พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197-1206/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงไม่ใช่ค่าจ้างเมื่อลูกจ้างกลับประจำบริษัทรอคำสั่ง ค่าชดเชยคำนวณจากเงินเดือน
เมื่อการก่อสร้างอาคารในต่างจังหวัดเสร็จลง โจทก์ต้องเดินทางกลับมาประจำบริษัทจำเลยเพื่อรอฟังคำสั่งให้ไปควบคุมงานในโครงการอื่นต่อไประหว่างรองานที่บริษัทจำเลย โจทก์คงได้รับเงินเดือนเพียงอย่างเดียวไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยงเบี้ยเลี้ยงจึงเป็นเงินตอบแทนในการทำงานเฉพาะในเวลาที่โจทก์ออกไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดเท่านั้น มิใช่เงินที่จำเลยจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานอันจะถือเป็นค่าจ้าง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ระหว่างรองานอยู่ที่บริษัทจำเลย จึงไม่ต้องนำเบี้ยเลี้ยงมารวมคำนวณค่าชดเชยด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุผลเลิกจ้างสมเหตุสมผล & การปฏิเสธรับชำระหนี้ทำให้เป็นฝ่ายผิดนัด
หนังสือเลิกจ้างระบุเหตุเลิกจ้างโจทก์ว่า จำเลยไม่มีความจำเป็นที่จะจ้างโจทก์ต่อไป การที่ศาลแรงงานกลางฟังว่าจำเลยมีความจำเป็นต้องยุบเลิกตำแหน่งของโจทก์เพื่อปรับภาวะทางเศรษฐกิจของจำเลย จึงเป็นสาเหตุเดียวกันแม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยสาเหตุอื่นมาด้วย ก็ไม่เป็นการนอกเหนือเหตุในหนังสือเลิกจ้าง และการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุผลอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
จำเลยเสนอที่จะจ่ายเงินจำนวน 78,000 บาท ให้แก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างโดยไม่มีความผูกพันจะต้องจ่าย แต่โจทก์ไม่สนองรับโดยมีหนังสือถึงธนาคารที่รับฝากเงินเดือนของโจทก์ห้ามมิให้รับเงินที่จำเลยจะจ่ายเข้าบัญชีของโจทก์คำเสนอของจำเลยจึงสิ้นความผูกพันนับแต่วันที่โจทก์ปฏิเสธ จำเลยไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์อีก
จำเลยเสนอจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับจำนวนตามฟ้องโดยจะนำเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ แต่โจทก์กลับมีหนังสือถึงธนาคารมิให้ยอมรับเงินดังกล่าวเข้าบัญชีของโจทก์ ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้วเมื่อโจทก์ปฏิเสธไม่รับชำระโดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ โจทก์จึงตกเป็นฝ่ายผิดนัด ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในเงินค่าชดเชยนับแต่วันที่จำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 221.
จำเลยเสนอที่จะจ่ายเงินจำนวน 78,000 บาท ให้แก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างโดยไม่มีความผูกพันจะต้องจ่าย แต่โจทก์ไม่สนองรับโดยมีหนังสือถึงธนาคารที่รับฝากเงินเดือนของโจทก์ห้ามมิให้รับเงินที่จำเลยจะจ่ายเข้าบัญชีของโจทก์คำเสนอของจำเลยจึงสิ้นความผูกพันนับแต่วันที่โจทก์ปฏิเสธ จำเลยไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์อีก
จำเลยเสนอจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับจำนวนตามฟ้องโดยจะนำเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ แต่โจทก์กลับมีหนังสือถึงธนาคารมิให้ยอมรับเงินดังกล่าวเข้าบัญชีของโจทก์ ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้วเมื่อโจทก์ปฏิเสธไม่รับชำระโดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ โจทก์จึงตกเป็นฝ่ายผิดนัด ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในเงินค่าชดเชยนับแต่วันที่จำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 221.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618-622/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยรวมในเงินผลประโยชน์: ข้อตกลงร่วมระหว่างนายจ้าง-สหภาพฯ ผูกพันลูกจ้าง
กฎและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่กำหนดให้จำนวนเงินผลประโยชน์เมื่อออกจากงานทั้งหมดที่พนักงานได้รับให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างตามข้อกำหนดแห่งกฎหมายแรงงานนั้น เมื่อปรากฏว่าเป็นข้อตกลงซึ่งเกิดจากข้อเรียกร้องที่สหภาพแรงงานทำไว้กับนายจ้างโดยชอบด้วยกฎหมาย มิใช่เป็นข้อตกลงซึ่งนายจ้างกำหนดขึ้นเองย่อมมีผลผูกพันลูกจ้างตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 19 ฉะนั้นเมื่อลูกจ้างได้รับเงินผลประโยชน์ดังกล่าวแล้วย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่านายจ้างได้จ่ายค่าชดเชยโดยเกลื่อนกลืนอยู่ในเงินผลประโยชน์นั้นแล้ว ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากนายจ้างอีก.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระเบียบสหกรณ์จ่ายเงินบำเหน็จทดแทนค่าชดเชยได้ และการใช้ดุลพินิจไม่จ่ายโบนัสเมื่อเลิกจ้างเพราะผิดวินัย
ระเบียบว่าด้วยพนักงานและลูกจ้างของจำเลยกำหนดว่า พนักงานหรือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างมีสิทธิได้รับทั้งค่าชดเชยและเงินบำเหน็จ หากลูกจ้างผู้ใดมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จซึ่งมีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชย จึงให้รับเงินบำเหน็จเฉพาะส่วนที่สูงกว่าค่าชดเชยเท่านั้น โดยลูกจ้างผู้นั้นยังคงได้รับเงินค่าชดเชยเต็มจำนวนตามสิทธิของตนที่พึงได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 อยู่นั่นเอง ระเบียบดังกล่าวจึงหาได้หลีกเลี่ยงที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย หรือ ขัดต่อกฎหมายแรงงาน หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
เงินโบนัสเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือไปจากที่นายจ้างต้องจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานนายจ้างจะจ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ และถ้าจะจ่ายด้วยวิธีการและหลักเกณฑ์อย่างใดก็แล้วแต่นายจ้างจะกำหนด จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะกระทำผิดวินัยจำเลยผู้เป็นนายจ้างย่อมมีอำนาจตามระเบียบที่จะใช้ดุลพินิจไม่จ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
เงินโบนัสเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือไปจากที่นายจ้างต้องจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานนายจ้างจะจ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ และถ้าจะจ่ายด้วยวิธีการและหลักเกณฑ์อย่างใดก็แล้วแต่นายจ้างจะกำหนด จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะกระทำผิดวินัยจำเลยผู้เป็นนายจ้างย่อมมีอำนาจตามระเบียบที่จะใช้ดุลพินิจไม่จ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากป่วย ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนสัญญา นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่โจทก์เจ็บป่วยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การงานได้ตามปกติเป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติมิใช่เกิดจากการกระทำของโจทก์ แม้ระเบียบของธนาคารจำเลยจะให้อำนาจจำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงาน หรือสัญญาของผู้เข้าทำงานซึ่งโจทก์ทำกับจำเลยให้อำนาจจำเลยที่จะถอนโจทก์ออกจากงานได้ก็ตาม ก็เป็นเพียงข้อกำหนดให้จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้เท่านั้น ดังนั้นจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือสัญญา จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสาม (บำนาญ) ซึ่งจำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นรายเดือนนั้น เป็นเงินที่มีวิธีการจ่ายและจำนวนเงินที่จ่ายแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 จึงเป็นเงินประเภทอื่น ไม่ใช่เป็นเงินประเภทเดียวกับค่าชดเชย.(ที่มา-ส่งเสริม)
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสาม (บำนาญ) ซึ่งจำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นรายเดือนนั้น เป็นเงินที่มีวิธีการจ่ายและจำนวนเงินที่จ่ายแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 จึงเป็นเงินประเภทอื่น ไม่ใช่เป็นเงินประเภทเดียวกับค่าชดเชย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างป่วยและการจ่ายค่าชดเชย แม้มีระเบียบ/สัญญาให้อำนาจเลิกจ้าง ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยหากลูกจ้างไม่ได้กระทำผิด
