ 10 ปี
นายจ้างจ่ายค่าครองชีพแก่ลูกจ้างเป็นจำนวนแน่นอน เป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือน ค่าครองชีพจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนเช่นเดียวกับเงินเดือน เป็นค่าจ้าง นายจ้างต้องนำค่าครองชีพมารวมเพื่อคำนวณในการจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์ตามข้อบังคับของนายจ้างด้วย
การที่ลูกจ้างได้รับเงินบำเหน็จจากนายจ้างยังไม่ครบถ้วนแม้จะไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้โต้แย้งคัดค้านการจ่ายเงินบำเหน็จของจำเลยไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างได้สละสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินบำเหน็จในส่วนที่ยังขาดจากนายจ้าง ลูกจ้างย่อมมีสิทธิฟ้องให้นายจ้างชำระเงินบำเหน็จที่นายจ้างจ่ายขาดไปนั้นได้
สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 นายจ้างจะกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้น้อยกว่า 10 ปีหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 191 ลูกจ้างฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นายจ้างจะยกข้อบังคับของนายจ้างขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายเงินบำเหน็จหาได้ไม่
เงินบำเหน็จกฎหมายมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างทันทีที่เลิกจ้างดังเช่นค่าชดเชย นายจ้างจะผิดนัดก็ต่อเมื่อลูกจ้างได้ทวงถามก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างรับผิดชำระเงินบำเหน็จเมื่อใด ลูกจ้างจึงชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
การที่ลูกจ้างได้รับเงินบำเหน็จจากนายจ้างยังไม่ครบถ้วนแม้จะไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้โต้แย้งคัดค้านการจ่ายเงินบำเหน็จของจำเลยไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างได้สละสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินบำเหน็จในส่วนที่ยังขาดจากนายจ้าง ลูกจ้างย่อมมีสิทธิฟ้องให้นายจ้างชำระเงินบำเหน็จที่นายจ้างจ่ายขาดไปนั้นได้
สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 นายจ้างจะกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้น้อยกว่า 10 ปีหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 191 ลูกจ้างฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นายจ้างจะยกข้อบังคับของนายจ้างขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายเงินบำเหน็จหาได้ไม่
เงินบำเหน็จกฎหมายมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างทันทีที่เลิกจ้างดังเช่นค่าชดเชย นายจ้างจะผิดนัดก็ต่อเมื่อลูกจ้างได้ทวงถามก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างรับผิดชำระเงินบำเหน็จเมื่อใด ลูกจ้างจึงชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดนายจ้างต่ออุบัติเหตุหลังเลิกจ้าง: การจ่ายค่าจ้าง ณ สถานที่อื่นด้วยความยินยอมของลูกจ้าง
แม้นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้าง ณ สถานที่ที่ลูกจ้างทำงานก็ตามแต่ถ้าลูกจ้างยินยอมนายจ้างจะจ่าย ณ สถานที่อื่นก็ได้ เมื่อลูกจ้างยินยอมไปรับค่าจ้าง ณ สำนักงานของนายจ้าง หลังจากสัญญาจ้างสิ้นสุดลงแล้ว และเกิดอุบัติเหตุระหว่างเดินทาง จึงไม่อาจถือได้ว่าลูกจ้างได้รับอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างส่วนการที่นายจ้างได้จัดรถยนต์ไปรับลูกจ้างมานั้นก็เป็นเพียงการอำนวยความสะดวกเท่านั้น หาทำให้นายจ้างต้องรับผิดจ่ายเงินทดแทนด้วยไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าช่วยเหลือบุตรไม่ใช่ค่าจ้าง ไม่นำมารวมคำนวณค่าชดเชย
เงินช่วยเหลือบุตร เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้เฉพาะลูกจ้างที่มีบุตร มีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างหาใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้จึงไม่เป็นค่าจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดไม่รวมคำนวณค่าชดเชย เพราะไม่ใช่ค่าจ้างตามกฎหมาย
เงินค่าล่วงเวลา และเงินค่าทำงานในวันหยุดนั้น มิใช่ค่าจ้างเพราะมิใช่เงินหรือเงินและสิ่งของที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานตามปกติของวันทำงานหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ ฉะนั้นเงินค่าล่วงเวลาและเงินค่าทำงานในวันหยุดจึงมิใช่ค่าจ้างที่จะนำมารวมเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197-1206/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงไม่ใช่ค่าจ้างเมื่อลูกจ้างกลับประจำบริษัทรอคำสั่ง ค่าชดเชยคำนวณจากเงินเดือน
เมื่อการก่อสร้างอาคารในต่างจังหวัดเสร็จลง โจทก์ต้องเดินทางกลับมาประจำบริษัทจำเลยเพื่อรอฟังคำสั่งให้ไปควบคุมงานในโครงการอื่นต่อไประหว่างรองานที่บริษัทจำเลย โจทก์คงได้รับเงินเดือนเพียงอย่างเดียวไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยงเบี้ยเลี้ยงจึงเป็นเงินตอบแทนในการทำงานเฉพาะในเวลาที่โจทก์ออกไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดเท่านั้น มิใช่เงินที่จำเลยจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานอันจะถือเป็นค่าจ้าง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ระหว่างรองานอยู่ที่บริษัทจำเลย จึงไม่ต้องนำเบี้ยเลี้ยงมารวมคำนวณค่าชดเชยด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือน ต้องนำมารวมคำนวณเงินบำเหน็จ
แม้ข้อบังคับของนายจ้างระบุว่า 'เงินเดือน' หรือ 'ค่าจ้าง'หมายถึงเงินที่จ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงานเป็นรายเดือนหรือรายวันเพื่อตอบแทนการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน แต่ไม่รวมถึงเงินตอบแทนในลักษณะค่าล่วงเวลา โบนัส หรือประโยชน์อย่างอื่นก็ตาม เมื่อได้ความว่านายจ้างได้จ่ายค่าครองชีพให้ลูกจ้างเป็นประจำทุกเดือนมีจำนวนแน่นอนทำนองเดียวกับเงินเดือน ค่าครองชีพที่ลูกจ้างได้รับจึงเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือน ซึ่งถือว่าเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง หาใช่ประโยชน์อย่างอื่นตามข้อบังคับดังกล่าวไม่ นายจ้างต้องนำค่าครองชีพมารวมเป็นฐานในการคำนวณบำเหน็จเพื่อจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตามที่ลูกจ้างมีสิทธิตามข้อบังคับด้วย.