คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2515 ข้อ 46

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กิจการไม่แสวงหากำไรไม่อยู่ภายใต้ประกาศคุ้มครองแรงงาน สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจึงไม่เกิดขึ้น
ในวันนัดพิจารณาคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่า กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจศาลแรงงานกลางจึงรับฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกัน การ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจ จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษา ศาลแรงงานกลางในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อ แสวงกำไรทางเศรษฐกิจ การจ้างงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่อยู่ ภายใต้ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515ข้อ 2 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 จากจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งให้ทบทวนตนเอง ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง หากไม่มีคำสั่งให้พ้นจากงาน
คำสั่งของจำเลยที่ 2 มีข้อความกล่าวถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น และให้โจทก์ทบทวนการกระทำของโจทก์และวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำผิดถูกอย่างไร แล้วรายงานให้จำเลยที่ 2 ทราบภายในกำหนด มิฉะนั้นจะรายงานผู้บังคับบัญชาชั้นสูงต่อไปไม่มีข้อความที่สั่งให้โจทก์ออกจากงาน ปลดโจทก์ออกจากงานหรือไล่โจทก์ออกจากงานอันเป็นการเลิกจ้างโจทก์ แม้ในคำสั่งจะมีข้อความตำหนิการกระทำของโจทก์จะถือว่าเมื่ออ่านประกอบข้อความที่ให้โจทก์วินิจฉัยตนเองแล้วเป็นการไล่โจทก์ออกจากงานโดยใช้ถ้อยคำสุภาพไม่ได้ คำสั่งดังกล่าวจึงไม่เป็นคำสั่งเลิกจ้างโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2706/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างต้องเป็นอำนาจของผู้มีหน้าที่ ผู้สั่งการไม่มีอำนาจเลิกจ้างไม่ได้
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์ได้สั่งให้โจทก์ทำความสะอาดทางระบายน้ำเสีย โจทก์ไม่ยอมทำอ้างว่าสกปรกเกินไป ป.ภรรยาพ.ผู้จัดการห้างจำเลยจึงบอกแก่โจทก์ว่า 'ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องออกจากงาน' มิได้กล่าวให้เป็นกิจจะลักษณะว่าจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ และ ป.มิได้เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าได้รับมอบหมายจาก พ. ป. จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ ไม่มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้การที่โจทก์ออกจากงานไปยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธินายจ้างหักค่าชดเชยจากเงินบำเหน็จและดอกเบี้ยตามระเบียบการทำงาน
เงินบำเหน็จเป็นผลประโยชน์นอกเหนือไปจากค่าชดเชยซึ่งกฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจึงย่อมมีสิทธิที่จะกำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จได้ตามที่เห็นสมควร ดังนั้นข้อบังคับของนายจ้างที่ให้หักค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จ จึงหาขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานไม่ แต่เมื่อข้อบังคับของนายจ้างมิได้กำหนดให้นายจ้างมีสิทธิหักดอกเบี้ยของค่าชดเชยไว้ด้วยนายจ้างจึงไม่มีสิทธิหักดอกเบี้ยของค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จ
เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินบำเหน็จแก่ลูกจ้างเมื่อใด จะถือว่านายจ้างผิดนัดแล้วหาได้ไม่ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากต้นเงินทั้งสองจำนวนดังกล่าวตั้งแต่วันฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ่ายค่าชดเชยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ย่อมมีผลผูกพันนายจ้าง แม้ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย
การที่นายจ้างทำหนังสือยินยอมจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง 6 เดือนทั้งที่ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 มิได้ห้ามไว้แต่อย่างใด จึงต้องบังคับไปตามสัญญาดังกล่าว และหาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอันตกเป็นโมฆะไม่ ข้อตกลงนั้นย่อมผูกพันนายจ้าง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่2629/2527).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนในการคำนวณเงินบำเหน็จ และสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จมีอายุความ 10 ปี
