พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุไม่ไว้วางใจจากทรัพย์สินสูญหาย แม้ไม่มีหลักฐานการลักทรัพย์ก็ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์มีหน้าที่ดูแลห้องพักของแขกผู้มาพักในโรงแรมประจำชั้นที่ 16 โดยโจทก์คนเดียวเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับห้องพัก ดังนั้นการที่ทรัพย์สินของแขกผู้มาพักในโรงแรมซึ่งเก็บไว้ในห้องพักได้สูญหายไปในระหว่างที่แขกไม่อยู่ในห้องพักโดยไม่ทราบเหตุผล ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่น่าระแวงสงสัยว่าโจทก์เป็นคนร้ายและทำให้จำเลยไม่ไว้วางใจโจทก์ต้องถือว่าจำเลยมีเหตุผลอันสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่าโจทก์ลักทรัพย์ของแขกผู้มาพักในโรงแรมตามข้อกล่าวหาของจำเลย แต่เมื่อคำให้การของจำเลยได้แสดงเหตุผลแห่งการเลิกจ้างไว้ด้วยว่าโจทก์มีพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ไว้วางใจ ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจวินิจฉัยต่อไปได้ว่า การที่โจทก์ปฏิบัติงานตามหน้าที่เนื่องในมูลกรณีเดียวกันนี้เป็นเหตุให้จำเลยไม่ไว้วางใจโจทก์ซึ่งจำเลยมีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
เงินค่าบริการที่จำเลยเรียกเก็บจากลูกค้าในอัตราร้อยละ10 ของค่าใช้จ่ายของลูกค้า และเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างแต่ละคราว จำเลยจะนำเงินจำนวนนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่ลูกจ้างทุกคนคนละเท่า ๆ กัน โดยจำเลยไม่ได้รับประโยชน์ด้วยและลูกจ้างจะได้รับค่าบริการมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวนค่าใช้จ่ายของลูกค้าเป็นสำคัญ เงินค่าบริการจึงไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2.(ที่มา-ส่งเสริม)
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่าโจทก์ลักทรัพย์ของแขกผู้มาพักในโรงแรมตามข้อกล่าวหาของจำเลย แต่เมื่อคำให้การของจำเลยได้แสดงเหตุผลแห่งการเลิกจ้างไว้ด้วยว่าโจทก์มีพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ไว้วางใจ ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจวินิจฉัยต่อไปได้ว่า การที่โจทก์ปฏิบัติงานตามหน้าที่เนื่องในมูลกรณีเดียวกันนี้เป็นเหตุให้จำเลยไม่ไว้วางใจโจทก์ซึ่งจำเลยมีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
เงินค่าบริการที่จำเลยเรียกเก็บจากลูกค้าในอัตราร้อยละ10 ของค่าใช้จ่ายของลูกค้า และเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างแต่ละคราว จำเลยจะนำเงินจำนวนนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่ลูกจ้างทุกคนคนละเท่า ๆ กัน โดยจำเลยไม่ได้รับประโยชน์ด้วยและลูกจ้างจะได้รับค่าบริการมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวนค่าใช้จ่ายของลูกค้าเป็นสำคัญ เงินค่าบริการจึงไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเดินทางไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ถือเป็นช่วงเวลาทำงาน กรณีประสบอันตรายถึงแก่ความตาย
อ.เป็นลูกจ้างการสื่อสารแห่งประเทศไทยโจทก์ ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ อ.นำหลักฐานการอนุญาตให้ใช้สถานที่ตั้งไปรษณีย์รับอนุญาตเอกชนไปให้ผู้สมัครรับจัดตั้งไปรษณีย์รับอนุญาตเอกชนลงชื่อ อ.จึงเดินทางไปตามคำสั่ง ถือได้ว่าอ.เดินทางไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ทำงานในทางการที่จ้างของโจทก์ ดังนั้นในระหว่างที่ อ.เดินทางกลับก็ยังต้องถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ปฏิบัติงาน อ.ประสบอุบัติเหตุถูกรถคันอื่นชนถึงแก่ความตาย จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 758-759/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบาดเจ็บจากการแข่งขันกีฬาของพนักงานถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน หากเป็นการปฏิบัติงานตามคำสั่งนายจ้าง
แม้ธนาคารโจทก์ที่ 2 มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการประกอบกิจการการเงินการธนาคาร แต่กิจการใดที่กระทำให้กิจการหลักของโจทก์ที่ 2 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โจทก์ที่ 2ย่อมจะกระทำได้ การเล่นกีฬาของพนักงานของโจทก์ที่ 2ตามระเบียบของธนาคารโจทก์ที่ 2 เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดของพนักงาน ทำให้งานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ แสดงว่าการเล่นกีฬาเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้กิจการหลักมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้นการที่โจทก์ที่ 2 สั่งให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานลงแข่งขันกีฬา จึงเป็นการสั่งให้ปฏิบัติงานตามทางการที่จ้างของโจทก์ที่ 2 เมื่อโจทก์ที่ 1 ประสบอันตรายจากการเล่นกีฬา จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง
เงินค่าครองชีพที่จ่ายให้ลูกจ้างเท่ากันทุกเดือน เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ถือว่าเป็นค่าจ้าง.(ที่มา-ส่งเสริม)
เงินค่าครองชีพที่จ่ายให้ลูกจ้างเท่ากันทุกเดือน เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ถือว่าเป็นค่าจ้าง.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนจากการขายไม่ใช่ค่าจ้าง: กรณีไม่มีเวลาทำงานปกติ
โจทก์ไม่มีเวลาทำงานปกติ จะทำวันใดหรือไม่ทำวันใดก็ได้การที่โจทก์ขายสินค้าแต่ละชิ้นแล้วได้เปอร์เซ็นต์นั้นมิใช่เป็นการคำนวณค่าจ้างตามผลงาน เงินเปอร์เซ็นต์จากการขายที่โจทก์ได้รับจึงไม่ใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานและไม่ถือว่าเป็นเงินค่าจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4471/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างหลังแต่งตั้งกรรมการ และเหตุขัดข้องทางการเงินไม่ถือจงใจผิดนัดชำระค่าจ้าง
โจทก์ได้รับแต่งตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นกรรมการของบริษัทจำเลย มีฐานะเป็นผู้แทนของบริษัทมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยมิใช่เป็นลูกจ้างของจำเลย แต่การที่คณะกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทจำเลยกำหนดให้โจทก์ทำหน้าที่ควบคุมการซื้อและจ่ายยา ให้ทำหน้าที่เป็นแพทย์เวรโดยได้รับค่าจ้างและโจทก์ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย ดังนี้ถือว่าโจทก์มีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยอีกฐานะหนึ่ง
การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คซึ่งจำเลยจ่ายชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยให้เหตุผลว่า จำเลยมีเงินในบัญชีไม่พอจ่ายตามเช็คนั้นเป็นเพียงแสดงว่าจำเลยมีเหตุขัดข้องทางการเงิน ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างโดยปราศจากเหตุอันสมควร จึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31 วรรคสอง.
การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คซึ่งจำเลยจ่ายชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยให้เหตุผลว่า จำเลยมีเงินในบัญชีไม่พอจ่ายตามเช็คนั้นเป็นเพียงแสดงว่าจำเลยมีเหตุขัดข้องทางการเงิน ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างโดยปราศจากเหตุอันสมควร จึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3966/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าจ้างโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร และการประสบอันตรายระหว่างเบิกเงิน ไม่ถือเป็นการทำงาน
ลูกจ้างตกลงยินยอมให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างโดยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีของลูกจ้างในธนาคารและได้รับเงินเดือนโดยวิธีการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากที่ธนาคารตลอดมา เช่นนี้ เมื่อนายจ้างโอนเงินค่าจ้างเข้าบัญชีของลูกจ้างที่ธนาคารในเดือนใดแล้ว นายจ้างก็หมดหน้าที่ในการจ่ายค่าจ้างในเดือนนั้น และเป็นการจ่ายเงินค่าจ้างโดยชอบแล้ว ลูกจ้างจะใช้สิทธิเบิกถอนเงินจากธนาคารเมื่อใดเป็นเรื่องส่วนตัวและมิใช่เป็นการปฏิบัติงานให้นายจ้าง แม้นายจ้างจะอนุญาตให้ลูกจ้างไปเบิกถอนเงินค่าจ้างจากธนาคารได้ก็เป็นเรื่องที่มิให้ลูกจ้างถูกกล่าวหาว่าละทิ้งหน้าที่เท่านั้นการที่ลูกจ้างประสบอันตรายจนถึงแก่ความตายขณะเดินทางไปเบิกเงินค่าจ้างจากธนาคารจึงมิใช่เป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างอันจะเป็นเหตุให้นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทนแก่ทายาทของลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2771/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่ – การเลิกจ้าง – ค่าชดเชย – ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน – การลาที่ถูกต้องตามระเบียบ
ลูกจ้างไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 8 ถึงวันที่ 15 ในชั้นแรกหยุดงานไปโดยไม่ได้ลาในวันที่ 8 และวันที่ 10(วันที่ 9 เป็นวันหยุด) ต่อมาได้โทรศัพท์ขอลากิจในวันที่ 11 ถึงวันที่ 13 และโทรศัพท์ลาป่วยในวันที่ 14 และวันที่ 15 ต่อเนื่องมาอีก ครั้นมาทำงานก็มิได้ส่งใบลาตามระเบียบ ถือได้ว่าลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรนายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยมิต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำเมื่อวันที่ 17 จึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันเลิกจ้าง ส่วนวันที่ 16 แม้เป็นวันหยุด ลูกจ้างก็ยังคงเป็นลูกจ้างอยู่จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันดังกล่าว.