การที่โจทก์เจ็บป่วยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การงานได้ตามปกติเป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติมิใช่เกิดจากการกระทำของโจทก์ แม้ระเบียบของธนาคารจำเลยจะให้อำนาจจำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงาน หรือสัญญาของผู้เข้าทำงานซึ่งโจทก์ทำกับจำเลยให้อำนาจจำเลยที่จะถอนโจทก์ออกจากงานได้ก็ตาม ก็เป็นเพียงข้อกำหนดให้จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้เท่านั้น ดังนั้นจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือสัญญา จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสาม (บำนาญ) ซึ่งจำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นรายเดือนนั้น เป็นเงินที่มีวิธีการจ่ายและจำนวนเงินที่จ่ายแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 จึงเป็นเงินประเภทอื่น ไม่ใช่เป็นเงินประเภทเดียวกับค่าชดเชย.(ที่มา-ส่งเสริม)
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสาม (บำนาญ) ซึ่งจำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นรายเดือนนั้น เป็นเงินที่มีวิธีการจ่ายและจำนวนเงินที่จ่ายแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 จึงเป็นเงินประเภทอื่น ไม่ใช่เป็นเงินประเภทเดียวกับค่าชดเชย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการคืนสิทธิประโยชน์: สิทธิลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างแต่ศาลตัดสินว่าไม่มีความผิด
จำเลยสั่งพักงานโจทก์ระหว่างสอบสวน เมื่อสอบสวนเสร็จแล้วได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง จำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าโจทก์ทำผิด จึงมีคำสั่งให้รับโจทก์กลับเข้าทำงาน ดังนี้ การที่โจทก์ไม่มีผลงานให้แก่จำเลยในชั่วระยะเวลานั้นมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ การยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างย่อมต้องถือเสมือนว่าคำสั่งเลิกจ้างไม่เคยมีมาก่อน ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่สะดุดหยุดลงจึงต้องคืนเข้าสู่ภาวะเดิมโดยไม่ถือว่าขาดช่วงจำเลยตัดระยะเวลาการทำงานของโจทก์ในช่วงที่ถูกเลิกจ้างออกไม่ชอบด้วยความเป็นธรรมและหามีกฎหมายหรือข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยสนับสนุนหรือให้อำนาจไม่
ประกาศเรื่องเงินโบนัสของจำเลยมีว่า พนักงานที่ถูกพักงานโดยไม่ได้รับเงินเดือน......ฯลฯ ให้ได้รับเงินรางวับประจำปีตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานในปีงบประมาณ เดิมโจทก์ไม่ได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งพักงาน ต่อมาจำเลยได้ยอมรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยจ่ายเงินเดือนให้ร้อยละสิบห้า เมื่อศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีมลทินมัวหมอง โจทก์มีสิทธิได้รับเงินเดือนเต็มจำนวนในช่วงถูกพักงานดังนี้ กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามประกาศดังกล่าว จะให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสแต่เพียงตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานไม่ได้.
ประกาศเรื่องเงินโบนัสของจำเลยมีว่า พนักงานที่ถูกพักงานโดยไม่ได้รับเงินเดือน......ฯลฯ ให้ได้รับเงินรางวับประจำปีตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานในปีงบประมาณ เดิมโจทก์ไม่ได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งพักงาน ต่อมาจำเลยได้ยอมรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยจ่ายเงินเดือนให้ร้อยละสิบห้า เมื่อศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีมลทินมัวหมอง โจทก์มีสิทธิได้รับเงินเดือนเต็มจำนวนในช่วงถูกพักงานดังนี้ กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามประกาศดังกล่าว จะให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสแต่เพียงตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4754/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่จำกัดรูปแบบคำสั่ง การปฏิบัติเสมือนบุคคลภายนอกถือเป็นการเลิกจ้าง
การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงาน ปลดออกจากงานหรือไล่ออกจากงาน ซึ่งถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสองนั้นไม่จำเป็นที่นายจ้างจะต้องมีคำสั่งโดยใช้ถ้อยคำเช่นนั้นตรง ๆ การใช้ถ้อยคำอย่างอื่นหรือกระทำการอย่างใดที่มีความหมายว่าให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก ก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างได้ โจทก์ขาดงานไปโดยมีเหตุอันควร เมื่อกลับมาทำงานจำเลยได้ปฏิบัติต่อโจทก์เยี่ยงบุคคลภายนอก และได้ให้ผู้อื่นหาคนงานใหม่แทนโจทก์ พฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยให้โจทก์ออกจากงาน จึงเป็นการเลิกจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3526-3530/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างลูกเรือ: การพิจารณาความเป็นลูกจ้างมีกำหนดเวลา และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน หมายถึงการจ้างซึ่งกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ว่าจะจ้างกันกี่วัน กี่เดือนหรือกี่ปี เมื่อถึงกำหนดระยะเวลานั้นแล้วการจ้างเป็นอันระงับสิ้นสุดกันทันที และฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหามีสิทธิบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดนั้นไม่
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างทำงานในเรือเดินทะเลแผนกลูกเรือการลงเรือแต่ละครั้งได้ทำสัญญาจ้างกำหนดระยะเวลาจ้างเป็นคราว ๆ โดยปกติมีกำหนดคราวละ 6 เดือน แต่เวลาทำงานจริง ๆ ไม่เป็นไปตามที่สัญญากำหนดไว้อาจเกินหรือไม่ครบกำหนดนั้นแล้วแต่เส้นทางการเดินเรือ จำเลยจะจ่ายค่าจ้างให้ตามวันที่ทำงานเมื่อหมดสัญญาครั้งหนึ่ง ๆ โจทก์จะได้ขึ้นจากเรือไปพักผ่อนระหว่างนั้นจำเลยจะจ่ายเงินลาพักให้แต่ไม่จ่ายค่าจ้างและโจทก์จะรอคำสั่งจากจำเลยว่าจะให้ลงเรือลำใดต่อไปเมื่อทำงานครบ 1 ปีโจทก์จะได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนด้วย ดังนี้แสดงว่ากำหนดระยะเวลาการจ้างเป็นคราวๆ ไม่มีผลบังคับกันอย่างแท้จริง ความสัมพันธ์ระหวางจำเลยกับโจทก์ยังคงมีอยู่ติดต่อกันตลอดมาหาได้สิ้นสุดลงเป็นคราว ๆ ตามสัญญาลงเรือที่ทำกันไม่ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนอันจะเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ทั้งจำเลยจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา582 ด้วย.
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างทำงานในเรือเดินทะเลแผนกลูกเรือการลงเรือแต่ละครั้งได้ทำสัญญาจ้างกำหนดระยะเวลาจ้างเป็นคราว ๆ โดยปกติมีกำหนดคราวละ 6 เดือน แต่เวลาทำงานจริง ๆ ไม่เป็นไปตามที่สัญญากำหนดไว้อาจเกินหรือไม่ครบกำหนดนั้นแล้วแต่เส้นทางการเดินเรือ จำเลยจะจ่ายค่าจ้างให้ตามวันที่ทำงานเมื่อหมดสัญญาครั้งหนึ่ง ๆ โจทก์จะได้ขึ้นจากเรือไปพักผ่อนระหว่างนั้นจำเลยจะจ่ายเงินลาพักให้แต่ไม่จ่ายค่าจ้างและโจทก์จะรอคำสั่งจากจำเลยว่าจะให้ลงเรือลำใดต่อไปเมื่อทำงานครบ 1 ปีโจทก์จะได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนด้วย ดังนี้แสดงว่ากำหนดระยะเวลาการจ้างเป็นคราวๆ ไม่มีผลบังคับกันอย่างแท้จริง ความสัมพันธ์ระหวางจำเลยกับโจทก์ยังคงมีอยู่ติดต่อกันตลอดมาหาได้สิ้นสุดลงเป็นคราว ๆ ตามสัญญาลงเรือที่ทำกันไม่ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนอันจะเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ทั้งจำเลยจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา582 ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างทดลองงาน: ศาลต้องวินิจฉัยเหตุผลความจำเป็นและความเพียงพอในการเลิกจ้าง
ลูกจ้างที่ทดลองปฏิบัติงานเป็นลูกจ้างประจำ แต่หาใช่ลูกจ้างประจำสมบูรณ์อันจะพึงมีสิทธิตามกฎหมายเยี่ยงลูกจ้างประจำโดยทั่วไปไม่ เพราะนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างเสียได้ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยว่าเหตุผลที่การทดลองปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ไม่เป็นที่พอใจเกิดแต่เหตุอันใด พฤติการณ์เป็นอย่างใด มีความจำเป็นแท้จริง และเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง มีเหตุอันสมควรที่จะให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาในประเด็นนี้ใหม่.
ศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยว่าเหตุผลที่การทดลองปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ไม่เป็นที่พอใจเกิดแต่เหตุอันใด พฤติการณ์เป็นอย่างใด มีความจำเป็นแท้จริง และเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง มีเหตุอันสมควรที่จะให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาในประเด็นนี้ใหม่.