นายจ้างจ่ายค่าครองชีพแก่ลูกจ้างเป็นจำนวนแน่นอน เป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือน ค่าครองชีพจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนเช่นเดียวกับเงินเดือน เป็นค่าจ้าง นายจ้างต้องนำค่าครองชีพมารวมเพื่อคำนวณในการจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์ตามข้อบังคับของนายจ้างด้วย
การที่ลูกจ้างได้รับเงินบำเหน็จจากนายจ้างยังไม่ครบถ้วนแม้จะไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้โต้แย้งคัดค้านการจ่ายเงินบำเหน็จของจำเลยไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างได้สละสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินบำเหน็จในส่วนที่ยังขาดจากนายจ้าง ลูกจ้างย่อมมีสิทธิฟ้องให้นายจ้างชำระเงินบำเหน็จที่นายจ้างจ่ายขาดไปนั้นได้
สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 นายจ้างจะกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้น้อยกว่า 10 ปีหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 191 ลูกจ้างฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นายจ้างจะยกข้อบังคับของนายจ้างขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายเงินบำเหน็จหาได้ไม่
เงินบำเหน็จกฎหมายมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างทันทีที่เลิกจ้างดังเช่นค่าชดเชย นายจ้างจะผิดนัดก็ต่อเมื่อลูกจ้างได้ทวงถามก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างรับผิดชำระเงินบำเหน็จเมื่อใด ลูกจ้างจึงชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826-1833/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างรายปี: อายุงานนับตามสัญญาแต่ละฉบับ ไม่สามารถรวมคำนวณต่อเนื่องได้
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยมีกำหนดระยะเวลาจ้าง 1 ปี โดยระบุวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้ และเมื่อสัญญาครบกำหนดแล้วโจทก์จำเลยก็ทำสัญญากันใหม่ปีต่อปี ดังนี้ต้องถือว่าสัญญาจ้างแรงงานนี้เป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างเป็นปี ๆ ไป โจทก์จะขอให้นับอายุการทำงานของโจทก์ด้วยการนำระยะเวลาการจ้างในสัญญาทุกฉบับมารวมคำนวณเข้าด้วยกันเพื่อคำนวณค่าชดเชยหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลความจำเป็นในการหยุดงานเพื่อดูแลภรรยาป่วย และการพิสูจน์เหตุอันสมควร
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน ปรากฏว่า วันที่ 31 มีนาคม 2529 เป็นวันจ่ายค่าจ้างเมื่อโจทก์รับค่าจ้างและเลิกงานเวลาประมาณ 17 นาฬิกา โจทก์ไปรับประทานอาหารกับเพื่อนแล้วโดยสารรถยนต์กลับจังหวัดสมุทรสงครามเมื่อเวลาประมาณ 22 นาฬิกา และถึงบ้านเมื่อเวลาประมาณ 23 นาฬิกาเศษ โจทก์ไม่เคยบอกเรื่องการป่วยของภรรยาโจทก์ให้ผู้ใดทราบ โจทก์เพิ่งนำภรรยาไปให้แพทย์ตรวจเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2529 แล้วพากลับบ้าน แสดงว่ามิได้ป่วยหนักพฤติการณ์เช่นนี้ยังไม่เป็นเหตุอันควรที่จำเลยจะหยุดงานได้โดยไม่ต้องขอลาหยุดต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้าง การกระทำของโจทก์จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) จำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดไม่รวมคำนวณค่าชดเชย เพราะไม่ใช่ค่าจ้างตามกฎหมาย
เงินค่าล่วงเวลา และเงินค่าทำงานในวันหยุดนั้น มิใช่ค่าจ้างเพราะมิใช่เงินหรือเงินและสิ่งของที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานตามปกติของวันทำงานหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ ฉะนั้นเงินค่าล่วงเวลาและเงินค่าทำงานในวันหยุดจึงมิใช่ค่าจ้างที่จะนำมารวมเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลา: การพิจารณาเจตนาของคู่สัญญาและข้อความในสัญญาเป็นสำคัญ
สัญญาใดจะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนหรือไม่ต้องพิจารณาจากเจตนาของนายจ้างและลูกจ้างขณะทำสัญญาประกอบข้อความในสัญญานั้นเป็นประการสำคัญ ส่วนการที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะดำเนินกิจการชั่วคราวอันอาจเลิกกิจการ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งได้หรือไม่หาใช่ข้อสำคัญในการนำมาวินิจฉัยไม่ เมื่อปรากฏว่าข้อความในสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาแน่นอน และสัญญาจ้างสิ้นสุดลงตามกำหนดเวลานั้นแล้ว เช่นนี้ต้องถือว่าไม่ใช่กรณีที่จำเลยเลิกจ้างอันจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาทำสัญญาจ้างที่ไม่กำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอนเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นข้อเท็จจริงอันต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคแรก.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
of 6