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำเมื่อวันที่ 17 จึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันเลิกจ้าง ส่วนวันที่ 16 แม้เป็นวันหยุด ลูกจ้างก็ยังคงเป็นลูกจ้างอยู่จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2700/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงาน: การดูแลรักษารถยนต์ของลูกจ้างเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ แม้เป็นการกระทำนอกเวลางานปกติ
ลูกจ้างเป็นพนักงานขับรถยนต์ มิได้ปฏิบัติงานตามวันเวลาปกติเช่นพนักงานในตำแหน่งอื่น เพราะต้องคอยดูแลรักษารถยนต์ในความรับผิดชอบของตนให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีตลอดเวลา ดังนั้นการที่ผู้บังคับบัญชาอนุมัติให้ลูกจ้างนำรถยนต์ที่ตนขับไปล้างทำความสะอาดและอัดฉีดจาระบีจึงเป็นงานในหน้าที่แต่ในตอนกลางวันผู้รับจ้างยังทำให้ไม่เสร็จ จนเวลา 21 นาฬิกาลูกจ้างจึงได้ไปที่ร้านของผู้รับจ้างเพื่อนำรถยนต์กลับมา แล้วขณะเดินข้ามถนนถูกรถยนต์ชนตายนั้นเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
ปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าลูกจ้างประสบอันตรายเพราะความประมาทของตนจำเลยมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงาน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 31.(กองผู้ช่วย)
ปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าลูกจ้างประสบอันตรายเพราะความประมาทของตนจำเลยมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงาน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 31.(กองผู้ช่วย)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1902-1909/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลา: การอยู่เวรเพื่อรอซ่อมเครื่องจักร ไม่ถือเป็นการทำงานตามปกติ จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
จำเลยให้โจทก์มาอยู่เวร ณ สถานที่ประกอบกิจการของจำเลยหากเครื่องจักรของจำเลยเสียซึ่งต้องทำการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่จะใช้งานได้ต่อไป จำเลยก็จะมีคำสั่งหรือใบแจ้งงานให้โจทก์ซ่อมแซมและโจทก์ต้องลงเวลาการทำงานในบัตรลงเวลา ถ้าเครื่องจักรไม่เสียโจทก์ก็ไม่ต้องทำอะไร แต่ได้รับเบี้ยเลี้ยงในอัตราคนละ 40 บาท ดังนี้การที่โจทก์มาอยู่เวรดังกล่าว ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการทำงานตามปกติของโจทก์ที่ได้รับมอบหมายให้ทำในกิจการของจำเลยผู้เป็นนายจ้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา หรือค่าทำงานในวันหยุดหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดแล้วแต่กรณี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าอาหาร/ค่าครองชีพไม่ถือเป็นค่าจ้างฐานคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย
จำเลยจ่ายค่าอาหารให้แก่โจทก์หรือลูกจ้างอื่นซึ่งทำงานประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากทางสำนักงานใหญ่ไม่ได้จัดอาหารเลี้ยงดังเช่นลูกจ้างที่โรงงานสีคิ้ว การจ่ายค่าอาหารให้จึงเป็นการให้ความสงเคราะห์แก่ลูกจ้างของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง มิได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ ฉะนั้น ไม่ว่าจะเรียกว่า เป็นค่าอาหารหรือค่าครองชีพและจะจ่ายให้เป็นประจำทุกเดือนหรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินค่าอาหารมารวมเป็นฐานในการคิดคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยได้.